วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564
กรมการค้าต่างประเทศ เผยคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน อยู่ระหว่างดำเนินการไต่สวนการทุ่มตลาดกรณีสินค้าเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกตามที่มีผู้ร้องเรียนแล้ว
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ทตอ.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ได้ดำเนินการไต่สวนการทุ่มตลาดกรณีสินค้าเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน เกาหลี ไต้หวัน และสหภาพยุโรป และกรณีสินค้าเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ที่มีแหล่งกำเนิดจากจีน เกาหลี และสหภาพยุโรป เป็นไปตามกระบวนการ ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ตามกฎหมายของพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และสอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดภายใต้ WTO โดยอุตสาหกรรมภายในผู้ผลิตสินค้าในประเทศสามารถยื่นคำขอต่อกรมการค้าต่างประเทศเพื่อขอให้ดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดได้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ผลิตสินค้าเหล็กเคลือบดีบุกและเหล็กเคลือบโครเมียมในประเทศ 2 รายคือ บริษัท สยามแผ่นเหล็กวิลาส จำกัด (STP) และบริษัท แผ่นเหล็กวิลาสไทย จำกัด (TTP) ได้ยื่นคำขอโดยแสดงข้อมูลหลักฐานว่ามีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในราคาทุ่มตลาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ผลิตสินค้าในประเทศ โดยคณะกรรมการ ทตอ. ได้วินิจฉัยว่าคำขอดังกล่าวมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและความเสียหาย จึงเห็นชอบให้เปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหายสินค้าดังกล่าว ตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ
ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ไต่สวนฯ กรมฯ ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ โดยหลังจากการเปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 และ 15 พฤษภาคม 2563 กรมฯ ได้แจ้งข้อมูลประกาศเปิดการไต่สวนการทุ่มตลาดฯ คำขอฉบับเปิดเผย และแบบสอบถาม ผ่านทางเว็บไซต์ของกองปกป้องและตอบโต้ทางการค้า และได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งประกอบด้วย (1) อุตสาหกรรมภายในผู้ผลิตสินค้าเหล็ก Tinplate และ Tin Free ในประเทศ (2) ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกจากประเทศที่ถูกไต่สวน (3) ผู้นำเข้า/ผู้ใช้ในประเทศ (4) กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ใช้และสมาคมที่เกี่ยวข้อง และ (5) รัฐบาลประเทศผู้ส่งออกสินค้าที่ถูกไต่สวน แสดงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องผ่านการตอบแบบสอบถาม ซึ่งในการไต่สวนทั้ง 2 กรณีนี้มีผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการแสดงข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ กรมฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นต่อการเปิดการไต่สวน และจัดให้มีการรับฟังความเห็นต่อร่างผลการไต่สวนชั้นที่สุดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ตลอดจนจัดให้มีการหารือ 3 ฝ่ายระหว่างผู้ผลิตเหล็ก Tinplate/Tin Free (ต้นน้ำ) ผู้ผลิตกระป๋อง (กลางน้ำ) และผู้ผลิตอาหารกระป๋อง
(ปลายน้ำ) เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการรักษาสมดุลของห่วงโซ่อุปทานอาหารสำเร็จรูปของไทยเพื่อรองรับกรณีการใช้มาตรการ AD สินค้าดังกล่าว ซึ่งในท้ายที่สุด กรมฯ จะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ ทตอ. พิจารณาวินิจฉัยผลการไต่สวนชั้นที่สุดต่อไป
นอกจากนั้นหลักการสำคัญภายใต้พ.ร.บ. การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ในการใช้มาตรการ AD ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
(1) หลักฐานแสดงการทุ่มตลาดของประเทศผู้ส่งออกที่ถูกไต่สวน
(2) หลักฐานแสดงความเสียหายของอุตสาหกรรมภายใน
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างการทุ่มตลาดและความเสียหาย อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจาก 3 ปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว คณะกรรมการ ทตอ. จะต้องพิจารณาข้อคิดเห็น/ข้อโต้แย้งของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน โดยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของอุตสาหกรรมภายใน ผู้นำเข้า ผู้บริโภค
ข่าวทำเนียบรัฐบาล
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35
ข่าวกระทรวง
วีดิทัศน์รายการ/คลังภาพ
วาระงาน