http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ)
2. เรื่อง ข้อเสนอโครงการของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายเพื่อฟื้นฟู พื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
3. เรื่อง มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568
4. เรื่อง ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM
2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่
5. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเรื่อง โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวใน การเก็บสต็อกปีการผลิต 2567/68 ของกระทรวงพาณิชย์
6. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาและส่งเสริมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68
7. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการกลุ่มอาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารเรียนรวมและปฏิบัติกลาง) ต่อจากที่ก่อสร้างบางส่วนแล้วของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
8. เรื่อง มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สําหรับรถไฟชานเมือง สายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
9. เรื่อง ข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน”
10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
11. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (เรื่องขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 เรื่อง การทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน)
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
13. เรื่อง การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
14. เรื่อง รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
15. เรื่อง ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567
16. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน ครั้งที่ 13 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน+3 ครั้งที่ 9
17. เรื่อง กรอบท่าทีการเจรจา และองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 16
18. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อการเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Partnership Agreement : DEPA)
19. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ของวัด หลิงกวงกรุงปักกิ่ง ไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงกลาโหม)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(กระทรวงการคลัง)
29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 แทนตำแหน่งที่ว่างลง (กระทรวงแรงงาน)
30. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการต่างประเทศ)
*****************************
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ) รวมทั้งรับทราบการดำเนินการของ กค. ในการออกประกาศกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีหรือนำส่งภาษีออกไปเป็นภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2567 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. เสนอว่า
1. จากการรายงานสถานการณ์สาธารณภัยของศูนย์ข้อมูลสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่า ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ประเทศไทยมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดย ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2567 พบว่า มีบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 256,405 ครัวเรือน และมีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) และการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) แล้ว ดังนี้
1.1 จังหวัดที่มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) มีจำนวน 49 จังหวัด
1 291 อำเภอ 1,358 ตำบล และ 8,367 หมู่บ้าน
1.2 จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) มีจำนวน 45 จังหวัด
2 262 อำเภอ 1,183 ตำบล และ 7,336 หมู่บ้าน
2. ที่ผ่านมา กค. โดยกรมสรรพากรได้มี
มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยสำหรับผู้ประสบอุทกภัยและสำหรับผู้บริจาคอยู่แล้ว แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1
มาตรการภาษีถาวรเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัย
1. มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยสำหรับผู้ประสบอุทกภัย |
มาตรการ |
รายละเอียด |
1.1 ผู้ประสบอุทกภัยไม่ต้องนำเงินช่วยเหลือที่ได้รับไปเสียภาษีเงินได้3
1.2 ผู้ประสบอุทกภัยที่เป็นผู้ประกอบการสามารถหักค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
1.3 ผู้ได้รับเงินจากรัฐบาลเพื่อนำไปใช้ป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นไม่ต้องนำเงินดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้5 |
· ผู้ประสบอุทกภัยทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินช่วยเหลือที่ได้รับ ดังนี้
1) เงินชดเชยที่ได้รับจากรัฐบาล
2) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคหรือช่วยเหลือเพื่อชดเชยความเสียหายไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ได้รับ
3) ค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้รับจากบริษัทประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหาย4
· ผู้ประสบอุทกภัยที่เป็นผู้ประกอบการซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย เช่น ทรัพย์สินหรือสินค้าเสียหาย สามารถหักค่าใช้จ่ายหรือหักรายจ่ายค่าความเสียหายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้
นิติบุคคล ดังนี้
1) ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา (ซึ่งมีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) ค่าเช่าทรัพย์สิน (6) ค่าวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ แพทย์ วิศวกร และสถาปนิก
(7) ค่ารับเหมาหรือ (8) เงินได้จากธุรกิจ แห่งประมวลรัษฎากร) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น (มีผลเท่ากับการให้หักค่าใช้จ่ายค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น)
2) ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้)
· ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อนำไปใช้ลงทุนในทรัพย์สินเพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยทรัพย์สินนั้นต้องมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี หรือ 1 รอบระยะเวลาบัญชี |
2. มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยสำหรับผู้บริจาค |
มาตรการ |
รายละเอียด |
2.1 ผู้บริจาคให้แก่ส่วนราชการหรือองค์กร สาธารณกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยสามารถหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายได้ 1 เท่า
2.2 ผู้บริจาคให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นตัวแทนรับเงินหรือทรัพย์สิน (เช่น การรับบริจาคเงินช่วยเหลือผ่านรายการโทรทัศน์) เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยสามารถหักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายได้ 1 เท่า6 |
· ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดาหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 1 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ
· ผู้บริจาคที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคได้ 1 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
· ผู้บริจาคที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือเป็นนิติบุคคลอื่น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) สำหรับการบริจาคสินค้า (ไม่ถือว่าการบริจาคสินค้า เป็นการขายสินค้า) |
2.2
มาตรการภาษีเฉพาะคราวเมื่อเกิดอุทกภัยเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัย (ซึ่งได้สิ้นสุดไปแล้ว)
ดังนี้
ช่วงเวลา |
ประเภทของภัยธรรมชาติ |
รายละเอียดมาตรการ |
· วันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 |
· อุทกภัย (บริเวณพื้นที่ภาคกลางกรุงเทพมหานครและปริมณฑล) |
· ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าซ่อมแซมบ้านตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
และค่าซ่อมแซมรถตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท |
· วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 |
· อุทกภัย (บริเวณพื้นที่ภาคใต้) |
· วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 |
· อุทกภัย (บริเวณพื้นที่ภาคกลาง) |
· วันที่ 3 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2562 |
· พายุโซนร้อนปาบึก (บริเวณพื้นที่ภาคใต้) |
· วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 |
· พายุโซนร้อนโพดุล พายุโซนร้อนคาจิกิและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (บริเวณพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยตามข้อ 1 เริ่มคลี่คลายแล้ว ประกอบกับประชาชนและธุรกิจต่าง ๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยที่
ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว แต่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่วนใหญ่ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายหรือหักลดหย่อนค่าซ่อมแซมทรัพย์สินในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลธรรมดาผู้ประสบอุทกภัย เห็นควรออกมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ โดยได้ยก
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้านและมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ) ซึ่งมีหลักการเดียวกับมาตรการภาษีเฉพาะคราวที่เคยดำเนินการตามข้อ 2.2 โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1. มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้าน |
สิทธิประโยชน์ |
เงื่อนไข |
· ให้บุคคลธรรมธรรมดาหักลดหย่อนภาษีเงินได้
(ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล) สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมอาคารหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งกับตัวอาคารหรือในที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารหรือในการซ่อมแซมห้องชุดในอาคารชุดหรือทรัพย์สินที่ประกอบติดตั้งกับห้องชุดในอาคารชุด7 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
|
· ได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่
31 ธันวาคม 2567
· ทรัพย์สินนั้นได้รับความเสียหายจากอุทกภัยระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามข้อ 1.1 - 1.2
· ผู้มีเงินได้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่า หรือผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
ใช้ประกอบกิจการ หรือใช้ประโยชน์อื่น
· ในกรณีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินมากกว่า 1 แห่ง ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมฯ ทุกแห่งเข้าด้วยกัน |
2. มาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมรถ |
สิทธิประโยชน์ |
เงื่อนไข |
· ให้บุคคลธรรมธรรมดาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล) สำหรับค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์หรือกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์) หรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถ8 ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 30,000 บาท
|
· ได้จ่ายระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่
31 ธันวาคม 2567
· รถหรืออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในรถนั้นได้รับความเสียหายจากอุทกภัยระหว่างวันที่
16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามข้อ 1.1 - 1.2
· ผู้มีเงินได้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าซื้อรถนั้น
· ในกรณีที่ได้จ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมรถหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในรถมากกว่า 1 คัน ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมฯ รถทุกคันเข้าด้วยกัน |
4. เนื่องจากผู้เสียภาษีที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยตั้งแต่วันที่
16 สิงหาคม 2567 ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา (ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรือการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต) เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าว
กค. จึงเห็นควรขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ซึ่ง กค. สามารถดำเนินการได้เองและเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีทราบไปในคราวเดียวกันนี้ โดย กค. จะขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาออกไปเป็นภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2567
ซึ่งเป็นวันทำการวันสุดท้ายของปีตามปฏิทินภาษีอากร (ขยายระยะเวลาให้สำหรับการยื่นรายการภาษีแบบกระดาษทุกประเภทรายการภาษี)
9 โดยออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ กำหนดการการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567) มีรายละเอียด ดังนี้
ประเภทรายการภาษี |
กำหนดระยะเวลาเดิม |
กำหนดระยะเวลาขยาย
เฉพาะแบบกระดาษ |
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 94 |
ยื่นภายในเดือนกันยายน 2567 |
27 ธันวาคม 2567
|
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแบบ ภ.ง.ด. 51 |
ยื่นภายในเดือนกันยายน 2567 |
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด. 2 ภ.ง.ด. 3 ภ.ง.ด. 53 และ ภ.ง.ด. 54 |
7 พฤศจิกายน 2567 (สำหรับยื่นกระดาษ) 15 พฤศจิกายน 2567 (สำหรับยื่นอินเทอร์เน็ต) |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 36 |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 30 |
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ. 40 |
อากรแสตมป์ ตามแบบ อ.ส. 4 อ.ส. 4ก อ.ส. 4ข. และ อ.ส. 9 |
ยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ทั้งนี้
สำหรับพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ซึ่งจะทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการประมาณ 1,500,000 ราย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยมีภาระการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีน้อยลงและมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในช่วงประสบอุทกภัย
โดยไม่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้
5. กค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับร่างกฎกระทรวงที่เสนอมาครั้งนี้แล้ว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ผู้
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้รับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยคาดว่า
จะมีผู้ใช้สิทธิตามมาตรการภาษีช่วยค่าซ่อมบ้าน 4 ล้านราย และผู้ใช้สิทธิตามมาตรการภาษี
ช่วยค่าซ่อมรถ 4 ล้านราย
2) ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง
_____________________________
1 เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำพู และจังหวัดพะเยา อย่างไรก็ตามปัจจุบัน มีการรายงานการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (กรณีอุทกภัย) ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เพิ่มเติม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดยโสธร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดอุทัยธานี รวมเป็น 55 จังหวัด 360 อำเภอ 1,711 ตำบล และ 10,741 หมู่บ้าน
2 เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำพู และจังหวัดพะเยา อย่างไรก็ตามปัจจุบัน มีการรายงานการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เพิ่มเติม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดยโสธร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดชัยภูมิ รวมเป็น 51 จังหวัด 329 อำเภอ 1,514 ตำบล และ 9,666 หมูบ้าน
3 เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554
4 เงินค่าชดเชยในส่วนนี้ให้ได้รับยกเว้นเฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา
5 เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 570) พ.ศ. 2556
6 เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554
7 ค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร เช่น ค่าทาสีบ้าน ห้องชุดในอาคารชุด หรือตึกแถว ค่ากระเบื้อง ค่าฝ้าเพดาน ค่าหลังคา ค่าอิฐ ค่าปูน ที่ใช้ในการซ่อมแซม ค่าซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ built - in และค่าแรงในการซ่อมแซม
8 ค่าซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ค่าซ่อมตัวเครื่องยนต์ ค่าซ่อมแซมสีรถ เบาะรถ ล้อรถ ระบบแอร์ในรถ หรืออุปกรณ์ที่ติดกับตัวรถซึ่งเสียหายจากอุทกภัย
9 หากบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นแบบแสดงรายได้ภายในเวลาที่กำหนดตามประมวลรัษฎากรจะทำให้มีความผิดตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร โดยระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
2. เรื่อง ข้อเสนอโครงการของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
1. เห็นชอบในหลักการโครงการเร่งด่วนของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ที่เห็นควรสนับสนุน จำนวน 39 โครงการ กรอบวงเงินรวม 641,127,300 บาท โดยให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้สำนักงบประมาณตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการและงบประมาณต่อไป
2. รับทราบข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการของจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย จำนวน 381 โครงการ กรอบวงเงินรวม 19,282,546,976 บาท และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
สาระสำคัญ
ข้อเสนอและผลการพิจารณากลั่นกรองโครงการของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย กระทรวงมหาดไทย ได้นำส่งบัญชีสรุปข้อเสนอโครงการของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย (1) บัญชีสรุปข้อเสนอโครงการเร่งด่วนของจังหวัดเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 46 โครงการ กรอบวงเงินรวม 706,217,300 บาท และ (2) บัญชีสรุปข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ จำนวน 381 โครงการ กรอบวงเงินรวม 19,282,546,976 บาท มายัง สศช. โดยมีรายละเอียดข้อเสนอและผลการพิจารณากลั่นกรอง ดังนี้
1. โครงการเร่งด่วนของจังหวัดเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
1) ข้อเสนอโครงการ
(1)
จังหวัดเชียงใหม่ เสนอโครงการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 23 โครงการ กรอบวงเงินรวม 256,528,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อาทิ ถนน ไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบระบายน้ำ ระบบควบคุมบานประตูน้ำ คลองระบายน้ำ และอาคารป้องกันตลิ่ง เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในระยะต่อไป รวมทั้งการจัดกิจกรรมและเทศกาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่ภายหลังจากประสบปัญหาอุทกภัย
(2)
จังหวัดเชียงราย เสนอโครงการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 23 โครงการ กรอบวงเงินรวม 449,689,300 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย อาทิ ถนน เขื่อนป้องกันตลิ่ง ระบบจัดการน้ำเสีย และระบบระบายน้ำ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่ภายหลังจากประสบปัญหาอุทกภัย
2)
ผลการพิจารณา
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่และพิจารณากลั่นกรองโครงการร่วมกัน โดย
เห็นควรสนับสนุนโครงการเร่งด่วนของจังหวัดจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเพื่อขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวน 39 โครงการ กรอบวงเงินรวม 641,127,300 บาท ดังนี้
(1)
จังหวัดเชียงใหม่ เห็นควรสนับสนุน
จำนวน 20 โครงการ กรอบวงเงินรวม 243,528,000 บาท ดังนี้
(1.1) โครงการปรับปรุงและฟื้นฟูพื้นที่เขตเศรษฐกิจหลังประสบอุทกภัย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยว วงเงิน 20,000,000 บาท ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางลอด เกาะกลาง และสะพานข้ามทางแยก จำนวน 3 สายทาง และ (2) การดูดโคลนในระบบระบายน้ำ จำนวน 3 สายทาง (ทางหลวงหมายเลข 11 ตอน อุโมงค์ - รินคำ ระหว่าง กม.552+906 - กม.561+231 (เป็นแห่งๆ) ทางหลวงหมายเลข 107 ตอน เชียงใหม่ - ขี้เหล็กหลวง ระหว่าง กม.9+932 - กม.11+213 และทางหลวงหมายเลข 1141 ตอน ดอนจั่น – เชียงใหม่ ระหว่าง กม.0+000 - กม.7+565)
(1.2) โครงการฟื้นฟู่ทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กิจกรรมงานฟื้นฟูทางหลวง จำนวน 2 สายทาง วงเงิน 10,000,000 บาท ได้แก่ (1) ทางหลวง หมายเลข 1096 ตอน แม่ริม - ปางดะ ระหว่าง กม.15+960 - กม.16+020 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ทางหลวงหมายเลข 1349 ตอน สะเมิง - วัดจันทร์ ระหว่าง กม.84+090 - กม.84+102 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
(1.3) โครงการฟื้นฟูทางหลวงที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทางหลวงหมายเลข 1095 ตอน หนองโค้ง - กิ่วคอหมา ระหว่าง กม.39+450 - กม.53+525 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6 แห่ง วงเงิน 11,700,000 บาท
(1.4) โครงการฟื้นฟูทางหลวงที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทางหลวงหมายเลข 1150 ตอน กิ่วไฮ - ขุนแจ๋ ระหว่าง กม.36+209 - กม.49+894 ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 แห่งวงเงิน 2,000,000 บาท
(1.5) โครงการซ่อมแซมระบบควบคุม บานประตูน้ำ ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง ตำบลวัดเกต ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเขียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 แห่ง วงเงิน 1,200,000 บาท
(1.6) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมไหล่ทางถนนคอนกรีต เสริมเหล็ก สายทางบ้านขุนแจ๋ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 2,928,000 บาท
(1.7) โครงการเชียงใหม่เมืองเทศกาล วงเงิน 35,500,000 บาท ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ (1) เชียงใหม่ 729 ปี (2) Sport Tourism Lanna Link Soft Power (3) Chiangmai Pride Festival 2025 (4) Mega Fam Trip : FROM FLOOD TO FRESH (5) BO SANG : Art Beyond Boundaries (6) ดนตรีลานบิน ลานวัฒนธรรมสร้างสุขเชิงท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และ (7) MAE KHA RIVER OF LIFE
(1.8) โครงการท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน “แอ่วเวียงกุมกามยามแลง” (Lanna Ancient Night @ Wiang Kum Kam) วงเงิน 2,000,000 บาท
(1.9) โครงการฟื้นฟูทางหลวงที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทางหลวงหมายเลข 107 ตอน แม่ทะลาย - หัวโท ระหว่าง กม.104+400 - กม.104+450 ตำบลปิงโค้งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 แห่ง วงเงิน 3,500,000 บาท
(1.10) โครงการฟื้นฟูทางหลวงที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กิจกรรมงานฟื้นฟูทางหลวงหมายเลข 1349 ตอน สะเมิง - วัดจันทร์ ระหว่าง กม.75+900 - กม. 75+950 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 สายทาง วงเงิน 10,000,000 บาท
(1.11) โครงการเพิ่มศักยภาพการป้องกัน แก้ไขปัญหาอุทกภัยเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับการท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน วงเงิน 45,000,000 บาท กิจกรรม จัดซื้อเครื่องสูบน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล อัตราสูบน้ำไม่น้อยกว่า 25,000 ลิตร/นาที ที่ระยะสูบส่งไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดตั้งบนเทรลเลอร์ลากจูง พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 18 เครื่อง
(1.12) โครงการปรับปรุงโครงสร้างระบายน้ำ ถนนสาย ชม.3029 ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 5,000,000 บาท
(1.13) โครงการซ่อมแซมอาคารป้องกันตลิ่งลำน้ำแม่งอน บริเวณโรงงานหลวงดอยคำ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแม่งอน อำเภอฝ่าง จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 10,000,000 บาท
(1.14) โครงการซ่อมแซมอาคารป้องกันตลิ่งฝั่งขวา ลำน้ำแม่เฮียะ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 6,000,000 บาท
(1.15) โครงการก่อสร้างปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำบริเวณทางหลวง โดยก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม คสล. แทนท่อลอดกลม และรางระบายน้ำ คสล. ทางหลวงหมายเลข 108 ตอนเชียงใหม่ - ปากทางท่าลี่ ช่วงระหว่าง กม.29+000 – กม.29+800 (เก๊าไม้ล้านนา) ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 8,100,000 บาท
(1.16) โครงการก่อสร้างปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำบริเวณทางหลวง โดยก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยม คสล. และท่อลอดกลม ทางหลวงหมายเลข 108 ตอนเชียงใหม่ - ปากทางท่าลี่ ช่วงระหว่าง กม.24+400 - กม.26+800 (ตลาดนัดทุ่งฟ้าบด) ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 25,000,000 บาท
(1.17) โครงการซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ทางหลวงที่ชำรุดเสียหายจากอุทกภัย หลวงหมายเลข 11 ตอน อุโมงค์ - รินคำ ระหว่าง กม. 552+034 - กม.562+651 (เป็นแห่งๆ) ตำบลท่าศาลา ตำบลวัดเกต ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 10,000,000 บาท
(1.18) โครงการปรับปรุงถนนสาย ชม.3052 แยกทางหลวงหมายเลข 107 - บ้านสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 สายทาง วงเงิน 25,000,000 บาท
(1.19) โครงการปรับปรุงลำห้วยโป่งน้อย หมู่ที่ 6 โดยก่อสร้างคลองระบายน้ำคอนกรีตดาดหนา 0.20 เมตร รูปตัวยู ขนาดปากรางกว้าง 2.60 เมตร ลึก 1.50 เมตร ยาว 815.00 เมตร วงเงิน 9,200,000 บาท
(1.20) โครงการปรับปรุงลำเหมืองสาธารณประโยชน์ บ้านโป่งน้อย หมู่ที่ 6 โดยก่อสร้างคลองระบายน้ำ ค.ส.ล. ขนาดปากรางกว้าง 0.30 เมตร ลึก 0.60 เมตร ความยาวรวม 270.00 เมตร วงเงิน 1,400,000 บาท
(2)
จังหวัดเชียงราย เห็นควรสนับสนุน จำนวน 19 โครงการ กรอบวงเงินรวม 397,599,300 บาท ดังนี้
(2.1 ) โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำกก หมู่บ้านธนารักษ์ กองทัพบก หมู่ที่ 3 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย วงเงิน 29,100,000 บาท
(2.2) โครงการหลงแสงเวียง เจียงฮาย (Light Festival) วงเงิน 10,000,000 บาท
(2.3) โครงการฟื้นฟูและป้องกันทางหลวงที่ได้รับความเสียหาย จากอุทกภัย งานฟื้นฟูทางหลวง ทางหลวงหมายเลข 131 ตอนควบคุม 0100 ตอน ทางเลี่ยงมืองเชียงราย ระหว่าง กม.8+700 - กม.9+300 วงเงิน 45,000,000 บาท
(2.4) โครงการปรับปรุงถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และก่อสร้างรางระบายน้ำสาธารณะ ถนนภายในชุมชนเหมืองแดง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วงเงิน 52,835,000 บาท
(2.5) โครงการปรับปรุงถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และก่อสร้างรางระบายน้ำสาธารณะ ถนนในชุมชนเกาะทราย หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วงเงิน 24,321,000 บาท
(2.6) โครงการปรับปรุงถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และก่อสร้าง รางระบายน้ำสาธารณะ ถนนในชุมชนไม้ลุงขน หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วงเงิน 53,904,000 บาท
(2.7) โครงการปรับปรุงถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และก่อสร้างรางระบายน้ำสาธารณะ ถนนสายลมจอย - ดอยเวา ชุมชนดอยเวา หมู่ที่ 1 ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วงเงิน 12,325,000 บาท
(2.8) โครงการปรับปรุงถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และก่อสร้าง รางระบายน้ำสาธารณะ ถนนในชุมชนป่ายางชุม หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วงเงิน 13,042,000 บาท
(2.9) โครงการก่อสร้างถนน ค.ส.ล. สายเลียบสายคลอง ชลประทาน หมู่ที่ 4 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการสัญจรและลดผลกระทบจากอุทกภัย (ชร.ถ.56 - 054) วงเงิน 3,275,800 บาท
(2.10) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมระบบจัดการน้ำเสีย วงเงิน 18,000,000 บาท
(2.11) โครงการบูรณาการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงรายจากสถานการณ์อุทกภัย วงเงิน 10,000,000 บาท
(2.12) โครงการฟื้นฟูและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ทางหลวงหมายเลข 1232 ตอนควบคุม 0100 ตอน อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย - เวียงชัย ระหว่าง กม.0+000 - กม.2+000 วงเงิน 45,000,000 บาท
(2.13) โครงการปรับปรุงซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณ สวนสาธารณะริมแม่น้ำกกชุมชนฝั่งหมิ่น ร่องเสือเต้น ป่าแดง วงเงิน 25,000,000 บาท
(2.14) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย วงเงิน 17,750,000 บาท
(2.15) โครงการปรับปรุงซ่อมแชมเขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย วงเงิน 15,000,000 บาท
(2.16 ) โครงการปรับปรุงทางเท้าถนนกองคำ ชุมชนน้ำลัด วงเงิน 5,000,000 บาท
(2.17) โครงการปรับปรุงระบบกลบฝังขยะมูลฝอย วงเงิน 15,000,000 บาท
(2.18) โครงการปรับปรุงผิวจราจรด้วย Asphaltic Concrete และทางเดินเท้าถนนไกรสรสิทธิ์ วงเงิน 1,800,000 บาท
(2.19) โครงการส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาด ผลิตภัณฑ์ชุมชน วงเงิน 1,246,500 บาท
2. โครงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ เพื่อช่วยป้องกันและฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัย จำนวนรวม 381 โครงการ กรอบวงเงินรวม 19,282,546,976 บาท ดังนี้
1)
จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 16 โครงการ
กรอบวงเงิน 6,226,105,500 บาท ประกอบด้วย โครงการด้านการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 8 โครงการ งบประมาณรวม 5,200,788,000 บาท โครงการด้านการฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 753,223,500 บาท และโครงการด้านอื่น ๆ จำนวน 3 โครงการ (การจัดการเศษวัสดุชีวมวลเพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าและลดการเกิด PM2.5 ปรับปรุงหลังคาชั้นดาดฟ้ากลุ่มอาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) งบประมาณรวม 272,094,000 บาท
2)
จังหวัดเชียงราย จำนวน 365 โครงการ
กรอบวงเงิน 13,056,441,476 บาท ประกอบด้วย โครงการด้านการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 360 โครงการ งบประมาณรวม 12,993,694,976 บาท และโครงการด้านการฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 62,746,500 บาท
ทั้งนี้ ข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งในมิติอื่นให้แก่พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายดังกล่าว จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับอุทกภัยและพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมสู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยเห็นควรบรรจุข้อเสนอโครงการพัฒนาในระยะยาวดังกล่าว ไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการต่อไป
ประโยชน์และผลกระทบ
ข้อเสนอโครงการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยของจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมและฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ดังเดิม และช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาใช้จ่ายในพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นซ้ำในอนาคตเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการอยู่อาศัยและประกอบกิจการ
3. เรื่อง มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 พร้อมกลไกการบริหารจัดการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานต่อไป รวมทั้งรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ และผลการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่
1 พฤศจิกายน 2567 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. สถานการณ์ฝุ่นละออง PM
2.5 (ฝุ่น PM
2.5) โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก จะมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึงต้นปีเป็นประจำทุกปี โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมในพื้นที่ ได้แก่ ไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร หมอกควันข้ามแดน การจราจรและขนส่ง และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแม้ว่าในช่วง ปี 2567 สถานการณ์ฝุ่นละออง PM
2.5 จะมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐานและมีจุดความร้อนเป็นจำนวนมากในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งต้องเผชิญกับหมอกควันข้ามแดนที่เกิดจากการเผาในประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับในช่วงต้นปีจะมีความกดอากาศสูง ทำให้อากาศปิด ลมสงบ ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองในพื้นที่สูงขึ้นและเกินมาตรฐาน
ทส. จึงจัดทำมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อประชาชน ภายใต้กรอบแนวคิด เช่น (1) การเตรียมการรับมือล่วงหน้าให้เร็วขึ้น (2) วิเคราะห์จัดทำพื้นที่เสี่ยงการเผา (Risk Map) (3) ควบคุมพื้นที่แบบมุ่งเป้ากลุ่มป่าแปลงใหญ่ป่ารอยต่อไฟที่เผาไหม้ซ้ำซาก (4) บริหารไฟในพื้นที่เกษตรช่วงการเก็บเกี่ยวภายใต้ระบบการลงทะเบียน (5) ใช้หลักการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านก่อนเริ่มหมอกควันข้ามแดน และ (6) ใช้การสื่อสารที่รวดเร็ว ตรงประเด็น ทันเหตุการณ์ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
2.
มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
2.1 พื้นที่เป้าหมาย |
· พื้นที่ป่า : ควบคุมพื้นที่เผาไหม้ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จังหวัดกาญจนบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเป้าหมายให้ลดลงร้อยละ 25 และมีกลไกการบริหารจัดการในพื้นที่ป่าแปลงใหญ่แบบข้ามเขตปกครอง [ยกระดับให้มีการบูรณาการการบริหารจัดการข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ในกรณีป่ามีพื้นที่ติดต่อหลายจังหวัด ทั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่ป่าแปลงใหญ่เสี่ยงเผาไหม้ทั้งหมด 5 กลุ่มป่า]
· พื้นที่เกษตร :
- ควบคุมพื้นที่เผาไหม้จากการเผาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน สรุปได้ ดังนี้
พื้นที่เป้าหมาย |
การเผาลดลงร้อยละ |
17 จังหวัดภาคเหนือ |
30 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
20 |
ภาคตะวันตก |
15 |
ภาคกลาง |
10 |
- ควบคุมการเผาในกลุ่มพืชเป้าหมาย สรุปได้ ดังนี้
กลุ่มพืชเป้าหมาย |
การเผาลดลงร้อยละ |
นาข้าว |
30 |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
10 |
อ้อยโรงงาน |
15 |
· พื้นที่เมือง : ควบคุมการระบายฝุ่นในพื้นที่เมือง โดยควบคุมให้ยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบร้อยละ 100 |
2.2 ผลลัพธ์คุณภาพอากาศรายพื้นที่ในช่วงวิกฤต |
· ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 และจำนวนวันที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานลดลง ในแต่ละพื้นที่ สรุปได้ ดังนี้
พื้นที่เป้าหมาย |
ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5
(ลดลงร้อยละ) |
จำนวนวันที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน
(ลดลงร้อยละ) |
17 จังหวัดภาคเหนือ |
15 |
10 |
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
5 |
5 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
5 |
5 |
ภาคกลาง |
5 |
5 |
ภาคตะวันตก |
5 |
5 |
|
2.3 การปฏิบัติการ |
(1) ระยะเตรียมการ เช่น |
· จัดทำแผนที่เสี่ยงเผาและแผนปฏิบัติการจัดการไฟป่า จัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครควบคุมไฟป่าภาคประชาชน เพื่อให้มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : ทส.
· จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกรายชนิดของพืชเกษตรที่เสี่ยงต่อการเผา (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงาน) และข้อมูลเกษตรกรแยกรายจังหวัด
เพื่อวางแผนในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงการเผาไหม้
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กษ. |
(2) การจัดการไฟในป่า เช่น |
· พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติ : ประกาศจำกัดการเข้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง จัดชุดปฏิบัติการ ชุดลาดตระเวน จัดตั้งจุดตรวจ และจุดเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงร่วมกับชุมชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่าเพื่อป้องกันการเผาป่าและการดับไฟ รวมทั้งสร้างการรับรู้และปลูกจิตสำนึกให้กับชุมชนในพื้นที่
และสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการและการดับไฟป่า
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : ทส. ร่วมกับจังหวัดและฝ่ายความมั่นคง (กองทัพบก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
และกองทัพอากาศ)
· พื้นที่ทำประโยชน์อื่นในพื้นที่ป่า : ส่งเสริมและสนับสนุนให้พื้นที่เกษตรกรรม
ในที่ดินของรัฐทำการเกษตรแบบไม่เผาในทุกขั้นตอนการผลิต เฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบการเผาในพื้นที่ป่าชุมชน หากฝ่าฝืนให้ดำเนินการตักเตือนและหากกระทำผิดซ้ำให้ดำเนินการลงโทษตามข้อบังคับของชุมชนหรือดำเนินการเพิกถอนสิทธิในการอนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัย
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : ทส. กษ. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
· พื้นที่เกษตร :
- ให้จังหวัดนำข้อมูลจาก กษ. และประกาศขึ้นทะเบียนรายชื่อเกษตรกรและจำนวนพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟ เช่น พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ที่จำเป็นต้องกำจัดการแพร่ระบาดของศัตรูพืช เพื่อวางแผนการบริหารจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรมในแต่ละจังหวัด โดยให้มีการกำหนดและประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
การจัดการการเผา เช่น ต้องดำเนินการในช่วงกลางวันที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่เผาข้ามคืน จัดทำแนวกันไฟโดยรอบและควบคุมมิให้ไฟลุกลาม
- ดำเนินมาตรการเชิงรุกกับเกษตรกรในที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ โดยพิจารณาตัดสิทธิความช่วยเหลือต่าง ๆ จากภาครัฐกับเกษตรกรที่ไม่ให้ความร่วมมือ
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กษ.
- ออกมาตรการกำหนดสิทธิและประโยชน์เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรแบบไม่เผา และสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายให้ได้ราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กษ. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
- ปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ให้มีการลดการเผาอ้อยและส่งเสริมให้มีการนำส่งอ้อยสดคุณภาพดีส่งโรงงานผลิตน้ำตาลทราย
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
· การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง : ประกอบด้วย
- ยานพาหนะ : ออกประกาศห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าเขตเมืองในช่วงวิกฤต ฝุ่น PM2.5 สนับสนุนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ และตรวจจับรถควันดำอย่างเข้มงวด รวมทั้งควบคุมพื้นที่ก่อสร้างในช่วงวิกฤติฝุ่น PM2.5 และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กระทรวงคมนาคม ทส. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และกรุงเทพมหานคร
- อุตสาหกรรม : ตรวจบังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า และสถานประกอบกิจการเป้าหมายอย่างเข้มงวด เช่น กิจการเผาถ่าน หลอมโลหะ เตาเผาขยะ
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : อก. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ชุมชนและริมทาง : จัดชุดปฏิบัติการหรือระบบเฝ้าระวัง เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมและจับกุมผู้เผาในชุมชนและริมทาง เช่น เผาขยะ เศษใบไม้กิ่งไม้ เศษวัสดุทางการเกษตร รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์เพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในช่วงเริ่มเข้าสู่ดูร้อน
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : คค. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ตร. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
· การจัดการหมอกควันข้ามแดน :
- เสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการส่งเสริมการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรแบบไม่เผา และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนวทางในการลดหรือระงับการนำเข้าสินค้าเกษตรที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผา
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : พณ.
- จัดให้มีการหารือระดับรัฐมนตรีเพื่อยกระดับความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนในอนุภูมิภาคแม่โขงและภูมิภาคอาเซียนก่อนเข้าสู่ช่วงหมอกควันข้ามแดน
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กระทรวงการต่างประเทศและ ทส.
- สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล/ศูนย์แจ้งเตือน และศูนย์บัญชาการเฝ้าระวัง ควบคุมและดับไฟ ในประเทศเพื่อนบ้าน
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กระทรวงกลาโหมและ ทส.
· การบริหารจัดการภาพรวม : ประกอบด้วย
- งบประมาณและการให้สิทธิประโยชน์ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการขอรับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น ทส. รวบรวมรายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2568 ในการป้องกันและควบคุมไฟป่าในพื้นที่ 14 กลุ่มป่าแปลงใหญ่รอยต่อไฟ และเร่งรัดการขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
หรือขอรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนก่อนเข้าสู่ห้วงฤดูไฟป่า และให้สิทธิประโยชน์กับภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและดับไฟป่า
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : ทส.
- การยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย : ใช้พยานหลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบการ สืบสวน สอบสวน และค้นหาพยานหลักฐานเพื่อการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดในการบุกรุกหรือก่อให้เกิดไฟป่า เช่น ข้อมูลดาวเทียม
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : ตร.
- การปฏิบัติการในภาวะวิกฤต : ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 มีค่าเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศเกิน
150 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ติดต่อกัน 5 วัน เพื่อให้จังหวัดสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ
- จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่นเพื่อดูแลกลุ่มเปราะบาง แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เช่น หน้ากากอนามัย มุ้งสู้ฝุ่น และยกระดับการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น จัดหน่วยปฏิบัติการลงพื้นที่ดูแลประชาชน เปิดคลินิกมลพิษออนไลน์
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : มท. และกระทรวงสาธารณสุข
• การสื่อสารประชาสัมพันธ์ : ยกระดับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ในทุกระดับ ประกอบด้วย
- ระดับประเทศ : รายงานสถานการณ์และแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่น PM2.5
ในภาพรวมให้รวดเร็วและทั่วถึง รวมทั้งสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่น PM2.5 ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
ตัวอย่างหน่วยงานรับผิดชอบ : กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
- ระดับพื้นที่ : ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งศูนย์สั่งการและติดตามสถานการณ์ระดับจังหวัดเพื่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ต่อสาธารณะและผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายวันในช่วงวิกฤต เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจต่อสถานการณ์
- ระดับพื้นที่เสี่ยง : วางแนวทางการแจ้งเตือนภัยสถานการณ์ฝุ่นละอองร่วมกับเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยกระดับการแจ้งเตือนสถานการณ์แบบเจาะจงพื้นที่เสี่ยงเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้รับข้อมูลการแจ้งเตือน
และรับมือสถานการณ์เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ
หน่วยงานรับผิดชอบ : ทส. มท. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) |
(3) กลไกการบริหารจัดการ |
· ระดับชาติ : แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ [รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เป็นประธาน] ทำหน้าที่ เช่น เสนอแนะนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควันและฝุ่น PM2.5 และเป็นศูนย์กลางในการอำนวยการ ควบคุม กำกับ และประสานการดำเนินงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
· ระดับภาคหรือข้ามเขตป่าหรือเขตปกครอง : จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค โดยมีแม่ทัพภาคที่รับผิดชอบพื้นที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์ ทำหน้าที่ เช่น วางแผน อำนวยการ และบูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การควบคุมไฟและดับไฟในพื้นที่รับผิดชอบและในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัด
· ระดับจังหวัด : จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่ เช่น อำนวยการและบูรณาการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM2.5 สั่งการเพื่อระงับไฟป่าตรวจสอบ กำกับ ควบคุมการประกอบกิจการ กิจกรรมที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ลงวันที่
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568 แล้ว |
3. ทส. เห็นว่า
มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ที่เสนอในครั้งนี้ มีการยกระดับการปฏิบัติการและมีการดำเนินงานที่เข้มข้นมากขึ้นใน 3 มิติจากที่ดำเนินการในปัจจุบัน ดังนี้
1) มิติด้านการกำหนดเป้าหมาย : มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น การเพิ่มการกำหนดเป้าหมายการเผาในกลุ่มพืชเป้าหมายแต่ละชนิด ดังนี้ (1) นาข้าว กำหนดให้มีการเผาลดลงร้อยละ 30 (2) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กำหนดให้มีการเผาลดลงร้อยละ 10 และ (3) อ้อยโรงงาน กำหนดให้มีการเผาลดลงร้อยละ 15 (เดิมไม่ระบุแยกเป็นพืชรายชนิด)
2) มิติด้านการบูรณาการ : เดิมมีการบริหารจัดการปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่น PM
2.5 แบบแบ่งตามเขตจังหวัด ส่งผลให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการ เช่น กรณีพื้นที่ป่าที่ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด ดังนั้น มาตรการที่เสนอในครั้งนี้ จึงยกระดับการดำเนินการให้มีการบูรณาการมากขึ้น โดยกำหนดให้ยึดพื้นที่ที่เกิดไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM
2.5 เป็นตัวตั้งและบริหารจัดการร่วมกันจากหลายฝ่ายข้ามเขตจังหวัดหรือเขตการปกครอง
3) มิติด้านความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน : โดยยกระดับความร่วมมือมากขึ้น
เช่น สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล ศูนย์แจ้งเตือน และศูนย์บัญชาการเฝ้าระวัง ควบคุมและดับไฟในประเทศเพื่อนบ้าน (ปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านยังไม่มีศูนย์ดังกล่าวทำให้ขาดข้อมูลและกลไกสำคัญที่ใช้ในการบริหารจัดการปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM
2.5 ที่เกิดขึ้น)
ทั้งนี้ หากนำไปสู่การปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และมีกลไกการสนับสนุนงบประมาณเสริมการปฏิบัติงานในพื้นที่ให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึงมากขึ้น จะสามารถบรรเทาสถานการณ์ฝุ่นละอองในปี 2568 ได้
4.
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบต่อมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 แล้ว
4. เรื่อง ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM
2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ก.พ.ร. รายงานว่า
1. ทิศทางการพัฒนาระบบราชการไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) มุ่งสู่การเป็นภาครัฐที่ล้ำหน้า (Digital & Innovative Government) และภาครัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) มีความทันสมัย น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน
สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ (โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม)
ได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบ (Model) ระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem)
เพื่อขับเคลื่อนการเป็นภาครัฐที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินการกับภาครัฐและได้นำรูปแบบดังกล่าวไปทดลอง ใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีและลำปาง เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและมีความท้าทาย โดยมีขนาดขอบเขต และความรุนแรงของปัญหาที่ลำพังภาครัฐฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
ซึ่งในช่วงปี 2566-2567 ได้ขยายผลการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกพื้นที่ทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab)
รวม 2 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และได้นำผลการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอที่ได้จากพื้นที่ทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐดังกล่าวเสนอต่อ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณา ซึ่ง ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐจังหวัดเชียงใหม่ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
2.
ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ปัญหา |
ข้อเสนอ |
2.1 ปัญหาการขาดแผนบูรณาการเพื่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ทำให้ขาด การบูรณาการและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขาดการเรียงลำดับความสำคัญของพื้นที่เป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานและระดับพื้นที่ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดทำแผนการดำเนินการในภาพรวมและระดับพื้นที่ ควรเร่งดำเนินการในพื้นที่จังหวัดใดเป็นลำดับแรก เช่น พื้นที่ภาคเหนือ พื้นที่เมืองท่องเที่ยว พื้นที่ที่มีจุดความร้อนสูงสุด |
มอบหมายให้คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษ
ทางอากาศเพื่อความยั่งยืน (ปัจจุบันคือคณะกรรมการ
อำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ)
จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM2.5) โดยจัดลำดับความสำคัญในการกำหนด พื้นที่เป้าหมาย กิจกรรมในระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการแผนงานโครงการและงบประมาณร่วมกัน |
2.2 ปัญหาการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่
(Big Data) เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM2.5) ยังประสบปัญหาความร่วมมือในการสนับสนุน
ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลาง
และระดับพื้นที่ |
มอบหมายให้สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดชุดข้อมูลที่สำคัญ (Master Data) และเชื่อมโยงข้อมูลมายังสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ฯ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์วางแผน และสนับสนุน การตัดสินใจแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด ตัวชี้วัดสนับสนุนการดำเนินการ |
2.3 ปัญหาการจัดสิทธิที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติมีความล่าช้า
ทำให้ประชาชนยังคงปลูกพืชระยะสั้นเพื่อสร้างรายได้
และใช้วิธีการเผาในการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร
จึงควรจัดลำดับความสำคัญของการกำหนดพื้นที่
ที่นำมาจัดสิทธิที่ดินทำกิน โดยมุ่งเน้นพื้นพื้นที่ที่เป็น
แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มากที่สุด
เป็นพื้นที่เป้าหมายเร่งด่วนลำดับแรก รวมทั้งการใช้
เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการดำเนินการ
จัดสิทธิที่ดินทำกินควบคู่กัน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
ลดระยะเวลาการดำเนินการ เช่น การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) สำรวจพื้นที่การจัดทำสมุดประจำตัวดิจิทัล เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย |
1) มอบหมายให้กรมป่าไม้ [กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)] กำหนดพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เป็นพื้นที่เป้าหมายเร่งด่วนในการจัดสิทธิที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
(2) ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้แก่สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย
ที่ดินแห่งชาติในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เข้าไปสนับสนุนการดำเนินการจัดสิทธิที่ดินทำกิน |
2.4 ปัญหาการเผาในพื้นที่ภาคเกษตรกรรม การปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรมักใช้วิธีจัดการเศษวัสดุการเกษตรด้วยการเผา เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และประหยัด จึงควรมีการปรับโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรมอย่างครบวงจร สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรแบบไม่เผา และการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อชุมชนและสังคมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) |
(1) มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรกรมวิชาการเกษตร [กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)] และกรมป่าไม้ (ทส.) เร่งส่งเสริมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตไปสู่ระบบเกษตรไม่เผา โดยการพัฒนาอาชีพ และสนับสนุนกล้าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ไม้เศรษฐกิจ ไม้พลังงาน ไม้ยืนต้น ไม้ผล รวมทั้งการสนับสนุนเทคโนโลยี การจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรแบบ ไม่เผา
(2) มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากร
น้ำบาดาล สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การ
มหาชน) (ทส.) พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เป้าหมาย เช่น การก่อสร้างบ่อพวง บ่อมาตรฐาน ระบบประปาภูเขา เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้ผลต่าง ๆ รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด
(3) มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร และ กรมวิชาการเกษตร (กษ.) พัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับและส่งเสริมการใช้ระบบการรับรองผลผลิตทางการเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM25 Free) |
2.5 ปัญหาการเผาในพื้นที่ป่าไม้จากการเก็บของป่า
และการมีเชื้อเพลิงสะสม ในพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก
ทั้งในพื้นที่ป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ |
(1) มอบหมายให้กรมป่าไม้ (ทส.) ปรับปรุงกฎระเบียบ
เรื่อง การห้ามนำใบไม้ เศษกิ่งไม้ที่เป็นเชื้อไฟออกจาก
ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อการบริหารจัดการเชื้อเพลิง
ในพื้นที่ป่าสงวนและการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
(2) มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ทส.) จัดทำกติการ่วมกันระหว่างรัฐและชุมชนในการเก็บของป่าและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ ป่าอนุรักษ์และการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน |
2.6 ปัญหาการไม่ใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตรและเชื้อเพลิงสะสมในพื้นที่ป่ามาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเผาในพื้นที่ ภาคเกษตรกรรมเกิดจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรมักใช้วิธีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรด้วยการเผา เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และประหยัด ส่วนในภาคป่าไม้ การเผาเกิดจากการเก็บของป่า และการมีเชื้อเพลิงสะสมในพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก โดยในปัจจุบันมีการนำเศษวัสดุทางการเกษตรและเชื้อเพลิงสะสมในพื้นที่ป่าไม้มาใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจน้อย จึงทำให้มีการเผาในพื้นที่ทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ |
มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร (กษ.) กรมป่าไม้
และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ทส.)
จับคู่ (Matching) ระหว่างผู้ต้องการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตร (Demand) กับเกษตรกรที่ต้องการขาย
(Supply) ทำให้เกิดเป็นธุรกิจที่มาจากเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น การใช้เศษวัสดุจากข้าวโพดมาทำเป็นปุ๋ย หรือนำไปผลิตเป็นพลังงานที่มีค่าความร้อนสูง สามารถทดแทนการใช้ก๊าชแอลพีจี (LPG) ได้ |
2.7 ปัญหาการขยายผลในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ควรมีการส่งเสริมและสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้มากยิ่งขึ้น |
มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สกท. ประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร (กษ.) กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและ พันธุ์พืช (ทส.) ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยใช้
มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
ตามประกาศของ สกท. เป็นแนวทางดำเนินการเพื่อให้เกิดการขยายผลและเกิดความรวดเร็วในการแก้ไข
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) |
3. สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM
2.5) ในประเทศไทยเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ทำให้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งผลจากการทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่ของสำนักงาน ก.พ.ร. เห็นว่า การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM
2.5) ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยใช้กลไกการบริหาร “สูตร 8-3-1” คือ (1) ใช้เวลา 8 เดือนในการเตรียมการป้องกันปัญหา (2) ใช้เวลา 3 เดือน ในการเผชิญเหตุและบริหารสถานการณ์วิกฤต และ (3) ใช้เวลา 1 เดือน สำหรับการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนอเพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมวางแผนและเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM
2.5) ในภาคเกษตรกรรมและในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการล่วงหน้า ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝุ่นต่อไป
5. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเรื่อง โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกปีการผลิต 2567/68 ของกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบ
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 และอนุมัติ
กรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 9,019.01 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) และ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
1.1
โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 กรอบวงเงินประมาณรวมทั้งสิ้น 8,362.76 ล้านบาท จำแนกเป็น (1) ค่าฝากเก็บ 4,500 ล้านบาท (2) วงเงินชดเชย 2,088.71 ล้านบาท และ (3) กรณีมีการระบายข้าวโครงการฯ รัฐบาลจ่ายคืนและชดเชย ให้ ธ.ก.ส. วงเงิน 1,774.05 ล้านบาท
1.2
โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร
ปีการผลิต 2567/68 กรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 656.25 ล้านบาท
2. เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกปีการผลิต 2567/68 และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 585 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กรมการค้าภายในเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567
ทั้งนี้ การชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. สำหรับโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68 ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
นบข.ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 (นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 ตามที่ กษ. (กรมการข้าว) ร่วมกับ ธ.ก.ส. และ พณ. (กรมการค้าภายใน) เสนอ จำนวน3 โครงการ เป้าหมาย 8.50 ล้านตัน วงเงินรวมทั้งสิ้นจำนวน 60,085.01 ล้านบาท ประกอบด้วย วงเงินสินเชื่อ จำนวน 50,481 ล้านบาท และวงเงินงบประมาณที่ต้องขอรับการชดเชย (เสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี) จำนวน 9,604.01 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
เป้าหมาย |
วิธีการดำเนินโครงการ |
ระยะเวลา |
วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท) |
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2567/68
|
3 ล้านตัน ข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ
35,481 ล้านบาท
|
- ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทุกจังหวัดทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยกำหนดข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการ และวงเงินสินเชื่อต่อตัน ดังนี้
ประเภท |
วงเงินสินเชื่อต่อตัน (บาท) |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ |
12,500 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ |
11,000 |
ข้าวเปลือกปทุมธานี |
10,000 |
ข้าวเปลือกเจ้า |
9,000 |
ข้าวเปลือกเหนียว |
10,000 |
โดยรัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยแทนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้กู้ในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี
- ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการได้รับในอัตรา 1,000 บาท ต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
- กรณีราคาข้าวเปลือกในตลาดต่ำกว่าราคาข้าวเปลือกที่ให้สินเชื่อ ธ.ก.ส. จะดำเนินการระบายข้าวเปลือก และสำรองจ่ายค่าขนย้ายข้าวเปลือกไปก่อน โดยรัฐจะชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. |
ระยะเวลาจัดทำสัญญา
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 (ยกเว้นภาคใต้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2568)
ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้
ไม่เกิน 5 เดือนนับถัดจากเดือนรับเงินกู้ และเมื่อครบกำหนดชำระคืน หากราคาตลาดต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อต่อตัน สามารถขยายเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 คราว คราวละ 1 เดือน ภายในระยะเวลาโครงการ คือไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568
ระยะเวลาโครงการ
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 |
8,362.76
โดยให้ ธ.ก.ส ขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมการค้าภายใน และ ธ.ก.ส |
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2567/68 |
1.50 ล้านตัน
ข้าวเปลือก
วงเงินสินเชื่อ
เป้าหมาย
15,000 ล้านบาท |
- ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้แก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรับซื้อ และรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือ เพื่อการเก็บข้าวเปลือกไว้แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4.50 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 6.125 ต่อปี) ซึ่งสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 3.50 ต่อปี |
ระยะเวลาทำสัญญา และ
จ่ายเงินกู้
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรี
และคณะกรรมการ ธ.ก.ส.
มีมติให้ความเห็นชอบจนถึง
วันที่ 30 กันยายน 2568
ระยะเวลาชำระคืนหนี้
ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2568
ระยะเวลาโครงการ
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 |
656.25
เพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. และให้ ธ.ก.ส. ขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณต่อไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมการค้าภายใน และ ธ.ก.ส |
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2567/68 |
4 ล้านตัน
ข้าวเปลือก |
- ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการเก็บสต็อกในรูปแบบข้าวเปลือกและข้าวสาร เพื่อดูดซับผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการผ่านธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐที่ผู้ประกอบการค้าข้าวเป็นลูกค้าอยู่ ตามมูลค่าข้าวเปลือกที่ผู้เข้าร่วมโครงการเก็บสต็อกไว้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตามระยะเวลาที่เก็บสต็อกไว้ 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ (ออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเบิกเงินกู้) เพื่อรับซื้อข้าวเปลือก ปีการผลิต 2567/68 |
ระยะเวลารับซื้อ
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568
(ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2568)
ระยะเวลาเก็บสต็อกข้าว
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
ระยะเวลาโครงการ
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2569 |
585.00
โดยใช้งบประมาณจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอให้กรมการค้าภายใน เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมการค้าภายใน พณ. |
รวมทั้งสิ้น |
9,604.01 |
6. เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาและส่งเสริมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบ (1) ผลการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 และ (2) รับทราบมาตรการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน
2. อนุมัติการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 จำนวน 2 โครงการ และมาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด จำนวน 1 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 113.17 ล้านบาท รวมทั้งมาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 2 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 207.54 ล้านบาท ดังนี้
โครงการ |
วงเงิน (ล้านบาท) |
(1) มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 และมาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด
(1.1) โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปีการผลิต 2567/68
(1.2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ปี 2567/68
(1.3) โครงการเพิ่มช่องทางการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 |
113.17
26.67
35.00
51.50 |
(2) มาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(2.1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี 2567 – 2568
(2.2) โครงการส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประเทศไทย (ปีที่ 1) |
207.54
138.00
69.54 |
รวมทั้งสิ้น |
320.71 |
ทั้งนี้โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2567/68 รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปรับเป็น รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี (ตามระยะเวลาในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เก็บสต็อกไว้) ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่นำเงินกู้จากธนาคารไปรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ชนิดเมล็ด ปีการผลิต 2567/68 จากเกษตรกรและเก็บสต็อกไว้เป็นระยะเวลา 60 – 120 วัน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรและไม่ต้องเร่งระบายผลผลิต
ในส่วนการชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
จากข้อมูลสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย ปีการผลิต 2567/68 แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังคงมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงอยู่ที่ประมาณ 8.906 ล้านต้น ในขณะที่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.971 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 1.979 ล้านต้น และพืชพลังงานทดแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว กลับมีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยในส่วนของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันปรับลดลงเหลือประมาณ 5.59 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าราคาต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2563 ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการรักษาเสถียรภาพราคาและส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในปี 2567/68 ในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรี 1) รับทราบผลการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 และมาตรการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน และ 2) อนุมัติมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2567/68 มาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด และมาตรการส่งเสริมการผลิต (5 โครงการ) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
โครงการ |
ความคืบหน้า |
(1) โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2566/67 |
มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 รายใน 14 จังหวัดโดยมีผลการตรวจสอบสต็อก 5 ครั้ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - เมษายน 2567 (สิ้นสุดการเก็บสต็อก 31 พฤษภาคม 2567) มีปริมาณเก็บสต็อกสูงสุด ณ เดือนมกราคม 2567 ปริมาณ 140,333.59 ตัน คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณเป้าหมาย 200,000 ตัน วงเงินขอรับชดเชยรวม 13.79 ล้านบาท (ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะทำงานตรวจสอบเอกสารหลักฐานการขอรับเงินชดเชยดอกเบี้ยก่อนเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต๊อกพิจารณาจ่ายชดเชยต่อไป) |
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2566/67 |
สิ้นสุดระยะเวลาการจ่ายเงินกู้แล้วเมื่อ 31 พฤษภาคม 2567 สถาบันเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 5 ราย จำนวน 7 สัญญาวงเงินกู้ 60.94 ล้านบาท (เป้าหมาย 1,000 ล้านบาท) ปริมาณ 7,732 ตัน (คิดเป็นวงเงินชดเชยดอกเบี้ย 2.13 ล้านบาท) |
2. อนุมัติมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2567/68 มาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด (โดยมีเป้าหมายปริมาณรวมประมาณ 400,000 ตัน) และมาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (5 โครงการ) สรุป ดังนี้
โครงการ |
สาระสำคัญ |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
(1) มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 |
(1.1) โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2567/68 |
รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปรับเป็นรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี (ตามระยะเวลาในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เก็บสต็อกไว้) ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่นำเงินกู้จากธนาคารไปรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ชนิดเมล็ด ปีการผลิต 2567/68 จากเกษตรกรและเก็บสต็อกไว้เป็นระยะเวลา 60 – 120 วัน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรและไม่ต้องเร่งระบายผลผลิต โดยมีเป้าหมาย จำนวน 200,000 ตัน และวงเงินสินเชื่อ จำนวน 2,000 ล้านบาท |
26.67
(กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร) |
(1.2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันการเกษตรปี 2567/68 |
สนับสนุนสินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อรวบรวมหรือรับซื้อ แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และ/หรือใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์
จากเกษตรกรโดยมีเป้าหมายรวบรวมจัดเก็บ จำนวน 100,000 ตัน และวงเงินสินเชื่อ จำนวน 1,000 ล้านบาท |
35.00
(งบประมาณ ตามาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐฯ) |
(2) มาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด |
โครงการเพิ่มช่องทางการตลาด
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68
|
องค์การคลังสินค้า (อคส.) และผู้รับซื้อนอกพื้นที่เข้าไปช่วยรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากเพื่อดึงอุปทานออกจากพื้นที่โดยผู้ที่รับซื้อจะได้รับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการ ไม่เกิน 500 บาทต่อตัน โดยมีเป้าหมาย จำนวน 100,000 ตัน นอกจากนี้ หากผู้รับซื้อที่ขาดเงินทุน/สภาพคล่อง อคส. จะสนับสนุนสินเชื่อ
ดอกเบี้ยต่ำในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี (3 เดือน) |
51.50
(กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร) |
(3) มาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
(3.1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567 – 2568 |
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน ประมาณ 10,000 ราย วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 230,000 บาท ต่อราย (วงเงินกู้รวมตามโครงการ จำนวน 2,300 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม |
138.00
(ง บ ป ร ะ ม า ณ
ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติ
วินัยการเงิน
การคลังของรัฐฯ) |
(3.2) โครงการส่งเสริมพัฒนา
ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประเทศไทย |
กรมส่งเสริมการเกษตรอบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในการจัดทำแปลงเรียนรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ปีที่ 1 จำนวน 32,500 ราย) และปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา (ปีที่ 1 จำนวน 4,940 ราย) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้อง โดยมีพื้นที่ดำเนินการ จำนวน 32 จังหวัด |
69.54
(งบกลาง รายการ
เงินสำรองจ่าย
เพื่อกรณีฉุกเฉิน
หรือจำเป็น )
|
รวมทั้งสิ้น |
320.71 |
3. รับทราบมาตรการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2568 (พิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 1005.9099 รหัสสถิติ 001) เช่นเดียวกับปี 2567 ยกเว้นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันในกรอบระยะเวลา ปี 2568 ให้กำหนดนโยบายและมาตรการตามข้อผูกพันของกรอบ ปี 2568 ดังนี้
นโยบายการนำเข้าตามข้อผูกพัน |
รายละเอียด |
(1) องค์การการค้าโลก (WTO) |
- ในโควตา อัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณ 54,700 ตัน โดยให้ อคส. เป็นผู้นำเข้า ไม่จำกัดช่วงเวลานำเข้า
- นอกโควตา อัตราภาษีร้อยละ 73 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท ไม่จำกัดปริมาณ |
(2) เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อัตราภาษีร้อยละ 0 |
- ให้ อคส. นำเข้าไม่จำกัดช่วงเวลา
- ผู้นำเข้าทั่วไป กำหนดช่วงเวลานำเข้าระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ - 31 สิงหาคม 2568 และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานควบคุมการนำเข้าตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 |
(3) ความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย (TAFTA) |
- ในโควตา ภาษีร้อยละ 0 ไม่จำกัดปริมาณ โดยต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมด หรือบางส่วนตามความตกลงการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลียสำหรับ
ภาษีในโควตา เพื่อประกอบการนำเข้า
- นอกโควตา ภาษีร้อยละ 65.70 ไม่จำกัดปริมาณ |
(4) กรอบการค้าอื่น ๆ |
เป็นไปตามข้อผูกพัน |
(5) ประเทศนอกความตกลง
|
อัตราภาษี กิโลกรัมละ 2.75 บาท และค่าธรรมเนียมพิเศษ
ตันละ 1,000 บาท |
4. มาตรการนำเข้าข้าข้าวสาลี โดยให้ใช้หลักฐานการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป มาแสดงประกอบการขออนุญาตนำเข้าข้าวสาลีในปี 2568 และมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการออกระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้มีการประชุมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีความจำเป็น มอบหมายให้ นบขพ. เป็นผู้พิจารณากำหนดมาตรการนำเข้าวัตถุดิบทดแทน ตามความจำเป็นเหมาะสม และดำเนินการตามระเบียบต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณที่ใช้ดําเนินมาตรการมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2567/68 มาตรการเพิ่มช่องทางการตลาด และมาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (5 โครงการ) แบ่งเป็น (1) เงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร จํานวน 78.19 ล้านบาท (2) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 69.54 ล้านบาท และ (3) งบประมาณตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จํานวน 173 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สํานักงบประมาณ (สงป.) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สํานักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง เห็นชอบ โดยมีความเห็นเพิ่มเติม เช่น กค. เห็นว่า สําหรับโครงการที่ใช้เงินทุนของ ธ.ก.ส. และรัฐบาลชดเชยให้แก่ ธ.ก.ส. เห็นควรชดเชยอัตราต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ในอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตราการชดเชยของมาตรการที่มีการดําเนินการในลักษณะเดียวกันในสินค้าเกษตรอื่นและโครงการในลักษณะเดียวกันในอดีตที่ผ่านมา ซึ่ง สงป. เห็นว่า รัฐบาลควรจะรับภาระอัตราชดเชยต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจําไตรมาส บวก 1 โดยให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราต้นทุนทางการเงินตามอัตราที่แท้จริง ทุกไตรมาส ในขณะที่ กต. เห็นว่า ในส่วนของการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรระมัดระวังไม่ให้ (1) เงื่อนไขการดําเนินมาตรการละเมิดพันธกรณีในการลดการอุดหนุน ภายในประเทศและ (2) การอุดหนุนภายในประเทศที่อาจส่งผลเป็นการบิดเบือนการค้า มีมูลค่าเกินกว่าเพดานปริมาณการอุดหนุนโดยรวม ซึ่งอาจเป็นการละเมิดพันธกรณี การลดการอุดหนุนภายในประเทศที่ประเทศไทยผูกพันไว้ได้ และ สศช. เห็นว่า พณ. ควรกํากับดูแลและติดตามการดําเนินโครงการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินงานแต่ละโครงการอย่างใกล้ชิด เป็นต้น
7. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการกลุ่มอาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารเรียนรวมและปฏิบัติกลาง) ต่อจากที่ก่อสร้างบางส่วนแล้วของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการกลุ่มอาคาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารเรียนรวมและปฏิบัติกลาง) ตําบลสะลวง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 1 หลัง จากเดิม 367,500,000 บาท เป็น 412,492,107.02 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิม 44,992,107.02 บาท และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณสําหรับรายการฯ
จากเดิม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2568
เป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2570 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 มีนาคม 2563) อนุมัติให้หน่วยรับงบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการใหม่ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จํานวน 1,470 รายการ ซึ่งรวมถึง
รายการกลุ่มอาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารเรียนรวมและปฏิบัติกลาง) ตําบลสะลวง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเงินงบประมาณ 315,000,000 บาท เงินนอกงบประมาณ 35,000,000 บาท เงินสํารองเผื่อเหลือเผื่อขาด 17,500,000 บาท รวมทั้งสิ้น 367,500,000 บาท โดยผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 (3 ปี) ของ อว. (มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)
ประโยชน์
เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี จํานวน 6 หลักสูตร 24 สาขาวิชาและระดับปริญญาโท จํานวน 1 หลักสูตร ซึ่งปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 4,000 คน
8. เรื่อง มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สําหรับรถไฟชานเมือง สายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล สําหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) (สายสีแดงตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) (สายสีแดงรังสิต) (รถไฟชานเมืองสายสีแดง) (ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568) โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อชดเชยการขาดรายได้ส่วนต่างค่าโดยสารตามจริง ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
2.
อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล สําหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) (ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568) ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดําเนินการตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว
3. ให้ คค. ประเมินผลการดําเนินมาตรการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปริมาณผู้โดยสารและรายได้ ซึ่งจะส่งผลต่อภาระการชดเชยจากภาครัฐ และคํานึงถึงความสะดวกสบายในการเดินทางและการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน เป็นต้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการดําเนินมาตรการดังกล่าวในปีถัดไป
(มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสายฯ จะเริ่มดําเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจากมาตรการเดิมที่สิ้นสุดลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567)
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
1. รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยรัฐบาลจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ (Mega Project) ทั้งทางราง ทางน้ำ ทางถนน และทางอากาศอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยทางถนน ลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กําหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการคมนาคมทางราง ในระยะเร่งด่วน เร่งขยายผลนโยบายรถไฟฟ้า ในอัตรา 20 บาท ตลอดเส้นทาง ไปเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ โดยให้กรมขนส่งทางราง และสํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเร่งผลักดันกฎหมายร่างพระราชบัญญัติ การขนส่งทางราง พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติตั๋วร่วม พ.ศ. .... ให้ประกาศใช้โดยเร็ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
2. การดําเนินมาตรการค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล สําหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ของ รฟท. และรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ รฟม. (การดําเนินมาตรการฯ) มีอัตราค่าโดยสารในภาพรวม สรุปดังนี้
หน่วย : บาท
อัตราค่าโดยสาร |
รถไฟชานเมืองสายสีแดง |
รถไฟชานเมืองสายสีม่วง |
ก่อนการดําเนินมาตรการฯ |
การดําเนินมาตรการฯ |
ก่อนการดําเนินมาตรการฯ |
การดําเนินมาตรการฯ |
1.บุคคลทั่วไป |
12 - 42 |
12 - 20 |
14 - 42 |
14 - 20 |
2. เด็ก/ผู้สูงอายุ |
6 - 21 |
6 - 20 |
7 - 21 |
7 - 20 |
3. นักเรียน นักศึกษา
(ส่วนลด ร้อยละ 10) |
11 - 38 |
11 - 20 |
13 - 38 |
13 - 20 |
3. ผลการดำเนินมาตรการฯ ที่ผ่านมา
3.1 ผลการดำเนินมาตรการฯ เปรียบเทียบกับการประมาณการ
3.1.1 รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
รายการ |
ผู้โดยสารรวม (เที่ยว) |
รายได้ค่าโดยสารรวม (ล้านบาท) |
การประมาณการ |
8,000.599 |
239.47 |
ผลการดำเนินมาตรการฯ |
10,602.478 |
210.56 |
เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น (ลดลง) |
2,601.879 |
(28.91) |
หมายเหตุ : เป็นการนำประมาณการรายได้ค่าโดยสารกรณีจัดเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท มาเปรียบเทียบกับรายได้ที่จัดเก็บได้จริงในช่วงการดำเนินมาตรการฯ
3.1.2 รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รายการ |
ผู้โดยสารเฉลี่ย (เที่ยว/วัน) |
รายได้ค่าโดยสารเฉลี่ย (ล้านบาท/วัน) |
รายได้ค่าโดยสารรวม(ล้านบาท) |
การประมาณการ |
66,265 |
0.62 |
(193.23) |
ผลการดำเนินมาตรการฯ |
66,067 |
0.96 |
(119.33) |
เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น (ลดลง) |
(198) |
0.34 |
(73.9) |
หมายเหตุ : เป็นการประมาณการผู้โดยสาร/รายได้ ที่เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานก่อนมีมาตรการฯ
3.2 ผลการดำเนินมาตรการฯ เปรียบเทียบกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริง
หน่วย : ล้านบาท
รายได้ค่าโดยสารรวม |
ผลการดำเนินมาตรการฯ |
รถไฟชานเมืองสายสีแดง |
รถไฟชานเมืองสายสีม่วง |
กรณีฐาน |
239.47 |
588.27 |
ผลการดำเนินมาตรการฯ |
210.56 |
336.12 |
รายได้ค่าโดยสารที่สูญเสีย |
28.91 |
252.15 |
หมายเหตุ : รฟท. (รถไฟชานเมืองสายสีแดง) และ รฟม. (รถไฟสายสีม่วง) มีวิธีคำนวณการสูญเสียรายได้ค่าโดยสารที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. กรณีรถไฟชานเมืองสายสีแดง รายได้ค่าโดยสารที่สูญเสียเป็นการ
นําประมาณการ รายได้ค่าโดยสารกรณีจัดเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาท (239.47 ล้านบาท) มาหักลบกับรายได้ที่จัดเก็บได้ในช่วงการดําเนินมาตรการฯ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2567 จํานวน 210.56 ล้านบาท
2. กรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง รายได้ค่าโดยสารที่สูญเสีย เป็นการ
นํารายได้ค่าโดยสาร กรณีเก็บตามอัตราจริง (สูงสุด 42 บาท) ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2567 จะมีรายได้จํานวน 588.27 ล้านบาท มาหักลบกับรายได้ที่จัดเก็บได้ในช่วงการดําเนินมาตรการฯ ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - กันยายน 2567
3.3 ผลการดําเนินมาตรการฯ เปรียบเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ
3.3.1
รถไฟชานเมืองสายสีแดง
ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566- กันยายน 2567) สามารถกระตุ้นให้ผู้โดยสารหันมาใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ดังนั้น การดําเนินงานตามมาตรการดังกล่าว จึง
เป็นประโยชน์กับประชาชนและส่งเสริมการใช้บริการขนส่งมวลเพิ่มมากขึ้น
3.3.2
กรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วง
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ประมาณการ |
ผลการดำเนินมาตรการฯ |
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถ (VOC) /เดือน |
40.40 |
39.78 |
2. ประหยัดเวลาในการเดินทาง (VOT) /เดือน |
25.26 |
24.87 |
3. ค่าความสุข (Well - Being Index) /เดือน |
11.52 |
11.34 |
4. ลดมูลค่าความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ (ACC) /เดือน |
0.79 |
0.77 |
5. ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) /เดือน |
1.39 |
1.37 |
รวมมูลค่าผลประโยชน์ |
ต่อเดือน |
79.35 |
78.13 |
ต่อปี |
952.23 |
937.59 |
รถไฟฟ้าสายสีม่วงมีรายได้ค่าโดยสารรวม 336.13 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับกรณีจัดเก็บค่าโดยสารในอัตราปกติ (14 - 42 บาท) โดยมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากการดําเนินมาตรการฯ คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ ประมาณ 588.27 ล้านบาท จึงสูญเสียรายได้รวม 252.15 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณามูลค่าผลประโยชน์ที่ได้รับในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การดําเนินมาตรการฯ ในช่วงที่ผ่านมา ช่วยสร้างมูลค่าผลประโยชน์ที่ได้รับในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สุทธิ 937.59 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่ามากกว่ารายได้ค่าโดยสารที่สูญเสีย
4. การขยายการดําเนินมาตรการฯ ในปีต่อไป (ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568)
4.1 การดําเนินงานในการขยายการดําเนินมาตรการฯ ในปีต่อไป มีการดําเนินงาน ดังนี้
4.1.1 รถไฟชานเมืองสายสีแดง
คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ดังนี้
(1)
อนุมัติในหลักการ โดยให้นําแผนบริหาร จัดการกิจกรรม มาตรการหรือโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดําเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ เสนอพร้อมกับการขออนุมัติ กิจกรรม มาตรการหรือโครงการต่อคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (4) และมาตรา 27
(2)
อนุมัติอัตราค่าโดยสารตามนโยบายไม่เกิน 20 บาท ตลอดสายของรัฐบาล และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 9 (3) มาตรา 25 มาตรา 41 และมาตรา 43 ทั้งนี้
จะดำเนินการได้ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
(3) ให้ รฟท. ดำเนินการขอรับการชดเชยส่วนต่างรายได้ที่สูญเสีย
(4) ให้ รฟท. เสนอดําเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติการพัฒนาการกํากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ต่อไปด้วย
(5) การดำเนินการโครงการตามนโยบายลดค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง 20 บาท ตลอดสายดังกล่าว เห็นควรให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อชดเชยส่วนต่างรายได้ค่าโดยสารที่สูญเสียจากการดําเนินการตามนโยบายภาครัฐ เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดําเนินการให้บริการสายสีแดง
4.1.2 รถไฟฟ้าสายสีม่วง
คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2567 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ดังนี้
(1) รับทราบการประเมินผลการดําเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง สูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมาตรการที่ผ่านมา (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2567) และให้รายงานผลการดําเนินมาตรการดังกล่าวและการดําเนินการตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ คค. และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
(2) เห็นชอบหลักการการขยายมาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงสูงสุด 20 บาท ตามนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568
(3) เห็นชอบร่างประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เรื่อง การกําหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง จํานวน 2 ฉบับ
5. คค. ได้จัดทําข้อมูลตามมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยประมาณการว่าจะต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณ (รฟท.) และมีการสูญเสียรายได้ (รฟม.) สรุปดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
รถไฟชานเมืองสายสีแดง |
รถไฟฟ้าสายสีม่วง |
ประมาณการค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ |
35.35 |
272.99 |
แหล่งที่มาของเงินชดเชยค่าโดยสาร |
รฟท. จะเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยต่อไป |
รฟม. จะนําเงินรายได้ ที่ต้องส่งคลังมาชดเชย |
3.6 คค. พิจารณาแล้วเห็นสมควรอนุมัติมาตรการฯ ในปีถัดไป (ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2567 จนถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2568) เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางสนับสนุนให้ประชาชนมาใช้บริการระบบราง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เท่าเทียมกันในการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้ คค. จะประเมินผลการดําเนินมาตรการเป็นรายปี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการดําเนินมาตรการดังกล่าวในปีถัดไป
9. เรื่อง ข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน”
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” (ข้อเสนอฯ) ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (ก.ส.ค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงคงของมนุษย์ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับส่วนราชการระดับภูมิภาค จังหวัด และภาคีเครือข่าย รวมทั้งจัดประชุมร่วมกับหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดสวัสดิการสังคมและที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างข้อเสนอ “การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน” จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มเด็กและเยาวชน (2) กลุ่มผู้สูงอายุ (3) กลุ่มคนพิการ (4) กลุ่มวัยแรงงาน และ (5) สวัสดิการสำหรับครอบครัว โดยคำนึงถึงมาตรฐานขั้นต่ำของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพิจารณามาจากความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตของคนตลอดช่วงวัย และนำมาเทียบเคียงกับสวัสดิการที่รัฐจัดให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนทุกช่วงวัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมน้อยลง โดยคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ (โดยมีพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เห็นชอบ (ร่าง) ข้อเสนอดังกล่าวแล้ว
2.
สาระสำคัญของข้อเสนอฯ จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม สรุป ดังนี้
1) กลุ่มเด็กและเยาวชน
ข้อเสนอเชิงนโยบาย |
แนวทางการขับเคลื่อน |
1) ปรับฐานกลุ่มเป้าหมายโครงการเงินอุดหนุนฯ
(เดิมครัวเรือนต้องมีสมาชิกที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี) เป็นการให้เงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าโดยไม่ต้องมีการคัดกรองรายได้ของครอบครัว เพื่อให้ครอบคลุมและทำให้เด็กได้รับความช่วยเหลือแบบถ้วนหน้าไม่ตกหล่นและขยายอายุของเด็ก (เดิมตั้งแต่แรกเกิด-6 ปี) ให้ครอบคลุมเด็กในครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือน (ซึ่งเป็นช่วงที่ควรเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาการได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอของมารดาขณะตั้งครรภ์และเป็นช่วงที่มีโอกาสสูงที่เด็กจะรอดชีวิตจนถึงคลอด) ถึง 6 ปี ในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน (เท่าเดิม) เพื่อเป็นหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้ครอบครัวจะมีรายได้ลดลง |
ผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการขยายเงินอุดหนุนฯ ให้ครอบคลุมแบบถ้วนหน้าและขยายอายุของเด็กตั้งแต่ครรภ์ 4 เดือน- 6 ปี ในอัตรา 600 บาท/คน/เดือน
พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูลโครงการเงินอุดหนุนฯ รองรับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถรองรับกลุ่มเป้าหมายทุกคน จุดเด่นคือผู้ปกครองสามารถยื่นขอรับสิทธิผ่าน Mobile Application เงินเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อมูล ทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เพื่อยืนยันตัวตนของผู้รับสิทธิ ลดความผิดพลาดในการนำเข้าข้อมูล ลดจำนวนเอกสาร และลดระยะเวลาการดำเนินการ
เชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เชื่อมโยงฐานข้อมูล สธ. เพื่อติดตามการเข้าสู่การคัดกรองพัฒนาการของเด็ก ภาวะโภชนาการ การได้รับวัคซีน การดื่มนมแม่ และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขด้านอื่น ๆ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับ ศธ.
เพื่อติดตามการเข้าสู่ระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปที่อยู่ในสังกัด ศธ. ที่เข้ารับบริการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
เพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีครอบครัวที่ไม่ประสงค์รับเงินอุดหนุนฯ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับเด็ก |
(2) พัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย โดยปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี รวมถึงพัฒนาการศึกษาทั้งในส่วนของหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งในกรณีเด็กที่หลุดออกจากระบบในช่วงส่งต่อการศึกษา ควรมีสวัสดิการในการแนะแนวอาชีพและให้คำปรึกษา |
ควรมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อขยายระยะเวลาให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 15 ปี เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมาตรา 17 บัญญัติให้มีการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 9 ปี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายสิทธิสวัสดิการการศึกษาให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากเดิม เช่น เรียนฟรี อุปกรณ์ฟรี อาหารฟรี ร่วมกิจกรรมฟรี ฟรีรถรับส่ง
ทบทวนการจัดสรรงบประมาณรายหัวสำหรับนักเรียน และเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ด้านการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เพิ่มเติมสวัสดิการในการดูแลเด็กและเยาวชนช่วงหลังเลิกเรียนและวันหยุด โดยการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนทั้งในพื้นที่จริงและสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อให้เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียม เกิดการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ
ติดตามประเมินผลการจัดสวัสดิการสังคมด้านการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นผลตอบแทนเชิงสังคมที่เกิดจากการลงทุนด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาสวัสดิการด้านการศึกษาให้ได้มาตรฐานมากขึ้น |
หน่วยงานรับผิดชอบ : พม. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ศธ. สธ. และ อปท. |
2) กลุ่มผู้สูงอายุ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย |
แนวทางการขับเคลื่อน เช่น |
(1) การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
อายุ 60-69 ปี เดือนละ 700 บาท
อายุ 70-79 ปี เดือนละ 850 บาท
อายุ 80-89 ปี เดือนละ 1,000 บาท
อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป เดือนละ 1,250 บาท
เพื่อให้เพียงพอต่อค่าครองชีพของผู้สูงอายุในสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับประมาณการงบประมาณที่ต้องใช้ในกรณีปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวในปี 2567 เป็นเงิน 123,353 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึง
ปี 2573 เป็นเงิน 152,903 ล้านบาท |
การผลักดันและขับเคลื่อนข้อเสนอในการปรับเบี้ยผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
การพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลในการเข้าถึงและจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบันและอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ
การเพิ่มช่องทางการคืนเงิน กรณีผู้สูงอายุไม่ประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และนำเงินมาใช้ในการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุ |
(2) ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน (Community
Center) สำหรับทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการดูแลคนทุกช่วงวัยให้สามารถเข้าถึงสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
ควรร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น อปท. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คนในชุมชน ผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งศูนย์ของชุมชน โดยร่วมกันออกแบบโครงสร้าง แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนทุกช่วงวัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยชุมชนดูแลกันเอง เน้นการใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชน เช่น โรงเรียนที่ปิดตัวไม่มีการเปิดการเรียนการสอนมาเป็นพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์
ควรมีหน่วยงานในพื้นที่ทำหน้าที่ประสานและมีรถรับส่งผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในศูนย์ของชุมชนหรือในชุมชนไปยังสถานพยาบาล |
(3) การส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสม ตามกฎหมายแรงงาน ได้กำหนดอายุ วัยแรงงานตั้งแต่ 15-60ปี แต่หากผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีศักยภาพและกำลังในการทำงานหลังครบกำหนดอายุตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายคุ้มครองแรงงานควรกำหนดให้มีการรับรองสิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ควรมีมาตรการการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุเพื่อคุ้มครองเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานและสภาพการจ้างงาน เช่น งานและสถานที่อันตรายที่ห้ามผู้สูงอายุทำงาน ชั่วโมงการทำงานต่อวันและต่อสัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... โดยหมายรวมถึงผู้สูงอายุด้วย แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้ |
การผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... ในการคุ้มครองแรงงานอิสระที่เป็นแรงงานนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม
การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการจ้างงานแรงงานผู้สูงอายุ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีให้สถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ
ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน |
หน่วยงานรับผิดชอบ : พม. กระทรวงแรงงาน (รง.) สธ. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และ อปท. |
3. กลุ่มคนพิการ
ข้อเสนอเชิงนโยบาย |
แนวทางการขับเคลื่อน เช่น |
- การปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่า
ครองชีพเป็น 1,000 บาท แบบถ้วนหน้าโดยดำเนินการควบคู่ไปกับการนำคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม และเป็นธรรม |
การผลักดันข้อเสนอเชิงในการปรับเบี้ยความพิการให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ
การทบทวนคำนิยาม “คนพิการ” ให้ชัดเจนและทุกหน่วยงานใช้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันในการทำงาน
การปรับลดขั้นตอน/กระบวนการสำหรับการขอบัตรประจำตัวคนพิการและขอรับเบี้ยความพิการ โดยให้บริการแบบครบวงจรมีระบบ One Stop Service
การออกใบรับรองความพิการผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้เชื่อมกับแอปพลิเคชันสุขภาพที่มีอยู่ |
(2) การส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพิ่มมากขึ้นควรเริ่มจากการปรับทัศนคติของผู้ประกอบการ
ในการพิจารณาศักยภาพในการทำงานของคนพิการ
อย่างเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติจากความบกพร่อง
ด้านความพิการ |
มีการกำหนดหรือปรับปรุงกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติในการทำงานที่ชัดเจน และทำให้คนพิการมีโอกาสเท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิการถูกจ้างงาน
การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อสิทธิในการเดินทาง/คมนาคมและบริการสาธารณะ สิทธิในการเข้าถึงที่พักอาศัย สินค้าและสิทธิในการติดต่อทางโทรคมนาคมเพื่อรองรับการเดินทางไปประกอบอาชีพของคนพิการให้เป็นไปด้วยความสะดวก
ควรสร้างและฝึกทักษะอาชีพที่เหมาะสมกับ คนพิการแต่ละประเภทความพิการและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ควรส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนรับคนพิการเข้าทำงาน |
(3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการด้านกายอุปกรณ์ ที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูและดูแลตนเองที่บ้าน รวมทั้ง การบริการด้านการศึกษา สาธารณสุข และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่สามารถตอบโจทย์ความพิการแต่ละประเภท |
การส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้ง “ธนาคารกายอุปกรณ์” ให้ยืมอุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้มีความจำเป็นในระดับจังหวัดให้มีความครอบคลุมทุกพื้นที่ และพัฒนาระบบการให้บริการในการขอรับกายอุปกรณ์ให้มีความสะดวกสบาย และเอื้อต่อผู้มาขอรับบริการ โดยให้ชุมชนดูแลกันเอง
การส่งเสริมให้มีสถานที่พักพิงชั่วคราวในการฝากดูแลคนพิการผู้สูงอายุ และผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น อปท. จัดสถานที่สำหรับดูแลคนพิการในชุมชนโดยมีอาสาสมัครซึ่งเป็นคนในชุมชนมาช่วยดูแลโดยอาสาสมัครต้องได้รับการฝึกอบรมการดูแลคนพิการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ตามประเภทความพิการ และได้รับค่าตอบแทนเหมือนกับอาสาสมัครหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : พม. สธ. อปท. |
4.
กลุ่มวัยแรงงาน
ข้อเสนอเชิงนโยบาย |
แนวทางการขับเคลื่อน เช่น |
(1) การยกระดับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบโดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขยายสิทธิประกันสังคมที่ตรงตามความต้องการของ แรงงานนอกระบบ |
การปรับปรุงสถานภาพทางกฎหมายของแรงงานรูปแบบใหม่ในอนาคต (Gig Worker) ผ่านการปรับปรุงนิยามของผู้รับจ้างและลูกจ้าง โดยคำว่าลูกจ้างครอบคลุมถึงผู้รับจ้างบางกลุ่ม เช่น แรงงาน Gig Worker หรือการจัดประเภทแรงงานให้ชัดเจนว่า
เป็นแรงงานประเภทใด หรือการจัดประเภทแรงงานเหล่านี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้แรงงานกลุ่มนี้เข้าถึงความคุ้มครองทั้งทางกฎหมายและทางสังคม
การปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจแรงงานนอกระบบ/แรงงาน Gig Worker ให้เข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยการเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์มาตรา 40 จากเดิมมี 3 ทางเลือกให้มีทางเลือกมากขึ้น
การศึกษาความเป็นไปได้ด้านงบประมาณและคำนวณงบประมาณคาดการณ์ที่จะใช้สำหรับการเพิ่ม สิทธิประโยชน์ |
(2) การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมุ่งเน้น
การพัฒนาทักษะ (Re-skill) ยกระดับทักษะ (Up-Skill)
เทคโนโลยีสารสนเทศ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
เรื่องดิจิทัล เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างตอบสนอง
ต่อความต้องการของสถานประกอบกิจการ และเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด |
จัดทำหลักสูตรการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ตลาดแรงงาน และโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบัน
โดยต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) ทักษะการเรียนรู้ (2) ทักษะด้านดิจิทัล และ
(3) ทักษะทางด้านชีวิต สังคม และอาชีพ และใช้โปรแกรมประเมินข้อมูลรายบุคคล เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพว่าแต่ละคนเหมาะกับงานแบบใด เพื่อให้ได้งานที่เหมาะสมกับทักษะ รวมถึงให้ประกาศนียบัตรเพื่อรับรองผู้เข้าอบรมว่าสามารถทำงานได้จริง |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : พม. ดศ. รง. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และ อปท. |
5.
สวัสดิการสำหรับครอบครัว
ข้อเสนอเชิงนโยบาย |
แนวทางการขับเคลื่อน เช่น |
พัฒนา “แนวทางสวัสดิการบริการสนับสนุนครอบครัว (Family Support Service)” โดยให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน ออกแบบสวัสดิการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของครอบครัวแต่ละประเภท เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเข้าถึง ได้รับสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
|
ทบทวนคำนิยามและมุมมองต่อ “ครอบครัว” ให้ครอบคลุมครอบครัวทุกประเภท เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบสวัสดิการสำหรับครอบครัวได้อย่างชัดเจน
การอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้กับครอบครัวที่มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในลักษณะของ In-Horne Care (การดูแลที่บ้าน) เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมจนสามารถฟื้นคืนภาวะปกติ หรือลดความเสี่ยงต่ออาการในระดับที่รุนแรงขึ้น
ส่งเสริมและเสริมพลังให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจและมีบทบาทในการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ถูกต้อง เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง
พัฒนาและออกแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับรูปแบบของครอบครัวที่แตกต่างกัน
จัดบริการสังคมที่เหมาะสมกับครอบครัว |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : พม. มท. รง. ศธ. |
- ประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายฯ
- ประชาชนทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชน วัยแรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการได้รับการจัด
สวัสดิการที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้
- มีกลไกท้องถิ่น ท้องที่ และภาคประชาสังคมเป็นฐานในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับ
ครอบครัวและคนทุกช่วงวัย
10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำและเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จำนวน 523 รายการ วงเงิน 2,787,008,900 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. กรมชลประทาน มีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ
และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำโดยการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในความรับผิดชอบของชลประทานให้สามารถดำเนินภารกิจของกรมชลประทานในการบริหารจัดการน้ำและป้องกันบรรเทาภัยจากน้ำ
(2) เพื่อซ่อมแซมปรับปรุงอาคารและระบบชลประทานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และการใช้งานให้กลับคืนสู่สภาพเดิม หรือมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีสภาพพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้ดีขึ้น สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากได้
(3) เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยจากน้ำท่วมและน้ำขังในพื้นที่ที่อยู่อาศัยพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
(4) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำด้านอุทกภัย และภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
(5) เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภค -บริโภค และเพื่อกิจกรรมอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(6) เพื่อเพิ่มศักยภาพเครื่องจักรเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานก่อสร้าง/ปรับปรุง/ซ่อมแซม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยและภัยแล้งได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
1.2
แผนงานโครงการ ขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น วงเงิน 2,787,008,900 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568)
ลำดับ |
ประเภทรายการ |
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (บาท) |
1 |
พัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย |
523 |
2,787,008,900 |
รวมทั้งสิ้น |
523 |
2,787,008,900 |
1.3
ผลลัพธ์ของโครงการ
กรมชลประทานจะมีอาคารชลประทาน ที่มีสภาพพร้อมใช้งานสำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ เตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูอาคารชลประทาน และป้องกันบรรเทาภัยจากน้ำ กิจกรรมอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สำนักงบประมาณ แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 2,787,008,900 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการพัฒนาแห่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเตรียมความพร้อมโครงการ และฟื้นฟูโครงการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย 523 รายการโดยเบิกจ่ายในงบลงทุน
11. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (เรื่องขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 เรื่อง การทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (เรื่องขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 เรื่อง การทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน) ในประเด็นโครงสร้างระบบบริหาร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนได้ดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนให้สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามยังคงพบปัญหาความไม่สมดุลของปริมาณน้ำนมกับสิทธิการจำหน่าย การพิจารณาข้อมูลผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ อีกทั้งการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมในระดับฟาร์มยังดำเนินการได้ไม่เต็มศักยภาพ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนจึงพิจารณาทบทวนแนวทางการดำเนินการงานตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวและภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นควรปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารของคณะกรรมอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนและคณะอนุกรรมการที่อยู่ภายใต้กรรมการดังกล่าวเพื่อเป็นการกระจายอำนาจบริหาร ดังนี้
โครงสร้างระบบบริหารตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (เดิม) |
โครงสร้างระบบบริหาร
ที่เสนอในครั้งนี้ (ปรับใหม่) |
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน จำนวน 15 คน มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนและรณรงค์การบริโภคนมไปยังสถาบันการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย
- ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ
- หน่วยงานที่กำกับดูแล จำนวน 4 คน เป็นกรรมการ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการผลิต จำนวน
3 คน เป็นกรรมการ
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้บริการ จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง จำนวน 3 คน
- อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและเลขานุการ
โดยภายใต้คณะกรรมการดังกล่าวจะมีคณะอนุกรรมการรับผิดชอบภารกิจต่าง ๆ ดังนี้ |
ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นกรรมการและเลขานุการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ส่วนจำนวนและองค์ประกอบอื่นคงเดิม |
1. คณะอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประกอบด้วย อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานอนุกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการและผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชีวภาพผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ (ผู้อำนวยการฯ) เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการชุดนี้มีจำนวนไม่เกิน 15 คน และมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน |
1. คณะอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นประธานอนุกรรมการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ และผู้แทนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการแทนผู้อำนวยการฯ ส่วนจำนวนองค์ประกอบอื่นและอำนาจหน้าที่คงเดิม |
2.คณะอนุกรรมการ รณรงค์บริโภคนมในสถาบันการศึกษาทุกระดับประกอบด้วย ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
เป็นประธานอนุกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการในตลาดนมพาณิชย์ร่วมเป็นกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายการตลาดและการขาย อ.ส.ค. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการชุดนี้มีจำนวนไม่เกิน 15 คน และมีอำนาจหน้าที่จัดทำโครงการรณรงค์บริโภคนมในสถาบันการศึกษาทุกระดับ |
2. คงเดิม |
3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนระดับกลุ่มพื้นที่ (5 กลุ่ม) ประกอบด้วยประธานอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด (อพก.) ปศุสัตว์เขต ปศุสัตว์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในกลุ่มเป็นอนุกรรมการ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่มีปริมาณการเลี้ยงโคนมมากที่สุดของแต่ละกลุ่มเป็นประธานและปศุสัตว์จังหวัดเป็นเลขานุการในแต่ละกลุ่ม โดยจะมีองค์ประกอบแต่ละกลุ่ม ดังนี้
3.1 กลุ่มที่ 1 (เขต 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
3.2 กลุ่มที่ 2 (เขต 2, 3) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา เป็นอนุกรรมการ
และเลขานุการ
3.3 กลุ่มที่ 3 (เขต 4) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
3.4 กลุ่มที่ 4 (เขต 5, 6) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอนุกรรมการ
และเลขานุการ
3.5 กลุ่มที่ 5 (เขต 7, 8, 9) ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการชุดนี้ในแต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 15 คน และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และโครงการรณรงค์บริโภคนมในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และคณะอนุกรรมการรณรงค์บริโภคนมในสถาบันการศึกษาทุกระดับได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานไว้ |
3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ระดับกลุ่มพื้นที่ (5 กลุ่ม) ให้ผู้แทนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการในแต่ละกลุ่มแทนปศุสัตว์จังหวัดส่วนจำนวน องค์ประกอบอื่นและอำนาจหน้าที่คงเดิม |
4. คณะอนุกรรมการอื่น ๆ ที่จำเป็น ให้อยู่ในอำนาจหน้าของคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน โดยมีองค์ประกอบคณะอนุกรรมการชุดละไม่เกิน 15 คน เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ให้กรรมการในคณะกรรมการอาหารเสริมนมเพื่อเด็กและเยาวชนและอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
4. คงเดิม |
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน (รายงานฯ) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และในคราวต่อไปให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ให้มีข้อมูลครบถ้วนและเสนอคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
สาระสำคัญ
1. สภาพปัญหาจากการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา และแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา 2567 สรุปได้ ดังนี้
ปัญหา |
แนวทางการแก้ปัญหา |
(1) ข้อมูลจำนวนปริมาณน้ำนมโคภายในประเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียน ถูกโต้แย้งว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ มีการตกแต่งข้อมูลเป็นเท็จเพื่อหวังผลประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว |
(1) กษ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการตรวจสอบปริมาณน้ำนมโคทั้งระบบ2 [คณะกรรมการอำนวยการ(รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอภัย สุทธิสังข์ เป็นประธาน)] และคณะทำงานตรวจสอบปริมาณน้ำนมโคทั้งระบบ (คณะทำงานฯ) โดยทำการตรวจสอบปริมาณน้ำนมดิบและจำนวนโคนม ณ ฟาร์มเกษตรกรและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบทั่วประเทศเพื่อนำปริมาณน้ำนมดิบที่ตรวจสอบได้มาใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินโครงการ ประจำปีการศึกษา 2567 พบว่า มีจำนวนโครีดนม 228,974 ตัว ปริมาณน้ำนมโค จำนวน 2,821.86 ตัน/วัน |
(2) แนวทางการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน มีปัญหาการร้องเรียนเกี่ยวกับสัดส่วนสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนระหว่างสถาบันเกษตรกรกับภาคเอกชนว่ายังไม่มีความเหมาะสมและเป็นธรรมเพียงพอ ไม่สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง |
(2) คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน [คณะกรรมการอาหารนมฯ (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน)] ได้ดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา 2567 โดยกำหนดสัดส่วนสิทธิระหว่างผู้ประกอบการที่เป็นสถาบันเกษตรกรกับผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นร้อยละ 50:50 ของปริมาณสิทธิที่พึงได้รับจัดสรรในกลุ่มพื้นที่เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีสถิติการเลี้ยงโคนมลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงปรับหลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสถาบันเกษตรให้มีความเข้มแข็งและได้รับประโยชน์จากโครงการของรัฐมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน มีส่วนในการสนับสนุนภาคการเกษตรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่าย โดยใช้หลักโลจิสติกส์ในการจัดสรรพื้นที่การจำหน่ายในกลุ่มพื้นที่และเน้นส่งไปยังพื้นที่ใกล้ที่สุดตามความเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มเติมแนวทางการปฏิบัติกรณีกลุ่มพื้นที่มีสิทธิการจำหน่ายเหลือให้สามารถจัดสรรสิทธิเข้ากลุ่มพื้นที่ได้ โดยยึดหลักโลจิสติกส์เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ เมื่อจัดสรรสิทธิเสร็จแล้ว หากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ประสงค์จะมอบสิทธิหรือแลกเปลี่ยนสิทธิกัน สามารถกระทำได้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารนมฯ |
(3) เกณฑ์คุณภาพน้ำนมในโครงการดังกล่าว กำหนดปริมาณเนื้อนมรวม (Total Solid) มีมาตรฐานสูงเกินความจำเป็น ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงมากขึ้น ควรปรับให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข |
(3) คณะกรรมการอาหารนมฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์คุณภาพน้ำนมโคและผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนซึ่งเข้าร่วมโครงการกำหนดให้มีปริมาณเนื้อนมรวม (Total Solid) ในอัตราร้อยละ 11.45 ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันกับนมพาณิชย์โดยการปรับปรุงเกณฑ์ดังกล่าวนี้ส่งผลให้ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อย่างมาก และน้ำนมมีคุณภาพสูงเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารนมโดยทั่วไป
|
(4) ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมซึ่งเป็นสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวบางส่วนไม่มีโคนมเป็นของตนเอง จึงควรกำหนดให้สหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีโคนมเป็นของตนเอง เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานให้มีความยั่งยืนต่อไป |
(4) คณะกรรมการอาหารนมฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ที่สหกรณ์/ส่วนราชการต้องมีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและโคนมเป็นของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงโคนมภายในประเทศให้มีความยั่งยืน และเป็นหลักประกันว่านมโรงเรียนเป็นนมที่ผลิตจากน้ำนมโคสดแท้ไม่ใช่การนำนมผงมาละลายน้ำให้เด็กนักเรียนดื่ม |
ผลการดำเนินโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน (ปัจจุบัน) คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนและคณะอนุกรรมการกลุ่มพื้นที่ดำเนินการรับสมัครผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่าย นมโรงเรียน โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำนมโคที่ได้จากการตรวจสอบของ คณะกรรมการอำนวยการฯ และคณะคณะทำงานฯ ซึ่งมีปริมาณน้ำนมโคที่ใช้ในการโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 976.086 ตัน/วัน (มีปริมาณน้ำนมโคทั้งหมด จำนวน 2,821.86 ตัน/วัน) และจัดสรรสิทธิให้สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์) 485.593 ตัน/วัน (ร้อยละ 50) และผู้ประกอบการภาคเอกชน (ไม่ใช่สหกรณ์) 485.593 ตัน/วัน (ร้อยละ 50) ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบและคัดค้านด้วยแล้ว และปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2567) ผู้ประกอบการที่ได้รับการจัดสรรสิทธิได้ดำเนินการเข้าทำสัญญากับสถาบันศึกษาและส่งนมให้เด็กนักเรียนได้ดื่มทั่วประเทศแล้ว
13. เรื่อง การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,670 ล้านบาท โดยปีที่ 1 (5 เดือน) จํานวน 830 ล้านบาท และปีที่ 2 (12 เดือน) จํานวน 1,840 ล้านบาท (ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568) โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลําดับแรก หากไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ตามที่ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เสนอ
สาระสำคัญ
เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เกี่ยวกับการปรับอัตราเงินคุมข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่สํานักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับ เงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์และหลักการเพื่อปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเดือนของผู้ที่รับราชการอยู่ก่อนจะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน และอัตราเงินเดือนหลังการปรับจะต้องไม่ทําให้ผู้ซึ่งเคยได้รับเงินเดือนสูงกว่ากลายเป็น ผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ดํารงตําแหน่งประเภทและระดับเดียวกันที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน และเพื่อปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่มีผลใช้บังคับ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
(1) ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) ในอัตราร้อยละ 10 ภายใน 2 ปี โดยปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 (เช่น คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จากเดิม 15,000 บาท เป็น 16,500 บาท ในปีที่ 1 และปรับเป็น 18,150 บาท ในปีที่ 2)
(2) การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จํานวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปี ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่ อัตราแรกบรรจุที่กําหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี
1.2 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เป็นการปรับเพดาน เงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือน รวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท ซึ่งการปรับเพดานเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวนี้ จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจํา ทหารกองประจําการ และผู้รับบํานาญ และคาดว่าจะใช้งบประมาณ เพิ่มขึ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการ เป็นลําดับแรก หากไม่เพียงพอให้ขอทําความตกลงกับสํานักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ หรือรายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นแล้วแต่กรณี ตามลำดับ
2. มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ. ร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการแต่ละประเภท รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดําเนินการมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและสอดคล้องตามหลักการดังกล่าวต่อไป
3. มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง (กค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับหลักการและแนวทางดําเนินการในเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดําเนินการในส่วนของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นและพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป
คพร. ได้จัดทําข้อเสนอการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบรวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ ของมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการตามคุณวุฒิการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ
1.2 ปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งได้รับการว่าจ้างอยู่ก่อนวันที่อัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุใหม่ที่นําเสนอในครั้งนี้มีผลใช้บังคับ
2. หลักการ
2.1 ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา
2.2 อัตราค่าตอบแทนของผู้ที่ได้รับการว่าจ้างอยู่ก่อน จะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการใหม่โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน
2.3 อัตราค่าตอบแทนหลังการปรับจะต้องไม่ทําให้ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ากลายเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าผู้ที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน ทั้งนี้ โดยไม่เป็นภาระงบประมาณมากจนเกินควร
3. แนวทางดําเนินการ
3.1 การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิ การศึกษา ภายใน 2 ปี คือ ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ซึ่งสอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) และหลักการกําหนดค่าตอบแทนพนักงานราชการตามมติ คพร. ที่กําหนดค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการโดยนําบัญชีอัตราแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นฐานในการคํานวณ โดย (1) พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค และกลุ่มงานบริหารทั่วไป บวกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 จากอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อเป็นค่าชดเชยบําเหน็จ สวัสดิการอื่น ๆ และสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ (2) พนักงานราชการกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ บวกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 30 เพื่อชดเชยลักษณะงานวิชาชีพ บําเหน็จ สวัสดิการอื่น ๆ และสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
3.2 การปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจํานวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับค่าตอบอัตราการที่ได้รับผลกระทบก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กําาหนดใหม่มีผลใช้บังคับ โดยมีอัตราชดเชยเท่ากับ 0.84 ของผลต่างอัตราค่าตอบแทนได้รับในปัจจุบันกับอัตราแรกบรรจุเดิม ซึ่งมีหลักการ แนวคิด และสมมติฐาน ดังนี้
(1) กําหนดกลุ่มเป้าหมาย ชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ ในแต่ละปีโดยครอบคลุมผู้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราค่าตอบแทน แรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี
(2) กําหนดอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการชดเชย โดยแปลงจํานวนปีของผู้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการเป็นอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชย โดยมีสมมติฐานว่าเป็นผู้ซึ่งมีผลงานดีเด่นตลอด 10 ปี และได้รับการเลื่อนค่าตอบแทนเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี (ปีละ 1 ครั้ง) ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชย คือ ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างค่าตอบแทนแรกบรรจุ (ปัจจุบัน) กับอัตราค่าตอบแทนที่ผ่านการเลื่อนเงินเดือนตามรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานมาแล้วประมาณ 10 ครั้ง จากนั้นน่าอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชยแล้วมาคํานวณหาอัตรา การชดเชยที่เหมาะสม โดยทําการจําลองในทุกกลุ่มงานและจําแนกตามคุณวุฒิต่าง ๆ ซึ่งได้อัตราการชดเชยที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักการที่กําหนดไว้ เท่ากับ 0.84
3.3 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ปรับเพดานอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิมค่าตอบแทนไม่ถึง เดือนละ 13,285 บาท เป็นค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของค่าตอบแทนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น 11,000 บาทให้แก่พนักงานราชการ ทั้งนี้ การให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพและวันที่มีผลใช้บังคับให้เป็นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่ง กค. โดยกรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างดําเนินการ ปรับปรุงระเบียบดังกล่าว
3.4 การปรับปรุงประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ พ.ศ. .... เพื่อปรับปรุงบัญชีกําหนดอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ของพนักงานราชการและการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยยกเลิกประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีก 3 ฉบับ ได้แก่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561 และ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565 และจัดทําประกาศฉบับใหม่โดยจะเป็นการรวมประกาศไว้เป็นฉบับเดียว เพื่อให้สะดวกในการนําไปใช้
ประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินการ
1. ประโยชน์ : อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับตลาดแรงงานและค่าครองชีพในปัจจุบัน สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการตลอดจนรักษา คนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพระบบราชการต่อไปได้
2. ผลกระทบ : การดําเนินการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,670 ล้านบาท โดย
ปีที่ 1 (5 เดือน) จํานวน 830 ล้านบาท (12 เดือน) จํานวน 1,840 ล้านบาท
14. เรื่อง รายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 พร้อม เหตุผล วิธีการ และระยะเวลาในการทําให้สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจําปีงบประมาณที่เกินกว่ากรอบอยู่ภายในสัดส่วนที่กําหนด ตามความในวรรคสองของมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญ
สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจริง ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ยังคงอยู่ภายใต้กรอบในการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการฯ กําหนด
ยกเว้นสัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ ประจําปีงบประมาณที่เกินกว่ากรอบเล็กน้อย โดยมีรายละเอียด พร้อมเหตุผล วิธีการ และระยะเวลาในการทําให้ สัดส่วนที่เกินกว่ากรอบอยู่ภายในสัดส่วนที่กําหนด (ตามความในวรรคสองของมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. วินัยฯ) ดังนี้
กรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามมาตรา 50 |
กรอบที่
คณะกรรมการฯ กำหนด |
สัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริง |
(1) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ |
ไม่เกินร้อยละ 70 |
63.32 |
(2) สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจําปีงบประมาณ |
ไม่เกินร้อยละ 35 |
35.14 |
(3) สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด |
ไม่เกินร้อยละ 10 |
1.05 |
(4) สัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จาก
การส่งออกสินค้าและบริการ |
ไม่เกินร้อยละ 5 |
0.05 |
เหตุผลที่สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจําปีงบประมาณเกินกว่ากรอบ: ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันรัฐบาลยังคงต้องดําเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล และต้องปรับโครงสร้างหนี้ ของการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (การแพร่ระบาดฯ) อย่างต่อเนื่อง โดยหนี้ ที่เป็นภาระต่องบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 88 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ ซึ่งในการดําเนินการดังกล่าวจําเป็นต้องใช้เครื่องมือระยะสั้น (ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน และสัญญากู้เงินระยะสั้น) ในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาพคล่อง และความต้องการของนักลงทุนในช่วงที่ระดมทุน ซึ่งเน้นลงทุนในสินทรัพย์ระยะสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ส่งผลให้มีการใช้เครื่องมือระดมทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 114 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดฯ เป็นผลให้หนี้กระจุกตัวและทยอยครบกําหนดเป็นจํานวนมากตามสัดส่วนเครื่องมือระดมทุนระยะสั้นที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดฯ เป็นต้นมา ส่งผลให้สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ปรับเพิ่มขึ้น
วิธีการในการทําให้สัดส่วนดังกล่าวอยู่ภายในสัดส่วนที่กําหนด: กระทรวงการคลังมีแผน การปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยการทําธุรกรรมการแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) เพื่อยืด อายุหนี้ที่จะครบกําหนด รวมทั้งธุรกรรมการปรับโครงสร้างหนี้ล่วงหน้า (Prefunding) และการชําระหนี้ก่อน ครบกําหนด (Prepayment) เพื่อลดภาระที่จะต้องกู้เงินในปริมาณมากในคราวเดียว โดยคํานึงถึงต้นทุนและ ความเสี่ยง รวมทั้งสภาพคล่องของตลาดในแต่ละช่วงเวลา
ระยะเวลาในการทําให้สัดส่วนดังกล่าวอยู่ภายในสัดส่วนที่กําหนด: ขึ้นอยู่กับปัจจัยสําคัญต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจําปีงบประมาณ ได้แก่
(1) สภาวะตลาดการเงินและสภาพคล่องในประเทศที่เอื้ออํานวยต่อการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งในเชิงต้นทุนและความเสี่ยง
(2) ภาระหนี้รัฐบาล และหนี้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐที่รัฐบาลรับภาระ (Redemption profile) ซึ่งเป็นผลมาจากการกู้เงินและการปรับโครงสร้างหนี้ในอดีต
(3) การก่อหนี้ใหม่ในแต่ละปี ซึ่งประกอบด้วย
(3.1) การกู้เงินเพื่อการชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามแผนการคลังระยะปานกลางซึ่งปัจจัยความสําเร็จขึ้นกับความคืบหน้าในการปรับลดขนาดการขาดดุลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในระยะปานกลาง อันเป็นผลจากการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่าง ๆ ได้แก่
(3.1.1) การทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและยกเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จําเป็นรวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างและการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
(3.1.2) การพิจารณาจัดลําดับความสําคัญและความจําเป็นของการใช้จ่ายภาครัฐจากทุกแหล่งเงิน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
(3.2) การก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐตามแผนความต้องการกู้เงิน ระยะปานกลาง ซึ่งปัจจัยความสําเร็จขึ้นกับการพิจารณาจัดลําดับความสําคัญและความจําเป็นของโครงการของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐและความคืบหน้าในการดําเนินโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ การก่อหนี้ใหม่ดังกล่าวข้างต้น ควรมุ่งเน้นการสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัว อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ควบคู่กับการคํานึงถึงระดับความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ในปัจจุบันด้วย
(4) การได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อชําระหนี้ที่เหมาะสม
ประโยชน์และผลกระทบ
การกู้เงินของรัฐบาลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันรัฐบาลยังคงต้องดําเนินนโยบาย การคลังแบบขาดดุล และต้องปรับโครงสร้างหนี้ของการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและ สังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้จะทําให้มีหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น และมีการใช้เครื่องมือระดมทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้นตามสภาพคล่องและความต้องการของนักลงทุนในช่วงที่ระดมทุน แต่เป็นความจําเป็น เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ฟื้นตัวตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งการกู้เงินดังกล่าวจะถูกนําไปใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ วางรากฐานการพัฒนา สร้างรายได้และเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่กระจายไป
ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเป็นการลงทุนด้านคมนาคม สาธารณูปการ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นสําคัญ เพื่อกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะทําให้สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้น รวมถึงการที่มีหนี้กระจุกตัวและทยอยครบกําหนดเป็นจํานวนมากตามสัดส่วนเครื่องมือระดมทุนระยะสั้นที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วง การแพร่ระบาดฯ เป็นต้นมา ส่งผลให้สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศในระยะต่อไปได้
ในการนี้ กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการหนี้สาธารณะตามกรอบการบริหารจัดการหนี้สาธารณะเพื่อสนับสนุนการลงทุนและการดําเนินมาตรการทางการคลัง รวมทั้งการชําระหนี้อย่างเคร่งครัด โดยคํานึงถึงต้นทุนและความเสี่ยงภายใต้เงื่อนไขความจําเป็นและข้อจํากัดตามปัจจัยสําคัญที่กล่าวข้างต้น
15. เรื่อง ความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ความเป็นมา
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
2. ผลการดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ ดังนี้
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ได้มีการประชุมศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินโครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2567 ประกอบด้วย
1)
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย/อุทกภัยและวาตภัย/อุทกภัยและน้ำไหลหลาก/ดินโคลนถล่ม ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม ถึง 31 ตุลาคม 2567จำนวน 58 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันออก 5 จังหวัด และภาคใต้ 10 จังหวัด
2)
รายละเอียดและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพภาคเกษตร (เกษตรเลือกได้ 1 กิจกรรม และสามารถเข้าร่วมโครงการในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ได้)
(1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย : กรมการข้าว สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ สารชีวภัณฑ์อัตรา 300 กรัมต่อไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 20-8-20 (นาปี) สูตร 25-7-14 (นาปรัง) อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยอินทรีย์ (ชนิดน้ำ) อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อไร่ ช่วยเหลือตามพื้นที่เสียหายจริงไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่
(2) โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยด้านปศุสัตว์ : กรมปศุสัตว์ สนับสนุนเงินเพื่อจัดซื้อพันธุ์ไก่พื้นเมือง หรือ พันธุ์เป็ดเทศ หรือ การปลูกพืชอาหารสัตว์ โดยให้เกษตรกรเลือกได้ 1 เมนูอาชีพ (รายละ 7,000 บาท)
(3) โครงการส่งเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง การเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อพลาสติกและในกระชังบก : กรมประมง สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร 3 เมนูอาชีพทางเลือก โดยให้เกษตรกรเลือกได้ 1 เมนูอาชีพ ได้แก่ ปลาดุกในบ่อพลาสติก หรือ ปลาดุกในกระชังบก หรือ กบในกระชังบก
กลุ่มที่ 2 การฟื้นฟูพัฒนาอาชีพภาคเกษตร (เกษตรกร 1 ราย เลือกได้มากกว่า1กิจกรรม)
(1) โครงการสกัดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และการสนับสนุนพันธุ์พืช และปัจจัยการผลิตเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ปี 2567/2568 : กรมวิชาการเกษตรสกัดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชฉุกเฉินในพื้นที่ประสบอุทกภัยของ ลำไย ทุเรียน ส้มโอ ส้มเขียวหวาน สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชไร่และพืชสวนแก่เกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ สนับสนุนปัจจัยการผลิตพืช (สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช) การซ่อมแซมและฟื้นฟูเครื่องจักรขนาดเล็กหลังน้ำท่วม
(2) โครงการปรับระดับพื้นที่เกษตรและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยระยะหลังน้ำลด ปี 2567 : กรมพัฒนาที่ดิน การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อฟื้นฟูพื้นที่พื้นได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
(3) โครงการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ประสบอุทกภัย : กรมหม่อนไหม สนับสนุนต้นพันธุ์หม่อน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี ปูนขาว และโดโลไมท์
กลุ่มที่ 3 ลดภาระหนี้สินของสมาชิกสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร : กรมส่งเสริมสหกรณ์ (เกษตรกรทุกราย สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด)
1) ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยปี 2567 ชดเชยดอกเบี้ยให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแทนสมาชิก ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี ต้นเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท/ราย
2) ชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ปี 2567
3.
ขั้นตอนการดำเนินงาน เกษตรกรกลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 แล้วเสร็จภายใน เดือนมีนาคม 2568 สำหรับกลุ่ม 3 ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2568
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยดำเนินการสำรวจชนิดพืช และการระบาดของศัตรูพืชที่จะเกิดหลังน้ำท่วมและความต้องการของเกษตรกร พบว่าพืชที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ลำไย ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ทุเรียน พืชไร่ และพืชผักอื่น ๆ ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงรายละเอียดของกิจกรรมสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ความเหมาะสมกับพื้นที่ และพืชที่ได้รับผลกระทบจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยไม่กระทบต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกรอบวงเงินรวมของโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
16. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน ครั้งที่ 13 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน+3 ครั้งที่ 9
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน ครั้งที่ 13 (Draft Joint Ministerial Statement of the Thirteenth ASEAN Ministerial Meeting on Youth) และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชน+3 ครั้งที่ 9 ( Draft Joint Ministerial Statement of the Ninth ASEAN Plus Three Ministerial Meeting on Youth) (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ) โดยหากมีความจําเป็นต้องแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสําคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ พม. ดําเนินการได้โดยไม่ต้องนําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทน ที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ด้านเยาวชน (ASEAN Ministerial on Youth: AMMY) (การประชุม AMMY) ครั้งที่ 13 และการประชุม AMMY+3 ครั้งที่ 9 ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักเลขาธิการอาเซียนมีหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมการประชุม AMMY ครั้งที่ 13 โดยมีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) เป็นประธานการประชุม ภายใต้หัวข้อ “ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อสร้างสังคมที่ครอบคลุมในอาเซียน” และการประชุม AMMY+3 ครั้งที่ 9 โดยมีเมียนมาและจีนเป็นประธานการประชุมร่วมกัน ซึ่งทั้ง 2 การประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และจะมีการเสนอร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เพื่อร่วมกันรับรอง โดยไม่มีการลงนามมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุม AMMY ครั้งที่ 13 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการยืนยันเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงานตามแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนพ.ศ. 2564 – 2568 การสนับสนุนในการดําเนินโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลสําหรับเยาวชนอาเซียน ที่พร้อมรับมือกับอนาคต การเน้นย้ำความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการสร้างประชาคมอาเซียน รวมถึงการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในหมู่เยาวชนอาเซียน เช่น โครงการ (ASEAN Data Science Explorers) การสนับสนุนและใช้ประโยชน์จากกองทุนเยาวชนอาเซียน อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุม AMMY43 ครั้งที่ 9 มีสาระสําคัญเกี่ยวกับการยืนยันเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงานตามแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. พ.ศ. 2564 - 2568 และแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน+3 พ.ศ. 2564 - 2568 การเน้นย้ำด้านการเจรจาระหว่างวัฒนธรรมและศาสนาเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ โดยคํานึงถึงความสําคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ด้านดิจิทัลและการเป็นผู้ประกอบการของเยาวชน และรับทราบความสําเร็จของโครงการที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เช่น โครงการผู้นําเยาวชนอาเซียน-จีน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมืออาเซียน-จีน (ASEAN-China Cooperation Fund : ACCF) โครงการเรือเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น ครั้งที่ 47 ในปี 2566 (เป็นโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้นในฐานะทูตเยาวชนเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศผ่านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม) และการดําเนินโครงการพัฒนาทักษะอาเซียนด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งนำโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวร่วมกับอาเซียน+3 ที่จะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2567
ประโยชน์ที่จะได้รับ
การให้ความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทย โดยถือเป็นการยืนยันเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงานตามแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564 - 2568 และแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน+3 พ.ศ. 2564 – 2568 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศในเวทีระหว่างประเทศอันจะทําให้ได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากนานาประเทศ
17. เรื่อง กรอบท่าทีการเจรจา และองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 16
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีการเจรจาของประเทศไทยสำหรับการเป็นกรอบในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (อนุสัญญา) สมัยที่ 16 และรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 16 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. สำนักเลขาธิการว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ได้แจ้งกำหนดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 16 และการประชุมคู่ขนานขององค์กรย่อยต่าง ๆ ของอนุสัญญาฯ ได้แก่ (1) การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ (the 16
th session of the Conference of the Parties : COP16)
(2) การประชุมคณะกรรมการทบทวนการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ สมัยที่ 22 (the 22
nd session of the Committee for the Review of the Implementation of the Convention : CRIC22)
(3) การประชุมคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมัยที่ 16 (the 16
th session of the Committee on Science and Technology : CST16)
(4) การประชุมผู้นำระดับสูง (High Level Segment) ในวันที่ 2 – 3 ธันวาคม 2567
การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาความร่วมมือและดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ความสำเร็จในการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย การป้องกันความเสื่อมโทรมของที่ดิน การบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง และการแก้ไขปัญหาความยากจน ประเด็นการประชุมและเจรจาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และแนวทางการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ
2.
ท่าทีการเจรจาของประเทศไทย กษ. โดยกรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำท่าทีการเจรจาของประเทศไทยตามประเด็นสำคัญของอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และแนวทางการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และประเด็นอื่น ๆ สำหรับใช้เป็นกรอบในการเจรจา ในระหว่างการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ
3.
องค์ประกอบผู้แทน เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผู้แทนจาก สคทช. จำนวน 3 คน ผู้แทนจากกรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 5 คน ผู้แทนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 4 คน ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 1 คน และผู้แทนจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 1 คน
4. คณะกรรมการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 เห็นชอบกรอบท่าทีการเจรจาและองค์ประกอบผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ด้วยแล้ว
18. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อการเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Partnership Agreement : DEPA)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอเข้าร่วมการเจรจาเพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Partnership Agreement : DEPA) (ความตกลง DEPA) และเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความตกลง DEPA รวมทั้ง มอบหมายให้ ดศ. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการขอเข้าร่วมการเจรจา เพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลง DEPA โดยมีกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ความตกลง DEPA เป็นสนธิสัญญาที่สิงคโปร์หวังที่จะพัฒนาแนวทางการทำงานระหว่างประเทศในด้านการค้าและความร่วมมือในเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันในการพัฒนามาตรฐาน ระบบ และกฎเกณฑ์ของการค้าดิจิทัล โดยความตกลง DEPA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564 มีประเทศที่เป็นภาคี ได้แก่ สิงคโปร์ ชิลี และสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงประเทศที่แจ้งความประสงค์ขอเจรจาเข้าร่วมเป็นภาคี อย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน แคนาดา และคอสตาริก้า ตลอดจนประเทศที่อยู่ระหว่างรอเข้ากระบวนการเข้าร่วมเป็นภาคี ได้แก่ เปรู และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2. ที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้มีการผลักดันให้ไทยเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง DEPA มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 ซึ่ง ดศ. ได้มีการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาความเป็นไปได้และความพร้อมของไทยในการเข้าร่วมการเจรจา เพื่อเข้าเป็นภาคีความตกลง DEPA เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูล และจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
3. ดศ. ได้แต่งตั้งคณะทำงานรองรับการเข้าร่วมการเจรจาภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) (ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน) (คณะทำงานฯ) และจัดให้มีประชุมคณะทำงานฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เพื่อพิจารณา
ร่างกรอบความตกลง DEPA ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
ร่างกรอบการเจรจาความตกลง DEPA (ข้อเสนอในครั้งนี้) ซึ่งมีเนื้อหา เช่น
(1) ให้มีการส่งเสริมอำนวยความสะดวก และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (2) ให้รักษาสิทธิของรัฐในการใช้มาตรการที่จำเป็น และ/หรือ กำหนดข้อยกเว้น ข้อจำกัดในการคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยของผู้บริโภค รักษาความมั่นคงปลอดภัยและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (3) ให้คำนึงถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวดเร็ว และความจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านนโยบายสาธารณะ (4) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับกฎระเบียบ แนวทาง และนโยบาย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน
4. ดศ. ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) กต. (กรมเอเชียตะวันออก) พณ. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาร่างกรอบการเจรจาความตกลง DEPA แล้ว โดยหน่วยงานดังกล่าวไม่ข้อขัดข้องต่อการเข้าร่วม
19. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ของวัดหลิงกวงกรุงปักกิ่ง ไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ของวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างความตกลงที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ของวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ที่ประชุมได้รับทราบว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับรัฐบาลจีนในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดย กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่าฝ่ายจีนได้มีหนังสือตอบรับคำขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ระหว่างเดือนธันวาคม 2567 – เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ระยะเวลา 73 วัน และขอทราบแผนการอัญเชิญและแผนการประดิษฐาน พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสำหรับประสานงานในเรื่องดังกล่าว
2. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้รับโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวฯ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
3. รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีฉันทามติเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดให้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มาประดิษฐานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทย - สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567
4. คณะทำงานฝ่ายไทยและคณะทำงานฝ่ายจีนได้ร่วมประชุมหารือและสำรวจพื้นที่ รวมทั้งประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเตรียมการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้จัดทำวีดิทัศน์ประมวลภาพการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อจะได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าต่อไป
5. กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กต 0902/1684 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ขอส่งร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ของวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่งไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาจีน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ โดยการหารือร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของฝ่ายจีนจนเห็นชอบร่วมกันแล้ว
6. ร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ของวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ไปประดิษฐาน เป็นการชั่วคราวในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรายละเอียดและความรับผิดชอบของรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2568 อาทิ เงื่อนไขการขนส่ง การจัดแสดง การประกันภัย มาตรการการรักษาความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ประโยชน์และผลกระทบ
1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
2. เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน
ให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
3. พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้มีโอกาสสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) เพื่อความเป็นสิริมงคล และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. เด็ก เยาวชน และประชาชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและศาสนาพิธีสำคัญอันดีงาม
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นายสุรศักดิ์ จิตประไพกุลศาล ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์) กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการะดับทรงคุณวุฒิ ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ จำนวน 6 ราย และตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์และมีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง จำนวน 2 ราย รวม 8 ราย ดังนี้
1.
นางอารยา บุญยะลีพรรณ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขารังสีวิทยา) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขารังสีวิทยา) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
2.
นายอรรถพล รัตนสุภา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
3.
นายวสันต์ เศรษฐวงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
4.
นางสาวอรศิริ เสรีรัตน์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
5.
นายธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน) สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์และมีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง
6.
นายประภาส อุครานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์และมีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง
7.
นางสาวสมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ นักวิชาการพยาบาลเชี่ยวชาญ (ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์) กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการพยาบาล กลุ่มภารกิจวิชาการ กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ (ด้านการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
8.
นายวัชระ เอี่ยมรัศมีกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลพนมไพร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาสูติ-นรีเวชกรรม) โรงพยาบาลสระบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1.
นายทรงยศินทร์ ชนปทาธิป ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2.
นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3.
นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงกลาโหม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอแต่งตั้ง
นายนิโรธ สุนทรเลขา เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1.
นายพลนชชา จักรเพ็ชร ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)
2.
นายยงยุทธ มั่นบุปผชาติ ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล)
3.
นายสุรชาติ เทียนทอง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์)]
4.
นายธกร เลาหพงศ์ชนะ ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการคลัง (นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล)]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน 3 ราย ดังนี้
1.
นางสาวณมาณิตา กลับบ้านเกาะ
2.
นายยู่สิน จินตภากร
3.
นายนราพัฒน์ แก้วทอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 5 ราย ดังนี้
1.
นายเอกรัฐ พลซื่อ
2.
นายพรชัย อินทร์สุข
3.
นายพีรพร สุวรรณฉวี
4.
นายเสฏฐนันท์ ราฟาเอล เตชะวิบูลย์
5.
นายภุชงค์ วรศรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ประธานกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเสนอแต่งตั้ง นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารและการจัดการ การวางแผน) ในคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) แทน นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
1.
นายกุลิศ สมบัติศิริ
2.
นายชาญวิทย์ อมตะมาทุชาติ
3.
นายเข็มชัย ชุติวงศ์
4.
นายวรวิทย์ จำปีรัตน์
5.
นายวิเลิศ ภูริวัชร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 แทนตำแหน่งที่ว่างลง
(กระทรวงแรงงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง กรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 จำนวน 2 คน แทนกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากลาออก ดังนี้
1.
เรือเอก สาโรจน์ คมคาย
2.
นายอัครุตม์ สนธยานนท์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
30. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอแต่งตั้ง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติดณะรัฐมนตรี จำนวน 45 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย – บรูไน ดารุสซาลาม
2. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
3. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งนิวซีแลนด์
4. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ เกษตรกรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
5. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรบาห์เรน
6. คณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย - ตุรกี
7. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน
8. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
9. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ฟิลิปปินส์ (ฝ่ายไทย)
10. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - มาเลเซีย
11. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (JC) ไทย - อินโดนีเซีย
12. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-อินเดีย
13. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย – ศรีลังกา
14. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - เวียดนาม (ฝ่ายไทย)
15. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์
16. คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ
17. คณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
และองค์การต่างประเทศ
18. คณะกรรมการประสานงานช่วยเหลือคนไทยและประเทศที่ประสบภัยพิบัติ
ในภาวะฉุกเฉิน
19. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ
20. คณะกรรมการกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย
21. คณะกรรมการเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศ
และการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐในประเทศไทย
22. คณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - รัสเซีย
23. คณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย - เยอรมัน
24. คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย - จีน (คกร. ไทย - จีน ฝ่ายไทย)
25. คณะกรรมการความร่วมมือไทย - สหภาพยุโรป
26. คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ
27. คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของไทยต่อประเด็นทะเลจีนใต้
28. คณะกรรมการหมู่ประจำชาติไทยในศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก
29. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย)
30. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - ลาว (ฝ่ายไทย)
31. คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย - มาเลเซีย (ฝ่ายไทย)
32. คณะกรรมการเพื่อวิเคราะห์คำพิพากษาและแนวทางการดำเนินการ
33. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - ลาว (ฝ่ายไทย)
(เดิม คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย - ลาว)
34. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย)
(เดิม คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - กัมพูชา)
35. คณะกรรมการฝ่ายไทยในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษา ไทย - อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ประจำปี 2566-2567
[เดิม คณะกรรมการฝ่ายไทยในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย - อเมริกัน (ฟุลไบรท์)]
36. คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ
37. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเคนยา
38. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชุดอุซเบกิสถาน
39. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย - บังกลาเทศ
40. คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย - เนปาล
41. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจไทย – ปากีสถาน
42. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอียิปต์
43. คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับยูเครน
44. คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย - เมียนมา (ฝ่ายไทย)
45. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - เมียนมา (ฝ่ายไทย)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป
*****************************