วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564
ผอ. กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ขอประชาชนมั่นใจความปลอดภัยของวัคซีน ร่วมฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หยุดการแพร่ระบาดโควิด-19
วันนี้ 9 มิถุนายน 2564 เวลา 13.10 น. ณ โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงภาพรวมการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 8 มิถุนายน 2564 มีจำนวนวัคซีนที่จัดสรรออกไป ดังนี้ ขิโนแวค จำนวน4,982,313 โดส แอสตร้าเซนเนก้า 1,774,180 โดส รวมทั้งสิ้นการจัดสรรวัคซีน 2 ชนิดจำนวน 6,700,000 กว่าโดส ในส่วนการฉีดวัคซีน covid19 ระหว่างวันที่ 7- 8 มิถุนายน 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 888,000 กว่าโดส ซึ่งจะเห็นว่าสามารถฉีดได้เกินกว่าวันละ 400,000 โดส สรุปยอดรวมการฉีดวัคซีน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 8 มิถุนายน 2564 จำนวน5,107,069 โดส
นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กล่าวว่าภายหลังการฉีดวัคซีนจะมีระบบติดตามอาการไม่พึงประสงค์ เช่น แพ้วัคซีน หรือผลข้างเคียง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีการแยกที่ชัดเจน เพราะมีความสำคัญในการที่จะดูแลประชาชนที่แตกต่างกันตามอากาศที่เกิดขึ้น โดยระบบติดตาม เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว มีการดำเนินการที่มีความรวดเร็วแม้พบอาการเล็กน้อยก็สามารรายงานมาได้ซึ่งจะมีการรวบรวมอาการต่างๆ ไว้ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรงสามารถหายได้เองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องติดตามดูข้อมูลลึก แต่หากเข้าข่ายอาการที่รุนแรงหรือเสียชีวิตก็จำเป็นที่จะต้องมาดูในรายละเอียดว่าสาเหตุการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นมาจากอะไร
ทั้งนี้ในบางส่วนของอาการไม่พึงประสงค์ ที่รุนแรง อาจจะเป็นแค่ปฏิกิริยาของร่างกายหรือที่เรียกว่า "ผลข้างเคียง" โดยปฏิกิริยาของร่างกายคือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งวัคซีนก็เป็นหนึ่งในสิ่งแปลกปลอมที่ใส่เข้าไปโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อประโยชน์กระตุ้นให้ร่างกายรู้จักว่าเวลาที่มีสารกระตุ้นแบบนี้ ซึ่งจำลองหรือเอาสารที่มาจากตัวเชื้อก็ทำให้ ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาในร่างกายจริงๆ ซึ่งปรียบเสมือนทหารป้องกันที่จะเข้าไปต่อสู้เอาชนะทำให้ลดการเสียชีวิต ลดการป่วย ลดการตืดเชื้อ ส่งผลไปถึงหยุดการแพร่กระจายหรือลดการแพร่กระจายทำให้การระบาดหยุดไปได้
ขณะนี้มีการรายงานเข้ามาเสียชีวิต 27 ราย และล่าสุดเมื่อเช้านี้รายงานเพิ่ม 1 ราย รวมเป็นเสียชีวิต 28 ราย โดยขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นผลมาจากวัคซีน ซึ่งตามหลักการเมื่อมีอาการรุนแรงก็จะต้องมีการหาสาเหตุให้ชัดเจน โดยระบบเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ ในระดับพื้นที่จะมีการรวบรวมข้อมูลรายงานสถานการณ์ว่าเกิดเหตุอะไรในเบื้องต้น โดยมีการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในระดับเขต หากมีอาการที่เข้าข่ายดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญจะต้องดูสาเหตุ ว่าเป็นอย่างไร และมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ซึ่งจะรู้สาเหตุที่แท้จริงต้องมีทั้งกระบวนการที่ดูในเรื่องของกระบวนการดูแลรักษา การส่งตรวจในโรงพยาบาล หรือการตรวจผ่าชันสูตรหลังเสียชีวิต สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมากนอกจากดูรูปลักษณ์ภายนอกการผ่าแล้ว ชิ้นเนื้อที่ต้องส่งตรวจเพื่ออธิบายสาเหตุก็มีความสำคัญเช่นกัน ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นที่ปทุมธานี ที่มีผู้เสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีนนั้น หลังการตรวจชันสูตรแล้วพบว่า มีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองซึ่งเป็นสาเหตุคนละเรื่องกับเรื่องของวัคซีน ทั้งนี้ในส่วนผู้เสียชีวิต 27 รายดังกล่าวที่รายงานเข้ามา จำนวน 12 ราย มีการสรุปสาเหตุชัดเจนแล้ว พบว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของวัคซีน จึงขอให้ประชาชนได้มั่นใจในความปลอดภัยของวัคซีนและจะมีการติดตามในเรื่องดังกล่าวมารายงานให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นใจและได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนในวงกว้างเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ทำให้หยุดการระบาดได้ในที่สุด
ผอ. กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กล่าวว่ากรณีผู้ที่มีโรคประจำตัว เกือบทุกโรคสามารถฉีดได้อยู่แล้ว โดยในวันที่มาฉีดมีสุขภาพแข็งแรงดีไม่ได้อ่อนเพลียหรือมีอาการกำเริบของโรค แต่หากบุคคลใดมีความกังวลใจและมีการรักษากับแพทย์เป็นประจำอยู่อาจขอคำปรึกษากับแพทย์เพิ่มเติมได้ แต่โดยส่วนใหญ่ทุกกรณีของโรคประจำตัวถ้าไม่ได้มีอาการกำเริบก็สามารถฉีดได้โดยไม่ต้องเลื่อนนัด ส่วนกรณีที่มีอาการปวดหัวหรือเป็นไมเกรนหลังจากรับวัคซีนแล้วนั้น ขอให้ใช้การประเมินของตัวเองก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วหากปวดหัวเล็กน้อยก็สามารถรับทานยาพาราเซตามอลและพักผ่อนอาการก็ดีขึ้น แต่ถ้าทานยาพาราฯ หรือพักผ่อนแล้วอาการไม่ดีขึ้น และมีการการปวดที่รุนแรงตั้งแต่ต้นรวมทั้งมีความกังวลก็สามารถติดต่อพบแพทย์ได้เลยโดยไม่ต้องรอ
-------------
ข่าวทำเนียบรัฐบาล
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35
ข่าวกระทรวง
วีดิทัศน์รายการ/คลังภาพ
วาระงาน