http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (9 มีนาคม 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยในกฎหมาย)
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นและการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
6. เรื่อง การออกกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และกฎกระทรวงเพื่อรองรับการควบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด พ.ศ. ....
8. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน แผนงานก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำนาทอน (แห่งใหม่) พร้อมวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำพื้นที่ตำบลนาทอน ตำบลทุ่งบุหลัง และตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
9. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,372.41 ล้านบาท เพื่อ ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ (จำนวน 5 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
10. เรื่อง ขอเพิ่มวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 และโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64
11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
12. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมกราคม 2564
13. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2563
14. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 5/2563 เรื่องการแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติ [ร่างข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....]
15. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร
16. เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
17. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 1/2564
18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2564
19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 8/2564
20. เรื่อง กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
21. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – อินเดีย
22. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ว่าด้วยการค้าข้าวระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการค้าแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
23. เรื่อง รายงาน Country Survey Instrument for SDG Indicator 6.5.1 และ Reporting on global SDG Indicator 6.5.2
24. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเศรษฐกิจหมุนเวียน
25. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
27. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
28. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยในกฎหมาย)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง และอัตราดอกเบี้ยผิดนัด โดยปรับจากอัตราคงที่ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เป็น ร้อยละสามต่อปี และร้อยละห้าต่อปีตามลำดับ และกำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในหนี้ที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเป็นงวด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง โดยปรับจาก “อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี” เป็น “อัตราร้อยละสามต่อปี” โดยอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
2.
แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยผิดนัด โดยปรับจาก “อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี” เป็น “อัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี” (เท่ากับอัตราร้อยละ 5 ต่อปี)
3.
กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในหนี้ที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเป็นงวด โดยกำหนดให้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด เจ้าหนี้อาจคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น
4.
กำหนดบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แต่จะมีผลให้ข้อตกลงที่กำหนดให้เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ค้างชำระทั้งหมดตกเป็นโมฆะทันทีที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่สำนัก ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า
1. พระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 มาตรา 21 บัญญัติให้องค์การมหาชนทุกแห่งดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ไปยังคณะรัฐมนตรีภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการแทนและเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาองค์การมหาชนได้ดำเนินการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งฯ แล้วเสร็จ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 33 แห่ง คงเหลือ จำนวน 1 แห่ง คือสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (สธท.)
2. โดยที่ปัจจุบัน สธท. ได้มีภารกิจที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินงานในด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ชั้นสูงด้านหลักนิติธรรม การศึกษาวิจัยในประเด็นที่ซับซ้อนหรือสหวิทยาการ เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม การให้ความรู้ทางกฎหมายและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมด้านหลักนิติธรรม จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ สธท. ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
3. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อให้สามารถดำเนินงานรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 อันจะส่งผลให้การบริหารงานและการปฏิบัติภารกิจของ สธท. มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
4. ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3. และมีมติให้ตัดร่างมาตรา 8 (10) ที่กำหนดให้ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมายออก เนื่องจากการดำเนินงานของ สธท. ต้องดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์จัดตั้งเท่านั้น ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีหนังสือที่ นร 1208/453 ลงวันที่ 14 กันยายน 2563 แจ้งมติ กพม. ให้ สธท. ทราบแล้ว
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 เพื่อปรับปรุงวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ สธท. ให้สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539 รายละเอียด ดังนี้
1. กำหนดความหมายนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” และ “กรรมการ”
2. กำหนดให้ สธท. มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุวัติข้อกำหนดสหประชาชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขัง หรือ “Bangkok Rules” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.2 ศึกษา วิจัย และเผยแพร่มาตรฐานและบรรทัดฐานของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด และการช่วยเหลือผู้กระทำผิดหลังพ้นโทษให้กลับคืนสู่สังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ
2.3 ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านหลักนิติธรรม เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งให้ความรู้ทางกฎหมายและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ความเคารพในหลักนิติธรรมและวัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา
2.4 เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศระดับนานาชาติด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยจะเน้นความร่วมมือกับสหประชาชาติสถาบันสมทบ (Programme Network Institute) และความร่วมมือในกรอบอาเซียน
2.5 ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกระบวนการยุติธรรมของไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ
3. กำหนดให้ สธท. มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
3.1 ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และทรัพยสิทธิต่าง ๆ
3.2 ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมทุกประเภท เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน
3.3 ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
3.4 จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน
3.5 เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน
3.6 กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
3.7 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
3.8 เป็นตัวแทน หรือมอบหมาย หรือว่าจ้างให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ประกอบกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
3.9 ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน
4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วย
4.1 ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านบริหาร หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน
4.2 กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสี่คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด
4.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน
4.4 ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น
4.5 ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา
5. กำหนดให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์การมหาชนเกินกว่าสามแห่งไม่ได้ ทั้งนี้ ให้นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและการได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งกรรมการด้วยการนับจำนวนการดำรงตำแหน่งกรรมการ ไม่รวมถึงการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน
6. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดำเนินการของสถาบัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และให้รวมถึง (1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสถาบัน (2) อนุมัติงบประมาณประจำปี งบการเงิน และแผนการลงทุนของสถาบัน (3) ดูแลฐานะและความมั่นคงทางการเงิน ให้ความเห็นชอบรายงานทางการเงิน พิจารณารายงานของผู้ตรวจสอบการเงิน (4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน (5) ให้คำแนะนำหรือเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการบริหารจัดการ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบัน (6) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสถาบันตาม (ก) – (ญ) สำหรับกรณีตาม (6) (ฉ) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของสถาบัน รวมทั้งการบัญชีและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
7. กำหนดให้สถาบันมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง เป็นผู้บริหารกิจการของสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ และให้คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ การสรรหาผู้อำนวยการให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์กลางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
8. กำหนดให้การแต่งตั้งผู้อำนวยการต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีเหตุต้องแต่งตั้งผู้อำนวยการ และหากมีเหตุผลจำเป็นให้คณะกรรมการขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการรายงานผลให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหรือผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองผู้อำนวยการที่มีอาวุโสตามลำดับรักษาการแทน ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการแทน ให้ผู้รักษาการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้อำนวยการ ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นแต่งตั้งให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาการแทนเป็นกรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้อำนวยการด้วย แล้วแต่กรณี
9. กำหนดให้การบัญชีของสถาบัน ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและการพัสดุของสถาบัน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายในให้มีผู้ปฏิบัติงานของสถาบันทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง และลงโทษทางวินัยของผู้ตรวจสอบภายในให้ผู้อำนวยการและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาร่วมกันแล้วเสนอให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อนจึงดำเนินการได้
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นและการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นและการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
คค. เสนอว่า
1. โดยที่มาตรา 190 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็น และการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และ
ในปัจจุบันการขนส่งทางน้ำมีความจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเฉพาะในเรื่องการขนส่ง และการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุทางน้ำขึ้นโดยสภาพของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ จะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติ และประโยชน์สาธารณะอย่างร้ายแรง ยากต่อการแก้ไขฟื้นฟู และเยียวยา อันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมทางน้ำและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินงานของกรมเจ้าท่าตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยกำหนดไว้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำของประเทศโดยรวม
2. คค. ได้พิจารณาทบทวนตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) แล้ว สรุปได้ว่า
2.1
ร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 (5) มีที่มาจากประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายทางทะเลระหว่างประเทศ (IMDG Code) Volume 1 Part 4 Part 5 Part 6 ประกอบกับภาชนะเปล่าที่ผ่านการบรรจุสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้มีการกำหนดมาตรฐานและรายละเอียดอื่น ๆ ไว้ในร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ 4 และ 5 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แล้ว
2.2
ร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ 9 มีที่มาจากประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้าฯ Part 4 Chapter 4.1.5 โดยการเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ระหว่างขนส่งควรอนุญาตให้ขนส่งหรือเคลื่อนย้ายเฉพาะกลุ่มที่ไม่ทำปฏิกิริยาต่อกัน ดังนั้น
การจัดแยก (Segregation) ต้องอยู่ในกลุ่มที่เข้ากันได้ (Compatibility Group) เท่านั้น จึงจะให้ทำการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายได้ สำหรับกลุ่มที่เข้ากันไม่ได้ (Incompatibility Group) ย่อมไม่สามารถอนุญาตให้ขนส่งหรือเคลื่อนย้ายได้ จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดไว้แต่อย่างใด
2.3
ร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ 14 และข้อ 15 มีที่มาจากประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้าฯ Part 1 Chapter 1.1 , 1.3 และ 1.4 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมต่อเนื่องกับเรือ หรือท่าเรือที่ต้องปฏิบัติการกับเรือ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดี กรมเจ้าท่าขอเสนอปรับปรุงถ้อยคำ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แล้ว
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นและการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดบทนิยามความหมายของสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
2. กำหนดหลักเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐานภาชนะและวิธีการบรรจุสิ่งของ การจัดทำเครื่องหมายภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของ การจัดเก็บและการจัดแยกสิ่งของ การบรรทุกการขนส่งและการขนถ่ายสิ่งของ และเอกสารกำกับการขนส่งสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
3. กำหนดหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติของเจ้าของหรือผู้ครอบครองท่าเทียบเรือที่ใช้บรรทุกหรือขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และหน้าที่นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือกรณีสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้มีการตกหล่นหรือรั่วไหลจากเรือ
4. กำหนดให้อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้ประกาศกำหนดรายละเอียดวิธีการและคู่มือเพื่อปฏิบัติตามกฎกระทรวง
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
รง. เสนอว่า
พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายกำหนดมาตรฐานการทำงานของลูกจ้างและคนประจำเรือ เพื่อคุ้มครองแรงงานทางทะเลอันจะเป็นการรับรองว่าแรงงานทางทะเลจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากลตามอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2549 (Maritime Labour Convention, 2006) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ประกอบกับมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวข้องสำหรับคนประจำเรือและเจ้าของเรือ รง.
จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... เพื่อเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการรวมตัวของคนประจำเรือและเจ้าของเรือ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานหน่วยงานระหว่างประเทศ
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดบทนิยาม คำว่า “ข้อพิพาทแรงงานทางทะเล” “การปิดงาน” “การนัดหยุดงาน” และ “คณะกรรมการ”
2.
กำหนดหลักเกณฑ์การทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างฝ่ายคนประจำเรือกับฝ่ายเจ้าของเรือ กรณีเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ให้ถือว่ามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องอาจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ตกลงกับฝ่ายรับข้อเรียกร้องให้มีการไกล่เกลี่ยโดยฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้อง
ทำเป็นหนังสือหรือวิธีการอื่นใดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ย
(2) ตกลงกันนำข้อพิพาทแรงงานทางทะเลที่ตกลงกันไม่ได้ไปเจรจาตกลงกันเอง
(3) ตกลงกันให้มีบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
โดยสมัครใจ
(4) ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานทางทะเลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
(5) ปิดงานหรือนัดหยุดงาน เมื่อเป็นข้อพิพาทแรงงานที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยแล้ว ตกลงกันไม่ได้ หรือเป็นข้อพิพาทแรงงานไม่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ยของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือไม่อยู่ระหว่างการชี้ขาดของบุคคล คณะบุคคล หรือคณะกรรมการแรงงานทางทะเล
3.
กำหนดให้เจ้าของเรืออาจปิดงานหรือคนประจำเรืออาจนัดหยุดงานได้เมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายตามประกาศกระทรวงแรงงานฯ หรือเมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง หรือไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด ไม่อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน กรณีที่จะปิดงานหรือนัดหยุดงานต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่และอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ก่อนการปิดงานหรือนัดหยุดงาน โดยนับเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่และอีกฝ่ายได้รับแจ้ง
4. กำหนดให้กรณีที่ถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ซึ่งห้ามเจ้าของเรือกระทำต่อคนประจำเรือ เช่น การเลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้คนประจำเรือไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่คนประจำเรือร่วมกันจัดตั้งองค์กรเอกชนฝ่ายคนประจำเรือ เป็นต้น
5. กำหนดให้คนประจำเรือผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานทางทะเลเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องคนประจำเรือผู้เสียหายหรือเจ้าของเรือผู้ถูกกล่าวหาหากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของคณะกรรมการฯ มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่ได้รับทราบคำสั่ง กรณีที่เจ้าของเรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลแรงงานโดยครบถ้วนตามคำสั่งฯ จึงจะฟ้องคดีได้
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์เพิ่มขึ้น และสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเห็นชอบด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์
6. เรื่อง การออกกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และกฎกระทรวงเพื่อรองรับการควบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเลิกกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวม 7 ฉบับ ที่ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป และได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทที่เกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์ให้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ล่วงหน้าได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในการควบกิจการและดำเนินการกิจการได้อย่างต่อเนื่อง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเลิกกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เป็นการยกเลิกกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ได้แก่ 1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537)ฯ 2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2541)ฯ 3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541)ฯ และ 4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2545)ฯ
2.
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. ....
2.1
ยกเลิกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำหรับบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันหรือเข้าซื้อกิจการระหว่างกัน โดยยกเลิกกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541)ฯ 2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2545)ฯ และ 3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2550)ฯ
2.2
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทที่เกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์ให้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ล่วงหน้าได้ โดยใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่บริษัทจดทะเบียนควบเข้ากันเป็นบริษัทใหม่มีผลสมบูรณ์
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซธรรมชาติด้วยถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด เพื่อให้มีความปลอดภัยในการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด และป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยหรืออันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดในปัจจุบัน รายละเอียด ดังนี้
1. กำหนดให้ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดมีสองแบบ ได้แก่ แบบติดตรึงและแบบยกและเคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นถังเดี่ยวหรือกลุ่มถังก็ได้ ทั้งนี้ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดที่มีลักษณะเป็นกลุ่มถังแบบติดตรึงจะต้องมีปริมาณความจุรวมของก๊าซธรรมชาติอัดในถังแต่ละกลุ่มไม่เกิน 5,000 ลิตร และกลุ่มถังแบบยกและเคลื่อนที่ได้จะต้องมีปริมาณความจุรวมของก๊าซธรรมชาติอัดในถังแต่ละกลุ่มไม่เกิน 3,000 ลิตร
2. กำหนดให้การขนส่งก๊าซธรรมชาติทางบกด้วยถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดให้ขนส่งโดยรถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด รถบรรทุกก๊าซธรรมชาติอัด หรือรถไฟขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ นอกจากนี้การขนส่งก๊าซธรรมชาติทางน้ำด้วยถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
3. กำหนดให้การบรรทุกถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดแบบยกและเคลื่อนที่ได้ต้องจัดให้มีการตรึงไว้กับตัวโครงรถเพื่อป้องกันมิให้เคลื่อนที่หรือล้มระหว่างการขนส่ง ทั้งนี้ห้ามติดตั้งถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งประเภทรถพ่วง
4. กำหนดให้ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดต้องได้รับการออกแบบหรือผลิตและการทดสอบและตรวจสอบในการออกแบบหรือผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐาน ISO หรือตามหลักเกณฑ์ใน ADR หรือมาตรฐานอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
5. กำหนดให้การติดตั้งถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดต้องดำเนินการดังนี้ มีการยึดถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดติดกับโครงสร้างอย่างมั่นคง แข็งแรง มีการระบายอากาศที่ดี มีการป้องกันการเคลื่อนตัว ระบบท่อก๊าซร่วมต้องมีการป้องกันแรงกระแทกและการฉีกขาด ทั้งนี้ การออกแบบการติดตั้งถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ ต้องกระทำโดยวิศวกรซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
6. กำหนดให้ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก่อนการใช้งานหรือเมื่อได้รับความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบหรือวิธีการที่ผู้ผลิตกำหนดโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน หรือวิธีการอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ การทดสอบและตรวจสอบดังกล่าวต้องกระทำโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบที่มีคุณสมบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยผู้ทดสอบและตรวจสอบ
7. กำหนดให้การรับ การจ่าย และการถ่ายเทก๊าซธรรมชาติอัด และการขับรถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด รถบรรทุกก๊าซธรรมชาติอัด และรถไฟขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดต้องกระทำโดยผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงว่าด้วยคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
8. กำหนดให้การขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงและมีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
9. กำหนดให้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแก่รถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด รถบรรทุกก๊าซธรรมชาติอัด หรือรถไฟขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด หากมีการทดสอบและตรวจสอบแล้วพบว่าถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ไม่ได้รับความเสียหายและไม่อาจก่อให้เกิดอันตราย ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบ แต่ถ้ามีการถอดท่อก๊าซหรืออุปกรณ์ออกจากถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดแล้วนำกลับเข้าไปติดตั้งใหม่ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องได้รับการตรวจสอบการรั่วซึมอย่างน้อยหนึ่งจุดหนึ่งเท่าของความดันใช้งานสูงสุดของระบบท่อก๊าซและต้องไม่มีการรั่วซึม
10. กำหนดให้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและทำให้ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ชำรุดเสียหายจนเป็นผลให้ก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมแจ้งต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมายโดยพลัน และรายงานการเกิดอุบัติเหตุเป็นลายลักษณ์อักษรภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับจากเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ
11. กำหนดให้ในกรณีที่รถขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด รถบรรทุกก๊าซธรรมชาติอัดหรือรถไฟขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดให้ทำการระบายก๊าซธรรมชาติสู่บรรยากาศ โดยกรณีที่เป็นพื้นที่โล่งซึ่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกให้ปล่อยก๊าซธรรมชาติสู่บรรยากาศได้ โดยอาจปล่อยก๊าซไนโตรเจนเพื่อเจือจางควบคู่ไปกับการปล่อยก๊าซธรรมชาตินั้น แต่ในกรณีที่เป็นพื้นที่ชุมชนหรือใกล้แหล่งที่อาจเกิดประกายไฟ ให้ปล่อยก๊าซธรรมชาติสู่บรรยากาศได้โดยต้องปล่อยก๊าซไนโตรเจนหรือสารอื่นเพื่อเจือจางควบคู่ตลอดเวลา
12. กำหนดให้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและกรณีที่มีความจำเป็นต้องถ่ายเทก๊าซธรรมชาติให้ถ่ายเทก๊าซธรรมชาติจากถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดดังกล่าวไปยังถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดอื่นที่ได้รับอนุญาต โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่กำหนดไว้ในคู่มือวิธีปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินสำหรับถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด
13. กำหนดให้ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมประสงค์จะเลิกใช้งานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องแจ้งยกเลิกการใช้งานถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน โดยจะต้องมีการรับรองจากผู้ทดสอบและตรวจสอบ ซึ่งมีคุณสมบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยผู้ทดสอบและตรวจสอบว่าไม่มีก๊าซธรรมชาติค้างอยู่ในถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดดังกล่าว
8. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน แผนงานก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำนาทอน (แห่งใหม่) พร้อมวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำพื้นที่ตำบลนาทอน ตำบลทุ่งบุหลัง และตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการดำเนินการแผนงานก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำนาทอน (แห่งใหม่) พร้อมวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำพื้นที่ตำบลนาทอน ตำบลทุ่งบุหลัง และตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในพื้นที่ป่าชายเลนในตำบลนาทอน ตำบลทุ่งบุหลัง และตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เนื้อที่ 3 ไร่ 48 ตารางวา (3.12 ไร่) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
มท. รายงานว่า
1. คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนระดับอำเภอได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 โดยที่ประชุมได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำที่เกี่ยวข้องกับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ซึ่งเป็นปัญหาที่อำเภอทุ่งหว้าไม่สามารถแก้ไขได้ จึงขอให้ กปภ. ขยายเขตจำหน่ายน้ำไปยังตำบลทุ่งบุหลัง เนื่องจากประชาชนมีความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งมากที่สุด โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถขุดเจาะบ่อบาดาลได้ และไม่สามารถนำน้ำผิวดินมาใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากดินมีสภาพเป็นดินเปรี้ยวและดินเค็ม โดยอำเภอทุ่งหว้าเห็นควรให้ กปภ. วางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำของ กปภ. ไปยัง 3 ตำบล ของอำเภอทุ่งหว้า ได้แก่ ตำบลนาทอน ตำบลทุ่งบุหลังและตำบลขอนคลานด้วย นอกจากนี้การดำเนินการดั่งกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้พื้นที่อำเภอทุ่งหว้าเป็นอำเภอหนึ่งในแหล่งอุทยานธรณีโลก (Satun UNESCO Global Geopark) แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียน
2. กปภ. ได้จัดทำแผนงานก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำนาทอน (แห่งใหม่) พร้อมวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำในพื้นที่ตำบลนาทอน ตำบลทุ่งบุหลัง และตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ กปภ. สาขาละงู โดยมีวงเงินในการดำเนินการ 83.38 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และได้ขอให้สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 37 [ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 26 (ทุ่งหว้า สตูล) ในปัจจุบัน] ตรวจสอบพื้นที่เพื่อการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำและขั้นตอนการขออนุญาตใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าชายเลน โดยพบว่า แผนงานฯ มีการวางท่อตามแนวเขตทางในพื้นที่ 3 ตำบลข้างต้น ระยะทางประมาณ 45.80กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 63.80 ตารางวา
ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนเนื้อที่ 3 ไร่ 48 ตารางวา (3.12 ไร่) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แนวเขตทางหลวงชนบท
ที่มีการวางท่อ |
เขตพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี |
ไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
ระยะทาง (กิโลเมตร) |
ระยะทาง (กิโลเมตร) |
เขตทางหลวงชนบท สาย สต. 3018 |
0.48 |
2.53 |
เขตทางหลวงชนบท สาย สต. 3037 |
2.15 |
1.46 |
เขตทางอื่น ๆ ในชุมชน |
2.68 |
1.18 |
รวม |
5.31 |
5.17 |
รวมทั้งสิ้น |
10.48 |
หมายเหตุ การขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน: ให้หน่วยงานเจ้าสังกัด (กระทรวง) เป็นผู้ยื่นเรื่องขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อได้รับการผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงจะมายื่นเรื่องขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนได้ โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) กรณีพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: ให้ยื่นคำขอผ่านสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนท้องที่ [(กรณีนี้คือสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 37 (ทุ่งหว้า สตูล)] และ (2) กรณีพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: ให้ยื่นคำขอผ่านสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด |
ทั้งนี้ จังหวัดสตูลแจ้งว่า จากการจัดทำประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ทั้ง 3 ตำบล เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 พบว่า ประชาชนในพื้นที่ไม่ขัดข้องที่จะดำเนินโครงการดังกล่าวและขอให้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพิจารณาแล้ว เห็นควรให้การสนับสนุนและอนุญาตให้ กปภ. เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนตามแผนงานก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำนาทอน (แห่งใหม่) พร้อมวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำในพื้นที่ 3 ตำบล อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เนื้อที่ 3 ไร่ 48 ตารางวา (3.12 ไร่) โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ให้เสนอเรื่องขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543) ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน และดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2556 ที่ให้จัดสรรงบประมาณให้กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2556 อย่างเคร่งครัด
3.2 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเว้นแล้วจึงเสนอเรื่องต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อขออนุญาตทำประโชยน์ในเขตป่าชายเลนต่อไป
9. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,372.41 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ (จำนวน 5 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) วงเงิน 1,372.41 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 985.32 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 387.09 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ (จำนวน 5 จังหวัด) ของ ทล. และ ทช. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
1. ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 18 ธันวาคม 2563 เกิดเหตุอุทกภัยเนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ภาคใต้ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส พัทลุง และสุราษฎร์ธานี ส่งผลให้ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทได้รับความเสียหาย สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ ซึ่ง ทล. และ ทช. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและซ่อมแซมเส้นทางเพื่อให้การจราจรผ่านได้ในระยะเร่งด่วนแล้ว
2. ทล. และ ทช. เสนอขอรับการจัดสรรงบกลางฯ
วงเงินรวมทั้งสิ้น 1,372.41 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซม/บูรณะทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
จำนวน 5 จังหวัดข้างต้น ซึ่งถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติของกระทรวงมหาดไทย (มท.) สรุปได้ ดังนี้
หน่วยงาน |
ความเสียหายทั้งสิ้น |
หน่วยนับ |
แหล่งเงิน |
กรอบวงเงิน
งบกลางฯ
ในครั้งนี้ |
งบประมาณ
ปี พ.ศ. 2564* |
งบประมาณ
ปี พ.ศ. 2565 |
ทล. |
3,222.92 |
ล้านบาท |
985.32 |
145 |
2,092.60 |
146 |
รายการ |
40 |
5 |
101 |
ทช. |
687.59 |
ล้านบาท |
387.09 |
4 |
296.50 |
113 |
รายการ |
49 |
43 |
21 |
รวมทั้งสิ้น |
3,910.51 |
ล้านบาท |
1,372.41 |
149 |
2,389.10 |
259 |
รายการ |
89 |
48 |
122 |
หมายเหตุ : * โครงการอยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่ประกาศภัยพิบัติของ มท. ซึ่งสามารถใช้งบประมาณปี พ.ศ. 2564 (ค่าซ่อมฉุกเฉินจากเหตุภัยพิบัติ)/ปรับแผนการปฏิบัติงานฯ ปี 2564 มาดำเนินการต่อไป
2.1
งานบูรณะทางหลวงแผ่นดินและโครงสร้างพื้นฐานของ ทล. ภายใต้งบกลางฯ ที่เสนอในครั้งนี้
ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส พัทลุง และสุราษฎร์ธานี มีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานก่อสร้างและซ่อมสะพาน งานแก้ไขและป้องกันดินสไลด์ งานฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ
รวม 40 รายการ วงเงิน 958.32 ล้านบาท
2.2
งานบูรณะทางหลวงชนบทและโครงสร้างพื้นฐานของ ทช. ภายใต้งบกลางฯ ที่เสนอในครั้งนี้
ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง และสุราษฎร์ธานี มีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานซ่อมแซมถนนและคอสะพานขาด งานก่อสร้างโครงสร้างระบายน้ำ งานป้องกันการกัดเซาะ
รวม 49 รายการ วงเงิน 387.09 ล้านบาท
2.3 ทั้งนี้ ทล. และ ทช. แจ้งว่า
มีความพร้อมในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หากได้รับการจัดสรรงบประมาณ จะเร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
3. คค. ได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบกลางฯ โดย สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่ง
นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ให้ คค. ดำเนินการซ่อมแซม/บูรณะทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 5 จังหวัด โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลางฯ ตามรายการและกรอบวงเงินตามข้อ 2 และ
เนื่องจากวงเงินที่เสนอขออนุมัติเกินกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท สงป. จึงขอให้ คค. ดำเนินการนำเรื่องดังกล่าวเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามนัยข้อ 9 (3) ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562
10. เรื่อง ขอเพิ่มวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 และโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. การปรับเพิ่มวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 จำนวน 46,807.35 ล้านบาท
โดยขอเพิ่มเติมอีก จำนวน 3,838.92 ล้านบาท เป็น 50,646.27 ล้านบาท จำแนกเป็น
รายการ |
วงเงิน (ล้านบาท) |
วงเงินเดิม |
ขอเพิ่มเติม |
รวม |
1. ค่าดำเนินการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง โดยใช้แหล่งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) |
45,754.98 |
3,754.83 |
49,509.81 |
2. ค่าใช้จ่ายในการชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. (อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของ ธ.ก.ส. + 1
เท่ากับร้อยละ 2.20) |
1,029.49 |
82.60 |
1,112.09 |
3. ค่าบริหารจัดการ ธ.ก.ส. (รายละ 5 บาท) |
22.88 |
1.49 |
24.37 |
รวม |
46,807.35 |
3,838.92 |
50,646.27 |
2. การขยายปริมาณข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ และระยะเวลาดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ปริมาณ 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ 19,826.76 ล้านบาท
เพิ่มเติมอีก 0.32 ล้านตันข้าวเปลือก เป็น 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก และ
งบประมาณเพิ่มเติมอีก จำนวน 4,504.27 ล้านบาท เป็น 24,331.03 ล้านบาท จำแนกงบประมาณเพิ่มเติมได้ ดังนี้
รายการ |
วงเงิน (ล้านบาท) |
วงเงินเดิม |
ขอเพิ่มเติม |
รวม |
1. วงเงินสินเชื่อ โดยใช้แหล่งเงินทุนของ ธ.ก.ส. |
15,284.00 |
3,500.50 |
18,784.50 |
2. วงเงินจ่ายขาด
2.1 ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าว
2.2 ค่าใช้จ่ายในการชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. (อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ของ ธ.ก.ส. + 1 เท่ากับร้อยละ 2.20)
2.3 ค่าบริหารโครงการฯ ธ.ก.ส.
2.4 ค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการระบาย ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงินค่าขนย้ายข้าว และส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว |
4,542.76
2,250.00
394.52
152.84
1,745.40 |
1,003.77
480.00
88.67
35.01
400.09 |
5,546.53
2,730.00
483.19
187.85
2,145.49 |
รวม |
19,826.76 |
4,504.27 |
24,331.03 |
และขยายระยะเวลาจัดทำสัญญากู้โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64
ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564)
ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) และขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีถัด ๆ ไป
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ. รายงานว่า
1.
คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติ ดังนี้
1.1
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1
1.1.1 รับทราบตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรรายงานข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มีจำนวนทั้งสิ้น 4,686,319 ครัวเรือน เนื้อที่ปลูก 62,113,037 ไร่ มากกว่าที่นำเสนอ นบข. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ซึ่งมีจำนวน 4,576,586 ครัวเรือน เนื้อที่ปลูก 56,063,350 ไร่ (มากกว่าประมาณการเดิม 0.11 ล้านครัวเรือน พื้นที่ปลูก 6.05 ล้านไร่) เนื่องจากข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ระบบทะเบียนเกษตรกรจะปิดระบบบันทึกข้อมูล และระบบบันทึกผลการตรวจสอบข้อมูล สำหรับภาคอื่น ๆ จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2564 และสำหรับภาคใต้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 และยังมีช่วงระยะเวลาสำหรับตรวจสอบความซ้ำซ้อนของแปลงปลูกข้าวทั้งที่ดินที่มีเอกสารสิทธิและไม่มีเอกสารสิทธิ จนได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนในภาคอื่น ๆ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2564 และสำหรับภาคใต้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเมื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นแล้วกรมส่งเสริมการเกษตรจึงจะรายงานความคืบหน้าผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในแต่ละงวดให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการ และจัดส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อจ่ายเงินชดเชยต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะฝนแล้งในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก ทำให้เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกล่าช้า (ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2563) กรมส่งเสริมการเกษตรจึงยังไม่สามารถยืนยันตัวเลขเพาะปลูกที่แท้จริงได้
1.1.2 รับทราบตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564เห็นชอบตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรเสนอให้ขยายระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเพาะปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
จากเดิมภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นถึงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขัง ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ และคาดการณ์ว่าจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ตามกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2563/64 ของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 590 ครัวเรือน เนื้อที่ปลูก 7,850 ไร่
1.1.3 เห็นชอบการปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563จำนวน 46,807.35 ล้านบาท
เพิ่มเติมอีก จำนวน 3,838.92 ล้านบาท เป็น 50,646.27 ล้านบาท
1.2
โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64
1.2.1 รับทราบผลการดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 ณ วันที่ 25 มกราคม 2564
ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 210,488 ราย สินเชื่อจำนวน 10,449.67 ล้านบาท ปริมาณข้าวเปลือกจำนวน 1.04 ล้านตัน คงเหลือวงเงินสินเชื่อจำนวน 4,834.33 ล้านบาท ปริมาณข้าวเปลือกจำนวน 0.46 ล้านตัน และ ธ.ก.ส. สาขาในพื้นที่รายงานข้าวเปลือกรอเข้าร่วมโครงการฯ คงเหลือจำนวนประมาณ 0.78 ล้านตัน (เกินจากจำนวนที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ 0.32 ล้านตัน)
1.2.2 เห็นชอบการขยายเป้าหมายโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 จากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563ปริมาณ 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินงบประมาณ 19,826.76 ล้านบาท
เพิ่มเติมอีก 0.32 ล้านตันข้าวเปลือก เป็น 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก และงบประมาณเพิ่มเติมอีก จำนวน 4,504.27 ล้านบาท (แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อ 3,500.50 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 1,003.77 ล้านบาท)
เป็น 24,331.03 ล้านบาท
1.2.3 เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาจัดทำสัญญากู้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564) โดยให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรวงเงินจากงบประมาณปี 2565 และปีถัด ๆ ไป
1.3 มอบหมาย ธ.ก.ส. และ พณ. จัดทำรายละเอียดโครงการฯ ตามข้อ 1.1 และ 1.2 และงบประมาณให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และให้ พณ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข. นำเสนอคณะรัฐมนตรีตามระเบียบต่อไป ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. ทำความตกลงกับ สงป. และขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565และปีถัด ๆ ไป
1.4
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.4.1 มอบหมายสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาร่วมกับ พณ. กษ. กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมปฏิรูปการขับเคลื่อนภาคการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ลดภาระงบประมาณรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไปในอนาคต
1.4.2 มอบหมาย กค. ร่วมกับ พณ. และ กษ. พิจารณาภาระงบประมาณการช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากงบประมาณดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ไม่ซ้ำซ้อน และประเมินผลการดำเนินโครงการด้วย
1.4.3 มอบหมายฝ่ายเลขานุการ นบข. จัดทำข้อมูลสถานการณ์ข้าวไทยเพิ่มเติม ได้แก่ การบริโภค การค้าและสต๊อกปลายปี เช่นเดียวกับสถานการณ์ข้าวโลกรวมทั้งข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ เช่น ข้าวอินทรีย์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแนวทางในการเพาะปลูกข้าวที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของตลาดและสร้างการรับรู้สถานการณ์ตลาดข้าวให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับทราบและขับเคลื่อนการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
1.4.4 มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตร กษ. ติดตามสถานการณ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายทุกปี โดยวิเคราะห์ถึงพื้นที่เพาะปลูกข้าวแต่ละชนิด รวมทั้งจัดระบบการตรวจสอบกำกับดูแลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้มีความรัดกุม เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.4.5 มอบหมาย พณ. ร่วมกับ กษ. จัดประชุมสัมมนาหน่วยงานในส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างการรับรู้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลของหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รับรู้แนวทางการปฏิบัติงานของรัฐบาล ข้อมูลการดำเนินงานในระดับพื้นที่ที่รัฐบาลต้องการ รวมทั้งประสานความร่วมมือในการทำงานสะท้อนภาพรวมจากพื้นที่ถึงระดับนโยบาย
1.4.6 มอบหมาย กษ. พณ. ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย ร่วมกันจัดทำตารางประสานสอดคล้องกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการดำเนินการ บูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) การลดพื้นที่เพาะปลูก โดยใช้ความเหมาะสมของพื้นที่ (2) การลดต้นทุนการผลิต (3) การบริหารจัดการแหล่งน้ำให้มีความสัมพันธ์กับ Agri Map และ (4) การตลาดต่างประเทศและในประเทศ
1.4.7 มอบหมาย พณ. นำโมเดลเศรษฐกิจ Bio Circular Green (BCG) มาขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และบูรณาการการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและภาคเอกชนในการ บูรณาการการทำงานตั้งแต่การผลิต รวมทั้งการแปรรูปสินค้าข้าวด้วยนวัตกรรมให้ไปสู่ BCG การผลิตที่ยั่งยืน
11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ ผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) (ศอตช. จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 358/2562 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2562) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 6 คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศอตช. ดังนี้
คณะอนุกรรมการ |
ผลการดำเนินงาน |
1. คณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ |
จัดทำแนวทาง มาตรการ เสริมสร้าง และประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งส่งเสริมและขับเคลื่อนธรรมาภิบาลทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน |
2. คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ |
ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับต่าง ๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย (CPI) |
3. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ |
บูรณาการการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรมให้ประชาชนโดยเร็ว เช่น ติดตามเร่งรัดการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา (บอส) คดีการเรียกรับเงินกรณีการทำบัตรประจำตัวของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตรหมายเลข 0) |
4. คณะอนุกรรมการเสริมสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม |
ผลิตเนื้อหาและปรับปรุงสื่อประชาสัมพันธ์เดิมเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและอันตรายของการทุจริต ปลูกฝังค่านิยมสุจริต สร้างบุคคลต้นแบบ ส่งเสริมและเสริมสร้างให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการป้องกันเฝ้าระวังการทุจริตและร่วมสร้างกลไกป้องกันการทุจริต |
5. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) |
ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติราชการของ ศปท. ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย ศปท. ทุกหน่วยงานจะร่วมติดตามและรายงานผลการดำเนินมาตรการทางวินัย ปกครอง อาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน ในสังกัดหรือกำกับ รวมทั้งร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประเมินความเสี่ยงการทุจริตอย่างต่อเนื่อง และร่วมขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง การประกาศนโยบาย No Gift Policy ไปยังหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับ |
6. คณะอนุกรรมการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสของรัฐวิสาหกิจ |
จัดทำข้อเสนอในการจัดตั้ง ศปท. ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กำหนดแนวทางและขับเคลื่อนการดำเนินงานเรื่องการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน |
2. ศอตช. ได้จัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียน ศอตช. ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นการเฉพาะ ซึ่งสามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้ทันทีและตลอดเวลา โดยตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2563 จนถึงวันที่ 18 มกราคม 2564 รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 297 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 110 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 187 เรื่อง
3. การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมจำนวน 8 คำสั่ง (ที่ให้เจ้าหน้าที่หยุดปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากอยู่ระหว่างถูกตรวจสอบการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่) จำนวน 400 ราย ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 300 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 100 ราย
4. การดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย การเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสการป้องกันและลดโอกาสการทุจริต การตรวจสอบ และการดำเนินมาตรการทางปกครอง วินัย อาญา
5. การติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ (เดิม) ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 226/2557 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 จำนวน 3 คณะ ประกอบด้วย (1) คณะรัฐและภาคเอกชนร่วมกันกำหนดบัญชีดำ (Black List) ห้ามทำธุรกรรมกับภาครัฐ สำหรับบริษัทห้างร้าน นิติบุคคล ที่มีสินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและสนับสนุนการทุจริตในภาครัฐ (2) คณะกำหนดความผิดของนิติบุคคลเกี่ยวข้องกับคดีทุจริต ประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด และ (3) คณะกำหนดกลไกประสานขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การปราบปรามการทุจริต
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการว่า “ทราบ/ให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม/บัญชี Black List ทำให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์เป็นผลงานให้สังคมทราบ”
12. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมกราคม 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือน
มกราคม 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนมกราคม 2564 ดังนี้
ภาพรวม
ในเดือนมกราคม 2564 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ได้มีการปรับปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) และดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งปกติแล้วจะมีการปรับทุก 4-5 ปี โดยดัชนีราคาผู้บริโภค ปรับเป็นปีฐาน 2562 ซึ่งเป็นปีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนทั่วประเทศ และยังไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และดัชนีราคาผู้ผลิต ปรับเป็นปีฐาน 2558 ตามตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input-Output) ล่าสุดที่จัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทั้งนี้ การปรับปีฐานของดัชนีทั้ง 2 ชุด มีการปรับปรุงที่สำคัญหลายมิติทั้งในเชิงโครงสร้าง ความครอบคลุม และวิธีการจัดทำ อีกทั้งยังคำนึงถึงการเชื่อมโยงและบูรณาการกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจของหน่วยงานอื่น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องชี้วัดเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.34 (YoY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 0.27 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญจาก
ราคาพลังงานที่ยังต่ำกว่าปีก่อน (ลดลงร้อยละ 4.82) การปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ลงอีกเป็น -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน
และราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่ยังลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2563 ตามปริมาณผลผลิตที่กลับเข้าสู่ปกติและไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเหมือนปีก่อน ประกอบกับความต้องการของตลาดต่างประเทศยังทรงตัว
สำหรับราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ยังเคลื่อนไหวตามกลไกการตลาดของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในบางกลุ่ม โดยเฉพาะ ผักสด และเครื่องประกอบอาหาร ยังปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเกิดอุทกภัยในภาคใต้ และน้ำมันพืชปรับตัวตามราคาผลปาล์มสดที่สูงขึ้นตามความต้องการใช้ในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว
เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.21 (YoY)
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องของโลก และการระบาดระลอกใหม่ในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ส่งผลต่อการใช้จ่ายและการผลิตในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์และอุปทาน ทั้งยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราการใช้กำลังการผลิต และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้วัดสำคัญหลายตัวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการส่งออก อัตราการว่างงาน และรายได้เกษตรกร ประกอบกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยที่มีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการของบุคลากรสาธารณสุขภาครัฐหลายหน่วย รวมทั้งแนวโน้มการรักษาด้วยวัคซีนเริ่มเห็นผลในหลายประเทศ ทำให้สถานการณ์ในช่วงต่อไปมีโอกาสปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายและเงินเฟ้อให้กลับสู่ภาวะปกติได้ในไม่ช้า
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป)
เดือนมกราคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ลดลงร้อยละ 0.34 (YoY) ตามการลดลงของ
สินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.83 จากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้
หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 1.86 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ ลดลงร้อยละ 0.40 (ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม)
หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 0.31 (ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า)
หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.18 (เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ขณะที่
หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า ค่าแต่งผมสตรี)
หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.05 (สุรา เบียร์)
สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.58 ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 1.34 (เนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย ปลาทับทิม) ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 11.19 (พริกสด หัวหอมแดง ผักบุ้ง) เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 3.11 (น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม กะทิสำเร็จรูป) อาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.37 และ 0.74 ตามลำดับ (อาหารเช้า ก๋วยเตี๋ยว ข้าวราดแกง ไก่ทอด พิซซ่า) ขณะที่ข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 5.02 (ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า) ผลไม้สด ลดลงร้อยละ 1.46 (ส้มเขียวหวาน มะม่วง มะละกอสุก) ไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 0.07 (นมถั่วเหลือง นมสด นมผง)
ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2563
สูงขึ้นร้อยละ 0.09 (MoM)
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมกราคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ลดลงร้อยละ 0.6 (YoY) จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.5 ตามการลดลงของ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยังคงหดตัว สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังเป็นแรงกดดันที่สำคัญต่ออุปสงค์และอุปทาน โดย
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.5 ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์) กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ไม้ยางพารา) กลุ่มสิ่งทอ (สิ่งทอจากใยสังเคราะห์) กลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้า (สายเคเบิล) กลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ และ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 18.2 ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และก๊าซธรรมชาติ ขณะที่
สินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมงที่ยังขยายตัวได้ดี โดยสูงขึ้นร้อยละ 3.6 ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า พืชผัก (ต้นหอม ผักชี หน่อไม้ฝรั่ง) ผลปาล์มสด ยางพารา กลุ่มสัตว์ (สุกรมีชีวิต ไข่ไก่ ไข่เป็ด) และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง (ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน)
ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2563
สูงขึ้นร้อยละ 0.7 (MoM)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนมกราคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
สูงขึ้นร้อยละ 3.7 (YoY) และสูงสุดในรอบ 2 ปี 6 เดือน จากการสูงขึ้นของสินค้าใน
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่สูงขึ้นร้อยละ 19.1 (เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ-ผิวข้ออ้อย เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ) ตามความต้องการและราคาในตลาดโลกเป็นสำคัญ ประกอบกับมีการปิดเตาถลุงเหล็กหลายแห่งทั้งในยุโรปและญี่ปุ่นชั่วคราว สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายเหล็ก และดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศ ที่ปรับตัวสูงขึ้น
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 1.1 (ทรายละเอียด ทรายหยาบ)
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.4 (ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์ PVC ท่อ PVC)
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.3 (บานประตู-หน้าต่าง วงกบประตู-หน้าต่าง) ขณะที่บางหมวดสินค้าราคาปรับลดลง ตามสภาพเศรษฐกิจ ภาคการก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องยังคงซบเซา ได้แก่
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 2.7 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์)
หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 1.3 (ชีทไพล์คอนกรีต เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง)
หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.4 (กระจกเงา ฉากกั้นห้องอาบน้ำสำเร็จรูป)
หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.1 (สีทาถนนชนิดสะท้อนแสง ซิลิโคน)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2563
สูงขึ้นร้อยละ 3.3 (MoM)
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมกราคม 2564 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.2 จากระดับ 46.3 ในเดือนก่อนหน้า ปรับตัวลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 39.3 มาอยู่ที่ระดับ 36.3 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับตัวลดลงจากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 47.7 สาเหตุมาจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วไปทั่วประเทศ และมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่ารอบแรก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงดำเนินการได้ เพียงแต่ต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ ของภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน อาจจะส่งผลดีต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป
3.2 สรุปสถานการณ์เงินเฟ้อและแนวโน้ม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ยังคงได้รับอิทธิพลจากฐานราคาพลังงานในปีก่อน ที่ยังสูงกว่าปีนี้ ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพเพิ่มเติม โดยการลดค่าใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาเป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ทำให้อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ ยังมีแนวโน้มหดตัว
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 – 1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
13. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2563 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
เดือนธันวาคม 2563 เมื่อพิจารณาจาก
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการกลับมาหดตัวอีกครั้ง จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่
ทำให้ในปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 8.8
อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
1. น้ำตาล หดตัวร้อยละ 50.55 เนื่องจากปีนี้เปิดหีบช้าและจำนวนโรงงาน ที่เริ่มเปิดหีบน้อยกว่าปีก่อน (ปีก่อนเปิดหีบ 57 โรงงาน ปีนี้เปิดหีบ 44 โรงงาน) จากผลของสภาพอากาศ แห้งแล้งต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพ ของผลผลิตอ้อย
2. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 9.75 จากน้ำมันเครื่องบินเป็นหลักเนื่องจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศลดลงอย่างมาก
3. ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ หดตัวร้อยละ 16.72 จากสินค้ายางแท่ง และยางแผ่นเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว คำสั่งซื้อลดลง รวมถึงปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ รวมถึงผู้ผลิตบางรายเปลี่ยนแผน เป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อแทนการผลิตเก็บไว้เป็นสต็อก
อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน
1. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 ตามความต้องการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์
2. รถยนต์ และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.49 จากตลาดในประเทศที่ปรับตัวได้ดีขึ้นจากการจัดงานแสดงรถยนต์ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 โดยผู้ผลิตออกรถยนต์รุ่นใหม่ และมีการจัดการส่งเสริมการขายเป็นพิเศษทำให้มีคำสั่งซื้อและการส่งมอบเพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายตัวของธุรกิจขนส่งจากการเติบโตของตลาดออนไลน์
14. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 5/2563 เรื่องการแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติ [ร่างข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....]
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เรื่อง การแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยการประชุมและการลงมติ
2. รับทราบร่างข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สกพอ. เสนอว่า
1. คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในการประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
1.1 โดยที่ข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ พ.ศ. 2561 กำหนดให้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ กพอ. เป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2557
ซึ่งปัจจุบันได้ถูกยกเลิกแล้วโดยพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 สกพอ. จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว เพื่อรองรับให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกสามารถลงมติโดยใช้มติเวียนในกรณีที่ไม่สามารถจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
1.2
สกพอ. พิจารณาแล้ว จึงได้จัดทำร่างข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 และให้ กพอ. สามารถลงมติโดยใช้มติเวียนในกรณีที่ไม่สามารถจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่ง กพอ. ได้เห็นชอบร่างข้อบังคับดังกล่าวตามที่ สกพอ. เสนอแล้ว
2.
ประกอบกับมาตรา 11 (7) แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ กพอ. มีหน้าที่และอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และวรรคสองบัญญัติให้การดำเนินการตาม (7) เมื่อ กพอ. ได้มีมติอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบเรื่องใดแล้ว
ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ หากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ.
จึงได้เสนอผลการประชุมฯ และร่างข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
3.
นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สาระสำคัญของร่างข้อบังคับ
ร่างข้อบังคับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยการประชุมและการลงมติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563
2. กำหนดให้ กพอ. สามารถลงมติโดยใช้มติเวียนในกรณีที่ไม่สามารถจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ในกรณีที่เร่งด่วนอย่างยิ่ง ถ้าไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย
15. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ
ได้มีข้อสังเกตรวม 6 ประเด็น ได้แก่ (1) ควรกำหนดให้มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 (2) ควรกำหนดให้การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของข้อมูล (3) ควรดำเนินการแจ้งเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 (4) ควรมีการพัฒนาและการวิจัยหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 (5) ควรมีการจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่นหรือห้องปลอดฝุ่น (Safety Zone) และ (6) ควรกำหนดให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
มท. ได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2. โดยมีสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ |
ผลการพิจารณา |
1. การกำหนดให้มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เห็นว่า มท. ในฐานะที่เป็นส่วนราชการที่ทำหน้าที่หลักในการบริหารราชการแผ่นดินในพื้นที่ และใกล้ชิดกับประชาชน ควรเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย เพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ผ่านระบบ Single Command ที่มีอยู่ และ ทส. ควรต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนข้อมูล |
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (12 กุมภาพันธ์ 2562) เห็นชอบให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ และให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกลไกหลักร่วมกับ ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ประกอบกับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ซึ่งผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (1 ตุลาคม 2562) ได้กำหนดให้ มท. จังหวัด และ กทม. เป็นหน่วยงานหลักตามมาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ จึงควรถือเป็นหลักในการดำเนินการต่อไป |
2. ระบบการวัดค่า การพยากรณ์คุณภาพอากาศและการแจ้งเตือนฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ควรกำหนดการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งในรูปแบบการพยากรณ์และแจ้งเตือนในภาวะวิกฤต |
เห็นว่า ปัจจุบันกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศติดตามตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยได้มีการร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กทม. และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับการวิจัยและพัฒนาระบบการตรวจอย่างต่อเนื่อง และได้มีช่องทางการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์โดยมีการรายงานข้อมูลแบบตอบสนองทันทีและสรุปรายงานต่อสถานการณ์ฝุ่นละอองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงวิกฤตเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบสถานการณ์และนำไปใช้ประโยชน์หรือสื่อสารข้อมูลต่อไป ทั้งนี้ อก. เห็นว่าการติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยังไม่มีกฎหมายรองรับ และดำเนินการได้ยากเนื่องจากปล่องออกแบบไม่ได้รองรับการติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 |
3. การส่งเสริมอาชีพในชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นผู้ผลิตหน้ากากอนามัยในราคาที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ควรพัฒนาและวิจัยหน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 |
เห็นว่า หน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในทางเทคนิคมีขั้นตอนการผลิตที่ยากกว่าการผลิตหน้ากากผ้า รวมถึงต้องพิจารณาประเด็นต้นทุนการผลิตด้วย โดยการผลักดันประเด็นดังกล่าวต่อไปในอนาคต หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สธ. มท. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) อก. ต้องร่วมกันดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในส่วนของมาตรฐานการผลิต การเสริมสร้างทักษะ การควบคุมราคา การส่งเสริมด้านการตลาด รวมถึงพัฒนาระบบข้อมูลให้ประชาชนสามารถสืบค้นสถานที่จำหน่ายได้ง่าย |
4. การประกาศเขตควบคุมมลพิษ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 แทนการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ควรจัดทำพื้นที่ปลอดฝุ่นหรือห้องปลอดฝุ่น |
เห็นว่า การประกาศเขตควบคุมมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีขั้นตอนกระบวนการที่ใช้ระยะเวลามากเนื่องจากต้องมีข้อมูลประกอบเหตุผลในการประกาศที่ชัดเจน และเห็นว่าการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 สามารถดำเนินการได้เร็วกว่า เนื่องจากเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งกรมอนามัยได้จัดทำรายละเอียดเป็นคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การควบคุมป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นคำแนะนำต่อส่วนราชการท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพร้อมที่จะประชาสัมพันธ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้ง Safe Zone ตามความจำเป็น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ สธ. พิจารณา |
5. การออกกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ควรสนับสนุนให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาด |
เห็นว่า ทส. และกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง จึงควรรับความเห็นในประเด็นดังกล่าวไปผลักดันและขยายผลให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป |
16. เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
1. รับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ส่งความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาต่อไป
2. ให้หน่วยงานของรัฐรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประเมินและรายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
ประเด็น |
หน่วยงาน |
1) เร่งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลและบริการสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 โดยกำหนดนโยบาย โครงการ กิจกรรม การกำกับควบคุม หรือการกำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและบริการสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลและบริการผ่านระบบสารสนเทศ |
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) |
2) กำหนดตัวชี้วัดการกำกับดูแลการประเมิน ITA ของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลการประเมิน ITA |
หน่วยงานภาครัฐ |
3) สนับสนุนการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานเว็บไซต์ (User Interface) ที่เหมาะสมกับ อปท. แต่ละประเภท เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลและบริการสาธารณะผ่านระบบสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) |
4) กำหนดกิจกรรมเสริมสร้างแรงจูงใจเชิงบวกในการพัฒนาและยกระดับการเปิดเผยข้อมูลและบริการภาครัฐผ่านระบบสารสนเทศ |
ดศ. และ สพร. |
5) สนับสนุนงบประมาณในการผลิตสื่อออนไลน์หรือรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาในการเสริมสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ขององค์กรหรือประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศในการเปิดเผยข้อมูลและให้บริการประชาชน |
องค์กรสื่อของรัฐ |
6) กำกับดูแลการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและการให้บริการสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน |
มท. (ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ) |
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
1. การประเมิน ITA เป็นแนวนโยบายที่สำคัญในการป้องกันการทุจริตที่บังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ และเป็นกลไกการป้องกันการทุจริตเชิงรุกได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้ถูกกำหนดเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนงานระดับประเทศ เช่น
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580) ได้นำผลการประเมิน ITA ไปกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทฯ โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2561-2565)
กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (ตั้งเป้าหมายปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไว้ที่ร้อยละ 50)
2.
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 8,303 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมการประเมิน ITA ผ่านระบบ ITAS ที่เว็บไซต์ https://itas.nacc.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และองค์กรอิสระ ซึ่งเป็นการประเมินด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มี
ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ จำนวน 1,301,665 ราย เพิ่มขึ้นมากกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาถึงร้อยละ 29.36 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีการตื่นตัวต่อประเด็นการต่อต้านการทุจริตมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการภาครัฐเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การประเมิน ITA มีการเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้
การเก็บข้อมูล |
ตัวชี้วัด |
คะแนน/
ระดับการประเมิน |
บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน) |
ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่
ตัวชีวัดที่ 2 การใช้งบประมาณ
ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ
ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ
ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต |
คะแนน |
ระดับ |
95.00-100 |
AA |
85.00-94.99 |
A |
75.00-84.99 |
B |
65.00-74.99 |
C |
55.00-64.99 |
D |
50.00-54.99 |
E |
0-49.99 |
F |
|
ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก) |
ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร
ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงการทำงาน |
เว็บไซต์ของหน่วยงาน (ตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ) |
ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต |
3.
ผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของประเทศ 67.90 คะแนน อยู่ในระดับปานกลางที่ระดับผลการประเมิน ระดับ C
สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 1.15 คะแนน มีจำนวน
หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร้อยละ 13.19 หรือ 1,095 หน่วยงาน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ร้อยละ 50 (ประมาณ 4,152 หน่วยงาน)
4. ประเภทหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ซึ่งต้องมีระดับผลการประเมิน 85 คะแนนขึ้นไป หรือตั้งแต่ระดับ A-AA พบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ในกลุ่มที่ได้คะแนนระดับ A-AA คือ หน่วยงานประเภท อปท. รองลงมาคือ ประเภทหน่วยงานส่วนกลาง โดย อปท. เป็นหน่วยงานกลุ่มใหญ่ที่มีสัดส่วนหรือจำนวนของหน่วยงานในการเข้าร่วมการประเมิน ITA มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 94.57 ของหน่วยงานที่เข้ารับการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ยังมี อปท. จำนวนมากที่ยังไม่ผ่านค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ หากจำแนกตามประเภทของหน่วยงานภาครัฐแล้วพบว่ามีหน่วยงานภาครัฐจำนวน 10 ประเภท ที่ผ่านค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา องค์กรศาล องค์กรอิสระ สถาบันอุดมศึกษา รัฐวิสาหกิจ กรมหรือเทียบเท่า องค์การมหาชน หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ จังหวัด (ส่วนราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด) และ อปท. รูปแบบพิเศษ ส่วนอีก 7 ประเภท ได้แก่ กองทุนเทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรอัยการ เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลตำบล ยังไม่ผ่านค่าเป้าหมายที่ร้อยละ 50 ของจำนวนหน่วยงานทั้งหมดในแต่ละประเภท
5. ผลการประเมิน ITA ในเชิงพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนราชการ ส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า จังหวัดนครสวรรค์ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 82.52 และเป็นจังหวัดเดียวที่ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการภายในจังหวัดให้ความสำคัญในการกำกับติดตาม ดูแล ให้คำปรึกษา และบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณ ขณะเดียวกันได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินทั้งส่วนราชการ ส่วนภูมิภาคและ อปท. ภายในจังหวัดเป็นอย่างดี ส่งผลให้กระบวนการประเมินในภาพรวมของจังหวัดนครสวรรค์ดำเนินการได้อย่างครบถ้วนและมีคุณภาพ
6.
ผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ในภาพรวมระดับประเทศจำแนกตามตัวชี้วัด พบว่า
ตัวชี้วัดที่ฉุดรั้งให้ผลการประเมิน ITA ในภาพรวมระดับประเทศไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ เกิดจากหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
ให้ครบถ้วนตามมาตรฐานเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐและหลักเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
7.
กลยุทธ์การพัฒนาหน่วยงานภาครัฐเพื่อยกระดับผลการประเมิน ITA ให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
จึงต้องมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและการดำเนินงานป้องกันการทุจริตตามตัวชี้วัดที่ 9 และ 10 โดยเน้นหนักหรือเฉพาะเจาะจงที่กลุ่มหน่วยงานภาครัฐในเชิงพื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัด (ส่วนราชการส่วนภูมิภาค) และ อปท. ซึ่งมีหน่วยงานที่มีผลการประเมินอยู่ในช่วงระดับ C-F คิดเป็นประมาณร้อยละ 72.43 หรือจำนวน 5,743 แห่ง จากส่วนราชการส่วนภูมิภาคและ อปท. ทั้งหมด 7,928 แห่ง
8.
คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และคณะอนุกรรมการกำกับและพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
มีข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการยกระดับการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะและการป้องกันการทุจริตอย่างเร่งด่วน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายรวม 6 ข้อ
17. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 1/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ กนศ. ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ประธานกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญ
กนศ. ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อพิจารณาเรื่องการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 โดยมีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
1. กนศ. ได้รับทราบมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 และกรอบระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้แล้วเสร็จ
2. เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ และรัดกุม กนศ. จึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่อง CPTPP ราย ประเด็น จำนวน 8 คณะ ซึ่งภายหลังการประชุม กนศ. ฝ่ายเลขานุการได้ประสานรายละเอียดกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทั้ง 8 คณะเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
2.1 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านเกษตรและพันธุ์พืช มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเป็นเลขานุการ
2.2 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน และผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข เป็นเลขานุการ
2.3 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นเลขานุการ
2.4 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ และเอกชนกับรัฐ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นเลขานุการ และอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นเลขานุการร่วม
2.5 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน และผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นเลขานุการ
2.6 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและรัฐวิสาหกิจ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นเลขานุการ
2.7 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านแรงงาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นเลขานุการ
2.8 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง CPTPP ด้านการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นเลขานุการ
ทั้งนี้ กนศ. ขอให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ทุกคณะเร่งจัดทำกรอบการทำงานเพื่อติดตามการจัดทำแผนงาน การดำเนินการเพื่อปรับตัวของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยหารือร่วมกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่อง รวมทั้งภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม รวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความพร้อมและเงื่อนเวลาในการขอเจรจาเข้าร่วมความตกลง CPTPP หรือความไม่พร้อมของไทยให้แล้วเสร็จ และเสนอต่อที่ประชุม กนศ. ครั้งต่อไปเพื่อพิจารณารายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. กนศ. จะรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีฯ ต่อคณะรัฐมนตรี ภายในกรอบระยะเวลา 90 วัน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้กำหนดไว้
18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติโครงการและมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดังต่อไปนี้
ลำดับที่ |
โครงการ |
กรอบวงเงิน
(ล้านบาท) |
หน่วยงานรับผิดชอบ
โครงการ |
1.1 |
โครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น Smart EOC1 เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) |
89.91
(ภายใต้แผนงานที่ 1.5) |
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) |
1.2 |
โครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 (แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1) ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ) ที่ทบทวนตามผลการพิจารณาของ คกง. ครั้งที่ 10/2563 และครั้งที่ 32/2563 จำนวน 20 โครงการ |
665.09
(ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และ 1.4) |
เช่น กรมการแพทย์/ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ มหาวิทยาลัยมหิดล/ กรุงเทพมหานคร (กทม.)/ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เป็นต้น |
1.3 |
โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยตามมติ คกง. ครั้งที่ 10/2563 จำนวน 3 โครงการ |
44.58
(ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และ 1.3) |
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 โครงการ
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 1 โครงการ |
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นและข้อสังเกตของ คกง. ไปพิจารณาประกอบการดำเนินโครงการฯ ตามขั้นตอนต่อไป
2. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ ตามข้อง 1.1 - 1.3 ดำเนินการดังนี้
2.1 จัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ
2.2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้รวมถึงปัญหาอุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
2.3 ประสานกับ กค. ในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดกู้เงินฯ ด้วย
3.
อนุมัติการปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังต่อไปนี้
ลำดับที่ |
โครงการ |
หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ |
3.1 |
โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค สป.สธ. (รอบที่ 1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 และรับทราบการแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของโครงการฯ |
สป.สธ. (สธ.) |
3.2 |
โครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร |
ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) |
3.3 |
โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า |
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) |
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงสาระสำคัญของโครงการฯ ในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
__________________________
1Emergency Operations Center (EOC)
สาระสำคัญของเรื่อง
คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติ ดังนี้
1.
โครงการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวงและระดับเขตสุขภาพเป็น Smart EOC เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 ของ สป.สธ.
1.1
สาระสำคัญของโครงการ
รายการ |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
ช่วยสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์โรคโควิด 19 หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ อย่างมีเสถียรภาพ ทันเหตุการณ์ โดยสร้างระบบส่งสารสั่งการหน่วยงานเครือข่ายให้มีเสถียรภาพ และใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีด้านสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงาน |
พื้นที่ดำเนินงาน |
สป.สธ. และเขตสุขภาพ 12 เขต |
กรอบเวลา |
10 เดือน (มีนาคม - ธันวาคม 2564) |
วงเงิน |
89.97 ล้านบาท (ข้อเสนอ สธ.) |
หน่วยงานรับผิดชอบ |
สป.สธ. สธ. |
1.2
มติ คกง.
เห็นชอบโครงการฯ กรอบวงเงิน 89.91 ล้านบาท (ปรับลด 0.06 ล้านบาท จากข้อเสนอของ สธ. จำนวน 89.97 ล้านบาท) โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.5 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ และมอบหมายให้ สป.สธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และให้ดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จและเบิกจ่ายเงินภายในกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อย่างเคร่งครัด
2.
โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ ที่ทบทวนตามผลการพิจารณาของ คกง. ครั้งที่ 10/63 และครั้งที่ 32/63 จำนวน 20 โครงการ
2.1 คกง. มีหลักเกณฑ์ที่ใช้วิเคราะห์และพิจารณาโครงการ โดย
(1) ต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับครุภัณฑ์ที่เคยได้รับการสนับสนุนไปแล้ว และสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดหาได้ทันภายในปี 2564 (2) เป็นไปเพื่อการจัดบริการโรคโควิด 19 โดยตรง เพื่อการรักษาพยาบาลและช่วยชีวิตผู้ป่วย/ตรวจวินิจฉัย/ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และ
(3) ไม่สนับสนุนรายการครุภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน การวิจัยหรือครุภัณฑ์สำนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด ทั้งนี้ โครงการฯ ที่ได้รับความเห็นชอบ ประกอบด้วย
โครงการ |
หน่วยงานรับผิดชอบ |
ผลการพิจารณา
ของ คกง.
(ล้านบาท) |
1. โครงการพัฒนาและยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ เพื่อรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอนาคต และการเปลี่ยนผ่านสู่หลังการแพร่ระบาด (New Normal) |
กรมการแพทย์ |
83.10 |
2. โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโคโรนาไวรัส COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
51.00 |
3. โครงการปรับปรุงหอผู้ป่วยวิกฤต ICU NEGATIVE PRESSURE COVID-19 |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
121.60 |
4. โครงการเตรียมความพร้อมในการให้บริการของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
12.12 |
5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหอผู้ป่วยเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์การแพทย์ฯ |
มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ |
2.50 |
6. โครงการหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อรองรับการระบาดของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์การแพทย์ฯ |
มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ |
13.40 |
7. โครงการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขา 2 (Songkhla COVID-19 Recovery Camp) |
มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ |
6.50 |
8. โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกและใต้ |
กทม. |
63.74 |
9. โครงการเพิ่มหอผู้ป่วยวิกฤตสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 และเพิ่มความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี |
มหาวิทยาลัยมหิดล |
30.17 |
10. โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) |
มหาวิทยาลัยมหิดล |
45.86 |
11. แผนงานการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ |
36.13 |
12. โครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่: กรณีโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
19.90 |
13. โครงการเพื่อจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาล ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
9.08 |
14. โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและพัฒนาความเป็นเลิศทางแพทย์ |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี |
30.27 |
15. โครงการจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
กทม. |
44.53 |
16. โครงการปรับปรุงห้องผู้ป่วยแยกโรคเป็นห้องผู้ป่วยแยกโรคความดันลบ สำหรับผู้ป่วยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ จำนวน 4 ห้อง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ |
กทม. |
10.90 |
17. โครงการปรับปรุงห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินเป็นห้องแยกโรคความดันลบ พร้อมจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ |
กทม. |
6.14 |
18. โครงการการจัดหาเครื่องช่วยหายใจเพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 |
กองทัพบก |
24.30 |
19. โครงการเพื่อการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางแพทย์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ |
ตช. |
21.95 |
20. โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด รองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด 19 และเป็นไปตามมาตรฐานด้านป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล |
ตช. |
31.90 |
รวม |
|
665.09 |
2.2
มติ คกง.
เห็นชอบโครงการฯ จำนวน 20 โครงการ กรอบวงเงินไม่เกิน 665.09 ล้านบาท (ปรับลด 1,292.35 ล้านบาท จากข้อเสนอของ สธ. จำนวน 1,957.44 ล้านบาท) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และ 1.4 พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานตามที่ สธ. เสนอ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งยืนยันว่าจะสามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
3.
โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ตามมติ คกง. ครั้งที่ 10/63 จำนวน 3 โครงการ
3.1 คกง. มีหลักเกณฑ์ที่ใช้วิเคราะห์และกลั่นกรองโครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดย
(1) เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และรักษาโรคโควิด 19 (2) สามารถก่อหนี้ผูกพันภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดกู้เงินฯ (3) ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งงบประมาณอื่นได้นอกเหนือจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ (4) เป็นโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการและมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และ
(5) มีความเห็นประกอบของ อว. และ สธ. ด้วยแล้ว ทั้งนี้ โครงการฯ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ได้รับความเห็นชอบ ประกอบด้วย
โครงการ |
หน่วยงาน
รับผิดชอบ |
ผลการพิจารณา
ของ คกง.
(ล้านบาท) |
1. โครงการการขยายผลจากเทคโนโลยีผลิตน้ำยาสกัด RNA เพื่อการตรวจโรค COVID-19 |
สวทช. |
12.50 |
2. โครงการแบตเตอรี่สำหรับ PAPR และแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่ |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
26.55 |
3. โครงการการผลิตชั้นกรองหน้ากาก N95 โดยอาศัยสมบัติทริโบอิเล็กทริกของเส้นใยนาโนธรรมชาติและนาโนซิลเวอร์ |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
5.53 |
รวม |
|
44.58 |
3.2
มติ คกง.
เห็นชอบโครงการฯ ด้านวิจัย จำนวน 3 โครงการ กรอบวงเงินไม่เกิน 44.58 ล้านบาท (ปรับลด 923.14 ล้านบาท จากข้อเสนอของ สธ. จำนวน 967.72 ล้านบาท) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.2 และแผนงานที่ 1.3 พร้อมทั้งมอบหมายให้ สวทช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ 1 และให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ 2-3 และเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งประสาน สธ. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตได้จากการศึกษาวิจัยภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
4.
อนุมัติการปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ดังต่อไปนี้
4.1
โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค สป.สธ. (รอบที่ 1) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ตามที่ สป.สธ. เสนอ โดยเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานและจำนวนรายการก่อสร้างปรับปรุงหอพักผู้ป่วยเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ชนิดมีระบบกรองอากาศ ดังนี้
มติคณะรัฐมนตรี (29 ธันวาคม 2563) |
เสนอปรับปรุงครั้งนี้ |
สถานที่
(จังหวัดสุราษฎร์ธานี) |
จำนวน (หน่วย) |
สถานที่
(จังหวัดสุราษฎร์ธานี) |
จำนวน (หน่วย) |
โรงพยาบาลพุนพิน |
18 |
โรงพยาบาลพุนพิน |
4 |
โรงพยาบาลท่าโรงช้าง |
12 |
โรงพยาบาลบ้านนาเดิม |
1 |
โรงพยาบาลท่าฉาง |
1 |
และ
รับทราบการแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของโครงการฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงข้อมูลหน่วยงานและรายการคำขอที่คลาดเคลื่อน
รวม 147 รายการ
4.2
โครงการแปลงใหญ่กระบือชลบุรีครบวงจร ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อว. เสนอ โดยเป็นการขยายระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการฯ
จากเดือนตุลาคม 2564
เป็นเดือนธันวาคม 2564 โดยเป็นการขยายระยะเวลาของสัญญาการจ้างงานเท่านั้น ซึ่งไม่กระทบระยะเวลาการดำเนินโครงการ คือ 12 เดือน
4.3
โครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่าตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทส. เสนอขอเปลี่ยนแปลงพื้นที่ก่อสร้างของโครงการฯ ในจังหวัดสุรินทร์
จาก “สำนักงานเขต” ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าทึบ
เป็น “ฐานปฏิบัติการพิทักษ์ป่าผามะนาว” ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งและมีประสิทธิภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ที่ได้พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) การรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานและจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) และมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1.
รับทราบการมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปรับปรุงหรือทบทวนโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ดังนี้ (1) ยกเลิกเงินสนับสนุนจากภาครัฐในส่วน E-voucher หรือกำหนดมูลค่า E-voucher ให้มีความเชื่อมโยงกับมูลค่าห้องพัก อาทิ ร้อยละ 40 ของราคาห้องพัก (2) กำหนดแนวทางการป้องกันการทุจริตที่จะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในกรณีที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบสแกนใบหน้า จำเป็นต้องหารือและเตรียมความพร้อมกับธนาคารกรุงไทยให้ชัดเจนทั้งในส่วนของกรอบระยะเวลาและแผนผังแสดงวิธีการใช้สิทธิ์โครงการ (Customer flowchart) เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่จะใช้สิทธิ์โครงการฯ ให้มีความเข้าใจและป้องกันความสับสน และ (3) ยกเลิกเงื่อนไขที่มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินตามโครงการและดำเนินการเบิกจ่ายเงินโดยวิธีเบิกจ่ายแทนกัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีเอกภาพ และช่วยให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีความคล่องตัวในการดำเนินโครงการฯ เพิ่มขึ้น
2. รับทราบในกรณีที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พิจารณาแล้วว่าการดำเนินการปรับปรุงหรือทบทวนโครงการเราเที่ยวด้วยกันโครงการฯ ตามข้อ 1. อาจจะไม่สามารถดำเนินการป้องกันการทุจริตของโครงการฯ ได้
เห็นควรมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการฯ เฉพาะในส่วนการเลื่อนการใช้สิทธิ์ที่พักและค่าโดยสารสำหรับผู้ที่ได้สิทธิ์โครงการฯ แล้วภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 และเร่งดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการทุจริตอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งพิจารณาจัดทำข้อเสนอโครงการที่จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันไม่ให้เกิดการฉวยโอกาสจากโครงการในทางที่มิชอบได้ ทั้งนี้ ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการดำเนินการโดยเคร่งครัด
3.
รับทราบและเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ม 33 เรารักกัน และผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ของสำนักงานประกันสังคม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์เร่งเข้าร่วมยืนยันตัวตนผ่านช่องทางที่กำหนดและใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศอีกทางหนึ่ง
4.
รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 10 จำนวน 141 โครงการ (จาก 209 โครงการ) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบทั้ง 209 โครงการ เร่งดำเนินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ โดยเร็ว โดยกำหนดเงื่อนไขว่าหากหน่วยงานไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาในกิจกรรม/โครงการที่ต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่มีแผนการใช้จ่ายในส่วนงบดำเนินงานที่ชัดเจนภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 เห็นควรให้ยุติการดำเนินโครงการและรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทราบ พร้อมทั้งส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามขั้นตอนของข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
รง. โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ส่งเรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดโครงการ ม33 เรารักกัน ซึ่งเป็นการขอปรับปรุงรายละเอียดของโครงการฯ ตามความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ดังนี้
1) การขอความร่วมมือและจัดทำข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1) รง. โดย สปส. ขอความร่วมมือ กค. โดย สศค. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และบริษัทธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินการตรวจสอบเงื่อนไขโครงการฯ “ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563” ของผู้ประกันตนมาตรา 33 กลุ่มเป้าหมาย
1.2) รง. โดย สปส. ขอความร่วมมือกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ สกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน รหัสหลังบัตรประจำตัวประชาชน และวัน/เดือน/ปีเกิด) และขอเข้าถึงฐานข้อมูลภาพถ่ายตามบัตรประชาชน สำหรับกรณีกลุ่มอื่นที่มีความจำเป็นต้องตรวจสอบและยืนยันตัวตนในการใช้สิทธิ์ตามโครงการฯ ด้วยภาพถ่าย เช่น ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน
2) ขยายระยะเวลาให้ผู้ได้รับสิทธิ์เปิดใช้งานและกดยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานและการโอนวงเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้มีระยะเวลาในการกดใช้งานและยืนยันตัวตนเพิ่มมากขึ้นจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ดังนี้
2.1) กลุ่มผู้ที่ลงทะเบียนรอบแรกและผ่านการตรวจสอบ คัดกรอง เป็นผู้ได้รับสิทธิ์
ตามมติ คณะรัฐมนตรี |
ข้อเสนอในครั้งนี้ |
เดิม กำหนดให้ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ์ในช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงเปิดใช้งานและกดยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) ระหว่างวันที่ 15 - 21 มีนาคม 2564 และได้รับวงเงินจากโครงการผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ ในวันที่ 22, 29 มีนาคม 2564 และ 5 12 เมษายน 2564 ซึ่งหากไม่กดใช้งานและยืนยันตัวตนในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ |
แก้ไขเป็น ผู้ได้รับสิทธิ์เปิดใช้งานและกดยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2564 โดยจะได้รับวงเงินจากโครงการรวมจำนวน 4,000 บาทต่อคน ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) เป็นรายสัปดาห์ ดังนี้
1. หากกดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์ ระหว่างวันที่ 15 - 21มีนาคม 2564 จะได้รับวงเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet)
1,000 บาทต่อสัปดาห์ ในทุกวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 4
สัปดาห์ต่อเนื่องกัน โดยจะได้รับวงเงินครั้งแรกในวันที่ 22 มีนาคม 2564 จำนวน 1,000 บาท จากนั้นจะได้รับวงเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท ในวันที่ 29 มีนาคม 2564 วันที่ 5 เมษายน 2564 และวันที่ 12 เมษายน 2564
2. หากกดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม – 11 เมษายน 2564 จะได้รับวงเงินครั้งแรกในวันที่กดใช้ งานฯ เป็นจำนวนวงเงินสะสมนับตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2564 จนถึงวันที่กดใช้งานฯ และจะได้รับวงเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท ทุกวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ต่อเนื่องจนครบ 4,000 บาท เช่น กดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์วันที่ 29 มีนาคม 2564 จะได้รับวงเงินครั้งแรกวันที่ 29 มีนาคม 2564 จำนวน 2,000 บาท (วงเงินสะสมของสัปดาห์แรก วันที่ 22 มีนาคม 2564 จำนวน 1,000 บาท และสัปดาห์ที่ 2 วันที่ 29 มีนาคม 2564 จำนวน 1,000 บาท) จากนั้นจะได้รับวงเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท ในวันที่ 5 และ 12 เมษายน 2564
3. กดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์ ระหว่างวันที่ 12 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2564 จะได้รับวงเงินสะสมในวันที่กดใช้งานฯ ครั้งเดียว จำนวน 4,000 บาท (วงเงินสะสมของสัปดาห์แรกวันที่ 22 มีนาคม 2564 สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 29 มีนาคม 2564 สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 5 เมษายน 2564 และสัปดาห์ที่ 4 วันที่ 12 เมษายน 2564 สัปดาห์ละ 1,000 บาท) |
2.2) กลุ่มผู้ที่ยื่นขอทบทวนสิทธิ์และผ่านการตรวจสอบ คัดกรองเป็นผู้ได้รับสิทธิ์
ตามมติ คณะรัฐมนตรี |
ข้อเสนอในครั้งนี้ |
เดิม กำหนดให้ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ์ในช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงเปิดใช้งานและกดยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) ระหว่างวันที่ 5 - 11 เมษายน 2564 และได้รับวงเงินจากโครงการผ่าน แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 2,000 บาทต่อสัปดาห์ในวันที่ 12 และ 19 เมษายน 2564 ซึ่งหากไม่กดใช้งานและยืนยันตัวตนในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าสละสิทธิ์ |
แก้ไขเป็น ผู้ได้รับสิทธิ์เปิดใช้งานและกดยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) ได้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน - 31พฤษภาคม 2564 โดยจะได้รับวงเงินจากโครงการรวม 4,000 บาทต่อคน ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (G-wallet) ดังนี้
1. กดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์ ระหว่างวันที่ 5 - 11 เมษายน2564 จะได้รับวงเงินสะสมในวันที่ 12 เมษายน 2564 จำนวน 4,000 บาท
2. กดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์ ระหว่างวันที่ 12 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2564 จะได้รับวงเงินสะสมในวันที่กดใช้งานฯ จำนวน 4,000 บาท |
3) เพิ่มเติมรายละเอียดในหัวข้อการขอทบทวนสิทธิ์ โดยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาการตรวจสอบทบทวนสิทธิ์ของผู้ประกันตนตามโครงการ ม33 เรารักกัน เป็นไปตามที่ รง. กำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และผลการพิจารณาของ รง. โดย สปส. ให้ถือเป็นที่สุด
4) เพิ่มหัวข้อการรับเรื่องร้องเรียน โดยผู้ประกันตนหรือประชาชนสามารถสอบถามหรือแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ตามโครงการฯ ได้แก่ การลงทะเบียน การยื่นขอทบทวนสิทธิ์การร้องเรียนอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดเงื่อนไขของโครงการ ม33 เรารักกัน ได้ทางสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ในสำนักงานประกันสังคมส่วนกลาง สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
5) เพิ่มหัวข้อการตรวจสอบการดำเนินโครงการฯ (Post Audit) โดยจะดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน โดยจะจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการ ม33 เรารักกัน ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะทำงานฯ เพื่อดำเนินการตรวจสอบ พิจารณา และวินิจฉัยการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดเงื่อนไขของโครงการต่อไป ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ รง. กำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
6) ปรับปรุงแผนการดำเนินงานและแบบรายงานการประเมินความเสี่ยงการทุจริตการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องตามโครงการฯ ที่ปรับปรุงแก้ไข
20. เรื่อง กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 117,880.9139 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
งบประมาณปี 2565 เพื่อตอบโจทย์นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 จำนวน 117,880.9139 ล้านบาท มุ่งตอบสนองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ตามนโยบายของรัฐบาล และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564 - 2570 ฉบับสมบูรณ์ โดยแผนงานสำคัญ ได้แก่
1. การผลิตบัณฑิตและกำลังแรงงาน ประกอบด้วย การผลิตบัณฑิตในระบบอุดมศึกษา (Degree Program) ในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา จำนวน 1,423,653 คน และการผลิตกำลังแรงงานในหลักสูตรระยะสั้น (Non - degree Program) จำนวน 50,000 คน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่นอกวัยเรียนสามารถพัฒนาความรู้ในทักษะเดิม (Re - skill) การยกระดับทักษะเดิม (Up - skill) และการเพิ่มพูนทักษะใหม่ (New Skill) ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ดังนี้
1) การพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อน BCG ประกอบด้วย กลุ่มสตาร์ทอัพ(Startup) กลุ่มผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprises: IDE) กลุ่มสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) กลุ่มผู้ให้บริการมูลค่าสูง (High Value Service Provider) กลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology Developer) และกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneur) รวมถึงบุคลากรวิชาชีพเฉพาะด้านที่จำเป็นต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ เช่น นักอนุกรมวิธาน และนักนวัตกรรมดิจิทัล เป็นต้น โดยต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้านเพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้แก่ System Biology, Bioinformatics, Life Science ด้านเกษตรและอณูชีววิทยา เป็นต้น
2) การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับภาวะหลังการระบาดของโรคโควิด-19 มุ่งเน้นหลักสูตรที่พัฒนาทักษะในกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่จะเป็นฐานสำคัญหลังการฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น
3) การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับโครงการ Eastern Economic Corridor (EEC) ประกอบด้วยอุตสาหกรรมระบบราง โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมการบิน
2. การพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาศักยภาพตามความเชี่ยวชาญและผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ผ่าน 5 กลไก ดังนี้
1) การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) รองรับสังคมสูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 โดยการพัฒนาเทคโนโลยี ปัจจัยเอื้อสนับสนุน และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดทำ Mobile Application ห้องสมุดดิจิทัล และการจัดทำชุดองค์ความรู้สำหรับทักษะอนาคต (Skill for Future) รองรับการขับเคลื่อน BCG
2) การพัฒนาและแสวงหาบุคลากรที่เน้นสมรรถนะ มุ่งเน้นการพัฒนาอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรเพื่อตอบสนองต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาและแสวงหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการจ้างผู้เชี่ยวชาญการวิจัยระดับโลกเข้าร่วมงานกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งแบบเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลา (Adjunct/Visiting Scholar) รวมถึงการจัดสรรทุนในระดับบัณฑิตศึกษา และทุนวิจัยระดับหลังปริญญาเอก
3) ความเป็นนานาชาติ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเชิงยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกตามจุดเน้นของสถาบันอุดมศึกษา และโจทย์ของประเทศ เช่น การร่วมจัดการเรียนการสอน การวิจัยร่วมในสาขาที่เป็นอนาคตของประเทศและสาขาที่ไทยมีศักยภาพ และการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคลากรและนักศึกษา และการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดนักศึกษาระดับมันสมองจากกลุ่มประเทศขาดแคลนเพื่อเข้าเรียนและศึกษาวิจัยในประเทศไทย เป็นต้น
4) การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศของการประกอบการและนวัตกรรมเพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่แบบยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขา BCG ให้มีความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาระบบการบริหารและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการจัดตั้งโครงการศูนย์การเรียนรู้ และห้องปฏิบัติการเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศการเรียนการสอน การวิจัย และนวัตกรรม
5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายจตุภาคี (Quadruple Helix) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม ทั้งในและต่างประเทศที่ตรงตามกลุ่มยุทธศาสตร์และจุดเน้นของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันพัฒนากำลังคนและสร้างความเป็นเลิศเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายและทิศทางของประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนภายใต้แนวคิด BCG
กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 117,880.9139 ล้านบาท ประกอบด้วย งบบุคลากร จำนวน 70,427.4530 ล้านบาท งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่น จำนวน 38,653.4609 ล้านบาท และงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ จำนวน 8,800 ล้านบาท ตามมาตรา 45 (1) (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
แนวทางการจัดสรรงบประมาณตามกรอบวงเงินดังกล่าวจะถูกจัดสรรโดยมุ่งเน้นการจัดสรรงบประมาณให้สนองด้านอุปสงค์เป็นหลัก (Demand-side Financing) เพื่อให้งบประมาณด้านการอุดมศึกษาถูกใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 ฉบับสมบูรณ์ และให้ความสำคัญกับกลไกที่จำเป็นต่อการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ
21. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – อินเดีย
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย – อินเดีย (บันทึกความเข้าใจฯ) และให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย โดยมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับถ้อยคำตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
บันทึกความเข้าใจฯ เป็นการปรับปรุงสิทธิการบินต่าง ๆ ได้แก่ ใบพิกัดเส้นทางบิน สิทธิความจุ และการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายมีความยืดหยุ่นในการวางแผนการให้บริการมากขึ้น บันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญดังนี้
รายการ |
สาระสำคัญ |
1. ใบพิกัดเส้นทางบิน |
เพิ่มกระบี่ สมุย และอู่ตะเภา ในเส้นทางบินของอินเดีย และเพิ่มเงื่อนไขว่า จุดระหว่างทางหรือจุดพ้นใด ๆ ที่ไม่ได้ระบุในใบพิกัดเส้นทางบิน สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถทำการบินได้ โดยไม่ใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 |
2. สิทธิความจุ |
เพิ่มความจุให้กับสายการบินที่กำหนดอีกฝ่ายละ 6,150 ที่นั่ง/สัปดาห์ (จากเดิม 26,354 ที่นั่ง/สัปดาห์) โดยมีเงื่อนไขว่าจำนวนความจุที่นั่งเพิ่มขึ้นดังกล่าว สายการบินของไทยสามารถทำการบินได้สูงสุด 7 เที่ยว/สัปดาห์ และจะสามารถใช้สิทธิที่ตกลงเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อสายการบินของอินเดียสามารถทำการบินได้ถึงร้อยละ 80 ของสิทธิที่มีอยู่ปัจจุบัน (สิทธิที่มีอยู่ปัจจุบันคือ 26,354 ที่นั่ง/สัปดาห์) |
3. การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน |
เพิ่มเงื่อนไขการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันสำหรับเส้นทางภายในประเทศ โดยภาคีคู่สัญญาสามารถทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในเส้นทางภายในประเทศได้ |
การปรับปรุงสิทธิการบินต่าง ๆ ข้างต้นจะทำให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายมีความยืดหยุ่นในการวางแผนการให้บริการ และสามารถเพิ่มบริการระหว่างกันได้มากขึ้น ตลอดจนเป็นการขยายเครือข่ายการบินและการเชื่อมต่อไปยังจุดอื่น ๆ ได้ อันเป็นการส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งทางอากาศระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสาร ธุรกิจการขนส่งสินค้า รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้า และบริการระหว่างทั้งสองประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ
22. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ว่าด้วยการค้าข้าวระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการค้าแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการค้าข้าวระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการค้าแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ร่าง MOU) และมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามใน MOU ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิได้ทำให้สาระสำคัญในร่าง MOU เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่จะดำเนินการได้ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้มีหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 แจ้งความประสงค์จะขอหารือต่ออายุ MOU ฉบับเดิม ซึ่งได้หมดอายุแล้วเมื่อปี 2559 ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีวัตถุประสงค์ที่จะสำรองข้าวเพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ ในสถานการณ์ที่ปริมาณผลผลิตข้าวภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคซึ่งจะเป็นโอกาสให้รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียพิจารณานำเข้าข้าวจากไทย และเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวไทยยังตลาดสาธารณรัฐอินโดนีเซียให้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการรักษาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าข้าวอันดีระหว่างสองประเทศ
โดยร่าง MOU มีสาระสำคัญเป็นความตกลงการซื้อขายข้าวระหว่างรัฐต่อรัฐ ซึ่งรัฐบาลไทยตกลงจะขายข้าวขาวให้แก่รัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซียปริมาณไม่เกิน 1 ล้านตันต่อปี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การผลิตของทั้งสองประเทศและระดับราคาในตลาดโลก และมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 4 ปี (มีสาระสำคัญเหมือนกันกับ MOU ฉบับเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554) ซึ่งการจัดทำร่าง MOU ดังกล่าวจะเป็นโอกาสให้รัฐบาลอินโดนีเซียพิจารณานำเข้าข้าวจากไทยและเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวไทยไปยังตลาดอินโดนีเซียให้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการรักษาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าข้าวอันดีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนานด้วย
23. เรื่อง รายงาน Country Survey Instrument for SDG Indicator 6.5.1 และ Reporting on global SDG Indicator 6.5.2
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงาน Country Survey Instrument for SDG Indicator 6.5.1 และ Reporting on global SDG Indicator 6.5.2 ตามรายละเอียดที่เสนอ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติด้วยแล้ว ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบและประสานงานหลักการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDG 6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน ได้รับการประสานจาก UNEP เพื่อร่วมตรวจสอบข้อมูลติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการขับเคลื่อน และให้มีการทบทวนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 ของประเทศ โดยในเบื้องต้นขอให้จัดทำรายงานความก้าวหน้าตัวชี้วัด SDG 6.5.1: Degree of integrated water resources management implementation และรายงานตัวชี้วัด SDG 6.5.2: Proportion of transboundary basin area with an operational arrangement for water cooperation เพื่อใช้ในการปรับฐานข้อมูล (Baseline) การพัฒนาด้านน้ำของประเทศ ซึ่งจะเผยแพร่ใน The UN Water SDG 6 Data Portal ปี 2021
2. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ เลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำและผู้มีส่วนได้เสีย จัดทำร่างรายงาน Country Survey Instrument for SDG Indicator 6.5.1 และ Reporting on global SDG Indicator 6.5.2 ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และตามแบบฟอร์มที่กำหนด สรุปสาระสำคัญของร่างรายงาน ดังนี้
2.1 รายงาน Country Survey Instrument for SDG 6.5.1: Degree of integrated water resources management implementation ใช้กลไกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียร่วมประเมิน ได้แก่ หน่วยงานรัฐ คณะกรรมการลุ่มน้ำ และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ประเด็นข้อคำถาม 4 ส่วนหลัก และรายละเอียดภาคผนวก คือ
1) สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (Enabling Environment) ได้แก่ นโยบาย กฎหมาย และแผนงาน
2) กลไกเชิงสถาบัน และการมีส่วนร่วม (Institutions and Participation) ได้แก่ ศักยภาพของหน่วยงาน การประสานงานระหว่างภาคส่วน การสนับสนุนจากภาคเอกชน การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และความเท่าเทียมทางเพศ
3) เครื่องมือในการบริหารจัดการ (Management Instruments) ได้แก่ ระบบติดตามด้านน้ำ การใช้น้ำอย่างยั่งยืน การควบคุมมลพิษ ระบบนิเวศที่เกี่ยวกับน้ำ การจัดการภัยพิบัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร
4) การเงิน (Financing) ได้แก่ การลงทุน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และรายรับ
ส่วนสุดท้าย ภาคผนวก A – D ซึ่งประกอบด้วย วิธีการคำนวณคะแนนตัวชี้วัด นิยามศัพท์ คำอธิบายเกี่ยวกับคำถามด้านความร่วมมือข้ามพรมแดน ซึ่งเชื่อมโยงกับการรายงานตัวชี้วัดย่อย SDG 6.5.2 ปัญหาอุปสรรค เครื่องมือ และขั้นตอนต่อไป เพื่อการดำเนินงาน Integrated Water Resources Management (IWRM) ให้มากขึ้น และระดับความท้าทายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำด้านต่าง ๆ สามารถสรุปคะแนน ดังนี้
หัวข้อหลัก |
คะแนนเฉลี่ย |
ระดับ |
1) สภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวย |
60 |
ปานกลาง – สูง |
2) กลไกเชิงสถาบันและการมีส่วนร่วม |
59 |
ปานกลาง – สูง |
3) เครื่องมือในการบริหารจัดการ |
41 |
ปานกลาง – ต่ำ |
4) การเงิน (Financing) |
50 |
ปานกลาง – ต่ำ |
คะแนน SDG Indicator 6.5.1 |
53 |
ปานกลาง – สูง |
2.2 Reporting on global SDG Indicator 6.5.2: TEMPLATE of the second cycle for reporting โดยมีการหารือร่วมกับหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรวบรวมข้อมูลแต่ละขั้นตอน ดังนี้
1) คำถามที่ 1 ระบุลุ่มน้ำผิวดินข้ามพรมแดน และชั้นน้ำบาดาลข้ามพรมแดนคัดเลือกลุ่ม น้ำโขง (Mekong River Basin) ซึ่งมีข้อตกลงความร่วมมือและอยู่ภายใต้การสนับสนุนของ UNECE สำหรับลุ่มน้ำที่มีการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ยังไม่ได้รายงานผลเนื่องจากไม่มีข้อตกลงที่ครอบคลุมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ
2) คำถามที่ 2 ข้อมูลของแต่ละลุ่ม/แอ่ง หรือกลุ่มของลุ่มน้ำ/แอ่ง แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือชั้นน้ำบาดาล ข้ามพรมแดน มี 4 เกณฑ์ ได้แก่
- เกณฑ์ที่ 1: คณะกรรมาธิการสำหรับความร่วมมือระหว่างพรมแดนตามกรอบความตกลงร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน กำหนดให้มีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประกอบด้วย องค์กรบริหารถาวร 3 องค์กร ได้แก่ คณะมนตรี คณะกรรมการร่วม และสำนักงานเลขาธิการ
- เกณฑ์ที่ 2: มีการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการสม่ำเสมอ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ระหว่างเทศภาคีในรูปแบบการประชุม
- เกณฑ์ที่ 3: มีวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ แผนการบริหารจัดการ หรือแผนปฏิบัติการร่วมกัน ซึ่งได้รับการตกลงยินยอมโดยประเทศภาคี
- เกณฑ์ที่ 4: มีการแลกเปลี่ยนช้อมูลและข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
3) คำถามที่ 3 การบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ ได้แก่ มีกฎหมายระดับชาติ นโยบาย กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ มาตรการเพื่อคุ้มครอง ควบคุมและลดผลกระทบข้ามพรมแดน มีมาตรการควบคุมมลพิษทางน้ำ และระบบนิเวศแหล่งน้ำ
4) คำถามที่ 4 คำถามสุดท้าย ได้แก่ ความท้าทายและผลสำเร็จของประเทศไทยในการดำเนินความร่วมมือด้านน้ำข้ามพรมแดน เช่น การขับเคลื่อนตามกรอบความร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความกังวลเกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศ ข้อจำกัดด้านทรัพยากร เป็นต้น
24. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเศรษฐกิจหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเศรษฐกิจหมุนเวียน หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำในร่างข้อตกลงความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างข้อตกลงความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญ
ร่างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเศรษฐกิจหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงนามทั้งสองฝ่ายมีกรอบการดำเนินความร่วมมือร่วมกัน เพื่อสนับสนุนความตั้งใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ทะเล โดยขอบเขตความร่วมมือของข้อตกลงความร่วมมือฯ ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ทั้งด้านวิชาการและงานวิจัยภายใต้ข้อตกลงนี้ (2) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนงานวิจัย ข่าวสาร และข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทั้งสองประเทศ (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้แทนของผู้ร่วมลงนามทั้งสองฝ่าย (4) จัดการสัมมนา การประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการจัดหลักสูตร ฝึกอบรม แผนการวิจัย และการศึกษาดูงาน (5) พัฒนาและดำเนินงานโครงการและกิจกรรมที่มีความตกลงร่วมกัน และ (6) สนับสนุนการวิจัยร่วมเชิงปริมาณและชนิดของขยะทะเลที่ลอยอยู่ในแม่น้ำก่อนไหลออกสู่ทะเล
ทั้งนี้ในการดำเนินงานทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในฐานะหน่วยงานประสานงาน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงทั้งสองฝ่ายจะประสานงานและส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจัดเก็บขยะพลาสติกในแม่น้ำ ให้เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการลดขยะพลาสติกในทะเลโดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหุ้นส่วนภาคเอกชน และหากมีความร่วมมือและกิจกรรมการดำเนินงานที่เฉพาะเจาะจง ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
โดยข้อตกลงความร่วมมือฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการลงนาม และจะมีผลใช้บังคับเป็นเวลา 2 ปี โดยผู้ลงนามทั้งสองฝ่ายอาจขยายเวลาข้อตกลงความร่วมมือนี้ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี โดยผ่านการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้ลงนามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยุติข้อตกลงความร่วมมือนี้เมื่อใดก็ได้ โดยมีหนังสือแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรถึงอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน โดยการสิ้นสุด/ยุติของข้อตกลงความร่วมมือนี้ จะไม่ส่งผลต่อความถูกต้องและระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือนี้จนกระทั่งเสร็จสิ้นลง
25. เรื่อง การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ การโอน
นางปฐมพร ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขารังสีวิทยา) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) (ด้านเวชกรรม) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง
นางสาวนัทรียา ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านประสานกิจการภายในประเทศ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
27. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวน 5 คน ดังนี้
1. นายพีรพันธ์ คอทอง
2. นายภูมิพัฒน์ สินาเจริญ
3. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
4. พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ
5. นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ
โดยนายภูมิพัฒน์ สินาเจริญ และนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ เป็นผู้ที่มีรายชื่อตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง บัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป
28. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นายวิศิษฎ์ ตั้งนภากร เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว แทนประธานกรรมการเดิมที่มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
...........................................