http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (20 เมษายน 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทย ฐานะเข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการยาง พ.ศ. ….
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ….
5. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานอื่นของรัฐ (ฉบับที่ 2)
6. เรื่อง ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
7. เรื่อง ขอเพิ่มครัวเรือนเป้าหมายเกษตรกรโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563
8. เรื่อง ทบทวนการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน และรายงานผลการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 และปีบัญชี 2563
9. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการจัดเที่ยวบินขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์
10. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563 - 2565
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
12. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอยุบเลิกและการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
13. เรื่อง ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2563 นโยบายของคณะกรรมการ และโครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในอนาคต
14. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
15. เรื่อง ขออนุมัติโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก
16. เรื่อง การขอต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
17. เรื่อง การปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
18. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 5/2564
19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 11/2564 และครั้งที่ 12/2564
20. เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐคูเวตว่า ด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางพิเศษ และหนังสือเดินทางราชการ
21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (Satellite Warehouse) ภายใต้โครงการ DELSA
22. เรื่อง ขออนุมัติสมัครเป็นสมาชิก The Asia Pacific Accreditation Cooperation (APAC) The International Accreditation Forum (IAF) และ International Laboratory Accreditation Cooperation (ILAC)
23. เรื่อง ขอความเห็นชอบการรับรองร่างแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ปี พ.ศ. 2564-2568 (ASEAN Work Plan on Education 2021-2025)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
27. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ อก. รับความเห็นของ อว. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ อก. เสนอว่า
1. โดยที่มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561 – 2570 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ในส่วนของมาตรการขจัดอุปสรรคการลงทุนและสร้างปัจจัยสนับสนุนได้กำหนดให้ อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) เพิ่มบัญชีประเภทกิจการอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพในบัญชีประเภทโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแยกอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพออกจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อก. จึงดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงแก้ไขประเภทหรือชนิดของโรงงานตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อปรับปรุงแก้ไขประเภทหรือชนิดของโรงงานตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535)ฯ รวมทั้งยกร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อเพิ่มประเภทหรือชนิดของโรงงานประกอบกิจการทำเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมี โดยกระบวนการเคมีชีวภาพ และการผลิตพลาสติกชีวภาพ
2. ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 อก. จึงดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าวก่อน จึงไม่อาจดำเนินการร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1. ต่อไปได้ โดยดำเนินการยกเลิกกฎกระทรวงเดิมและออกเป็นกฎกระทรวงฉบับใหม่ คือ กฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงบัญชีประเภทหรือชนิดของโรงงานท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535)ฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2563
3. โดยที่กฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 ตามข้อ 2. ยังไม่มีความชัดเจนในการประกอบกิจการโรงงานหลักที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Industry) ซึ่งเดิมมีการพิจารณาจัดรวมอยู่ในประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 42ฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ ประกอบกับเพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล (S – Curve) อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลดีในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและสิ่งแวดล้อมโดยรวมมากยิ่งขึ้น จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวงฯ โดยเพิ่มประเภทโรงงานอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ 3 ประเภทให้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 (ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานก่อนจึงจะดำเนินการได้) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องและให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 กรกฎาคม 2661 โดยจัดทำเป็นร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาด ของโรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
4. อก. โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวงตามข้อ 3 แล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขเพิ่มเติมประเภทหรือชนิดของโรงงานในลำดับที่ 42 แห่งบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มประเภทโรงงานอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ 3 ประเภท ให้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ (1) การทำเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งใช้วัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการเคมีชีวภาพเป็นพื้นฐาน (2) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมีที่ผลิตจากวัตถุดิบ พื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง และ (3) การผลิตพลาสติกชีวภาพจากเคมีภัณฑ์ หรือสารเคมี หรือวัสดุเคมีที่ผลิตจากวัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่องรวมกับวัตถุดิบที่ผลิตมาจากปิโตรเลียม และทำให้พลาสติกชีวภาพนั้นสลายตัวได้ทางชีวภาพ
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เพิ่มขึ้น และกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาระดับปริญญาโท ของสาขาวิชาเทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการยาง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการยาง พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การขอต่อใบอนุญาต และการขอรับใบแทนใบอนุญาต ในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้นยาง ดอก เมล็ด หรือตาของต้นยาง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยางที่อาจใช้เพาะพันธุ์ได้ การขนย้ายยางเข้าใน ผ่าน หรือออกจากเขตควบคุมการขนย้ายยาง การขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้า การค้ายาง การตั้งโรงทำยาง การนำยางเข้าหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และการเป็นผู้จัดให้มีการวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพยาง เพื่อให้การควบคุมกำกับดูแลในเรื่องของการนำเข้าและส่งออกต้นยาง ดอก เมล็ด หรือตาของต้นยาง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยางสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2511) ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2527) และฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมยาง พุทธศักราช 2481
2. กำหนดให้การนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งยาง ต้นยาง ดอก เมล็ด หรือตาของต้นยาง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยางที่อาจใช้เพาะพันธุ์ได้ การขนย้ายยางเข้าใน ผ่าน หรือออกจากเขตควบคุมการขนย้ายยาง การค้ายางและตั้งโรงทำยาง การเป็นผู้จัดให้มีการวิเคราะห์หรือการทดสอบคุณภาพยาง ต้องขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาต
3. กำหนดให้การขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้าจะต้องเป็นการขยายพันธุ์ต้นยางโดยวิธีการผลิตกิ่งตายาง ผลิตต้นตอตายาง ผลิตต้นยางชำถุง รวมทั้งกำหนดให้การขยายพันธุ์ต้นยางเพื่อการค้าต้องขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาต
4. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอต่ออายุใบอนุญาต การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนในอนุญาตตามข้อ 2. – 3.
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ พน. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบกิจการคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการในปัจจุบัน
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้การออกแบบ การสร้าง การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บ และจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวในคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2. กำหนดให้คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องมีแผนผังโดยสังเขปแสดงตำแหน่งที่ตั้งของคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว พร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่อยู่รอบเขตคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลวภายในระยะไม่น้อยกว่า 500 เมตร
3. กำหนดลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอกของคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยต้องตั้งอยู่ห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร และตั้งอยู่ห่างจากเขตสถานพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน และโบราณสถานไม่น้อยกว่า 200 เมตร
4. กำหนดลักษณะและระยะปลอดภัยภายในของคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องห่างจากภาชนะบรรจุน้ำมันที่ไม่ใช่ถังเก็บน้ำมัน ซึ่งบรรจุน้ำมันที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และต้องมีที่จอดรถขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีขนาดและจำนวนช่องจอดรถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยต้องมีระบบท่อน้ำดับเพลิง เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง แหล่งน้ำหรือที่เก็บน้ำ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์ และระบบสัญญาณเตือนภัย
6. กำหนดให้ในการประกอบกิจการคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว ต้องจัดให้มีพนักงานซึ่งผ่านการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงฯ
5. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานอื่นของรัฐ (ฉบับที่ 2)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานอื่นของรัฐ (ฉบับที่ 2) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
เรื่องเดิม
1. คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้ยกร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานอื่นของรัฐ (ฉบับที่ 2) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ซึ่งบัญญัติให้ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นหน่วยงานของรัฐตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์และแหล่งรายรับของกองทุนเป็นกองทุนหมุนเวียนตามบทนิยามคำว่า “ทุนหมุนเวียน” ตามมาตราดังกล่าว
2. สำนักงาน ป.ป.ช สตง. และ สกพอ. เห็นว่าไม่ควรกำหนดกองทุนของหน่วยงานทั้ง 3 ที่มีทุนหมุนเวียนเป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กองทุนเพื่อการพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดิน กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไม่มีสถานะเป็น “ทุนหมุนเวียน” ตามคำนิยามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงการคลัง (กค.) รับร่างประกาศตามข้อ 1. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2. ไปพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอว่า
1) คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ได้พิจารณาทบทวนร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานอื่นของรัฐ (ฉบับที่ 2) และความเห็นสำนักงาน ป.ป.ช. สตง. และ สกพอ. แล้ว สรุปได้ดังนี้
1.1) เห็นควรปรับรายชื่อสำนักงาน ป.ป.ช. ออกจากร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานอื่นของรัฐ (ฉบับที่ 2) เนื่องจากพิจารณาตามความเห็นของสำนักงาน ป.ป.ช. ประกอบกับวัตถุประสงค์และแหล่งรายรับของกองทุนป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เห็นว่ากองทุนดังกล่าวมิได้เป็นทุนหมุนเวียนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558
1.2) เห็นควรให้ สตง. และ สกพอ. เป็นหน่วยงานของรัฐฯ เนื่องจากพิจารณาตามวัตถุประสงค์และแหล่งรายรับของกองทุนเพื่อการตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ประกอบความเห็นของ สตง. และพิจารณาวัตถุประสงค์และแหล่งรายรับของกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกอบความเห็นของ สกพอ. เห็นว่ากองทุนเพื่อการตรวจเงินแผ่นดินและกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นทุนหมุนเวียนตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อทุนหมุนเวียน |
ชื่อหน่วยงานที่มีทุนหมุนเวียน |
กฎหมายจัดตั้ง |
1. กองทุนเพื่อการพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดิน |
สตง. |
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 |
2. กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก |
สกพอ. |
พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 |
1.3) เห็นควรให้สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) เป็นหน่วยงานของรัฐฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ชื่อทุนหมุนเวียน |
ชื่อหน่วยงานที่มีทุนหมุนเวียน |
กฎหมายจัดตั้ง |
1. กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง |
สกนช. |
พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 |
2. กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม |
สวส. |
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 |
2) คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน มีมติเห็นชอบในหลักการให้ สตง. สกพอ. สกนช. และ สวส. เป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เรื่อง รายชื่อหน่วยงานของรัฐ (ฉบับที่ 2)
สาระสำคัญของร่างประกาศ
กำหนดให้ สตง. สกพอ. สกนช. และ สวส. ที่มีทุนหมุนเวียนเป็นหน่วยงานของรัฐ
6. เรื่อง ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นและเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอมีสาระสำคัญดังนี้
1. การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงบประมาณได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักงบประมาณ ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม – 7 เมษายน 2564 และทำหนังสือสอบถามความคิดเห็นไปยังหน่วยรับงบประมาณ ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
2. ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นไปตามรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงสร้างแตกต่างจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีจำนวน 7 หมวด โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้เพิ่มหมวดหมู่กฎหมายจำนวน 2 หมวด ได้แก่ หมวด 8 งบประมาณ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และหมวด 9 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย เนื่องจากมีการตั้ง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 27 - 28 พฤษภาคม 2564 ต่อไป
7. เรื่อง ขอเพิ่มครัวเรือนเป้าหมายเกษตรกรโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
1.
เห็นชอบขยายจำนวนครัวเรือนเกษตรกรเป้าหมาย จาก 202,013 ครัวเรือน เป็น 202,173 ครัวเรือน โดยเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว
ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 วงเงินงบประมาณ
3,440.05 ล้านบาท รวมถึงค่าบริหารจัดการโครงการสำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ครัวเรือนละ 7 บาท
2. มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการโอนเงินให้เกษตรกรได้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
3. เห็นชอบขยายระยะเวลาโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยปี 2563 จาก
เดิมสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2564
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 26 มกราคม 2564 กษ. (ธ.ก.ส.) พบว่ามีการบันทึกข้อมูลผิดพลาดในระบบสารสนเทศทำให้มีจำนวนเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม
เพิ่มขึ้นอีก 160 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 202,173 ครัวเรือน พื้นที่ 1,429,965.09 ไร่ ซึ่ง ธ.ก.ส. แจ้งว่า มีการแบ่งการดำเนินการจ่ายเงินออกเป็น 3 รอบ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
การโอน |
จำนวน
ครัวเรือน |
กรอบวงเงิน (ล้านบาท) |
ค่าเยียวยา |
ค่าบริหาร
จัดการ
ของ ธ.ก.ส. |
ค่าชดเชยต้นทุน
ให้ ธ.ก.ส. |
ค่าบริหาร
จัดการ
ของกรมส่งเสริมการเกษตร |
รอบที่ 1
(ดำเนินการแล้ว
ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 สิงหาคม 2563) |
200,000 |
2,834.54 |
1.38 |
63.78 |
8.00 |
รอบที่ 2
(ดำเนินการแล้ว
ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 มกราคม 2564) |
2,013 |
23.48 |
0.01
(14,091 บาท) |
0.53 |
- |
รอบที่ 3
(รอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
ในครั้งนี้) |
160 |
1.90 |
0.00
(1,120 บาท) |
0.04 |
- |
รวม |
202,173 |
2,859.92 |
1.39 |
64.35 |
8.00 |
2,933.66* |
* รวมค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงต่ำกว่ากรอบที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 สิงหาคม 2563) อนุมัติไว้เดิม 506.39 ล้านบาท (3,440.05 - 2,933.66)
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีจำนวนเกษตรกรที่เข้าข่ายได้รับการเยียวยามากกว่าเป้าหมายตลอดจนเพื่อให้การดำเนินการมีความละเอียดรอบคอบ มีระยะเวลาเพียงพอในการตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงและป้องกันปัญหาที่อาจตามมาภายหลัง จึงต้องขอขยายระยะเวลาโครงการฯ
จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2564
2. ในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการขยายจำนวนครัวเรือนเกษตรกรและการขยายระยะเวลาโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 ด้วยแล้ว
8. เรื่อง ทบทวนการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน และรายงานผลการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 และ ปีบัญชี 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
1. พิจารณาเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินโดยเร็ว ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ชื่อทุนหมุนเวียน/กองทุน |
ปี 2562 |
ปี 2563 |
(1) เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู |
350.00 |
- |
(2) กองทุนสิ่งแวดล้อม |
- |
81.41 |
2. รับทราบผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 และปีบัญชี 2563 ที่ทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ได้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
ปีบัญชี |
จำนวน (ทุนหมุนเวียน) |
จำนวนเงิน (ล้านบาท) |
2562 |
7 |
1,309.17 |
2563 |
5 |
1,081.33 |
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการฯ รายงานว่า คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 พฤศจิกายน 2563) ดังนี้
1.
ทบทวนการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 และปีบัญชี 2563
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง (กค.) ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กองทุนสิ่งแวดล้อม เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู และกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เพื่อพิจารณาทบทวนการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 และปีบัญชี 2563 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 และได้นำผลการพิจารณาทบทวนดังกล่าวเสนอคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาเหตุผลความจำเป็นตามที่หน่วยงานต่าง ๆ เสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ประกอบคำชี้แจงของผู้แทนทุนหมุนเวียนต่าง ๆ แล้วมีมติสรุปได้ ดังนี้
ทุนหมุนเวียน |
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ/ความเห็นเพิ่มเติมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
ปีบัญชี 2562 |
1. กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ |
- เห็นชอบให้กองทุนดังกล่าวกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุดในปีบัญชี 2562 เพิ่มขึ้นตามที่ขอ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561 เนื่องจากกองทุนดังกล่าวจะต้องดำเนินงานแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีภารกิจที่สำคัญเพื่อยกระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทย จาก Tier 2 ให้เป็น Tier 1 ส่งผลให้กองทุนนี้ไม่มีทุนหรือผลกำไรส่วนเกินที่ต้องนำส่งคลังฯ ปีบัญชี 2562 |
2. กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย |
- เห็นชอบให้กองทุนดังกล่าวกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุดในปีบัญชี 2562 เพิ่มขึ้นตามที่ขอ เนื่องจากกองทุนดังกล่าวมีภารกิจต้องดำเนินงานสนับสนุนนโยบายการพัฒนางานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรที่เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับการนำสมุนไพร กัญชา กัญชง และกระท่อม มาใช้ทางการแพทย์ รวมถึงสมุนไพรหรือตำรับยาแผนไทยเพื่อป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้กองทุนนี้ไม่มีทุนหรือผลกำไรส่วนเกินที่ต้องนำส่งคลังฯ ปีบัญชี 2562 |
3. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู |
- เห็นชอบให้เงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุดในปีบัญชี 2562 เพิ่มขึ้น จำนวน 240.67 ล้านบาท ส่งผลให้เงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวมีทุนหรือผลกำไรส่วนเกินที่ต้องนำส่งคลังฯ ปีบัญชี 2562 จำนวน 350 ล้านบาท (590.67 - 240.67 = 350 ล้านบาท) เนื่องจากเดิมหากต้องนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินที่ต้องนำส่งคลังฯ ปีบัญชี 2562 จำนวน 590.67 ล้านบาท จะทำให้เงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวขาดสภาพคล่องในการบริหารจัดการตามแผนการใช้จ่ายเงินให้กู้ยืมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 ประกอบกับหากพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาย้อนหลัง 3 ปี มีการใช้จ่ายเฉลี่ยร้อยละ 61.54 ของแผนการใช้จ่ายเงินให้กู้ยืม
- สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจ้งว่า จะดำเนินการนำส่งทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 จำนวน 350 ล้านบาท |
ปีบัญชี 2563 |
กองทุนสิ่งแวดล้อม |
- เห็นชอบให้กองทุนสิ่งแวดล้อมนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังฯ ปีบัญชี 2563 จำนวน 81.41 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนดังกล่าวเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาการกำหนดเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. แจ้งว่า ไม่ขัดข้องในการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน |
2.
ผลการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังฯ ปีบัญชี 2562 และปีบัญชี 2563
ทุนหมุนเวียนได้นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังฯ ปีบัญชี 2562 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,309.17 ล้านบาท และปีบัญชี 2563 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,081.33 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เรียบร้อยแล้ว
9. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการจัดเที่ยวบินขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 เรื่อง แนวทางการจัดเที่ยวบินขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์ โดยเห็นชอบเป็นหลักการให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสายการบินแห่งชาติในการขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์ชาวไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเที่ยวบินพิเศษเพื่อขนส่งผู้โดยสารไปประกอบพิธีฮัจย์ เนื่องจากกระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการการจัดเที่ยวบินพิเศษเพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ จำนวน 46,477,000 บาท จึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการจัดเที่ยวบินพิเศษเพื่อไปประกอบพิธีฮัจย์ดังกล่าว สำหรับในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้กรมการปกครองจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
มท. รายงานว่า
1. โดยที่ กระทรวงการคลัง (กค.) ได้ปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 แล้ว จึงส่งผลให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม (คค.) ซึ่ง มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า
เมื่อบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หลุดพ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจจึงมีสถานภาพเป็นสายการบินของเอกชนซึ่ง
ขัดกับข้อกำหนดของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในการขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์ชาวไทย
ซึ่งกำหนดให้ (1)
ดำเนินการโดยสายการบินแห่งชาติ (National Carrier)
ของประเทศไทย และราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียฝ่ายละครึ่งหนึ่ง (2) ไม่อนุญาตให้สายการบินของประเทศอื่นนอกจากสายการบินแห่งชาติของประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียดำเนินการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากกรมการบินพลเรือนของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และ (3) ดำเนินการโดยรูปแบบเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) เท่านั้น
2. มท. เห็นว่า เพื่อให้การขนส่งผู้แสวงบุญชาวไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามข้อกำหนดของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย จึงขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 โดยขอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศไทยเฉพาะกรณีการขนส่งผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์ชาวไทย
3. ที่ผ่านมาผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแจ้งความประสงค์ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์จากท่าอากาศยานนราธิวาส ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมการปกครองจึงจัดทำโครงการสนับสนุนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดเที่ยวบินพิเศษขนส่งผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ที่เดินทางไป - กลับ ณ ท่าอากาศยานนราธิวาส ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 46.48 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพื่อขนส่งผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในส่วนที่เพิ่มเติมจากราคาบัตรโดยสารให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการจัดเที่ยวบินพิเศษสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากท่าอากาศยานนราธิวาสไปยังท่าอากาศยานของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย จำนวน 9 เที่ยวบิน เที่ยวบินละ 287 คน รวมทั้งสิ้น 2,583 คน ทั้งขาไปและขากลับ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนกันยายน 2565
10. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563 - 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
1. เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563 - 2565 ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
2. ให้ สธ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งให้ สธ. ดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
2.1 พิจารณาแนวทางการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563 - 2565 อย่างรอบคอบและจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงานให้มีความชัดเจน โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และผลกระทบ ตลอดจนความพร้อมของปัจจัยในการขับเคลื่อนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ตามกรอบยุทธศาสตร์ได้อย่างครบถ้วน ลดความซ้ำซ้อนด้านภารกิจและงบประมาณ และนำไปสู่การวางแนวทางการรับมือที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์จริงทั้งระยะก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัยให้มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ
2.2 ให้ความสำคัญกับการบูรณาการและยกระดับระบบการสื่อสารบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อให้การรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาที่เกิดสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและควรพิจารณากำหนดกลไก/ลำดับขั้นตอนในการรายงานและสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจนและมีการทดสอบระบบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ รวมถึงการทบทวนและซักซ้อมแนวทางปฏิบัติกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์จริงสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยอย่างเหมาะสม
2.3 กำหนดกลไกการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยมีกลไกการเชื่อมโยงฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาคควรศึกษาและถอดบทเรียนจากแนวทางการรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในอดีตของแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานเชิงรุกโดยเฉพาะการกำหนดมาตรการป้องกันที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีป้องกันและลดผลกระทบที่เหมาะสมที่สุดแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า
1. ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เผชิญกับโรคและภัยพิบัติธรรมชาติอย่างรุนแรงในหลายรูปแบบ ทั้งแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ อุทกภัย รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อประชากรอย่างกว้างขวาง โรคและภัยพิบัติธรรมชาติเหล่านี้ถือเป็นปัญหาภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ รวมถึงเป็นปัญหาทางสังคมและการเมืองของประเทศด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ สธ. จึงเล็งเห็นความสำคัญของการมีมาตรการที่เข้มแข็งเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือและบริหารจัดการกับโรคและภัยพิบัติในด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการฟื้นฟูบูรณะหลังเกิดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติทางธรรมชาติแบบบูรณาการที่ครบวงจรและมีเอกภาพ
2. สธ. ได้ริเริ่มการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการแพทย์และการสาธารณสุขเป็นครั้งแรกในคราวประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 17 - 18 กันยายน 2556 โดยมีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ในเบื้องต้น หลังจากนั้น
นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา สธ. ได้ดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดของแผนดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการประชุมหารือและรับฟังข้อคิดเห็นและกระบวนการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณภัยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งในระดับกรมและระดับจังหวัด เพื่อให้แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ พ.ศ. 2563 - 2565 มีเนื้อหาที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งมีการ
เชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) แผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 - 2573
3. สธ. (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ได้เสนอแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยฯ พ.ศ. 2563 - 2565 ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560) ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563
มีมติเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ พ.ศ. 2563 - 2565 โดยมี
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่
3.1
การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน ควรกำหนดวัตถุประสงค์เพิ่มเติมให้รวมถึงการปฏิบัติด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับท้องถิ่น ชุมชน และภาคเอกชน เพื่อให้ครอบคลุมภาคส่วนที่สำคัญสำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ
3.2
การให้ความสำคัญกับจุดเน้นภายใต้ยุทธศาสตร์ เช่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพและกลไกการบริหาร เน้นการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน/ภาคส่วนต่าง ๆ ที่รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่
3.3
การกำหนดประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนแผน เช่น ควรพิจารณาบูรณาการร่วมกับแผนด้านสาธารณภัยทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์การจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5 - 10 ปี)
3.4
การติดตามประเมินผลแผน เช่น ควรกำหนดการติดตามประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับรายงานผลความคืบหน้าของยุทธศาสตร์ชาติต่อรัฐสภาและมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเชิงรายการของการปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อนำมาสรุปเป็นรายงานสรุปโดยอัตโนมัติ (automatically generated report) เพื่อให้ลดภาระการจัดทำรายงาน สามารถปรับปรุงแผนให้เหมาะสมการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ
3.5
การจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ ควรมุ่งเน้นการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการประเมินสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับทุกหน่วยงาน ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้าง กฎหมาย ระเบียบ และกลไกการประสานงานที่เชื่อมโยงบูรณาการหน่วยงาน
ทั้งนี้
สธ. ได้ดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดดังกล่าวแล้ว
4. แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ พ.ศ. 2563 - 2565
สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และ การสาธารณสุข พ.ศ. 2563 - 2565
(1) วิสัยทัศน์ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยได้รับบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีความมั่นใจในระบบบริการสาธารณสุขทุกระยะของการเกิดภัยอย่างทันท่วงที ในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
(2) เป้าหมาย พัฒนาระบบบูรณาการและการปฏิบัติการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขในทุกระดับ
ให้เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพด้วยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
ลดความสูญเสียของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) พันธกิจ
- ทุกภาคส่วน
มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและลดผลกระทบการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน และการจัดการหลังเกิดภัยให้พร้อมกับการเผชิญสาธารณภัย
-
ส่งเสริมการป้องกันสาธารณภัยในระดับท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคส่วนต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
- ส่งเสริมให้บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความตระหนักถึงความปลอดภัย
- มีการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย มุ่งเข้าสู่
การรับรู้ - ปรับตัว - ฟื้นเร็วทั่ว - อย่างยั่งยืน
(4) ตัวชี้วัด
(4.1) ร้อยละของการจัดทำและดำเนินการตามแผนการเตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทุกระดับสำหรับทุกเพศทุกวัย
(4.2) อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
(4.3) ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติการฟื้นฟูด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลังเหตุการณ์สาธารณภัย
(4.4) จำนวนกลไกและระดับบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ ในการดำเนินงาน
(5) กลไกการประเมินและติดตาม
- คณะอนุกรรมการจัดทำแผนติดตามและประเมินผล ชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความก้าวหน้างานภายใต้แผนแต่ละระดับ
- จัดทำรายงานการติดตามประเมินผลภาพรวมเสนอคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.)
(6) กรอบยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการลดความเสี่ยงต่อสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน
- สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงสร้างองค์ความรู้ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉิน
- จัดทำระบบบริหารความต่อเนื่อง ที่สามารถสนับสนุนบุคลากรและทรัพยากรแก่การจัดการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการระบบและให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาระบบสื่อสารในภาวะฉุกเฉินและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการประเมินสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันและเชื่อถือได้
- พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรในการจัดการภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัย ระบบบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูด้านการแพทย์และการสาธารณสุขหลังเกิดสาธารณภัย
ร่วมกับหน่วยงานภาคีในระดับปฏิบัติการพื้นที่พัฒนาระบบปฏิบัติการฟื้นฟูด้านการแพทย์และการสาธารณสุขให้สอดคล้องกับแนวทางการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ (Disaster Recovery Framework : DRF)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพและกลไกการบริหารจัดการเชิงบูรณาการทางการแพทย์และการสาธารณสุขระหว่างประเทศในภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- พัฒนาขีดความสามารถ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุข
- เสริมสร้างทักษะและความชำนาญของเครือข่ายด้านการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และการสาธารณสุข และส่งเสริมมาตรฐานความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยง
5. ประมาณการงบประมาณ ปี พ.ศ. 2563 - 2565 สำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์
รวมทั้งสิ้น 588.41 ล้านบาท โดย
แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำแผนงบประมาณที่สอดรับกับแผนปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของแต่ละหน่วยงานต่อไป
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สภากาชาดไทยเสนอให้สภากาชาดไทย หรือเหล่ากาชาดจังหวัด หรือกิ่งกาชาดอำเภอ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทย ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้สภากาชาดไทย
เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ได้
สาระสำคัญของเรื่อง
สภากาชาดไทยรายงานว่า
1. ที่ผ่านมาสภากาชาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ได้จัดทำสลากบำรุงสภากาชาดไทยในทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
2. การเล่นสลากกินแบ่งในบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478
1 ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ข้อ 12 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543) กำหนดให้
ผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการสาธารณกุศล โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย
________________________
1 บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 หมายเลข 16 คือ สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง
12. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอยุบเลิกและการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาการขอยุบเลิกและการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียน ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
1.
ให้ยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนากฎหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
2.
ไม่ควรให้จัดตั้งกองทุน ดังต่อไปนี้
2.1
กองทุนความปลอดภัยในการออกกำลังกาย นันทนาการ และกีฬา ของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ตามร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยในการออกกำลังกาย นันทนาการ และกีฬา พ.ศ. ....
2.2
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน (รง.) ตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ....
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กรมพลศึกษา) กระทรวงแรงงาน (สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการพิจารณาการขอยุบเลิกและการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียน ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วมีความเห็นต่อผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ |
ความเห็นของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง |
1. ยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนากฎหมาย
[สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)] |
เห็นควรให้ สคก. ยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนฯ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้ สคก. ดำเนินการชำระบัญชีเงินทุนหมุนเวียนและนำเงินคงเหลือส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินด้วย เนื่องจาก สคก. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายแล้ว |
- สคก. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นชอบ |
2. ไม่เห็นควรจัดตั้งกองทุนความปลอดภัยในการออกกำลังกาย นันทนาการ และกีฬา (กรมพลศึกษา กก.) |
- เป็นการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติของหน่วยงาน และซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนอื่น ในการสนับสนุนเงินเยียวยาค่ารักษาแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
- ผู้ให้บริการสถานที่ออกกำลังกายควรเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยในการใช้สถานที่
- กรมพลศึกษาต้องกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยจากการออกกำลังกาย นันทนาการ และกีฬาต่อไป |
- กก. มีความเห็นเพิ่มเติมว่าการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมและคุ้มครองด้านความปลอดภัย ลดการบาดเจ็บและสูญเสียจากการออกกำลังกาย
- สงป. สคก. และ สศช. เห็นชอบ |
3. ไม่เห็นควรจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน) |
- เป็นการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติของ รง. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- แหล่งรายได้ของกองทุนฯ ซึ่งมาจากเงินค่าสมาชิกอาจไม่มีความยั่งยืน ทำให้ต้องใช้เงินงบประมาณเป็นรายได้หลัก
- รง. ควรบูรณาการด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบภายใต้หน่วยงานและทุนหมุนเวียนภายใต้การกำกับดูแลของ รง. หรือดำเนินการขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ของกรมการจัดหางาน ให้ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบ |
- รง. เห็นว่า คณะรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้ รง. ดำเนินการขยายวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพและโอนกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมาอยู่ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... ต่อไป
- กก. สงป. สคก. และ สศช. เห็นชอบ |
13. เรื่อง ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2563 นโยบายของคณะกรรมการ และโครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในอนาคต
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปีงบประมาณ 2563 นโยบายของคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการฯ) และโครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 73 ที่บัญญัติให้ รฟม. ทำรายงานปีละครั้งเสนอคณะรัฐมนตรี รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลของงานในปีที่ล่วงมาแล้วและคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการฯ โครงการและแผนงานที่จะทำในภายหน้า) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 (ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)
1.1 ด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มีผลการดำเนินการ ดังนี้
โครงการ |
ผลการดำเนินการ/ความก้าวหน้า |
โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (4 โครงการ) |
1) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ |
เปิดให้บริการแล้ว |
2) รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) |
- งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและงานศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 แล้วเสร็จ
- งานก่อสร้างงานโยธามีความก้าวหน้าร้อยละ 69.82 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 2.77)
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2567 |
3) รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี |
- งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและส่งมอบพื้นที่โครงการแล้วเสร็จ
- งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 62.23 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 3.08)
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2565 |
4) รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง |
- งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วเสร็จ
- งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 64.27 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 5.14)
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2565 |
โครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา (1 โครงการ) |
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) |
- งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความก้าวหน้าร้อยละ 19.20 (ตามแผน)
- งานศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ มีความก้าวหน้าร้อยละ 48.80 (ตามแผน)
- รฟม. อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2570 |
โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ (5 โครงการ) |
1) รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
- งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมีความก้าวหน้าร้อยละ 8.60 (ตามแผน)
- งานขออนุมัติโครงการและศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ แล้วเสร็จ
- งานก่อสร้างงานโยธา ผลิตและติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานเดินรถมีความก้าวหน้าร้อยละ 9 (ตามแผน)
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2570 |
2) รถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต |
- งานศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ แล้วเสร็จ
- งานเสนอขอความเห็นชอบรูปแบบการลงทุนมีความก้าวหน้าร้อยละ 15 (ตามแผน)
- งานคัดเลือกที่ปรึกษามีความก้าวหน้าร้อยละ 20 (ตามแผน)
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2569 |
3) รถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ |
- งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ
- งานเสนอขอความเห็นชอบรูปแบบการลงทุนมีความก้าวหน้าร้อยละ 30 (ตามแผน)
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2571 |
4) รถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา |
- งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2571 |
5) รถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก |
- เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ซึ่งให้อำนาจ รฟม. ในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพิษณุโลก1
- คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2571 |
นอกจากนี้ ยังมีผลการดำเนินการอื่น ๆ เช่น (1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) อยู่ระหว่างตรวจพิจารณาแบบรายละเอียดฐานรากและเอกสารประกวดราคาให้สอดคล้องกับแบบก่อสร้างและเอกสารประกวดราคาของโครงการระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (2) การศึกษาออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีสะพานพระนั่งเกล้ากับท่าเรือพระนั่งเกล้า ดำเนินการแล้วเสร็จ ปัจจุบันอยู่ระหว่างประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาระบบเชื่อมต่อการเดินทาง และ (3) โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ตั๋วร่วม ได้ชะลอการนำเทคโนโลยี EMV Contactless
2 (Europay, Mastercard, Visa) มาใช้กับระบบตั๋วร่วมเพื่อเร่งพัฒนาการเชื่อมต่อระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้สามารถใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 86.90 มีความพึงพอใจในระดับมาก – มากที่สุดต่อมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและจราจรจากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า (เป้าหมายร้อยละ 90)
1.2 ด้านการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เปิดให้บริการแล้ว 2 เส้นทาง มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
เส้นทาง |
ผลการดำเนินงาน |
ผู้โดยสารเฉลี่ย
(คน-เที่ยว/วัน) |
เพิ่มขึ้น/ลดลง3
(ร้อยละ) |
ความพึงพอใจของผู้ให้บริการ |
รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล |
283,933 |
+23.85
(เป้าหมาย +5.00) |
ร้อยละ 80.85
(เป้าหมายร้อยละ 70.35) |
รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม |
46,114 |
+28.08
(เป้าหมาย +7.00) |
ร้อยละ 76.40
(เป้าหมายร้อยละ 65) |
1.3 ด้านการเงิน รฟม. มีผลประกอบการกำไรสุทธิ 1,819.25 ล้านบาท (กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 150,000 บาท) โดยมีรายได้ 14,876.97 ล้านบาท (เงินอุดหนุน 10,190.02 ล้านบาท) และค่าใช้จ่ายรวม 13,057.72 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ร้อยละ 99.99 (คณะรัฐมนตรีกำหนดเป้าหมายร้อยละ 95) นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากธุรกิจต่อเนื่องจากรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล 123.72 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.69 ล้านบาท และสายฉลองรัชธรรม 27.51 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สูงกว่าเป้าหมาย 2.33 ล้านบาท ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return On Asset: ROA) ร้อยละ 0.90 (เป้าหมายร้อยละ 0.59) รวมทั้งได้จัดทำรายงานการศึกษาโครงสร้างงบกำไรขาดทุนของ รฟม. เสร็จเรียบร้อยแล้ว
1.4 ด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล รฟม. ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยพนักงานร้อยละ 96.81 มีสมรรถนะตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนด (เป้าหมายร้อยละ 95.90) และมีระดับความผูกพันเท่ากับ 4.20 (เป้าหมายเท่ากับ 3.67) นอกจากนี้ ได้มีการดำเนินงานตามแผนต่าง ๆ เช่น แผนพัฒนาปรับปรุงองค์กรและแผนพัฒนาองค์กร แผนพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารก่อสร้าง การบริหารโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การรักษาความปลอดภัยและกู้ภัยในเขตระบบรถไฟฟ้าและระบบราง และแผนพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562) รฟม. มีคะแนนผลการดำเนินงานสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีผลการประเมินสูงเป็นอันดับหนึ่งจากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 53 แห่ง ทั้งนี้ ในส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 อยู่ระหว่างที่ปรึกษาของระบบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลังประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
1.5 ด้านการกำกับดูแลที่ดี รฟม. ได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติในการแสดงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมของผู้นำระดับสูง เช่น การจัดงานวันธรรมาภิบาล การแสดงรายการรับของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด ตามกรอบเวลาที่กำหนด การหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และแนวทางการป้องกันแก้ไข ทั้งนี้ ในปี 2563 รฟม. มีผลประเมินคุณธรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) อยู่ในลำดับที่ 3 ของรัฐวิสาหกิจสังกัด คค. เท่ากับ 88.01 คะแนน (ปี 2562 เท่ากับ 88.96 คะแนน)
2. นโยบายของคณะกรรมการฯ เช่น ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรงเวลา ประหยัด โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จและเปิดบริการได้ตามแผนงาน ศึกษาระบบรถไฟฟ้าในเมืองหลักอื่น ดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการทำงานภายในองค์กร ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มอบนโยบายเพื่อให้ รฟม. ใช้ประกอบการกำหนดทิศทางขององค์การที่ชัดเจนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563
3. โครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต
3.1 ด้านการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รฟม. มีโครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3 โครงการ อยู่ระหว่างการประกวดราคา 1 โครงการ และอยู่ระหว่างศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนฯ ซึ่งคาดว่าจะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปี 2564 – 2566 จำนวน 5 โครงการ โดยมีเป้าหมายว่าการดำเนินงานจะต้องมีความสำเร็จตามแผน และประชาชนร้อยละ 90 ต้องมีความพึงพอใจในระดับมาก – มากที่สุดต่อมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและจราจรจากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าฯ ในปี 2564 และปี 2565 นอกจากนี้ มีแผนที่จะพัฒนาระบบเชื่อมต่อการเดินทางสายฉลองรัชธรรม บริเวณสถานีพระนั่งเกล้า – ท่าเรือพระนั่งเกล้า โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2564 รวมทั้งยังมีแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ระบบตั๋วร่วมโดยจะพัฒนาระบบตั๋ว EMV ให้แล้วเสร็จภายในปี 2564
3.2 ด้านการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รฟม. มีแผนที่จะพัฒนาการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยมีเป้าหมายความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าและบริการเสริมอื่น ๆ ในระดับมาก – มากที่สุดและการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ดังนี้
สายรถไฟฟ้า |
เป้าหมายความพึงพอใจฯ (ร้อยละ) |
เป้าหมายการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสาร |
ปี 2564 |
ปี 2565 |
สายเฉลิมรัชมงคล |
71.35 |
72.35 |
ร้อยละ 5 ต่อปี |
สายฉลองรัชธรรม |
66.50 |
68.00 |
ร้อยละ 7 ต่อปี |
3.3 ด้านการเงิน รฟม. มีแผนที่จะหารายได้จากธุรกิจต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในแต่ละปี โดยในปี 2564 จะมีรายได้ประมาณ 169 ล้านบาท (สายเฉลิมรัชมงคล 139 ล้านบาท และสายฉลองรัชธรรม 30.91 ล้านบาท) และในปี 2564 และ 2565 จะมีผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ร้อยละ 0.72 และ 0.90 ตามลำดับ นอกจากนี้ มีแผนที่จะบริหารจัดการทางการเงินเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยต้องควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้สูงกว่าปีที่ผ่านมา
3.4 ด้านการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล โดยในปี 2564 และ 2565 บุคลากรต้องผ่านเกณฑ์ประเมินสมรรถนะร้อยละ 96 และ 91.60 ตามลำดับ บุคลากรมีความผูกพันที่ระดับ 3.72 และ 3.77 ตามลำดับ นอกจากนี้ ในปี 2564 จะมีการพัฒนาและทดสอบการใช้งานระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ภายในปี 2565 รวมทั้งมีแผนการดำเนินการอื่น ๆ เช่น แผนพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารงานก่อสร้าง การบริหารโครงการ การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย แผนการจัดการความรู้ด้านการเดินรถไฟฟ้า และแผนการฝึกอบรมบุคลากรระบบราง
3.5 ด้านการกำกับดูแลที่ดี รฟม. มีแผนที่จะพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลองค์กรใน 4 มิติ และพัฒนาแนวทางการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานในด้านนี้ โดยในปี 2564 และ 2565 จะต้องมีผลการประเมิน ITA อยู่ที่ร้อยละ 91 และ 92 ตามลำดับ
4. ความเห็นของ คค.
4.1 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม รฟม. ยังคงรักษามาตรฐานการดำเนินงานได้อย่างดีเยี่ยม โดยผลกำไรสุทธิในปี 2563 สูงกว่าปี 2562 ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ถึงร้อยละ 55.33 รวมทั้งสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ถึงร้อยละ 99.99
4.2 เพื่อให้การดำเนินการของ รฟม. ในปี 2563 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล คค. ได้มอบหมายให้ รฟม. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
4.2.1 ให้ความสำคัญกับการหารายได้เชิงพาณิชย์และใช้แนวทางด้านการตลาด เช่น การออกตั๋วโดยสารประเภทพาส (Pass) เพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้ทดแทนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
4.2.2 เร่งดำเนินการประกวดราคา/คัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนสำหรับรถไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแล้ว เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
4.2.3 เร่งก่อสร้างโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารผลกระทบต่อการจราจรในทุกมิติ รวมทั้งควบคุมการก่อสร้างไม่ให้เกิดฝุ่นละออง PM
2.5 ตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
4.2.4 เร่งพัฒนาระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นให้สามารถใช้งานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมตามมาตรฐาน EMV และการพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งทางน้ำบริเวณสถานีพระนั่งเกล้า
4.2.5 เร่งรัดการเชื่อมต่ออุโมงค์สถานีบางซื่อ โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล กับสถานีกลางบางซื่อ ให้ทันกับการเปิดให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ในเดือนกรกฎาคม 2564
-------------------------------------------------------------
1 ข้อมูลเพิ่มเติม (เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564) ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างจัดเตรียมร่างข้อกำหนดและขอบเขตงานเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการฯ
2 EMV Contactless คือการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรเครดิต/เดบิตที่ออกโดยธนาคาร
3 เพิ่มขึ้น/ลดลงจากค่าเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2562 - พฤษภาคม 2563 [ข้อมูลเพิ่มเติม (เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564) โดยปกติ รฟม. จะเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยของปีงบประมาณนั้น ๆ กับจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยในครึ่งปีงบประมาณแรก (ตุลาคม 2562 - มีนาคม 2563) แต่เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าปกติ คณะกรรมการฯ จึงเห็นชอบให้นำข้อมูลค่าเฉลี่ยของเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 เข้ามาคิดร่วมด้วย เพื่อสะท้อนถึงข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เกิดขึ้น]
14. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ
โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากอย่างยั่งยืน
ดังนี้ 1) ระดับปฏิบัติการ ควรขยายพื้นที่การดำเนินงานให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ขยายพันธมิตรความร่วมมือโดยกระตุ้น ชักชวนความร่วมมือกับองค์กรชุมชนที่มีบริการในระดับชุมชน และ
2) การพัฒนาในระดับนโยบาย ควรแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจชุมชน ด้วยกลไกความร่วมมือแบบสอดประสานโดยสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งพัฒนาบทบาทของสถาบันเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นองคาพยพในการเพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์ และการจัดการความรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
มท. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ |
ผลการพิจารณาศึกษา |
1. ระดับปฏิบัติการ ควรขยายพื้นที่การดำเนินงานตามโครงการบริหารจัดการหนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ขยายพันธมิตรความร่วมมือโดยกระตุ้น ชักชวนความร่วมมือกับองค์กรชุมชนที่มีบริการในระดับชุมชน |
เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
1.1 การขยายผลการจัดตั้งศูนย์จัดการกองทุนชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้มีผลการดำเนินงานที่เข้มแข็งและยั่งยืน ควรคำนึงถึงความพร้อมและศักยภาพของพื้นที่และการสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้ง
1.2 ควรบูรณาการกองทุนชุมชนในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการหนี้ร่วมกัน และให้หน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ความรู้ เพิ่มทักษะที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้แก่คณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนเพื่อให้สามารถถ่ายทอดกระบวนการไปสู่ครัวเรือนเป้าหมายให้สำเร็จ
1.3 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับของแต่ละกองทุนที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกศูนย์จัดการกองทุนชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการหนี้และไม่ขัดต่อระเบียบ/ข้อบังคับของแต่ละกองทุนที่จะเข้ามารับผิดชอบการปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าสู่กระบวนการ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา
|
2. การพัฒนาในระดับนโยบาย ควรแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจชุมชน ด้วยกลไกความร่วมมือแบบสอดประสานโดยสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งพัฒนาบทบาทของสถาบันเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น |
เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
2.1 วางระบบติดตาม ประเมินผล โดยระบบพี่เลี้ยง กรมการพัฒนาชุมชนมีการติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานศูนย์จัดการกองทุนชุมชนโดย “ทีมที่ปรึกษาแก้หนี้” ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นระบบพี่เลี้ยงในทุกระดับ โดยมีกลไกในการติดตาม สนับสนุนการดำเนินการของพัฒนาการจังหวัด/ผู้อำนวยการกลุ่มงาน/พัฒนาการอำเภอ รวมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ความสำคัญในการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และควบคุมให้มีคุณภาพ
2.2 ผลักดันให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความยากจน และ
ลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาล ขณะนี้รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในทุกพื้นที่ของประเทศเพื่อให้มีกลไกเชิงนโยบายในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน
ลดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาทุกช่วงวัย โดยใช้ข้อมูลจากระบบ Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP (ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า) เป็นหลัก และเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม
2.3 บูรณาการความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและสถาบันการเงินในท้องถิ่น ให้กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับสถาบันทางการเงิน และสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเป็นกลไกขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของศูนย์จัดการกองทุนชุมชน รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยการนำเอาบทเรียนและประสบการณ์ของศูนย์จัดการกองทุนชุมชนไปร่วมกันจัดการความรู้หาตัวแบบความสำเร็จ (Best Practice) เพื่อนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตร เพิ่มพูนความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนและท้องถิ่น
|
15. เรื่อง ขออนุมัติโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) (โครงการฯ) และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา 68 (1) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอ ดังนี้
1. ให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์และเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) ทั้งหมด รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้ภาครัฐตลอดระยะเวลา 15 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ
2. ให้ดำเนินโครงการฯ ในกรอบวงเงินรวมสำหรับค่างานที่เกี่ยวข้องกับค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ระยะที่ 2) จำนวน 660.43 ล้านบาท โดยให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง
3. กรอบวงเงินค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ของโครงการฯ จำนวน 34.22 ล้านบาท และวงเงินหลักประกันตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 200,000 บาท โดยให้ สงป. จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง
4. มอบหมายให้ ขบ. กระทรวงคมนาคม (คค.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการนโยบายฯ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (17 เมษายน 2555) อนุมัติในหลักการให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย (โครงการฯ) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานีปรับเปลี่ยนการขนส่งระหว่างประเทศไปสู่ภายในประเทศ รวมถึงเชื่อมต่อระบบการขนส่งจากถนนไปสู่ทางรถไฟ โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ซึ่ง ขบ. ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 1 แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2563 และ ขบ. จะเป็นผู้เปิดให้บริการและบริหารเองภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ไปพลางก่อนในระหว่างดำเนินการเพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ทั้งนี้ ขบ. พิจารณาแล้วว่าโครงการฯ มีความคุ้มค่าทั้งในด้านการเงิน [เฉพาะในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M)] และด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการนโยบายฯ) ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ได้พิจารณาผลการวิเคราะห์โครงการฯ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมการนโยบายฯ มีข้อสังเกตที่สำคัญบางประการ เช่น ให้ผลักดันให้มีพื้นที่ควบคุมร่วมกันระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น ในครั้งนี้คณะกรรมการนโยบายฯ จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการดำเนินการในขั้นตอนต่อไปสรุปได้ ดังนี้
1. ให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบของ PPP Net Cost เฉพาะในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance: O&M) ทั้งหมด และมีการให้สิทธิในทรัพย์สินของโครงการฯ ในรูปแบบ Build – Operate – Transfer (BOT) เพื่อให้ภาคเอกชนเปิดให้บริการโครงการฯ อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2565 ระยะเวลาสัมปทาน 15 ปี
2. ค่างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการก่อสร้างขยายในส่วนพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น อาคารเปลี่ยนถ่ายและบรรจุสินค้า และลานกองเก็บตู้สินค้า เป็นต้น เพื่อรองรับเส้นทางรถไฟทางคู่สายเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 และปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต วงเงิน 660.43 ล้านบาท และค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 34.22 ล้านบาท
3. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม (ขบ.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (คณะกรรมการคัดเลือกฯ) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการนโยบายฯ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
16. เรื่อง การขอต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2564 สิ้นสุดวันที่ 11 มีนาคม 2567 โดยมีกระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
สาระสำคัญของเรื่อง
พม. รายงานว่า
1. กคช. ได้ประสานกับธนาคารออมสิน เพื่อขอต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ที่สิ้นสุดในวันที่ 11 มีนาคม 2564 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2564 และครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2567 โดยเป็นการขอวงเงินไว้สำหรับในกรณีที่ กคช. ขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่งก็จะขอเบิกจากวงเงินเบิกเกินบัญชีมาใช้ในการหมุนเวียน เพื่อมิให้การดำเนินงานต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงักลง และจะใช้คืนธนาคารทันทีที่มีสภาพคล่อง ซึ่งวงเงินดังกล่าวได้รับการบรรจุไว้ในการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1 ด้วยแล้ว
2. ธนาคารออมสินได้เห็นชอบให้ กคช. ต่ออายุวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดการเงินในปัจจุบัน สรุปได้ ดังนี้
รายการ |
วงเงินและเงื่อนไข |
ประเภทสินเชื่อ |
วงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (O/D) |
จำนวนเงินกู้ |
ไม่เกิน 500 ล้านบาท |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อใช้เป็นวงเงินสำรองในกรณีที่ กคช. ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนและมีความจำเป็นต้องใช้เงิน |
ระยะเวลากู้ |
ระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ 12 มีนาคม 2564 และครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2567 |
อัตราดอกเบี้ย |
MOR* ของธนาคารออมสิน ลบร้อยละ 2.75 ต่อปี (MOR – 2.75) |
การค้ำประกัน |
กค. ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย |
เงื่อนไขอื่น ๆ |
1. หากผู้กู้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ตามกำหนด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกร้อยละ 2 ต่อปี
2. ผู้กู้ต้องแจ้งกำหนดการเบิกเงินให้ธนาคารทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ
3. กำหนดให้ กคช. ต้องแสดงเอกสารสำเนาหนังสือมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กคช. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำนวน 500 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นเวลา 3 ปี นับจากวันที่ 12 มีนาคม 2564 ครบกำหนดวันที่ 11 มีนาคม 2567 |
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบการขอต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีด้วยแล้ว และ กคช. ได้แจ้งให้ กค. ทราบไว้ล่วงหน้าแล้ว
---------------------------------------
* ดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate: MOR)
17. เรื่อง การปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงาน (เงินเดือนค่าจ้างชดเชยฯ) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เฉพาะคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (ปวส. ปวช. และต่ำกว่า ปวช.) โดย
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และใช้สูตรการคำนวณการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยฯ ดังนี้
เงินเดือนค่าจ้างใหม่ = อัตราค่าจ้างแรกเข้าขั้นต่ำใหม่ + 0.67 x (เงินเดือนค่าจ้างปัจจุบัน – อัตราค่าจ้างแรกเข้าขั้นต่ำเดิม) |
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. ขอความเห็นชอบการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เฉพาะคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (ปวส. ปวช. และต่ำกว่า ปวช.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และใช้สูตรการคำนวณตามแนวทางปฏิบัติที่ภาครัฐใช้กับพนักงานราชการ ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2560 และคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 ด้วยแล้ว โดย พน. ได้จัดทำข้อมูลตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 ประกอบการพิจารณา เช่น
ประเด็น |
คำชี้แจง |
1. การเปรียบเทียบค่าตอบแทนของภาคแรงงานของอุตสาหกรรม (Industry Norm) |
กฟผ. มีอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงาน (คุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี) ที่ต่ำกว่า จึงจำเป็นต้องปรับอัตราดังกล่าวเพื่อสรรหาและธำรงบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของ กฟผ. โดยมิได้มีการปรับอัตราให้สูงไปกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นแต่อย่างใด |
2. สถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ |
- ในปี 2562 มีรายได้รวม 576,405.62 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 45,176.39 ล้านบาท (เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 15.06) และนำส่งเงินรายได้แผ่นดินเป็นเงิน 22,201.91 ล้านบาท
- มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยปีละ 27,925.72 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 5.24 ของรายได้รวม และมีคะแนนผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ย 4.6893 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น - ดีมาก |
3. ผลกระทบด้านงบประมาณ |
- ในปี 2563 มีผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยฯ ประมาณ 1,267 คน จากทั้งหมด 18,849 คน แบ่งเป็น ปวส. 755 คน ปวช. 35 คน และต่ำกว่า ปวช. 477 คน และจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 16.28 ล้านบาทต่อปี (ใช้งบประมาณของรัฐวิสาหกิจเอง)
- กฟผ. ได้จัดทำแผนวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2563 – 2573 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงและการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และด้านแผนสร้างการเติบโตเพื่อรองรับอนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยคำนึงความสามารถในการจ่ายและคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อค่ากระแสไฟฟ้า |
18. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 5/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 เมษายน 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) เสนอ ดังนี้
สรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ
1. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ ดังนี้
1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 139,671,718 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 111 จาก 217 ประเทศทั่วโลก
2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ เมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 - 16 เมษายน 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 10,461 ราย (อยู่ในโรงพยาบาล 9,884 ราย และโรงพยาบาลสนาม 577 ราย) หายป่วยแล้ว 1,054 ราย ทั้งนี้ ณ วันที่ 16 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 1,582 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 921 ราย ผู้ป่วยจากการคัดกรองเชิงรุก 656 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด 5 ราย
3) สรุปสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกเมษายน 2564 พบว่าเกิดจาก
การแพร่ระบาดของกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด - 19 จากสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีการกระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มที่มีการแพร่เชื้อเป็นกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งมีกิจกรรมทางสังคมจำนวนมาก จึงมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องบริหารจัดการทรัพยากรด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณาการภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมบริหารจัดการเตรียมโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการที่อาจเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ทั้งนี้ แนวโน้มสถานการณ์ทั่วโลกยังพบผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย จึงต้องคงระดับการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดบริเวณพื้นที่ชายแดนของประเทศต่อไป
2. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ในพื้นที่
ทั่วราชอาณาจักร และการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 ในการระบาดระลอกเมษายน 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
1) การห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ได้แก่ (1) ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของสถาบันการศึกษาทุกประเภท เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือทำกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่ตามข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ของข้อกำหนด (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 และ (2) ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 50 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดเป็นสถานกักกันโรค
2) การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคทั่วราชอาณาจักร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน
3) การกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกตามเขตพื้นที่ ดังนี้
(1) พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 18 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ภูเก็ต นครราชสีมา นนทบุรี สงขลา ตาก อุดรธานี สุพรรณบุรี สระแก้ว ระยอง และขอนแก่น โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน
ได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้จนถึงเวลา 23.00 น. ในลักษณะของการนำไปบริโภคที่อื่น
ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ในร้าน
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และงดการให้บริการส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก
ง. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดินให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 น. สำหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 น.
จ. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิดให้บริการได้ไม่เกินเวลา 21.00 น. และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้ โดยจำกัดจำนวนผู้ชมในสนาม
(
2) พื้นที่ควบคุม จำนวน 59 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ ชุมพร พิษณุโลก นครศรีธรรมราช นราธิวาส ราชบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ลพบุรี มหาสารคาม ตราด ชัยภูมิ อ่างทอง สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุทัยธานี นครนายก สมุทรสงคราม ศรีสะเกษ แม่ฮ่องสอน ยะลา ชัยนาท สิงห์บุรี ลำพูน เพชรบูรณ์ กระบี่ ลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย พะเยา หนองคาย เลย พิจิตร ระนอง ร้อยเอ็ด สกลนคร พังงา ยโสธร ปัตตานี แพร่ ตรัง อุตรดิตถ์ น่าน อำนาจเจริญ นครพนม บึงกาฬ พัทลุง กาฬสินธุ์ สตูล และมุกดาหาร โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น.
ข. การจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ในร้าน
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา 21.00 น. โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและงดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และงดการให้บริการส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกมและสวนสนุก
4) การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอ
การเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดโดยให้กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการขนส่งผู้โดยสารที่เป็นการขนส่งสาธารณะทุกประเภท ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กำหนด
5) การจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ ขอความร่วมมือประชาชนงดการจัดกิจกรรมสังสรรค์ งานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงในช่วงเวลานี้ก่อน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนที่อาจจำเป็นต้องมีการจัดพิธีการตามประเพณีนิยมในช่วงเวลาดังกล่าว ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้เสนอประเด็นหารือ เพื่อขออนุญาตให้ประชาชนสามารถจัดพิธีการลักษณะดังกล่าวได้ หากมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอ
6) การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสม
7) มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ (ศปก. สธ.) ร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 กระทรวงมหาดไทย (ศปก. มท.) และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) เร่งจัดหาสถานที่เพื่อใช้รองรับ ดูแลรักษา และแยกกัก กักกันตัวผู้ติดเชื้อหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อโดยด่วน โดยขอความร่วมมือจากสถานศึกษา สถานที่ของเอกชน หรือสถานที่อื่น ๆ รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์อื่น ที่จำเป็นให้เพียงพอ และให้ผู้ติดเชื้อทุกรายตรวจรักษาและแยกกักในสถานที่และตามระยะเวลา จนกว่าจะได้ตรวจทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรค หรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค ให้ผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขในพื้นที่ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ติดเชื้อดังกล่าว เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุข
8) การประเมินสถานการณ์ ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19
(ศปก. ศบค.) พิจารณาและประเมินสถานการณ์ เพื่อการปรับเปลี่ยนระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ รวมทั้งแนวปฏิบัติตามพื้นที่สถานการณ์ได้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในห้วงเวลาต่าง ๆ และเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุญาต ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการสอดคล้องกับมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
3. แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการให้บริการวัคซีนฯ ดังนี้
1) แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ของประเทศไทย พ.ศ. 2564
วัคซีน |
วัคซีนถึงประเทศไทย |
1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 2,500,000 โดส (เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564) |
1.1) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 200,000 โดส |
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 |
1.2) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 800,000 โดส |
วันที่ 27 มีนาคม 2564 |
1.3) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 1,000,000 โดส |
วันที่ 10 เมษายน 2564 |
1.4) วัคซีน Sinovac Biotech จำนวน 500,000 โดส |
ปลายเดือนเมษายน 2564 |
2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 26,000,000 โดส (เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564) |
2.1) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 6,000,000 โดส |
เดือนมิถุนายน 2564 |
2.2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดส |
เดือนกรกฎาคม 2564 |
2.3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดส |
เดือนสิงหาคม 2564 |
3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 35,000,000 โดส (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564) |
3.1) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดส |
เดือนกันยายน 2564 |
3.2) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดส |
เดือนตุลาคม 2564 |
3.3) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 10,000,000 โดส |
เดือนพฤศจิกายน 2564 |
3.4) วัคซีน AstraZeneca จำนวน 5,000,000 โดส |
เดือนธันวาคม 2564 |
2) การจัดสรรจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้หน่วยบริการ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2564 รวมจำนวน 1,043,589 โดส โดยได้จัดส่งวัคซีนของบริษัท Sinovac จำกัด ถึงหน่วยบริการเป้าหมายใน 77 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว จำนวน 957,429 โดส และจัดส่งวัคซีนของบริษัท AstraZeneca จำกัด ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 86,160 โดส
3) การให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ 77 จังหวัด มีจำนวนยอดสะสมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 15 เมษายน 2564 รวมทั้งสิ้น 586,032 โดส จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 510,456 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 75,576 ราย โดยจำแนกตามกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนฯ ดังนี้
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 |
รวมสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 15 เม.ย. 2564 |
เข็มที่ 1 |
เข็มที่ 2 |
1) บุคลากรสาธารณสุข (ราย) |
206,250 |
33,521 |
2) เจ้าหน้าที่อื่น ๆ (ราย) |
49,454 |
6,939 |
3) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป (ราย) |
26,256 |
13 |
4) ผู้ที่มีโรคประจำตัว (ราย) |
22,545 |
5,046 |
5) ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (ราย) |
205,951 |
30,057 |
รวม (ราย) |
510,456 |
75,576 |
4) แผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย ภายในปี 2564
(สามารถดาวน์โหลดตารางได้ที่เอกสารแนบไฟล์)
5) ข้อเสนอแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด - 19 (Sinovac) จำนวน 1,000,000 โดส ในเดือนเมษายน 2564
เป้าหมาย |
การกระจายวัคซีน |
1) ควบคุมการระบาดในพื้นที่สีแดง |
100,000 โดส |
2) พื้นที่ 77 จังหวัด |
|
2.1) ประชาชนที่มีโรคประจำตัว |
147,200 โดส |
2.2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน |
599,800 โดส |
2.3) ตำรวจและทหารปฏิบัติงานด่านหน้า |
54,320 โดส |
3) สำรองส่วนกลาง |
98,680 โดส |
รวม |
1,000,000 โดส |
6) ความเห็นและข้อเสนอแนะของที่ประชุม ดังนี้
1) ควรเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ให้ครอบคลุมประชากรของ ประเทศและพิจารณาจัดหาวัคซีนทางเลือกชนิดอื่นเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) สายพันธุ์กลายพันธุ์จากต่างประเทศซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในหลายประเทศ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล เป็นต้น รวมทั้งควรเตรียมความพร้อมระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการแพร่ระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2) ควรให้ความสำคัญในการชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับ
การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ (1) วัคซีนที่ให้บริการในประเทศไทยมีคุณภาพและมีความปลอดภัย และ (2) การให้ประชาชนได้รับทราบแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 ที่ชัดเจน
3) ให้กระทรวงสาธารณสุขหาแนวทางในการให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการกระจายและฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน โดยอาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีน หรือการให้องค์การเภสัชกรรมเป็นตัวแทนในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก เพื่อให้โรงพยาบาลหรือหน่วยงานภาคเอกชนได้นำไปใช้ รวมถึงการขึ้นทะเบียนวัคซีนให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย
7) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 และรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณาในการดำเนินงานตามแผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19
4. การจัดหาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ของสำนักงานประกันสังคม ที่ประชุมรับทราบรายงานการจัดหาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมมีสถานพยาบาลในเครือที่สามารถรองรับผู้ป่วยโรคโควิด - 19 รวมทั้งสิ้น 245 แห่ง ประกอบด้วยสถานพยาบาลของรัฐ 164 แห่ง สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 81 แห่ง ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดแนวทางดำเนินการจัดหาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) เพื่อดูแลรักษาผู้ประกันตนที่ติดเชื้อโควิด - 19 โดยมีคณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ กรณีค่าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ประกันตน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม
5. การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ตามแนวชายแดน ที่ประชุมรับทราบรายงาน ดังนี้
1) การสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ในห้วง 1 - 15 เมษายน 2564
มีสถิติการจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมือง รวม 1,977 คน โดยมียอดการจับกุมในพื้นที่ชายแดน จำนวน 1,281 คน พื้นที่ตอนใน จำนวน 696 คน และการจับกุมผู้นำพา รวม 14 คน ในพื้นที่จังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี บึงกาฬ และระนอง
2) การตรวจกิจการและกิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลาย ในห้วง 1 กรกฎาคม 2563 - 14 เมษายน 2564 ทำการตรวจสถานประกอบการ กิจการ กิจกรรม รวม 3,824,027 แห่ง พบปฏิบัติไม่ครบถ้วน 110,527 แห่ง หรือร้อยละ 2.89 ซึ่งได้กวดขันการปฏิบัติตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) กำหนดอย่างต่อเนื่อง เน้นย้ำมาตรการป้องกัน และเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์กับประชาชน
3) การปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ใน
การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโควิด – 19 ได้แก่ การสนับสนุนกำลังพล และยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ และการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามตามความต้องการขยายขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งอยู่ภายใต้การอำนวยการของศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก. ศบค.) ทั้งนี้ สถานภาพการสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ในปัจจุบันทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 22 แห่ง รวม 3,606 เตียง
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
1. ให้
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) เร่งดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ให้กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เสี่ยงในระยะเร่งด่วน และสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ในการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1)
สัปดาห์ที่ 1 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 รุนแรง
2)
สัปดาห์ที่ 2 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ของโรคโควิด - 19 รุนแรง และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ปานกลาง
3)
สัปดาห์ที่ 3 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ประชาชนในพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ปานกลาง และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ต่ำ
4)
สัปดาห์ที่ 4 ให้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ต่ำ
2. ให้
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย (ศปก.มท.) ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลและเตรียมความพร้อมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม/เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และให้มีการเปิดรับอาสาสมัครจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการสนับสนุนรถพยาบาลรถกู้ชีพ และรถกู้ภัยต่าง ๆ เพื่อช่วยในเรื่องการรับส่งผู้ป่วยโควิด – 19 ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ที่อาจขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น
3. ให้
โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อสารและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และความจำเป็นของการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 ในการระบาดระลอกเมษายน 2564 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของประชาชน
19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 และ ครั้งที่ 12/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 และครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 และวันที่ 16 เมษายน 2564 ที่ได้พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และการพิจารณากำหนดแนวทางการกลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 รวมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เป็นรายประเด็นตามผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้ ตามพระราชกำหนดฯ และข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาตามมาตรา 8 (1) ของพระราชกำหนดฯ ข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการ ตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) และมาตรา 4 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ วงเงิน 68 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (พฤษภาคม - ธันวาคม 2564) และมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการและดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ
2. อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราชนะ และรับทราบแนวทางจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลการทบทวนสิทธิ์ที่อาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงและการกำหนดกรอบระยะเวลารับเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าว โดยเห็นควรให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับแจ้งจากประชาชนภายในวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ พร้อมทั้งให้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการดำเนินโครงการฯ โดยเคร่งครัด
3. รับทราบแนวทางการพิจารณากลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการฯ กำหนดไว้ต่อไป
4. รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เป็นรายประเด็นตามผลการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และข้อเสนอแนะต่อการพิจารณากลั่นกรองโครงการ และการกำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมทั้งมอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบทั้ง 8 โครงการ รับข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงแนวทางการดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
1. โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
1)
วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย (1) เพื่อช่วยเหลือและสร้างอาชีพแก่คนว่างงานและ คนตกงาน (2) เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจ SMEs ขนาดเล็ก ให้กลับมาดำเนินธุรกิจในตลาดเป็นปกติ (3) เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์และการขยายการลงทุนในธุรกิจให้กับ Franchisee มากขึ้น และ (4) เพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย
2)
เป้าหมาย ประกอบด้วย (1) เกิดการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และเพิ่มการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ (2) เกิดการสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ (3) ธุรกิจแฟรนไชส์ขยายร้านสาขาแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจมีความมั่นคงเข้มแข็งและยั่งยืน (4) เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ เกิดการสร้างอาชีพ ทำให้เกิดการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ลดอัตราการว่างงาน และ (5) ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ขยายตัวและสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น
3)
กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (กุมภาพันธ์ 2564 – กันยายน 2564) ดังนี้
3.1)
กิจกรรมที่ 1 จัดงานแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Road Show 2021 ในภูมิภาค รวม 15 ครั้ง (15 จังหวัด) (ประมาณเดือนละ 2 จังหวัด) เป้าหมาย 100 ธุรกิจ และประสานงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) และสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพาณิชย์ที่มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ให้แก่ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ได้มีเงินลงทุนเพื่อประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น
3.2)
กิจกรรมที่ 2 จัดงาน DBD Franchise & SME Expo 2021 ส่วนกลาง 1 ครั้งเป้าหมาย 400 ธุรกิจ และประสานงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) และสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพาณิชย์ที่มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ให้แก่ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ได้มีเงินลงทุนเพื่อประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น
4)
วงเงินและแหล่งเงิน จำนวน 68 ล้านบาท โดยขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ (แผนงานที่ 3.3)
5)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วย (1) ธุรกิจแฟรนไชส์ 500 ราย ได้นำเสนอธุรกิจเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 และ (2) ผู้ว่างงาน ผู้ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ และแฟรนไชส์ซีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ร่วมกิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ จำนวน 10,000 ราย
2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราชนะ เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ สามารถได้รับความช่วยเหลือตามโครงการฯ และสามารถใช้จ่ายวงเงินที่ได้รับภายในระยะเวลาที่เหมาะสมตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1) ขยายกลุ่มเป้าหมายและกรอบวงเงินของโครงการฯ
จาก กลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 31.1 ล้านคน กรอบวงเงินไม่เกิน 210,200 ล้านบาท
เป็น กลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 33.5 ล้านคน กรอบวงเงินไม่เกิน 213,242 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3,042 ล้านบาท
2) ขยายระยะเวลาใช้วงเงินสนับสนุนสำหรับผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ
จาก สามารถใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
เป็น ใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ ให้กรมบัญชีกลางอนุมัติเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการที่เข้าร่วมโครงการฯ ตามที่ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ ได้ใช้จ่ายจริง เป็นรายวัน โดยวิธีการเบิกจ่ายเงินแทนกัน และกรณีที่กรมบัญชีกลางโอนเงินให้แก่ผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการไม่สำเร็จ ให้ดำเนินการติดตามเพื่อโอนเงินซ้ำภายในวันที่ 24 กันยายน 2564
20. เรื่อง การจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐคูเวตว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางพิเศษ และหนังสือเดินทางราชการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐคูเวตว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางพิเศษ และหนังสือเดินทางราชการ (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Kuwait on Mutual Visa Exemption for Holders of Diplomatic, Special and Official Passports) และเห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างความตกลงฯ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามดังกล่าว และเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญของการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐคูเวตว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางพิเศษ และหนังสือเดินทางราชการ เป็นการอนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ (กรณีคนไทย) และผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษ (กรณีคนชาติคูเวต) เดินทางเข้า เดินทางผ่าน พำนัก และเดินทางออกจากดินแดนของแต่ละฝ่าย โดยไม่ต้องมีการตรวจลงตราและได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ให้พำนักอยู่ในดินแดนของไทยหรือรัฐคูเวตเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหรือระหว่างการพำนักหลายครั้งไม่เกิน 90 วัน ในช่วงระยะเวลา 180 วัน นับจากวันแรกที่เดินทางเข้ามาในไทยหรือรัฐคูเวต โดยความตกลงนี้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เว้นแต่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งยกเลิกความตกลงฯ ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเวลา 90 วันให้ภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบผ่านช่องทางการทูต ทั้งนี้ ร่างความตกลงฯ จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือข้าราชการของทั้งสองฝ่ายและช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยและรัฐคูเวตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (Satellite Warehouse) ภายใต้โครงการ DELSA
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน ภายใต้โครงการ DELSA และให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือผู้แทนในฐานะผู้ประสานงานหลัก (Focal Point) ในคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ [ASEAN Committee on Disaster Management: ACDM (คณะกรรมการ ACDM)] เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกับผู้อำนวยการบริหาร AHA Centre เนื่องจากเป็นการดำเนินงานตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ลงนามรับรองไว้แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขโดยไม่กระทบสาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของอาเซียน ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญ
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนแผนงานอาเซียนด้าน โลจิสติกส์ฉุกเฉิน และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวกันในการตอบโต้ภัยพิบัติทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค (Declaration on One ASEAN, One Response: ASEAN Responding to Disaster as One in the Region and Outside Region) (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 เห็นชอบปฏิญญาดังกล่าวแล้ว) ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพในการตอบโต้ภัยพิบัติของอาเซียนผ่านความร่วมมือเชิงเทคนิคในการจัดตั้งคลังเก็บสิ่งของฯ ในประเทศไทย ซึ่งผู้อำนวยการบริหาร AHA Centre แจ้งว่า AHA Centre ได้ปรับแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่ ปภ. เสนอแล้ว มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
ความร่วมมือ
เชิงเทคนิค |
ปภ. และ AHA Centre จะดำเนินกิจกรรมร่วมกันในประเด็นดังต่อไปนี้
- จัดตั้งและเปิดปฏิบัติการคลังเก็บสิ่งของฯ ณ จังหวัดชัยนาท ประเทศไทย
- จัดฝึกอบรบเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านโลจิสติกส์ในการตอบโต้ภัยพิบัติของภูมิภาค
- ส่งเสริมกระบวนการสร้างฐานความรู้โดยรวบรวมประสบการณ์และบทเรียนของภูมิภาค
กิจกรรมต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงานข้างต้นจะถูกกำกับการปฏิบัติงานโดยข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของคลังเก็บสิ่งของ (ข้อกำหนดฯ) และมาตรฐานวิธีปฏิบัติการจัดส่งสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยออกจากคลังเก็บสิ่งของฯ ณ จังหวัดชัยนาท (มาตรฐานวิธีปฏิบัติฯ) ซึ่งข้อกำหนดฯ และมาตรฐานวิธีปฏิบัติฯ จะมีการจัดทำโดยผ่านการหารือร่วมกันที่แยกออกไปต่างหาก และจะถูกผนวกเข้าในเอกสารประกอบบันทึกความเข้าใจฯ ในฐานะภาคผนวก |
ผลผูกพัน
ทางกฎหมาย |
บันทึกความเข้าใจฯ ไม่ต้องการให้เกิดความผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ระหว่าง ปภ. และ AHA Centre แต่เป็นเพียงการแสดงถึงความสนใจของผู้มีส่วนร่วม ทั้งสองฝ่ายในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดกิจกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ในเบื้องต้น ภายใต้ข้อกำหนดที่ผู้มีส่วนร่วมทั้งสองฝ่ายนั้นได้เห็นชอบ |
การจัดการ
บริหาร
และการเงิน |
แต่ละฝ่ายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ รวมถึงเอกสารข้อกำหนดฯ และมาตรฐานวิธีปฏิบัติฯ ตลอดจนเอกสารและการบริหารจัดการที่ได้เห็นชอบร่วมกันในภายหลัง |
ระยะเวลา
การยกเลิก
และการแก้ไข |
มีผลบังคับใช้เมื่อมีการลงนามโดยผู้ที่ได้รับการมอบอำนาจจากผู้มีส่วนร่วมทั้งสองฝ่าย และมีระยะเวลาในการบังคับใช้จนกว่าผู้มีส่วนร่วมทั้งสองฝ่ายจะต้องเห็นพ้องร่วมกันในการยกเลิก (เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อยหกสิบวัน) ทั้งนี้ การยกเลิกจะไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในความรับผิดชอบที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว รวมทั้งสามารถแก้ไขได้หากได้รับความเห็นชอบร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร |
การแก้ปัญหา
เมื่อมีความเห็น
ที่แตกต่างกัน |
เมื่อมีความเห็นที่แตกต่างหรือเกิดข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแปลความและการนำบันทึกความเข้าใจฯ ไปปฏิบัติ ผู้มีส่วนร่วมทั้งสองจะต้องแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวร่วมกันผ่านการปรึกษาหารือและการเจรจาต่อรอง |
22. เรื่อง ขออนุมัติสมัครเป็นสมาชิก The Asia Pacific Accreditation Cooperation (APAC) The International Accreditation Forum (IAF) และ International Laboratory Accreditation Cooperation (ILAC)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สมัครขอทำความตกลงการยอมรับร่วมด้านการรับรองระบบงานกับองค์การภูมิภาคแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (The Asia Pacific Accreditation Cooperation : APAC) องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (The International Accreditation Forum : IAF) และองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ (International Laboratory Accreditation Cooperation : ILAC) โดยตรงในนามสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติและลงนามในใบสมัคร และ อนุมัติค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าของ APAC เป็นจำนวนเงินประมาณ 5,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 125,000 บาท ค่าสมาชิกแรกเข้า IAF เป็นจำนวนเงินประมาณ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 70,000 บาท และสมาชิกแรกเข้า ILAC เป็นจำนวนเงินประมาณ 600 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 14,000 บาท รวมทั้งค่าสมาชิกรายปี ตามที่ APAC IAF และ ILAC เรียกเก็บ โดยจะใช้เงินงบประมาณในส่วนงบเงินอุดหนุนของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เสนอขออนุมัติการสมัครขอทำความตกลงการยอมรับร่วมด้านการรับรองระบบงานกับองค์การภูมิภาคแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (The Asia Pacific Accreditation Cooperation : APAC) องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (The International Accreditation Forum : IAF) และองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ (International Laboratory Accreditation Cooperation : ILAC) โดยตรงในนาม มกอช. และลงนามในใบสมัครเป็นสมาชิกดังกล่าว และอนุมัติค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าของ APAC เป็นจำนวนเงินประมาณ 125,000 บาท ค่าสมาชิแรกเข้า IAF เป็นจำนวนเงินประมาณ 70,000 บาท และค่าสมาชิกแรกเข้า ILAC เป็นจำนวนเงินประมาณ 14,000 บาท รวมทั้งค่าสมาชิกรายปีตามที่ APAC IAF และ ILAC เรียกเก็บ โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะใช้เงินงบประมาณในส่วนงบเงินอุดหนุนของ มกอช. ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกจะทำให้มาตรฐานคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มกอช. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นองค์มาตรฐานภายใต้คณะกรรมการมาตรฐานแห่งชาติ (กมช.) โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัครเป็นสมาชิก ตามที่ APAC IAF และ ILAC ในนามของตนเอง ในขณะที่ สมอ. และ มกอช. สมัครเป็นสมาชิก ตามที่ APAC IAF และ ILAC ในนามของ กมช. อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก มกอช. มีระบบงานและขอบเขตหน้าที่ต่างกันกับ สมอ. ทำให้เกิดปัญหาในการรับรองมาตรฐานสินค้า ดังนั้น ในครั้งนี้ มกอช. จึงเสนอสมัครสมาชิกในนามของ มกอช. ภายใต้กฎหมายของ มกอช. สรุปได้ ดังนี้
โครงสร้างองค์กรมาตรฐานเดิม |
โครงสร้างองค์กรมาตรฐานหลังจาก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ |
- กมช. (ประกอบด้วย สมอ. และ มกอช.)
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
|
1. กมช. (สมอ.)
2. มกอช.
3. กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
|
ปัญหา |
ประโยชน์ |
เกิดความไม่ชัดเจนในการรับรองระบบงานที่รับรองเนื่องจาก มกอช. สมัครเป็นสมาชิกร่วมกับ สมอ. โดยที่ มกอช. รับรองระบบงานด้านสินค้าเกษตรและอาหาร ขณะที่ สมอ. รับรองระบบงานด้านอุตสาหกรรม |
ประเทศไทยมีหน่วยรับรองระบบงานด้านสินค้าเกษตรและอาหารที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศในนามของ มกอช. ที่มีความชัดเจน ถูกต้อง และเหมาะสมกว่า |
23. เรื่อง ขอความเห็นชอบการรับรองร่างแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ปี พ.ศ. 2564-2568 (ASEAN Work Plan on Education 2021-2025)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ปี พ.ศ. 2564-2568 (ASEAN Work Plan on Education 2021-2025) และให้ความเห็นชอบผลผลิตที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ/เจ้าภาพร่วม พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้การอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีก
สาระสำคัญ
ร่างแผนงาน ประกอบด้วย 5 ผลลัพธ์ และ 12 ผลิต โดยผลลัพธ์ และผลผลิตที่ไทยรับเป็นเจ้าภาพ/เจ้าภาพร่วม สรุปได้
ผลลัพธ์ |
ผลผลิต |
กิจกรรม |
1.การพัฒนาด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน รวมถึงแนวปฏิบัติด้านการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม |
1.1 การปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านหลักสูตรของโรงเรียนและการรณรงค์ผ่านสื่อประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสิงคโปร์และมาเลเซีย
1.2 การส่งเสริมทักษะในการปรับตัวสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของครูและนักเรียน รวมทั้งแนวปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการศึกษา |
1.พัฒนาแนวทางและเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหลักสูตรอาเซียนศึกษา ฯ
2. อำนวยความสะดวกในการบูรณาการเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ากับกิจกรรม บทเรียนและหลักสูตรต่างๆ ของโรงเรียน ให้สอดคล้องกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
2. การเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาคในการส่งเสริมและการประกันการเข้าถึงการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเด็กและเยาชนที่ตกหล่น |
2.1 การกำหนดนโยบายความร่วมมือและกลไกการตรวจสอบในระดับภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการดูและและการศึกษาเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ ความพร้อมของโรงเรียนและการบริการด้านการดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุม
2.2 การพัฒนานโยบายการศึกษาในระดับภูมิภาคและระดับชาติและขีดความสามารถทางเทคนิคเพื่อประกันและสร้างโอกาสการเรียนรู้ รวมถึงเด็กและเยาวชนที่ตกหล่น
(ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประเทศเดียว) |
1.ส่งเสริมการเข้าถึงและมาตรฐานคุณภาพของการดูแลเด็กปฐมวัย การพัฒนาและการศึกษาที่ดีขึ้น รวมถึงการประกันความเสมอภาคทางเพศเพื่อการรับมือกับศตวรรษที่ 21 และการตอบสนองต่อผลกระทบของภาวะวิกฤตต่างๆ
2. สนับสนุนการพัฒนากรอบการเทียบวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานของอาเซียน |
3.การเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาคด้านการอุดมศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการสร้างความกลมกลืนด้านการอุดมศึกษาในอาเซียน |
3.1 การเสริมสร้างบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์หลากสาขาและข้ามพรมแดน
3.2 การเสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการสร้างความกลมกลืนด้านการอุดมศึกษาผ่านยุทธศาสตร์และกลไกต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทุนการศึกษา |
1.จัดเวทีด้านนโยบายเพื่อประสานข้อริเริ่ม ติดตามความสำเร็จระดับภูมิภาค อุปสรรค และกำหนดทิศทางในการเข้าถึงการอุดมศึกษา รวมถึงการใช้วิธีการ การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
2.จัดการประชุมหารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายด้านการอุดมศึกษาของอาเซียน |
4.การส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป |
4.1การส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคในประเด็นที่เกี่ยวกับระบบการจัดการและการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา
(ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับฟิลิปปินส์)
4.2การนำภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษาทั้งในด้านการวางแผน การพัฒนาโครงการการดำเนินงาน และการระดมทรัพยากร (ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับบูรไนดารุสซาลาม)
4.3การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิค และการอาชีวศึกษาผ่านการประกันคุณภาพการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร นวัตกรรม และการเคลื่อนย้ายแรงงานสำหรับความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป
(ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับบูรไนดารุสซาลาม) |
1. ส่งเสริมการพัฒนาการวิจัยและความรู้เกี่ยวกับการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม รวมถึงการวิเคราะห์ ความต้องการของตลาดแรงงานและทักษะที่ต้องการในระดับประเทศ
2.เพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของการฝึกงานครูและผู้ฝึกสอนในบริษัท เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์และการถ่ายทอดทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม
3. ประกันคุณภาพด้านการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมผ่านความเป็นผู้นำ การแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนกลไกการประกันคุณภาพ รวมถึงการส่งเสริมการทำให้เกิดความครอบคลุมสำหรับแรงงานชายหญิงในโครงการเคลื่อนย้ายและการฝึกงานข้ามพรมแดน
|
5) การดำเนินการตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการประสานงาน การจัดการความรู้และระบบติดตามและประเมินผล |
5.1 การเสริมสร้างการประสานโครงการด้านการศึกษาในระดับภูมิภาคและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 ระบบการจัดการความรู้และระบบการติดตามและประเมินผลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานจามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน |
1.ริเริ่มการหารือเชิงนโยบายและทางเทคนิคเกี่ยวกับการจัดทำโครงการด้านการศึกษาของอาเวียนและข้อเสนอแนะต่อโครงการ
2.การออกแบบระบบเพื่อติดตามการดำเนินงานตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเวียนและประเมินผล |
เบื้องต้น ร่างแผนงาน ฯ นำเสนอต่อที่ประชุม SOM-ED เพื่อให้ความเห็นชอบ (endorsement) ระหว่างวันที่ 15-26 มีนาคม 2564 และนำเสนอต่อที่ประชุม ASED เพื่ออนุมัติ (Approval) ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 12 เมษายน 2564 ซึ่ง ศธ. ประสานขอเลื่อนส่งเอกสาร ฯ กับสำนักเลขาธิการอาเวียนเป็นวันที่ 23 เมษายน 2564
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง
นายวิโรจน์ ภู่ไพบูลย์ ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้ตรวจราชการกรมระดับสูง) กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสหกรณ์ (นักวิชาการสหกรณ์ทรงคุณวุฒิ) กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้ง
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้
1.
นายสุทธิชัย จรูญเนตร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2.
นายณรงค์ ดูดิง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)]
3.
นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
4.
นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2564 เป็นต้นไป
27. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85 /2564 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2563 เรื่อง มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบ
แนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 355/2563 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมการมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 นั้น
เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาภายใต้แนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับ
พื้นที่จังหวัด เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบกับได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ณ วันที่ 22 มีนาคม พุทธศักราช 2564 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และข้อ 3 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 242/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นายกรัฐมนตรีจึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2563 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 355/2563 และมีคำสั่งมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่จังหวัด
1.1 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จังหวัดชัยนาท จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดลพบุรี
1.2 พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
1.3 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดศรีสะเกษ
1.4 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดพิจิตร
1.5 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่
1.6 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง
1.7 นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม
1.8 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และจังหวัดพังงา
1.9 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดภูเก็ต
1.10 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดเลย
1.11 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1.12 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
1.13 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชัยภูมิ
1.14 นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
จังหวัดสกลนคร และจังหวัดมุกดาหาร
1.15 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคม
จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี
1.16 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนครปฐม
1.17 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดร้อยเอ็ด
1.18 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
1.19 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล
1.20 นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบึงกาฬ
1.21 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตาก
1.22 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดระนอง
1.23 นางนฤมล ภิญโญสินวัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน
1.24 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
จังหวัดชลบุรี จังหวัดลำปาง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
1.25 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิษณุโลก
1.26 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม
1.27 นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก
1.28 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
1.29 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
จังหวัดแพร่ จังหวัดสระบุรี และจังหวัดราชบุรี
2. ให้รัฐมนตรีตามข้อ 1 เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และเสนอแนะแก่คณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ ตลอดจนมีหน้าที่และอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 242/2563 และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันมอบหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
.....................