วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565
ศิลปศาสตร์ในยุคดิสรัปชั่น รมว.อว. แนะสร้างความแตกต่าง ใช้ปัญญาขับเคลื่อน สร้างความโดดเด่นสู่สากล
17 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรม เอส.ดี. อเวนิว ปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ/ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นองค์ปาฐก ปาฐากถาพิเศษในเรื่อง "การยกระดับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในประเทศไทย" ภายในพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 เรื่อง ศิลปศาสตร์ในยุคดิสรัปชั่น : การศึกษาและนวัตกรรมทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ คณาจารย์ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานดังกล่าว ซึ่งจัดโดย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวว่า เมื่อคิดย้อนหลัง บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ศาสตร์และศิลป์ ทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รวมกันแล้วเรียกว่า Loneral Art ถ้าเราศึกษาอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ล้วนแล้วแต่ถูกนำเอามาเป็นกระบวนทัศน์ในการทำงาน จากสังคมศาสตร์ตรงตัว คือ วิทยาศาสตร์แห่งสังคม เพราะฉะนั้น วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติล้วนแล้วแต่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกัน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจกล่าวในแง่มุมหนึ่งว่า เป็นศาสตร์ที่มีความไม่เหมือนกันในตัวเอง ไม่ได้อ้างอิงถึงเหตุและผล ดังนั้น การทำงานในปัจจุบัน จะนำศิลปศาสตร์เข้าไปใช้เพื่อความงดงามของภาษา และแสดงอัตลักษณ์ในการทำงาน เพื่อความทันสมัย ความแตกต่างและเข้ากับยุคดิสรัปชั่น ไม่ยึดติดกับแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง
ศิลปศาสตร์ที่ดีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพูด การเขียน การบรรยายหรือการทำงานในชีวิตประจำวัน งานทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ต้องเน้นอ่านง่าย เข้าใจง่าย เร้าใจและเข้าถึงประชาชน มหิดลไม่ได้ดีแต่ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่ด้านศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ก็เด่นเช่นกัน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 47 ของโลกในด้านของดนตรีและศิลปะการแสดง เนื่องจากเรานำเอาศาสตร์ที่ทันสมัยเข้าไปผสมผสานกับงานที่เราทำในศิลปะการแสดง (Performing Arts) ทำให้ติดอันดับในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการติดท็อป 50 เป็นครั้งแรก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย “QS World University Rankings by Subject 2022” ถือเป็นความสำเร็จ และเป็นความภูมิใจของคนไทยทุกคน สะท้อนถึงศักยภาพและคุณภาพของสถาบันการศึกษาทางดนตรีของไทยที่ผสมผสานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะศาสตร์สมัยใหม่ เป็นการยกระดับคุณภาพของสาขาวิชาในประเทศไทยอีกมิตินึง เป็นการสร้างโอกาส สร้างความเข้มแข็งให้ประเทศชาติก้าวหน้าต่อ เราใช้ปัญญาในการขับเคลื่อนศาสตร์ต่างๆ เราต้องมองโลกในแง่บวก เราต้องมีเป้าหมาย มียุทธศาสตร์ คือ จะต้องไม่พร้อมก็สามารถชนะได้ ยกตัวอย่าง ดนตรีเราต้องไม่คิดว่าต้องทำให้พร้อมแบบชาติอื่นๆ แต่ให้เน้นโฟกัสไปที่เราจะใส่เอกลักษณ์ที่แตกต่างมาเป็นจุดขาย เราก็จะสามารถชนะได้
ข่าวทำเนียบรัฐบาล
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35
ข่าวกระทรวง
วีดิทัศน์รายการ/คลังภาพ
วาระงาน