วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2565
เศรษฐกิจภูมิภาคเดือน ต.ค.2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อเนื่องในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม 2565 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวต่อเนื่องในทุกภูมิภาค นอกจากนี้ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 22.8 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 31.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 25.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -11.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว สำหรับด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 1,144.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 1,038.0 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 42.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.7 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.1
เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 23.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -14.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 37.8 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -8.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 729.38 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 297.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานแปรรูปผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อบลดความชื้น ด้วยเงินทุน 242.43 ล้านบาท ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 281.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -26.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 424.7 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -26.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 48.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 75.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 76.1
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 24.5 ต่อปี เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 27.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 265.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -19.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 479.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -16.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 50.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 48.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.4
เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -19.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 54.0 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 24.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -11.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 33.9 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 1,577.57 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานซ่อม ดัดแปลง พ่นสี ตัวถังรถยนต์บรรทุก ฯลฯ และเครื่องจักรอื่นๆ ด้วยเงินทุน 468 ล้านบาท ในจังหวัดชลบุรีเป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 306.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -12.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 618.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -22.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 49.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.5 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 102.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.7
เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 44.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 28.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -8.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 24.1 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 981.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 458.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณด้วยเงินทุน 805.2 ล้านบาท ในจังหวัดเพชรบุรีเป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 178.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -23.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 227.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -28.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 45.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.5 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 55.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -28.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 41.6 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว แต่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.0 ต่อปี ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 576.1 ต่อปี เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 1,589.5 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 44.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.3 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3
เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนตุลาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น
ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 47.5 ต่อปี และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 34.5 ต่อปี และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 36.1 ต่อปี เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 2,072.65 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 903.7 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ด้วยเงินทุน 1,462 ล้านบาท ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 337.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -19.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 427.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -32.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 45.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.5 และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3
ข่าวทำเนียบรัฐบาล
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35
ข่าวกระทรวง
วีดิทัศน์รายการ/คลังภาพ
วาระงาน