ผู้นำสตรี ผู้บริหารสตรีและผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก ประจำปี 2565 ในวันนี้และนับเป็นโอกาสอันดี ของประเทศไทยในการต้อน รับและเก็บเกี่ยวพลังและประสบการณ์ที่ดีจากบรรดาสุดยอดผู้นำสตรีทั่วโลก ทั้งในภาคการบริหารประเทศ ภาคเศรษฐกิจ และสตรี ผู้ทรงอิทธิพลในหลากหลายสาขาอาชีพจากองค์กรชั้นนำของโลก ที่มารวมอยู่ในการ ประชุมสุดยอดผู้นำสตรีครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการขยายศูนย์รวมของพลังสตรีโลก ให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน ที่พร้อมขับเคลื่อนโลกไปสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น อย่างเท่าเทียม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ขอชื่นชมการจัดงานในครั้งนี้เป็นการจัดงานแบบรักษ์โลก ซึ่งมีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการประชุม การใช้ไฟฟ้า การเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม การจัดเลี้ยงอาหาร การบริหารขยะและ ของเสียภายในงาน สอดคล้องตามหลักการและถ้อยแถลงผู้นำหลายประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทยได้เห็นพ้องในการร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย พร้อมเดินหน้าไปพร้อมกับทุกคน และร่วมรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ความท้าทายในโลกยุคปัจจุบัน
โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งมิติสุขภาพ การเกิด โรคอุบัติใหม่ มิติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ทำให้เห็นว่า “เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก สู่ยุคดิจิทัล” ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดเกือบทุกมิติตลอดจนวิถีชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เทคโลโลยี 5G ที่ได้เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน ส าคัญให้กับภาคธุรกิจของไทยและในทุกอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการให้บริการ ในขณะเดียวกันโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงวัย เร็วขึ้น ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประเทศด้านต่างๆ จึงนับว่าเป็นประเด็นท้าทายอันซับซ้อนที่จ าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการรับมือกับประเด็นดังกล่าว
รัฐบาลไทยตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง และประเด็นท้าทายดังกล่าว และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การริเริ่มและดำเนินการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ รวมทั้งการส่งเสริมบทบาทสตรีในการ ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
ปัจจุบันผู้หญิงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้นำในด้านต่างๆ มากขึ้น ได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ การขับเคลื่อนสังคม รวมทั้ง การทำงานด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งรัฐบาลได้สนับสนุนให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ สร้างพื้นที่ให้ผู้หญิงสามารถแสดงออกถึงศักยภาพของตนเองอย่างเท่าเทียมกับเพศอื่นๆ ตลอดจนการส่งเสริมทักษะในการบริหาร การเป็นผู้นำจนทำให้ปัจจุบันมีผู้หญิงที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและทำประโยชน์ให้กับประเทศมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งนี้ มีรายงานว่าประเทศไทยได้รับการจัดลำดับ อยู่ในลำดับที่ 19 ในเรื่องการสนับสนุนผู้ประกอบการสตรีโดยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม (ข้อมูลจากรายงานของ Mastercard (The Mastercard Index of Women Entrepreneurs (MIWE) 2021) ซึ่งนับว่าไทยมีความก้าวหน้าในเรื่องสตรีเป็นอย่างมาก ทั้งการมีส่วนร่วมในการ เป็นผู้ประกอบการมากกว่าเพศชาย การเป็นตัวแทนในที่ท างานในฐานะ“ผู้เชี่ยวชาญ ด้านสตรี” และ “ผู้นำธุรกิจสตรี” อยู่ในระดับสูงตามมาตรฐานระดับโลก
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้พยายามขับเคลื่อนแผนพัฒนาสตรี เพื่อพัฒนา ศักยภาพของผู้หญิง สร้างสังคมเสมอภาค เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของสตรีในสังคมไทย ทุกกลุ่มทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางให้มีสุขภาวะที่ดี สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะ ขั้นพื้นฐานต่างๆ มีความรู้ในการประกอบอาชีพ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ที่ทันสมัย เพื่อเข้าถึงข้อมูลความรู้ และก้าวทันโลก ตลอดจนเพื่อให้สังคมตระหนักว่า ความเสมอภาคเป็นเป้าหมายที่สังคมต้องการให้เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกความแตกต่าง ในสังคม เปิดโอกาสให้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย และผู้มีความหลากหลายทางเพศมีชีวิต เป็นของตัวเอง สามารถท าในสิ่งที่อยากท า เป็นในสิ่งที่อยากเป็น โดยทุกคนมีคุณค่า และควรได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมกัน ก้าวใหม่ของสตรีกับการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
สำหรับการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้ ผู้หญิงมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหลังจากการเผชิญกับ วิกฤตโรคระบาด ซึ่งเป็นตัวเร่งสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้สร้างความ เปลี่ยนแปลงและความเติบโตให้กับธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซ ซึ่งผู้หญิงได้เข้ามามีส่วนร่วม อย่างมาก ทั้งในฐานะผู้บริโภคและในฐานะผู้ผลิต รวมไปถึงการเป็นผู้บริหารและ นักวิชาชีพในสาขาอาชีพต่างๆ ส่งผลให้ผู้หญิงกลายเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับโลก
รูปธรรมของบทบาทผู้หญิง ตัวอย่างของการส่งเสริมบทบาทผู้หญิงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยังนำไปสู่สันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ รัฐบาลเชื่อมั่นในศักยภาพตัวผู้หญิง เราจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมอาชีพ ใหาความรู้และช่องทางการตลาด จากวัฒนธรรมในพื้นที่ๆผู้หญิงเป็นผู้ดูแลครอบครัวอย่างเดียวปัจจุบันนี้ หลายชุมชนที่นั่นรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน มีสินค้าเป็นของตนเอง ทั้วขนมพื้นบ้าน ขนมเค้ก ผ้าบาติกทึ่ทอสวยงาม เมื่ออยากต่อยอด รัฐบาลก็มีกองทุนให้สตรีกู้ยืม คิดดอกเบี้ย 0.1 ต่อปี และผมภูมิใจมาก ทุกคนมีวินัย อัตราการผิดนัดน้อยมาก เรายังมีผู้หญิงเป็นผู้สอดส่องดูแล ดูแลความสงบเรียบร้อยในชุมชน ช่วงโควิด อสม. กว่าล้านคนที่ มากกว่า 90% เป็นผู้หญิง ที่คอยดูแลสุขภาพ กระตุ้นเตือนให้คนออกมารับการฉีดวัคซีน
รัฐบาลให้ความสำคัญและส่งเสริมบทบาทของสตรีในภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งมีรายงานว่าประเทศไทยอยู่ใน อันดับต้นๆ ของ “ดัชนีช่องว่างระหว่างหญิง - ชายระดับโลก ในมิติของการมีส่วนร่วม และโอกาสทางเศรษฐกิจ” ปี 2021 ข้อมูลจากสภาเศรษฐกิจโลก หรือ เวิลด์อีโคโนมิก ฟอรั่ม จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 22 ของประเทศที่ให้ความส าคัญกับการด าเนินการ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางเพศ จำนวนทั้งหมด 157 ประเทศที่มีการเก็บข้อมูล
ในยุคที่เปิดกว้างสำหรับผู้หญิง รัฐบาลได้มุ่งส่งเสริมขีดความสามารถ เพื่อให้ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น ทั้งการเปิดเวที ให้ผู้หญิงได้แสดงออกถึงศักยภาพและความสามารถที่ซ่อนอยู่ เช่น การจัดเวทีแข่งขัน สตาร์ทอัพ การก่อตั้งกองทุนสำหรับผู้หญิงที่มีความตั้งใจเข้าสู่วงการธุรกิจนวัตกรรม รวมทั้งการเผยแพร่คอนเทนต์ และการประชาสัมพันธ์ผู้หญิงต้นแบบ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ในการเข้าสู่สายงานดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ประเทศไทย และในระดับโลกมีผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เป็นผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ ในยุคดิจิทัล โดยได้มีค วามร่วมมือกับองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ ( ILO) ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานสตรีในสถานประกอบกิจการขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มแรงงานสตรีที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ สังคม และการจ้างงาน ให้ได้รับการยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ทักษะด้านดิจิทัล และสะเต็ม ในการพัฒนาสาขา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้สามารถปรับตัว ให้เข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรวมทั้งลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเป็นการเพิ่มทักษะให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน การส่งเสริมการพัฒนาสตรีในระดับโลก
ในระดับภูมิภาค ผมมีโอกาสร่วมกับผู้นำอาเซียนในการรับรองเอกสาร วาระการดำเนินงาน ในการสร้างความตระหนักในเรื่องการส่งเสริมขีดความสามารถ ทางเศรษฐกิจของสตรีในอาเซียน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเสนอโดยเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถ ทางเศรษฐกิจของสตรีในอาเซียนโดยการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การทำธุรกิจแบบครอบคลุม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเพิ่ม จ านวนสตรีในระดับผู้บริหาร
ทั้งนี้ การดำเนินการในระดับประเทศ และระดับภูมิภาคล้วนเชื่อมโยง กับเป้าหมายใหญ่ของโลก ซึ่งก็คือการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับสตรี คือเป้าหมายที่ 5 ได้แก่ การบรรลุ ความเสมอภาคระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน และประเทศไทยยังเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ในเดือน กันยายนนี้ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ยังมีกลุ่มสตรีที่ไม่สามารถ เข้าถึงความเท่าเทียมความเสมอภาคอยู่มาก แม้ว่าเรื่องนี้จะถูกน าไปพูดในระดับเวทีโลก อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ได้รับการผลักดันอย่างจริงจัง รัฐบาลตระหนักและมองเห็น ปัญหาดังกล่าวนี้ในหลายมิติ และพยายามที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องโอกาสและ ความเท่าเทียมในการพัฒนา ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย รวมทั้งการหยุดความรุนแรงในสตรีทั้งนี้ ต้องร่วมกันคิดว่าจากนี้ไปจะทำอย่างไร ให้แผนงานนี้สะท้อน ไปถึงเป้าหมายและเกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เราอยากเห็นการยุติ ความรุนแรงในสตรีอยากเห็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนท างานร่วมกัน อีกทั้งสตรีในภูมิภาคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สังคมขับเคลื่อน ความเท่าเทียมนี้อย่างมีเอกภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ผมเห็นว่าการเสริมสร้างและพัฒนาบทบาทของสตรี ไม่ใช่เรื่อง ของสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว ผมขอเรียกร้องให้ฝ่ายชาย และทุกภาคส่วนสนับสนุนและ ส่งเสริมบทบาทของสตรี โดยการสร้างทัศนคติที่ดีในสังคม ให้มีความเสมอภาคและ เท่าเทียมระหว่างเพศ ลดและขจัดปัญหาจากการเลือกปฏิบัติให้มีความเสมอภาค ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้พลังสตรีมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ในมิติต่างๆ ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเต็มศักยภาพ ซึ่งจะเป็นกุญแจส าคัญ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาสตรีให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล
ในโอกาสนี้ ผมขอแสดงความชื่นชมและยินดีต่อสุภาพสตรีและผู้เข้าร่วม การประชุมทุกท่าน และขอขอบคุณคณะกรรมการจัดงานทุกท่าน ที่ร่วมกันจัดงาน และเป็นเจ้าภาพที่ดีในการจัดประชุมสุดยอดผู้น าสตรีโลก ซึ่งถือเป็นเวทีส าคัญในการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ และส่งเสริมบทบาทสตรีในการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกอย่างยั่งยืน
ผมขอเปิดการประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “ผู้หญิงกับการสร้างโอกาสในความจริงมิติใหม่” ขออวยพรให้การประชุมบรรลุผลส าเร็จ ทุกประการ และหวังว่าทุกฝ่ายทุกภาคส่วนจะร่วมกันน าผลจากการประชุมในครั้งนี้ ไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบทบาทสตรีและสังคมของประเทศและของโลกต่อไป ขอบคุณครับ