http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (5 มกราคม 2564) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference
ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
7. เรื่อง โครงการเตรียมงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม 2566)
8. เรื่อง ขออนุมัติการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
9. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพัน งบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
10. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2563
11. เรื่อง รายงานผลการให้บริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 และประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ของการรถไฟแห่งประเทศไทยและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือเกษตกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตฤดูการผลิตปี 2562/2563
13. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563
14. เรื่อง รายงานผลดำเนินงานตามมาตรการลดภาระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางเมื่อสิ้นสุดโครงการ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562-23 มิถุนายน 2563 ระยะเวลารวม 1 ปี
15. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
16. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
17. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
18. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 1/2564
19. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
20. เรื่อง ผลการประชุมด้านเศรษฐกิจในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37
21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดียโควิด 19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
22. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
23. เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับองค์การยูเนสโก
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
27. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และโดยที่สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่ |
สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง |
สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง |
1 |
22 พฤษภาคม 2562 – 18 กันยายน 2562 |
1 พฤศจิกายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 |
2 |
22 พฤษภาคม 2563 – 18 กันยายน 2563 |
1 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 |
3 |
22 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564 |
1 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 |
4 |
22 พฤษภาคม 2565 – 18 กันยายน 2565 |
1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 |
2. ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จึงสมควรปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564
จึงเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม พ.ศ ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม พ.ศ .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟทาง และสิ่งจำเป็นอื่น ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน ซึ่งสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ตช. เสนอว่า
1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ. 2554 ได้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจไว้ 3 สาขาวิชา ได้แก่ (1) รัฐประศาสนศาสตร์ (2) วิทยาศาสตร์ และ (3) สังคมศาสตร์
2. ต่อมา ตช. ได้มีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ ตช. เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์ ตช. 20 ปี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 – 2565) ซึ่งมีความสอดคล้องรองรับกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) รวมทั้งติดตามการประเมินผลการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อผลักดันให้หน่วยงานในสังกัด และข้าราชการตำรวจทุกนายพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดว่า “เป็นองค์กรบังคับใช้กฎหมายที่ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธา และเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอาเซียน” ซึ่งจากการปรับปรุงดังกล่าวจึงต้องพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐาน ทันสมัยและเหมาะสม รวมทั้งพัฒนาข้าราชการตำรวจให้เป็นผู้ที่มีสมรรถนะทางความรู้ทักษะตามวิชาชีพตำรวจ
3. ดังนั้น เพื่อให้การปรับปรุงยุทธศาสตร์ของ ตช. สอดคล้องกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ โรงเรียนนายร้อยตำรวจจึงได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยได้จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชานิติศาสตร์เพิ่มขึ้น รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชานิติศาสตร์ รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ศธ. เสนอว่า
1. พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 18 บัญญัติให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในกำกับของ ศธ. โดยเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น มิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หากแต่ได้รับการจัดตั้งให้มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 และขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
2. โดยที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บัญญัติให้ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
3. ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 สมควรกำหนดให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฏีกา
กำหนดให้ “สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. .... และ 2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวง |
สาระสำคัญ |
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. .... |
- กำหนดบทนิยาม คำว่า “นั่งร้าน” “ค้ำยัน” “ค่าความปลอดภัย” และ “วิศวกร”
- กำหนดให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงานกับนั่งร้านและค้ำยัน
- กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีนั่งร้านที่มีความมั่นคงแข็งแรง ปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้นั่งร้านที่ผู้ผลิตกำหนด
- กำหนดให้การสร้าง ประกอบ หรือติดตั้งค้ำยัน ให้นายจ้างปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้ค้ำยันที่ผู้ผลิตกำหนด และจัดให้มีการคำนวณออกแบบและควบคุมโดยวิศวกร
- กำหนดให้ในกรณีที่ใช้ค้ำยันรองรับการเทคอนกรีต อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือรองรับสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้บุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ในหรือใต้บริเวณนั้น |
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... |
- กำหนดบทนิยาม คำว่า “งานก่อสร้าง” “อาคาร” “เขตก่อสร้าง” และ “เขตอันตราย”
- กำหนดให้ก่อนเริ่มงานก่อสร้างให้นายจ้างแจ้งข้อมูลงานก่อสร้างต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ดำเนินการให้พื้นที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงจัดให้มีแสงสว่างฉุกเฉินในเขตก่อสร้าง ติดหรือตั้งป้ายสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะงาน กำหนดบริเวณเขตก่อสร้างและเขตอันตรายในเขตก่อสร้าง
- กำหนดให้งานเจาะและงานขุด การเจาะหรือขุดรู หลุม บ่อ คู หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นได้รับอันตรายจากการเจาะหรือขุดดังกล่าว ในกรณีที่ใช้ปั้นจั่นหรือเครื่องจักรหนักปฏิบัติงานต้องจัดให้มีการป้องกันดินพังทลาย และนายจ้างต้องมิให้ลูกจ้างลงไปทำงานในรู หลุม บ่อ คู หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเดียวกันที่มีขนาดกว้างน้อยกว่า 75 เซนติเมตร และมีความลึกตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป
- กำหนดให้งานก่อสร้างที่มีเสาเข็มและกำแพงพืด ในการประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ตรวจสอบ ใช้ ซ่อมบำรุง เคลื่อนย้าย และรื้อถอนเครื่องตอกเสาเข็มหรือเครื่องขุดเจาะ นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด
- กำหนดให้ลิฟต์ชั่วคราวที่ใช้งานก่อสร้าง ในการสร้าง ประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ตรวจสอบ ใช้ ซ่อมบำรุง และรื้อถอน ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด
- กำหนดให้ในงานก่อสร้างที่มีทางเดินชั่วคราวยกระดับสูงตั้งแต่ 1.50 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีการสร้างทางเดินด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกจรได้ และมีราวกันตกตามมาตรฐาน
- กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในอุโมงค์ และจัดให้ลูกจ้างได้รับการอบรมก่อนเข้าทำงาน อบรมทบทวนหรืออบรมประจำไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ในการขุดเจาะอุโมงค์
- กำหนดให้ก่อนลูกจ้างทำงานก่อสร้างในน้ำ ให้นายจ้างจัดทำแผนการปฏิบัติงาน แผนฉุกเฉิน และจัดให้มีการอบรมและฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉิน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต
- กำหนดให้การรื้อถอนหรือทำลายสิ่งก่อสร้าง นายจ้างต้องกำหนดขั้นตอนและวิธีการรื้อถอนทำลายให้เหมาะสมกับลักษณะงาน จัดการอบรมหรือชี้แจงลูกจ้างเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการรื้อถอนทำลายก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน |
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ อก. เสนอว่า
1. ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 และจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือวันที่ 21 มกราคม 2564 โดยมาตรา 5 วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวงฯ บัญญัติให้การแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายมาตรฐานรวมทั้งใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code)
2. โดยที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่ม 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทยได้มีหนังสือถึง อก. เพื่อขอให้ อก. พิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวออกไปอีก 6 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากการแสดงใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ตามที่กำหนดในข้อ 5 วรรคท้ายของกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในหลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดได้ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้น
3. อก. โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถเตรียมความพร้อมในการดำเนินการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎกระทรวงดังกล่าว จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2563 เฉพาะการแสดงรายละเอียดใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 5 วรรคสุดท้าย ออกไปอีกหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
4. อก. ได้จัดทำผลกระทบเมื่อร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ดังนี้ ผู้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใบอนุญาตทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ใบอนุญาตนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักร จะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายมาตรฐาน รวมทั้งใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจนบนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ หรือสิ่งผูกมัด
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ การทำ วิธีแสดง และการใช้เครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2563 เฉพาะการแสดงรายละเอียดใบอนุญาตและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (QR Code) ตามข้อ 5 วรรคสุดท้าย ออกไปอีกหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (มีผลใช้บังคับวันที่ 20 กรกฎาคม 2564)
7. เรื่อง โครงการเตรียมงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม 2566)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบให้รัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ) (6 พฤษภาคม 2566) และเสนอพระนามให้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (องค์การยูเนสโก) ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2566
2. ให้มีแผนการดำเนินงานและกิจกรรมการเฉลิมฉลอง 3 ระยะ ได้แก่ แผนการดำเนินงานระยะสั้น - กลาง - ยาว โดยแบ่งการเฉลิมฉลองออกเป็น 1) ระดับกระทรวงต่าง ๆ และ 2) ระดับภาคประชาชน ภาคเอกชน และมูลนิธิต่าง ๆ ในพระอุปถัมภ์ โดยไม่ขอผูกพันงบประมาณ (ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2566)
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
อว. รายงานว่า
1. องค์การยูเนสโกเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 มีบทบาทพิเศษในการเสริมสร้างรากฐานของสันติภาพที่ยั่งยืน และการพัฒนาอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน การร่วมมือกันในด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวัฒนธรรมการสื่อสาร และข้อมูล โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นสมาชิกลำดับที่ 49 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 195 ประเทศ ทั้งนี้ องค์การยูเนสโกเริ่มประกาศให้ประชาคมโลกร่วมเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ถูกเสนอโดยประเทศสมาชิกในปี พ.ศ. 2499 ถือเป็นการเชิดชูเกียรติคุณของบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิกที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีความโดดเด่นสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นแบบอย่างอันดีงามในด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านวัฒนธรรม สังคมศาสตร์ หรือการสื่อสาร ทั้งนี้
องค์การยูเนสโกจะแจ้งให้ประเทศสมาชิกเสนอชื่อบุคคลสำคัญหรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญที่ครบรอบ 50 ปี 100 ปี 150 ปี 200 ปี ในทุก 2 ปี
2. วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จะเป็นวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ซึ่งพระองค์ทรงประกอบพระกรณียกิจนานัปการด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ที่ “จะทำอะไรให้เมืองไทย” ทรงยึดมั่นในคุณค่าของมนุษย์และศักยภาพของการพัฒนา จึงทรงงานและทรงอุปถัมภ์กิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การแพทย์และสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านสัมพันธไมตรี การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ด้านการศาสนาและศิลปวัฒนธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและพสกนิกรชาวไทย และทรงเป็นเจ้านายฝ่ายในพระองค์แรกที่ทรงงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นระยะเวลา 13 ปี 10 เดือน ในฐานะ “สมเด็จพระอาจารย์”
3. อว. โดย มธ. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ร่วมกับกองทุนการกุศล “กัลยาณิวัฒนา” เห็นสมควรเฉลิมพระเกียรติคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้แผ่ไพศาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเผยแพร่พระกรณียกิจนานัปการตามพระปณิธานที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและมนุษชาติให้เป็นที่ประจักษ์อย่างแพร่หลาย ซึ่ง อว. ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอของ อว. |
การดำเนินงานของ อว. |
3.1 เห็นชอบให้รัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ |
- ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ดังนี้
1) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2566
2) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และขอพระราชทานพระมหากรุณาให้การจัดงานอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้การทั้งหลายสำเร็จลุล่วงด้วยดีและสมพระเกียรติยศ
3) ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยแบบตราสัญลักษณ์งานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
หมายเหตุ : ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้ราชเลขานุการในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ซึ่งกองกิจการในพระองค์ 904 แจ้งว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตามที่ขอพระราชทานพระมหากรุณาสำหรับแบบตราสัญลักษณ์การจัดงานดังกล่าว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย “แบบที่ 1” แล้ว |
3.2 เสนอพระนามให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2566 |
- ส่งเอกสารเสนอพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ [หน่วยงานประสานงานกับองค์การยูเนสโก สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)] เพื่อยื่นเสนอพระนามให้องค์การยูเนสโกต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติได้ประสานประเทศสมาชิกเพื่อขอเสียงสนับสนุนแล้ว เนื่องจากต้องได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ หรือ 1 กลุ่มภูมิภาค (ได้รับเสียงสนับสนุนแล้วจาก 6 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐฝรั่งเศส สมาพันธรัฐสวิส สหพันธรัฐรัสเซีย ราชอาณาจักรโมร็อกโก และสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์) |
3.3 แผนการดำเนินงานและกิจกรรมการเฉลิมฉลอง 3 ระยะ ได้แก่ แผนการดำเนินงานระยะสั้น – กลาง – ยาว โดยแบ่งการเฉลิมฉลองออกเป็น 1) ระดับกระทรวงต่าง ๆ และ 2) ระดับภาคประชาชน ภาคเอกชน และมูลนิธิต่าง ๆ ในพระอุปถัมภ์ โดยไม่ขอผูกพันงบประมาณ(ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2566)
|
จัดทำโครงการเตรียมงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ และกิจกรรมที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด/การดำเนินการ |
วัตถุประสงค์
โครงการ |
1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงพระประวัติ แนวพระดำริ พระวิสัยทัศน์ พระปณิธาน พระจริยวัตรในการประกอบพระกรณียกิจต่าง ๆ ผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ในพระอุปถัมภ์ และรวบรวมจัดทำเป็นรายงานวิจัยเรื่อง “พระประวัติ แนวพระดำริ และพระกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ”
2. เพื่อกำหนดแผนการเตรียมงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
3. เพื่อสืบสานและเผยแพร่พระกรณียกิจฯ ต่อสาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. เพื่อได้ข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้ประกอบการจัดทำเอกสารเสนอพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้องค์การยูเนสโกเฉลิมพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2566 (Portfolio) |
ประโยชน์
ที่จะได้รับ |
1. ได้รวบรวมข้อสนเทศจากหลักฐานลายลักษณ์และการบอกเล่าเกี่ยวกับพระประวัติ แนวพระดำริ และพระกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
2. ได้เผยแพร่พระกรณียกิจในสมด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ต่อสาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ได้เตรียมจัดทำเอกสารการเสนอพระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2566 (Portfolio) |
กลไก
การดำเนินงาน |
มธ. ได้มีคำสั่ง มธ. ที่ 73/2562 ลงวันที่ 21 มกราคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการฝ่ายวางแผน และคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ โดยมีท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ เช่น 1) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ 2) ประสานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน มูลนิธิ องค์กรที่เกี่ยวข้อง และ 3) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดองค์การยูเนสโกเพื่อเสนอพระนามให้องค์การยูเนสโกเฉลิมพระเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำปี พ.ศ. 2566 |
โครงการ/
กิจกรรมสำคัญ/
หน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เช่น |
1) การจัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ในด้านภาษาฝรั่งเศส ศึกษาในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม (อว. และ ศธ.) 2) การประชุม
วิชาการระดับชาติเรื่อง “กัลยาณิวัฒนาวิวิธ” เนื่องในโอกาสฉลอง 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) ผลิตสื่อและวีดิทัศน์เผยแพร่พระกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ กับงานด้านพัฒนาสังคม และสังคมสงเคราะห์ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) (พม.) 4) นิทรรศการเผยแพร่พระกรณียกิจด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส (อว. และ ศธ.) และ 5) นิทรรศการหรือสื่อการนำเสนอเกี่ยวกับ Education for All โดยใช้นิทรรศการหรือสื่อการนำเสนอที่ใช้ในกิจกรรม ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส มานำเสนอที่สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวาโดยจัดพิธีเปิดนิทรรศการในลักษณะงานเลี้ยงรับรองในช่วงการประชุม Human Rights Council ปี พ.ศ. 2566 (กระทรวงการต่างประเทศ อว. และ ศธ.) |
|
8. เรื่อง ขออนุมัติการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ตามนัยมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 7 รายการ (ภายใต้โครงการ จำนวน 4 โครงการ) วงเงินรวม 2,748.40 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ กษ. รับความเห็นของหน่วยงานไปดำเนินการ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. โครงการ ที่ กษ. เสนอมาในครั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ปีงบประมาณ
2565 |
ภาระผูกพันงบประมาณ
ปีต่อ ๆ ไป |
รวม |
ความพร้อมของโครงการ |
1. โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา1 ขออนุมัติ 2 รายการ ได้แก่ |
(1) ขุดคลองระบายน้ำหลากพร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 4 |
676.20 |
2,704.80
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568) |
3,381.00 |
- อยู่ระหว่างการขออนุญาตใช้พื้นที่จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
(2) ขุดคลองระบายน้ำหลาก พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 5 |
246.00 |
984.00
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567) |
1,230.00 |
รวมโครงการที่ 1 |
922.20 |
3,688.80 |
4,611.00 |
2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย1 ขออนุมัติ 1 รายการ ได้แก่ |
ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำหนองสองห้อง |
228.00 |
912.00
(ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 - 2567) |
1,140.00 |
- อยู่ระหว่างการขออนุญาตใช้พื้นที่ที่อยู่ในเขตสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
รวมโครงการที่ 2 |
228.00 |
912.00 |
1,140.00 |
3. โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี1
ขออนุมัติ 1 รายการ ได้แก่ |
ปรับปรุงคลองระบายน้ำหลาก D1 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 1 |
772.00 |
3,088.00
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569) |
3,860.00 |
- อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมด้านการรังวัดปักหลักเขต |
รวมโครงการที่ 3 |
772.00 |
3,088.00 |
3,860.00 |
4. โครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ – หนองค้อ – บางพระ จังหวัดชลบุรี2 ขออนุมัติ 3 รายการ ได้แก่ |
(1) ระบบท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ – อ่างเก็บน้ำหนองค้อ – อ่างเก็บน้ำบางพระ สัญญาที่ 1 |
275.60 |
1,102.40
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567) |
1,378.00 |
- อยู่ระหว่างการขออนุญาตใช้พื้นที่จากหน่วยงานท้องถิ่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท |
(2) ระบบท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ – อ่างเก็บน้ำหนองค้อ – อ่างเก็บน้ำบางพระ สัญญาที่ 2 |
275.20 |
1,100.80
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 |
1,376.00 |
(3) ระบบท่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ – อ่างเก็บน้ำหนองค้อ – อ่างเก็บน้ำบางพระ สัญญาที่ 3 |
275.40 |
1,101.60
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567 |
1,377.00 |
รวมโครงการที่ 4 |
826.20 |
3,304.80 |
4,131.00 |
รวมก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จำนวน 7 รายการ |
2,748.40 |
10,993.60 |
13,742.00 |
- |
1 โครงการที่ 1 – 3 เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติ/รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินโครงการแล้ว
2 โครงการที่ 4 เป็นโครงการที่เสนอมาใหม่ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ภายใต้กรอบวงเงิน 9,500 ล้านบาท และมีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2567)
9. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการโครงการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 3 หน่วยงาน รวม 12 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 21,814.7800 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. รับความเห็นหน่วยงานไปดำเนินการ
สาระสำคัญ
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีความประสงค์จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณ สำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จำนวน 3 หน่วยงาน รวม 12 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 21,814.7800 ล้านบาท ดังนี้
หน่วยงาน/โครงการ |
วงเงินทั้งสิ้น
(ล้านบาท) |
ผูกพัน (ปี) |
สอดคล้อง
ยุทธศาสตร์ |
1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 1 โครงการ |
1,862.4760 |
|
|
โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับกองทัพบกในการจัดหาอากาศยานปีกหมุน (Helicopter) เพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสาธารณภัย (ระยะที่ 3) จำนวน 2 ลำ
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,862.4760 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน - ล้านบาท |
1,862.4760 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
1. ด้านความมั่นคง |
2. การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 3 โครงการ |
4,317.6040 |
|
|
2.1 งานก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพัทยา-แหลมฉบัง-ศรีราชา อำเภอบางละมุง-สัตหีบ-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,125.0000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 375.0000 ล้านบาท |
1,500.0000 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน |
2.2 งานก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชลบุรี-พนัสนิคม-(พานทอง)-(ท่าบุญมี) ระยะที่ 2 อำเภอชลบุรี-พานทอง จังหวัดชลบุรี
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,275.0000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 425.0000 ล้านบาท |
1,700.0000 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
2.3 งานก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเพชรบูรณ์-หล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์-หล่มสัก-หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะที่ 1
- เงินงบประมาณ วงเงิน 838.2030 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 279.4010 ล้านบาท |
1,117.6040 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
5. ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
3. กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 โครงการ |
15,634.7000 |
|
|
3.1 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 4 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากแยกสะพานแดง ถึงถนนกำแพงเพชร
- เงินงบประมาณ วงเงิน 550.0000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 550.0000 ล้านบาท |
1,100.0000 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม |
3.2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 5 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งพระนครจากถนนกำแพงเพชร ถึงถนนพหลโยธิน
- เงินงบประมาณ วงเงิน 512.5000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 512.5000 ล้านบาท |
1,025.0000 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
3.3 โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,000.0000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน - ล้านบาท |
1,000.0000 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
3.4 โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. (สมอยึดด้านหลัง) คลองบางไผ่ จากบริเวณคลองพระยาราชมนตรีถึงบริเวณสุดเขต กทม.
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,028.3000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน - ล้านบาท |
1,028.3000 |
4 ปี
(ปี 2565 - 2568) |
3.5 โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล พร้อมระบบรวบรวมน้ำเสียคลองแสนแสบ จากบริเวณประตูระบายน้ำมีนบุรีถึงบริเวณประตูระบายน้ำหนองจอก
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,799.9000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน - ล้านบาท |
1,799.9000 |
5 ปี
(ปี 2565 - 2569) |
3.6 โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. คลองบางนาจากคลองเคล็ดถึงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,981.5000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน - ล้านบาท |
1,981.5000 |
4 ปี
(ปี 2565 - 2568) |
3.7 โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย
- เงินงบประมาณ วงเงิน 3,000.0000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 3,000.0000 ล้านบาท |
6,000.0000 |
5 ปี
(ปี 2565 - 2569) |
3.8 โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อจากถนนรัชดาภิเษกถึงคลองลาดพร้าว
- เงินงบประมาณ วงเงิน 1,700.0000 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ วงเงิน - ล้านบาท |
1,700.0000 |
3 ปี
(ปี 2565 - 2567) |
รวมทั้งสิ้น 12 โครงการ |
21,814.7800 |
|
|
10. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2563 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.
ภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจ
1.1
เศรษฐกิจโลก การทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศส่งผลให้
เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ ดังนั้น กนง. จึงปรับเพิ่มข้อสมมติอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยประเมินว่าจะหดตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2563 และ
กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 ในปี 2564 ทั้งนี้
ภาครัฐทั่วโลกได้ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเต็มที่เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 โดยมุ่งเน้นมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและมาตรการดูแลภาคครัวเรือนและการจ้างงาน ส่วนธนาคารกลางกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง ขณะที่ธนาคารกลางในภูมิภาคบางแห่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม
1.2
เศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย สรุปได้ดังนี้
1.2.1
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวรุนแรงร้อยละ 12.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อนตามอุปสงค์ต่างประเทศและในประเทศที่หดตัวจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักชั่วคราว เช่น ภาคการผลิตเกือบทุกอุตสาหกรรมหดตัวตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าของไทยและปริมาณการค้าโลกที่ลดลงมาก และการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตเนื่องจากการขนส่งระหว่างประเทศหยุดลงชั่วคราว
1.2.2
เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2563 เศรษฐกิจไทย
ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
การบริโภคภาคเอกชนเริ่มทยอยฟื้นตัวแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำตามรายได้ครัวเรือนที่ลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอและหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
การลงทุนภาคเอกชนมีการหดตัวตามความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี
การใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
1.2.3
เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 7.8เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดทั้งในและต่างประเทศ
การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ในส่วนการ
ส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.2โดยการส่งออกไปอาเซียนและตะวันออกกลางยังอยู่ในระดับต่ำตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าขณะที่การส่งออกไปกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและจีนเริ่มทยอยฟื้นตัว
1.2.4
เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยคาดว่า
การส่งออกจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าเนื่องจากคาคว่าจะเปิดรับนักท่องเที่ยวได้จำกัด (จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 9 ล้านคน)
ด้านอุปสงค์ในประเทศการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ในส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวแต่ยังมีปัจจัยฉุดรั้งจากหนี้ครัวเรือนสูง รวมถึงรายได้ครัวเรือนที่เปราะบางและไม่แน่นอนสูง โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณผู้ว่างงานและผู้เสมือนว่างงานที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน อยู่ในระดับสูง และผู้มีงานทำมีรายได้ลดลงจากค่าจ้างและค่าล่วงเวลาที่ลดลง
1.2.5
ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2563 และ 2564 เกินดุล 14.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและ 14.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ โดยเกินดุลลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนเนื่องจากดุลบริการขาดดุลมากขึ้นตามรายรับนักท่องเที่ยวที่ลดลงมากเป็นสำคัญ
1.2.6
ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงกว่าที่ประเมินไว้ ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ทยอยปรับสูงขึ้นตามปริมาณความต้องการใช้น้ำมันที่สูงขึ้นและราคากลุ่มอาหารที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทาน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากมาตรการลดค่าสาธารณูปโภคมีผลน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดย
กนง. ได้ปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้ติดลบน้อยลงมาอยู่ที่ติดลบร้อยละ 0.9 ในปี 2563 และ
กลับมาเป็นบวกใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 1.0 ในปี 2564 ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2563 และ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ
1.3
เสถียรภาพระบบการเงินไทยยังมีความเสี่ยงสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมากในปีนี้จากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบางและมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อเชิงรุกของภาครัฐที่ได้ดำเนินการไป รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมที่ตรงจุดมากขึ้น เช่น โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจธุรกิจไทยมั่นคง และมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อยโดยการรวมหนี้ จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
2.
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ในการประชุม กนง.เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 และวันที่ 23 กันยายน 2563 ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้ กนง. เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปี มาตรการการคลังของรัฐบาลมาตรการการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม ได้ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม กนง. เห็นว่า
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ถึงจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่แตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจและผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม
ภาครัฐจึงควรใช้มาตรการที่ตรงจุด ทันการณ์ และเอื้อให้เกิดการปรับตัวอย่างเหมาะสม รวมทั้งบูรณาการมาตรการให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้งนี้ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนนโยบายการคลังผ่านต้นทุนการกู้ยืมในตลาดการเงินที่อยู่ในระดับต่ำภายใต้สภาพคล่องในตลาดการเงินที่มีอยู่สูง
11. เรื่อง รายงานผลการให้บริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 และประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ของการรถไฟแห่งประเทศไทยและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการให้บริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 และประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่การกระทรวงคมนาคมแล้ว และในคราวประชุมคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 และครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติรับทราบและมีข้อสังเกตเกี่ยวกับรายงานผลการให้บริการสาธารณะดังกล่าวข้างต้น (เป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554 ข้อ 14 ซึ่งกำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานผลการให้บริการสาธารณะตามที่กำหนดในบันทึกข้อตกลง เพื่อเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะกรรมการฯ แล้วนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. บันทึกข้อตกลงการให้บริการสาธารณะ (บันทึกข้อตกลงฯ) ของ รฟท. และ ขสมก. กำหนดดังนี้
1.1 บันทึกข้อตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของ ขสมก. และ รฟท.ข้อ 7.1.2 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานผลฯ ประจำปี 2562 เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะกรรมการฯ ดังนี้
1) รฟท. ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีงบประมาณ 2562
2) ขสมก. ภายใน 45 วัน หลังจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรับรองงบการเงินประจำปี 2562 แล้วเสร็จ
1.2 บันทึกข้อตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2563 ของ รฟท. และ ขสมก.ข้อ 8.1.1 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานผลฯ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอคณะกรรมการฯ ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดรอบการดำเนินงานงวดครึ่งปี ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจไม่สามารถดำเนินการได้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณารวบรวมผลไว้จ่ายตอนสิ้นปี
2. รายงานผลฯ ประจำปีงบประมาณ 2562 และประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ของ รฟท. และ ขสมก. คณะกรรมการฯ มีมติสรุปได้ ดังนี้
2.1
รฟท.
1)
รับทราบรายงานผลฯ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของ รฟท. ซึ่งมีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ จำนวน 2,893.642 ล้านบาท และให้ รฟท. เบิกจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะปีงบประมาณ 2562 ในส่วนที่เหลือ (งวดที่ 2 และ 3) จำนวน 1,219.577 ล้านบาท
2)
รับทราบรายงานผลฯ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ของ รฟท. ซึ่งมีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะ จำนวน 1,494.620 ล้านบาท และให้ รฟท. นำผลการดำเนินการประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ไปรวบรวมจ่ายตอนสิ้นปี เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ 2563
2.2
ขสมก.
1)
รับทราบรายงานผลฯ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของ ขสมก. ซึ่งมีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะจำนวน 2,255.717 ล้านบาท และให้ ขสมก. เบิกจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 งวดที่ 3 จำนวน 524.949 ล้านบาท
2)
รับทราบรายงานผลฯ ประจำงวดครึ่งปีงบประมาณ 2563 ของ ขสมก. ซึ่งมีผลการขาดทุนจากการให้บริการสาธารณะจำนวน 996.499 ล้านบาท และให้ ขสมก. เบิกจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 งวดที่ 2 จำนวน 355.131 ล้านบาท
2.3
คณะกรรมการฯ มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานของ รฟท. และ ขสมก. ดังนี้
หน่วยงาน |
ความเห็นของคณะกรรมการฯ |
ขสมก. และ รฟท. |
หากในระหว่างปีเกิดเหตุสุดวิสัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐวิสาหกิจที่ขอรับ
เงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เห็นควรกำหนดเป็นแนวทางให้รัฐวิสาหกิจสามารถนำเสนอสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นพร้อมรายละเอียดเหตุผลสนับสนุนในการขอปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัดหรือค่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงฯ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาภายในสิ้นปีงบประมาณนั้น ๆ ต่อไป |
รฟท. และกระทรวงคมนาคม (คค.) |
ให้ปรับปรุงการบริหารจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการให้บริการสาธารณะ รวมถึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการจัดทำและการเก็บข้อมูล เอกสารหลักฐานการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และการจัดส่งเอกสารหลักฐานให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้การรายงานผลฯ ของ รฟท. มีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสม ทั้งนี้ เห็นควรให้ คค. กำกับติดตามการดำเนินการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะและการดำเนินการรายงานผลฯ ของ รฟท. ให้เป็นไปตามระเบียบเงินอุดหนุนฯ อย่างเคร่งครัดต่อไป |
ขสมก. |
· ควรกำหนดวิธีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการให้สามารถเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ ในแต่ละปีได้ รวมถึงนำผลการสำรวจดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในอนาคต เนื่องจากในปีงบประมาณ 2562 ขสมก. มีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด
· ควรวิเคราะห์ต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการเดินรถโดยสารให้ชัดเจน และดำเนินการแก้ไขเพื่อให้สามารถลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุต่อไป |
12. เรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือเกษตกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตฤดูการผลิตปี 2562/2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ รายงานผลการดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (21 เมษายน 2563) เรื่อง โครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ที่ให้เสนอผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. โครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตฤดูการผลิตปี 2562/2563 กรอบวงเงินช่วยเหลือ 10,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) วงเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเข้าโรงานทุกรายที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 จำนวน 6,500 ล้านบาท และ 2) วงเงิน
ช่วยเหลือเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานทุกตันอ้อย จำนวน 3,500 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้จ่ายงินช่วยเหลือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 วงเงิน 6,500 ล้านบาท นำไปช่วยเหลือชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตในอัตราตันละ 85 บาท รายละไม่เกิน 5,000 ตัน โดยจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกชาวไร่อ้อย จำนวน 190,104 ราย วงงินรวม 6,321.99 ล้านบาท ปริมาณอ้อยที่ได้รับการช่วยเหลือ 74.38 ล้านตัน
1.2 วงเงิน 3,500 ล้านบาท นำไปช่วยหลือเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานทุกตันอ้อยในอัตราตันละ 92 บาท จ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย จำนวน 133,519 ราย วงเงินรวม 3,457.49 ล้านบาท ปริมาณอ้อยสดที่ได้รับการช่วยเหลือ 37.58 ล้านตัน
ทั้งนี้ ชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น จำนวน 190,104 ราย วงเงินที่จ่ายช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น จำนวน 9,779.48 ล้านบาท วงเงินคงเหลือจำนวน 220.52 ล้านบาท
2. การช่วยเหลือปัจจัยการผลิตเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2562/2563 ส่งผลให้สามารถลดพื้นที่การเผาอ้อย 1.2 ล้านไร่ ปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงคิดเป็นร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2561/2562 อยู่ที่ร้อยละ 61.11 โดยในฤดูการผลิตปี 2562/2563 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวมทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน
ประกอบด้วย ปริมาณอ้อยสด 37.71 ล้านตัน และปริมาณอ้อยไฟไหม้ 37.18 ล้านตัน (หรือคิดเป็นร้อยละ 50.35 และ 49.65 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดตามลำดับ) นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้นและช่วยลดปัญหามลพิษที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาตเล็ก (PM
2.5) ด้วย
13. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ผลการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 มาตรา 11 (3) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการฯ เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การดำเนินงานที่สำคัญภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) คณะกรรมการฯ ได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น
1.1
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยได้เปิดให้บริการโครงข่ายเน็ตประชารัฐไปยังบ้านเรือนประชาชนทั่วประเทศแล้ว จำนวน 255,660 สมาชิก (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2563) รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน ดังนี้
การดำเนินการ |
ดำเนินการแล้วเสร็จ |
การจัดหาอุปกรณ์เพิ่มความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนเชื่อมต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ขนาดความจุรวม 2,300 Gbps |
ร้อยละ 99 |
การขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ |
ร้อยละ 100 |
การสร้างโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเส้นใหม่ รวม 200 Gbps ซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลงเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 และจะก่อสร้างแล้วเสร็จในอีก 32 เดือน (ภายในปีงบประมาณ 2565) |
ร้อยละ 48 |
1.2
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยดำเนินโครงการ Village e-Commerce เพื่อศึกษาวิจัยบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดิจิทัลชุมชนกับการสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและให้ความรู้แก่ประชาชนและ
ผู้ประกอบการในชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้าขายในรูปแบบออนไลน์ ทั้งนี้ ประเทศไทย (ไทย) ถูกจัด
อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศ ซึ่งดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ
1.3
การขับเคลื่อนสังคมดิจิทัล เช่น การพัฒนาระบบส่งข้อมูลสัญญาณชีพของผู้ป่วยและปรึกษาทางไกลระบบ Stroke Pre-Screening ผ่านรถโมบายสโตรคยูนิตเพื่อเพิ่มโอกาสของการเข้าถึงการรักษาและบรรเทาอาการของคนไข้ การจัดทำแพลตฟอร์มกลางในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ โดยมีโรงพยาบาลนำร่อง 100 แห่ง การพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะเพื่อนำมาใช้ในการผลิตยาและวัคซีน และการพัฒนาระบบ
สารสนเทศเพื่อสนับสนุนระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
1.4
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล เช่น โครงการพัฒนาและทดสอบระบบอากาศยานเพื่อตรวจการณ์และเฝ้าระวังพื้นที่ชายฝั่งด้วยระบบถ่ายทอดข้อมูลความเร็วสูงผ่านสัญญาณ 5G และระบบตรวจจับและระบุตำแหน่งเรืออัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีการทดสอบใช้งานในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และท่าเรือแหลมฉบัง และการพัฒนาบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จผ่านช่องทางเดียว (One Stop Service 4.0) เพื่อให้ประชาชนสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลและบริการของภาครัฐ
1.5
การพัฒนากำลังคนดิจิทัล โดยได้ดำเนินการฝึกอบรมให้เกษตรกรมีทักษะการใช้โดรนและพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์ม ใน 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับให้เกษตรกร และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลเกาะลิบง
1.6
การสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยได้จัดตั้งศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center เพื่อทดสอบระบบ 5G ในด้านต่าง ๆ
2.
ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการภายใต้พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการฯ ได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หลักเกณฑ์การให้บริการโครงข่ายแบบเปิดในการใช้โครงข่ายเน็ตประชารัฐ การจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และความคืบหน้การควบรวมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
3.
(ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. .... คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ไทยมีองค์กรกลางในการกำหนดนโยบายและแผนกิจการอวกาศของประเทศในภาพรวมอย่างมีเอกภาพ และให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนทศ (องค์การมหาชน) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
4.
แนวปฏิบัติจริยธรมปัญญาประดิษฐ์ คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบแนวปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งมีองค์ประกอบ เช่น ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ ความมั่นคงและความเป็นส่วนตัว และความเท่าเทียมหลากหลาย ครอบคลุม และเป็นธรรม และเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
5.
ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการฯ มีมติรับทราบร่างงบประมาณรายจ่ายดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 6,509.434 ล้านบาท และมีข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ เช่น การดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และการตั้งงบประมาณรายจ่ายสำหรับเรื่องการจัดระเบียบสายสื่อสาร
14. เรื่อง รายงานผลดำเนินงานตามมาตรการลดภาระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางเมื่อสิ้นสุดโครงการ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562-23 มิถุนายน 2563 ระยะเวลารวม 1 ปี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ รายงานผลดำเนินงานตามมาตรการลดภาระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เมื่อสิ้นสุดโครงการ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562-23 มิถุนายน 2563 ระยะเวลารวม 1 ปี เพื่อนำไปประเมินผลและความคุ้มค่าในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ซึ่งพระราชบัญญัติวินัยการงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 วรรคสาม บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ จัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำแผนงาน
เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณจนกว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รายละเอียดมาตรการลดภาระค่าธรรมเนียมฯ [ตามมติคณะรัฐมนตรี (7 พฤษภาคม 2562)]
หัวข้อ |
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข |
1. หลักการ |
เพื่อสนับสนุนประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงนักโดยการลดภาระให้กับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัย เช่น กลุ่มคนวัยทำงานหรือประชาชนที่กำลังเริ่มสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งเป็นการช่วยกระตุ้นตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยและภาคอสังหาริมทรัพย์ของประเทศได้อีกทางหนึ่ง |
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย |
ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหน่วย โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง |
3. มาตรการฯ |
1. ลดการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดจากเดิมร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์เหลือร้อยละ 0.01
2. ลดการเรียกเก็บค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดจากเดิม ร้อยละ 1 ของมูลค่าที่จำนองเหลือร้อยละ 0.01 |
4. ระยะเวลาโครงการ |
ระยะเวลา 1 ปี ให้มีผลตั้งแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทย (ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562-23 มิถุนายน 2563) |
5. ประมาณการสูญเสียรายได้ รวม (ล้านบาท) |
ไตรมาส 4/2562 |
ไตรมาส 1/2563 |
ไตรมาส 2/2563 |
ไตรมาส 3/2563 |
รวม 1 ปี |
510 |
340 |
340 |
510 |
1,700 |
2. การเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำ แผนงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2562-23 มิถุนายน 2563 ระยะวลารวม 1 ปี ตามมาตรา 27 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สรุปได้ ดังนี้
มาตรการ |
เป้าหมาย
(12 เดือน) |
ผลการดำเนินงาน (12 เดือน) |
ผลการดำเนินงานสูง (ต่ำ) กว่าเป้าหมาย |
จำนวนราย |
รายได้ที่รัฐสูญเสีย (ลบ.) |
จำนวนราย |
รายได้ที่รัฐสูญเสีย (ลบ.) |
จำนวนราย |
รายได้ที่รัฐสูญเสีย |
1) ลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ |
58,340 |
1,150.000 |
111,635 |
1,235.113 |
91.35% |
7.40% |
2) ลดค่าจดทะเบียนการจำนองฯ |
58,340 |
550.000 |
46,976 |
277.254 |
(19.48)% |
(49.59)% |
รวม |
116,680 |
1,700.000 |
158,611 |
1,512.367 |
35.94% |
(11.04)% |
หมายเหตุ กระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดิน) จัดส่งข้อมูลการสูญเสียรายได้ของรัฐและจำนวนประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่เข้าถึงกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยฯ ดังกล่าว
2.1 ผลการดำเนินงานตามมาตรการฯ เมื่อสิ้นสุดโครงการ ระยะเวลา รวม 1 ปี สามารถช่วยลดภาระและเพิ่มกำลังซื้อให้แก่กลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่ไม่สูงมากนัก และมีความสามารถในการผ่อนชำระได้สามารถตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้เร็วขึ้น และได้เข้าถึงในกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย
จำนวน 111,635 ราย สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 91.35 ของเป้าหมายรวม 12 เดือน จำนวน
58,340 ราย
2.2 ผลกระทบต่อรายได้การเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งเป็นรายได้ของรัฐ โดยกรมที่ดินป็นผู้จัดเก็บให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ลดลง เมื่อสิ้นสุดโครงการ ระยะเวลารวม 1 ปี
จำนวน 1,512.367 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 11.04 จากการคาดการณ์ที่รัฐต้องสูญเสียรายได้จำนวน 1,700 ล้านบาท
2.3 การเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากเป็นมาตรการทางสังคมและให้ประโยชน์เฉพาะเจาะจงสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย และเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์จะส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมเพิ่มขึ้น มีเงินหมุนเวียนไปยังห่วงโซ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ทั้งทางด้านการจ้างงานและการบริโภค ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้นซึ่งจะทำให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาษีอื่น ๆ ที่รัฐจัดเก็บและจัดสรรให้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ผลรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมที่เพิ่มขึ้นจะสามารถสร้างเป็นรายได้กลับคืนมาเพื่อมาชดเชยกับรายได้งบประมาณที่สูญเสียไปจากการดำเนินมาตรการฯ ดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง
15. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนพฤศจิกายน
2563 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง
1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนพฤศจิกายน 2563 ดังนี้
ภาพรวม
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพฤศจิกายน 2563 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ลดลงร้อยละ 0.41 (YoY) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการหดตัวในอัตราน้อยที่สุดในรอบ 9 เดือน ตามราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ จากความต้องการทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาฐานปีที่ผ่านมาต่ำ ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานยังคงหดตัว แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยหดตัวน้อยที่สุดในรอบ 9 เดือน นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับความต้องการ การส่งเสริมการขายและปริมาณผลผลิต เป็นสำคัญ ส่วน
เงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อทั่วไปที่หักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว)
สูงขึ้นร้อยละ 0.18 (YoY)
เงินเฟ้อในเดือนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งมาตรการด้านการท่องเที่ยว และมาตรการสนับสนุนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ส่งผลดีต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ทิศทางของเงินเฟ้อที่ดีขึ้นดังกล่าว สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์และอุปทานในประเทศ โดยเฉพาะรายได้เกษตรกร ที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ รวมทั้งปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่เครื่องชี้ด้านอุปทานมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่หดตัวน้อยลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป)
เดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ลดลงร้อยละ 0.41 (YoY) ตามการลดลงของ
สินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 1.64 ได้แก่
หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 4.18 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ลดลงร้อยละ 13.30 ตามการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท
หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ ลดลงร้อยละ 0.24 (ค่าทัศนาจร ค่าห้องพักโรงแรม)
หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.18 (เสื้อยืดบุรุษ เสื้อเชิ้ต เสื้อยกทรง)
หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 0.15 (ก๊าซหุงต้ม ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ขณะที่
หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.04 และ 0.08 ตามลำดับ สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.70 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 3.85 โดยเฉพาะเนื้อสุกร เนื่องจากการขยายตัวของตลาดส่งออก ผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 7.74 โดยเฉพาะผักสดสูงขึ้นร้อยละ 17.28 จากการสูงขึ้นของผักสดเกือบทุกชนิด ผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 1.0 (ฝรั่ง ทุเรียน องุ่น) เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 2.46 (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) ซอสหอยนางรม) ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.18 (ไข่ไก่ นมผง) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.14 (น้ำอัดลม กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม) รวมทั้งอาหารบริโภค-ในบ้านและอาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.32 และ 0.70 ตามลำดับ สำหรับสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ปรับราคาลดลงร้อยละ 3.39 (ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า)
ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2563
ลดลงร้อยละ 0.04 (MoM) และเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.- พ.ย.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ลดลงร้อยละ 0.90 (AoA)
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
ลดลงร้อยละ 0.9 (YoY) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมยังคงขยายตัวได้ดี และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหดตัวน้อยลง สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดด้านอุปทานที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งดัชนีราคาสินค้าเกษตร ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต โดย
หมวดผลผลิตเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 6.7 ได้แก่ กลุ่มผลผลิตการเกษตร (ผลปาล์มสด ยางพารา) ความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากมาตรการของภาครัฐ และการขยายตัวของการผลิตถุงมือยางและยางยืด มะพร้าวผล อ้อย พืชผัก (มะนาว มะเขือ พริกสด) และผลไม้ (องุ่น กล้วยน้ำว้า สับปะรดโรงงาน) เนื่องจากผลผลิตลดลงจากภัยแล้งในช่วงครึ่งปีแรก กลุ่มสัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ (สุกรมีชีวิต ไข่ไก่ ไข่เป็ด) กลุ่มปลาและสัตว์น้ำ (ปลาทูสด ปลาลัง ปลาหมึกกล้วย และกุ้งแวนนาไม) ตามความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับสินค้าที่ปรับลดลงตามราคาในตลาดโลกเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ได้แก่
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 1.1 จากการลดลงของกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์) กลุ่มเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษ (กระดาษพิมพ์เขียน เยื่อกระดาษ) กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ไม้ยางพารา) กลุ่มสิ่งทอ (สิ่งทอจากใยสังเคราะห์) กลุ่มเครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และอิเล็กทรอนิกส์ ปรับลดลงตามราคาวัตถุดิบ และ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 23.1 ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และก๊าซธรรมชาติ
ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2563
ลดลงร้อยละ 0.5 (MoM) และเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ลดลงร้อยละ 1.9 (AoA)
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
สูงขึ้นร้อยละ 0.4 (YoY) สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อนหน้า ตามต้นทุนวัตถุดิบและความต้องการที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น
หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 2.0 (กระเบื้องแกรนิต กระเบื้องยางพีวีซีปูพื้น) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุน
หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 0.9 (ท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์พีวีซี ท่อพีวีซี)
หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.3 (สีเคลือบน้ำมัน สีรองพื้นโลหะ)
หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ตามราคายางมะตอยที่ได้ลดกำลังการผลิตตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา
หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และหมวดสุขภัณฑ์ สูงขึ้นเท่ากันที่ร้อยละ 0.1 (บานประตู วงกบหน้าต่าง กระจกเงา)
ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ลดลงร้อยละ 2.2 (ชีทไพล์คอนกรีต ถังซีเมนต์สำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง) และ
หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.3 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์) เนื่องจากภาคการก่อสร้างยังคงซบเซา
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2563
สูงขึ้นร้อยละ 0.2 (MoM) และเฉลี่ย 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ลดลงร้อยละ 2.0 (AoA)
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤศจิกายน 2563 ปรับตัวดีขึ้น อยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ 44.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 36.4 มาอยู่ที่ระดับ 38.5 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตที่ปรับตัวดีขึ้น จากระดับ 50.1 มาอยู่ที่ระดับ 51.5 และอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 (สูงกว่าระดับ 50) สาเหตุสำคัญคาดว่าน่าจะมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ของภาครัฐที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง และความกังวลต่อการระบาดของโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลงตามลำดับ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศเพื่อนบ้าน และความขัดแย้งทางการเมืองจากหลายฝ่ายยังยืดเยื้อ เป็นปัจจัยกดดันที่ส่งผลทางลบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
2. สรุปสถานการณ์เงินเฟ้อและแนวโน้ม
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธันวาคม 2563 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังคงหดตัว แต่ในอัตราที่น้อยลง โดยสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ราคาน้ำมันเริ่มทรงตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น ราคาสินค้าเกษตรและอาหารสดที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่องตามความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในหลากหลายรูปแบบที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อชดเชยรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เสี่ยงต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทั้งนี้
คาดว่าเงินเฟ้อทั้งปี 2563 จะอยู่ที่ร้อยละ - 0.87 ± ไม่เกิน 0.02 ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ - 1.5 ถึง - 0.7
16. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
สาระสำคัญ
1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ร้อยละ 3.0 – 4.0
- อัตราเงินเฟ้อ (GDP Deflator) ร้อยละ 0.7 – 1.7
วงเงินและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,100,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 185,962.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.66 ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(1)
รายจ่ายประจำ จำนวน 2,354,403.3 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 183,249 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.22 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.95 ของวงเงินงบประมาณ
(2)
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 596.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.02 ของวงเงินงบประมาณ
(3)
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย จำนวน 25,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.81 ของวงเงินงบประมาณ
(4)
รายจ่ายลงทุน จำนวน 620,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.00 ของวงเงินงบประมาณ
(5)
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.22 ของวงเงินงบประมาณ
2)
รายได้สุทธิ จำนวน 2,400,000 ล้านบาท ลดลงจากประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามเอกสารงบประมาณ จำนวน 277,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 10.35
3)
งบประมาณขาดดุล จำนวน 700,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 91,037.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.95 คิดเป็นร้อยละ 4.04 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
2. การมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
1) การลงทุนของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ควรพิจารณาให้ครอบคลุมการลงทุนจากทุกแหล่งเงิน ประกอบด้วย การลงทุนจากเงินงบประมาณของภาครัฐ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และการลงทุนโดยใช้เงินจากกองทุน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) และการลงทุนจากต่างประเทศ
2) ควรมีการกำหนดเงื่อนไขของการใช้ง่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะการใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นการโอนเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เช่น การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากับผู้ถูกเลิกจ้างหรือผู้ที่อยู่ระหว่างหางานทำ ควรมีการกำหนดเงื่อนไขให้มีการฝึกอบรมทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ถูกเลิกจ้างในการหางานทำต่อไป และทำให้การใช้ง่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3) เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพของประเทศและความยั่งยืนในระยะต่อไปตามแผนการคลังระยะปานกลาง จึงเห็นควรให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนมากขึ้น และชะลอรายจ่ายประจำที่สามารถดำเนินการได้
17. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอว่า
1.
เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 8) ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 และสิ้นสุดในวันที่ 15 มกราคม 2564 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศ
2.
การดำเนินการที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 1/2564 ได้จัดการประชุมเพื่อประเมินความเหมาะสมในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 สรุปผลการประชุม ดังนี้
2.1 ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในภาพรวมทั่วโลก ยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงในหลายภูมิภาค โดยปัจจุบันประเทศหลายประเทศในทวีปยุโรปได้กลับมาใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดอีกครั้ง นอกจากนี้จากการประเมินขององค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะรุนแรงมากขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก
2.2 สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ปัจจุบันได้เกิดการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ภายในประเทศเป็นวงกว้างและกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวันทั้งจากคนไทยและแรงงานต่างด้าว ประกอบกับมีการเดินทางของผู้ติดเชื้อซึ่งโดยส่วนใหญ่ ยังไม่ปรากฏอาการของโรค จนเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนและอาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ในกลุ่มผู้ป่วยหนัก นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้ติดเชื้อบางส่วนปกปิดข้อมูลการเดินทางทำให้ขั้นตอนการสอบสวนโรคเกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน จนส่งผลให้เกิดเป็นการระบาดระลอกใหม่ขึ้นเป็นวงกว้างทั่วประเทศ
2.3
มติของที่ประชุม ที่ประชุมเห็นพ้องว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคและมาตรการทางสังคมที่เข้มข้นและรวดเร็ว รวมทั้งต้องมีการกำกับดูแล และบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการกำกับดูแลระบบสาธารณสุขของประเทศ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตของประชาชน รวมทั้งจะต้องมีระบบการบริหารจัดการวิกฤติการณ์ในลักษณะการรวมศูนย์ที่มีการบูรณาการกำลังจากพลเรือน ตำรวจ และทหารเข้าร่วมปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง และมีมติให้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต่อไป
18. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 1/2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ ดังนี้
สรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ
1. ข้อกำหนดและประกาศที่เกี่ยวข้อง
1.1 ที่ประชุมรับทราบคำสั่งและข้อกำหนด จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้
(1) คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 39/2563 เรื่อง การจัดโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)
(2) คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ 1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
(3) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15)
(4) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 16)
1.2 ที่ประชุมมีมติและข้อสังเกต ดังนี้
(1) ควรให้การพิจารณาประกาศพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง
ตามสถานการณ์และความรุนแรงของการแพร่ระบาด โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมพื้นที่
ในรูปแบบเดียวกันทั่วทั้งจังหวัด
(2) ควรให้มีข้อกำหนดมาตรการด้านสาธารณสุข และเน้นย้ำมาตรการ D-M-H-T-T รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันและทำลายเชื้อในอากาศ และให้กำหนดเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข อันเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาด โดยอาจพิจารณาให้มีมาตรการลงโทษตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดของโรค
(3) การกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและดำเนินมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่ยังคงมีความสำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีข้อขัดข้องในการสอบสวนโรคและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด เป็นต้น และควรดำเนินมาตรการ ตั้งจุดตรวจคัดกรองการเดินทางเข้า – ออก พื้นที่อย่างเข้มข้น และให้ผู้ที่เดินทางเข้าออกติดตั้งระบบติดตามตัวเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว
(4) ควรรณรงค์ให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ ซึ่งเหมาะกับสถานประกอบการ และแอปพลิเคชันหมอชนะ ซึ่งมีระบบติดตามตัวบุคคล (Tracking) เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนโรค ขณะนี้พร้อมใช้งานแล้วประมาณ 20 ล้านคน และสามารถขยายได้ถึง 40 ล้านคน
(5) ที่ประชุมมีมติให้กรณีการจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ในเขต กทม. ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรคโดยคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. จะกำหนดให้เป็นลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่น และให้กำหนดห้ามนั่งบริโภคในร้านภายหลังเวลา 21.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมสถานประกอบกิจการให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคที่กำหนด และพิจารณามาตรการในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการ ลูกจ้าง และประชาชนมากจนเกินไป
2. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ฯ ดังนี้
2.1 สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อ รวมทั้งสิ้น 85,502,232 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมาก 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 134 จาก 216 ประเทศทั่วโลก
2.2 สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ณ วันที่ 4 มกราคม 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 745 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 152 ราย การคัดกรองเชิงรุกผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว 577 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด 16 ราย ปัจจุบันมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 8,439 ราย หายป่วยแล้ว 4,352 ราย และเสียชีวิต 65 ราย
2.3 ข้อเสนอยกระดับการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 จากแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด - 19 เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าระยะ 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ จะมีการแพร่กระจายของเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างเด็ดขาด จึงจำเป็นต้องยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคและมาตรการทางสังคม โดยที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอยกระดับการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 ประกอบด้วย (1) การกำหนดให้พื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และตราด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (2) การควบคุมและจำกัดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวอย่างเข้มงวด และ (3) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในจังหวัดที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ
3. การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ตามแนวชายแดน ที่ประชุมรับทราบรายงานฯ ดังนี้
3.1 การสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมือง ดำเนินการเฝ้าระวังการลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้านในทุกพื้นที่ กวดขันและบูรณาการการปฏิบัติของกองกำลังป้องกันชายแดน เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครอง รวมถึงเพิ่มความถี่การเฝ้าตรวจและการลาดตระเวนในพื้นที่ชายแดน วางเครื่องกีดขวางตามช่องทาง/ท่าข้ามที่ล่อแหลมและสำคัญในภูมิประเทศ และเครื่องมือพิเศษทุกระบบในการเฝ้าตรวจพื้นที่ เช่น CCTV และการใช้โดรน นอกจากนี้ ได้บูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่ชายแดนทางบก ทั้ง 7 กองกำลังป้องกันชายแดน และเพิ่มเติมกำลังในพื้นที่เพ่งเล็งด้านตะวันตก (เมียนมา) และด้านใต้ (มาเลเซีย) ด้านตะวันออก (สปป.ลาว และกัมพูชา) ดำรงความเข้มข้นในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและใช้กำลังที่จัดออกปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนประจำปีเป็นผู้ปฏิบัติ รวมทั้งบูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่ชายแดนไทย - กัมพูชา ด้านจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด
3.2 การสนับสนุนของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด สนับสนุนศูนย์ห่วงใยคนสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง เตียงนอน จำนวน 1,000 เตียง ที่นอน จำนวน 500 ชุด หมอน ผ้าห่ม มุ้ง จำนวน 1,000 ชุด และเตรียมโรงพยาบาลสนาม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ค่ายมหาเจษฎาราชเจ้า อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (รองรับได้ 174 คน ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้าพักแล้ว 41 คน) โรงพยาบาลสนามสโมสรเรือใบหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี (รองรับได้ 320 คน) และสนามฝึกบ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี (รองรับได้ 232 คน)
3.3 การบังคับใช้มาตรการตามข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 16 ดำเนินการจัดตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจร่วมตามคมนาคมสำคัญเพื่อควบคุมและคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด รวมถึงสนับสนุนการจัดตั้งจุดตรวจคัดกรองโรคโควิด - 19 ภายในจังหวัดและกรุงเทพมหานคร และจัดตั้งจุดตรวจร่วม/ชุดสายตรวจร่วม เพื่อป้องกัน ป้องปราม กวดขัน และจับกุมบุคคลที่มั่วสุมกระทำผิดกฎหมายหรือกระทำอันก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค
4. ความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโรคโควิด - 19 เพิ่มเติม ที่ประชุมรับทราบรายงานความ
คืบหน้าฯ ดังนี้
4.1 การจัดหาวัคซีนครอบคลุมประชากรไทยในปี 2564 จำนวน 33,000,000 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของประชากรทั้งประเทศ ประกอบด้วย
(1) การจัดหาวัคซีนจากการตกลงแบบทวิภาคี Bilateral Agreement (Advanced Market Commitment) กับบริษัท AstraZeneca จำกัด ร้อยละ 20 (จำนวน 26,000,000 โดส) และคาดว่าจะได้รับวัคซีนประมาณเดือนมิถุนายน 2564 (อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อให้ได้วัคซีนมาก่อนจำนวนหนึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้พิจารณาสั่งซื้อเพิ่มอีกจำนวน 35,000,000 โดส รวมเป็นจำนวนวัคซีนที่ประเทศไทยจัดหา จำนวน 61,000,000 โดส
(2) การจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่น ร้อยละ 10 กระทรวงสาธารณสุขได้เจรจากับบริษัท Sinovac Biotech จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนของประเทศจีนเพื่อจัดหาวัคซีนเร่งด่วนให้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2564 จำนวน 2,000,000 โดส ทั้งนี้ วัคซีนต้องได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนจากสถาบันอาหารและยา (อย.) ประเทศจีนก่อน โดยจะฉีดคนละ 2 โดส ระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน วงเงินงบประมาณรวม 1,228,208,000 บาท
(3) การจัดหาวัคซีนจาก COVAX Facility ร้อยละ 20 ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขและเจรจาต่อรอง
4.2 เป้าหมายการฉีดวัคซีน 2,000,000 โดส (เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564)
(1) วัคซีน 200,000 โดสแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุขด่านหน้า (รวมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) และเจ้าหน้าที่ทำงานภาคสนามในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เช่น จ.สมุทรสาคร จ.ระยอง จ.ชลบุรี เป็นต้น จำนวน 20,000 คน และในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อที่มีภาวะแทรกซ้อนสูง และกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 180,000 คน
(2) วัคซีน 800,000 โดสแรก ในเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งจะเป็นการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
ในกลุ่มข้อ (1) จำนวน 200,000 โดส และวัคซีน จำนวน 600,000 โดส ในกลุ่มจังหวัดควบคุมสูงสุด ชายแดนตะวันตกและภาคใต้ เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า (รวมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) จำนวน 60,000 คน และในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อมีภาวะแทรกซ้อนสูงและกลุ่มจำเป็นอื่น ๆ จำนวน 540,000 คน
(3) วัคซีน 1,000,000 โดส ในเดือนเมษายน 2564 โดยจะฉีดวัคซีนเข็มที่สองในกลุ่มตามข้อ (2) จำนวน 600,000 คน และสำหรับกรณีที่มีการระบาด จำนวน 400,000 โดส
5. ความคืบหน้าการจัดการแข่งขันแบดมินตัน BWF World Tour ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าฯ โดยกรมควบคุมโรคได้อนุญาตให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจัดตั้งสถานที่กักกันรูปแบบเฉพาะองค์กร (Organizational Quarantine) ระหว่างวันที่ 4 - 31 มกราคม 2564 ทั้งนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการดังกล่าว จำนวน 21 ประเทศ มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ จำนวน 354 คน ซึ่งทั้งหมดต้องเข้ากระบวนการตามมาตรการดำเนินการระหว่างกักกัน และมาตรการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด
6. ที่ประชุมเห็นควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 9) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
7. ความคืบหน้าการตรวจคัดกรองแรงงานต่างด้าว ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าฯ โดยกระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างการประสานกับคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดสมุทรสาคร ในกรณีผู้ประกอบการโรงงานมีความประสงค์ดำเนินการตรวจคัดกรองแรงงานต่างด้าว รวมทั้งจะจัดตั้งสถานที่กักกันรูปแบบ Factory Quarantine เอง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองดังกล่าวโดยใช้กองทุนประกันสังคมผ่านโรงพยาบาลในเครือประกันสังคม
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
1. ให้
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมและแผนการดำเนินงานทั้งในด้านบุคลากร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ กรณีมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด - 19 เกินขีดความสามารถในการรองรับของกระทรวงสาธารณสุข (Worst Case)
2. ให้
กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกใหม่
3. ให้
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดย
ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัด และ
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ตามระดับพื้นที่ สถานที่และกิจกรรม รวมถึงให้เพิ่มการปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังเชิงรุกและคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น รวมถึงการค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในพื้นที่ และการสุ่มตรวจหาเชื้อในแรงงานต่างด้าว
4. ให้
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ
กรมประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้ทราบถึงการดำเนินการของจังหวัดในการควบคุมป้องกันโรคโควิด - 19 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง สกัดกั้นป้องกันข่าวลวงต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทันการณ์
5. ให้
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีน รวมทั้งให้
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ
คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ดำเนินการรวบรวมจัดทำชุดข้อมูลสรุปประเด็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อประกอบการวางแผนบริหารจัดการ เช่น จำนวนชนิดของวัคซีนที่ฉีดในมนุษย์และในประเทศใดบ้าง จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ได้รับการจดทะเบียนเพื่อใช้ในการรักษาแล้ว รายงานประสิทธิผลและความปลอดภัยของแต่ละชนิด รายงานอาการแพ้หลังจากได้รับการฉีดวัคซีน แนวทางการบริหารจัดการ (การจัดหา การนำเข้า ขั้นตอนการกระจายวัคซีน) ราคา และกำหนดเวลาที่จะได้รับวัคซีน การกระจายวัคซีนให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น
6. ให้
กระทรวงสาธารณสุข และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ถูกต้อง ได้แก่ ความพร้อมด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีเพียงพอต่อการกระจายไปถึงโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่าง ๆ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคโควิด - 19 สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลประวัติการเดินทางในการสอบสวนโรค (TimeLine) และแจ้งให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ทราบว่าสามารถไปตรวจคัดกรองได้ ณ สถานที่ใดบ้าง รวมถึงให้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ และจำนวนผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายด้วย รวมทั้งแจ้งความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนของประเทศไทย
7. ให้
กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ
กระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า เจลแอลกอฮอล์ ให้มีปริมาณที่เพียงพอไม่ขาดแคลนและมีราคาที่เหมาะสม โดยให้
กระทรวงพาณิชย์ กำชับโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการและแนวทางที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และ และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้หน้ากากผ้าสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอาการป่วย และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของหน้ากาก N95 ที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ป้องกันเชื้อโควิด - 19 ได้เช่นเดียวกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
8. ให้
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาและประเมินความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ในสนามกีฬาและสนามมวย
9. ให้
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านความมั่นคง และหน่วยงานความมั่นคง ดำเนินการกวดขันและเฝ้าระวังตามพื้นที่ชายแดนทั้งประเทศ เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย รวมถึงดำเนินคดีต่อผู้ลักลอบเล่นการพนันและการมั่วสุมอันก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดฯ
19. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
2. อนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 4,661,116,203 บาท
ทั้งนี้ ให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา COVID-19 ระลอกใหม่ รวมทั้งการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการอย่างเคร่งครัด
สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
1. จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก ที่ยังคงมีความรุนแรงมากขึ้น โดยจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ซึ่งทวีปยุโรปมีจำนวนการรายงานผู้ติดเชื้อสูงสุด และเมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนของผู้ติดเชื้อต่อจำนวนประชากรในทวีปยุโรปพบว่า ภูมิภาคแปซิฟิกรองลงมา เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และยุโรป และสำหรับประเทศไทยได้จัดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รองรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยมีระบบการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) สถานที่ที่กักตัวที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) หรือโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) และเฝ้าระวังบริเวณด่านควบคุมระหว่างประเทศ พรมแดน ช่องทางธรรมชาติ ชายแดนที่ติดต่อประเทศเมียนมา เพื่อรองรับสถานการณ์การที่ประเทศไทยมีการผ่อนคลายมาตรการบังคับใช้ มาตรการให้ดำเนินกิจการและกิจกรรม และนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourists VISA) (STV) สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นจากประเทศที่หลากหลาย เกือบทั้งหมดมาจาก Quarantine Facilities และจากประชากรกลุ่มต่างด้าวจากการเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ผ่านการกักตัวหรือจากการหลบหนีเข้าทางช่องทางธรรมชาติ ที่ผ่านมามีจำนวนผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงสูงที่จะพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์ในประเทศที่กำลังประสบปัญหาผู้ติดเชื้อในแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดสมุทรสาครพบว่า มีการแพร่กระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ และมีบางจังหวัดเกิดการติดเชื้อใหม่ในพื้นที่ ทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมตั้งรับสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งอาจจะมีการแพร่กระจายในพื้นที่ใหม่เพื่อการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีเพื่อป้องกันบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน กระทรวงสาธารณสุข
2. กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 4,661,116,203 บาท และขอความเห็นชอบไปยังสำนักงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
- ทุกคนในประเทศไทย ลดป่วย ลดการเสียชีวิต และปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ
- ประเทศไทย มีระบบการป้องกัน ควบคุมโรค ที่มีสมรรถนะการป้องกัน ควบคุมโรคที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อภายในประเทศและเพื่อให้การป้องกันการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. นายกรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 ให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 4,661,116,203 บาท
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ทั้งบริเวณด่านพรมแดน ตะเข็บชายแดนและช่องทางธรรมชาติ โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง ฝ่ายปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว (อสต.) ร่วมตรวจสอบพื้นที่และให้มีมาตรการการค้นหาเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Case Finding) ค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (High Risk Contact) การค้นหาผู้ป่วยในชุมชน (Sentinel Surveillance) ให้มากขึ้น
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.สธ.) ได้ยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้มข้นในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ โดย
1. แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.1 พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) คือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 พื้นที่
1.2 พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) คือพื้นที่ที่อยู่ติดกับพื้นที่โซนสีแดง/พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 10 คน
1.3 พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) คือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 คน และมีแนวโน้มควบคุมสถานการณ์ได้
1.4 พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) คือพื้นที่ที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ
2. ให้ทุกจังหวัดวิเคราะห์สถานการณ์ของจังหวัดและเน้นป้องกันการเสียชีวิตเตรียมเวชภัณฑ์ ป้องกันในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยง จัดการแรงงานต่างด้าวและชายแดนให้มีประสิทธิภาพ
3. ให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สำรวจชุมชน คัดกรองผู้ป่วยสงสัย ผู้เดินทางเข้าพื้นที่ ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ได้รับการกักตัวที่บ้านทุกราย
เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ให้อยู่ในวงจำกัด ลดการติดเชื้อ ลดการเสียชีวิต และการแพร่กระจายในประเทศ รวมทั้งการปกป้องกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคร่วม กลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาส ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
20. เรื่อง ผลการประชุมด้านเศรษฐกิจในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมด้านเศรษฐกิจในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 ซึ่งประกอบด้วยการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 19 การประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไตรภาคีแบบเปิดกับสวิตเซอร์แลนด์และการประชุมเตรียมการรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2563 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมการประชุม และการประชุมสุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 19
1.1 รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2563 ทั้ง 13 ประเด็น โดยขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 8 ประเด็น ซึ่งรวมถึงการสรุปผลและลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP
1.2 รับทราบการทบทวนแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 ระยะกลางฉบับเบื้องต้น โดยมีข้อเสนอแนะสำคัญ เช่น การสนับสนุนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การส่งเสริมวาระการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลกแบบองค์รวมและการมีกลยุทธ์ความสัมพันธ์กับภายนอกภูมิภาค เชิงรุกและเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น
1.3 ยินดีต่อการจัดทำกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมอาเซียนและแผนดำเนินการสำหรับกรอบการฟื้นฟูและแผนดำเนินการสำหรับการฟื้นฟูอาเซียนจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งยินดีต่อการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19
1.4 รับทราบความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จและเสนอผู้นำอาเซียนพิจารณาให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียนช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564
1.5 รับทราบข้อเสนอแนะของคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียน ได้แก่ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการในเสาเศรษฐกิจ โดยกำหนดมาตรการสำคัญรายสาขาที่มีความสำคัญและปฏิบัติ ได้จริง และการปรับแนวทางเพื่อแก้ไขความท้าทายในการดำเนินการ 2) สร้างโอกาสหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยมีข้อริเริ่มหรือกลไกใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 3) ดำเนินการในประเด็นคาบเกี่ยวระหว่างเสาประชาคมอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะประเด็นการมุ่งสู่การเป็นดิจิทัลและความยั่งยืน 4) วางบทบาทอย่างระมัดระวังท่ามกลางการแข่งขันเชิงภูมิยุทธศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ โดยคำนึงถึงระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง มีส่วนร่วม ไม่เลือกปฏิบัติ และยึดถือกฎเกณฑ์
2. การประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไตรภาคีแบบเปิดกับสมาพันธรัฐสวิส โดยได้แลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูลในประเด็นด้านเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ เช่น การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 การส่งเสริมความร่วมมือด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล และการให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทาน ระหว่างประเทศและระบบการค้าดิจิทัลมากขึ้น
3. การประชุมเตรียมการรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและการประชุมสุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ 4 โดยรัฐมนตรีประเทศ RCEP 15 ประเทศรับทราบความคืบหน้าการเจรจาว่าสามารถสรุปผลการเจรจาข้อบทการเปิดตลาด และขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมาย เสร็จสมบูรณ์พร้อมสำหรับการลงนามความตกลงแล้ว โดยที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบ ดังนี้
3.1 การแปลงสถานะของคณะกรรมการเจรจาจัดทำความตกลง RCEP เป็นคณะกรรมการร่วม RCEP ชั่วคราว เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการเตรียมการสำหรับการมีผลใช้บังคับของความตกลง
3.2 ปฏิญญาของรัฐมนตรี RCEP เรื่องการเข้าร่วมความตกลง RCEP ของอินเดีย โดยมีสาระสำคัญ คือ สมาชิก RCEP จะเริ่มการเจรจากับอินเดียเมื่ออินเดียยื่นแสดงเจตนารมย์เป็นลายลักษณ์อักษรหลังการลงนามโดยสามารถเข้าร่วมความตกลงได้ทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับและเปิดให้อินเดียเข้าร่วมการประชุม RCEP ในฐานะผู้สังเกตการณ์และเข้าร่วมกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจตามเงื่อนไขที่รัฐผู้ลงนามความตกลงกำหนด
4. การเสนอสัตยาบันความตกลง RCEP ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างเสนอสัตยาบันความตกลง RCEP เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบการให้สัตยาบันและจะแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนเมื่อประเทศไทยดำเนินกระบวนการภายในแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก RCEP อยู่ระหว่างการหารือด้านเทคนิคเกี่ยวกับการดำเนินการตามพันธกรณี เช่น การปรับพิกัดอัตราศุลกากรให้เป็นปัจจุบันและรูปแบบของใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับความตกลง RCEP เพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ และการกำหนดของเขตภารกิจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วม RCEP และสำนักเลขาธิการ RCEP ซึ่งคาดว่าจะเริ่มการหารือในช่วงต้นปี 2564
21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย (Memorandum of Understanding between Ministry of Commerce, Royal Thai Government and Department of Industries and Commerce, Government of Telangana, Republic of India) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) และการแลกเปลี่ยนด้านการค้า อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
ขอบเขตของความร่วมมือ
1) การแลกเปลี่ยนข้อมูลการตลาด การสนับสนุนเพิ่มเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคธุรกิจ เพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน และการเป็นตัวแทนของวิสาหกิจภายในเขตแดนของแต่ละฝ่าย
2) การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงทางธุรกิจและการพัฒนาคลัสเตอร์ระหว่างวิสาหกิจเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของภาคธุรกิจของแต่ละฝ่าย
3) การอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ
4) การเชื่อมโยงแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือเว็บไซต์ “thaitrade.com” ของไทยและ “Telangana State GlobalLinker” ของรัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อสร้างโอกาสให้แก่วิสาหกิจ โดยเฉพาะ SMEs และ Startups ของแต่ละฝ่ายสามารถขยายเครือข่ายธุรกิจและการเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการของคู่ภาคีอีกฝ่ายได้มากยิ่งขึ้น
5) การแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้าน Startups ผ่านศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและระบบนิเวศด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา Startups ของรัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดียที่มีชื่อว่า “T-Hub” ซึ่งเปิดโอกาสให้ไทยสามารถเรียนรู้ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีและแนวโน้มล่าสุดของ Startups อินเดียเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพของ Startups ไทยให้เติบโตและสามารถต่อยอดธุรกิจสู่การแข่งขันระดับสากลต่อไปได้
6) การให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนต่าง ๆ อาทิ เงินอุดหนุนลงทุน เงินอุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการขออนุมัติเรื่องต่าง ๆ กรณีนักลงทุนไทยตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย ทั้งนี้ นักลงทุนไทยจะต้องพยายามว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นและการจัดซื้อจัดจ้างท้องถิ่นให้มากที่สุด รวมถึงร่วมมือกับรัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดียในการสร้างการเชื่อมโยงการผลิตไปข้างหน้า (Forward Linkages) และการเชื่อมโยงการผลิตไปข้างหลัง (Backward Linkages)
7) การให้สิทธิประโยชน์หรือสิทธิพิเศษทางภาษี (ถ้ามี) แก่นักลงทุนที่ใช้ไม้ยางพาราจากไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้อื่น ๆ ตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าระหว่างอาเซียน-อินเดียสำหรับการลงทุนในสวนเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Park) ที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง ณ เมืองไฮเดอราบัด รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย
การจัดการด้านการเงิน
ต้นทุน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามร่างบันทึกความเข้าใจฯ หรือกิจกรรมอื่น ๆ สำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้หรือที่เป็นผลจากร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ ให้ภาคีฝ่ายนั้นเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว และต้องไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันหรือหนี้สินต่อภาคีอีกฝ่ายหนึ่งของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ เว้นแต่จะได้มีการตัดสินใจร่วมกัน
การมีผลบังคับใช้ ระยะเวลาการสิ้นสุด และการขยาย
มีผลบังคับใช้เริ่มแรกเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ลงนามโดยคู่ภาคี หลังจากนั้นจะขยายระยะเวลาบังคับใช้ต่อไปโดยปริยายอีกครั้งละ 1 ปี ทั้งนี้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถแจ้งความประสงค์ไม่ต่ออายุหรือขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฯ ได้ โดยการทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งอีกฝ่ายล่วงหน้าเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ก่อนการยกเลิก ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมาย
22. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 โดยมีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร) เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว [คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 ตุลาคม 2563) เห็นชอบร่างแถลงการณ์รัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค เรื่อง การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล] โดยมีผลการประชุมที่สำคัญตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ ดังนี้
การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
1. การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรี/ผู้แทนจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคทั้ง 21 เขต (ยกเว้นประเทศปาปัวนิวกินี) และประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับรองแถลงการณ์รัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคฯ (ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563) โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไขแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือมีนัยสำคัญที่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และสอดคล้องกับความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้เคยให้ความเห็นไว้ รวมทั้งไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายและสมาชิกสามารถพิจารณาให้ความร่วมมือตามความสมัครใจ
2. แถลงการณ์ฯ มีสาระสำคัญ เช่น (1) มีการกล่าวถึงผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ ความมั่นคงอาหาร การเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมง ห่วงโซ่อาหารในภูมิภาค รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมทั่วโลก (2) เน้นย้ำการเสริมสร้างความร่วมมือที่ต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าระบบอาหารทั่วโลกยังคงเปิดกว้าง มีนวัตกรรม เชื่อถือได้ มีความยืดหยุ่น เข้าถึงได้ และยั่งยืน (3) การให้ความสำคัญของการทำงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ (4) สนับสนุนให้มีการแบ่งปันข้อมูลและความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้มั่นใจว่าอาหารเพียงพอ ปลอดภัย ราคาไม่แพง และมีคุณค่าทางโภชนาการ ยังคงมีอยู่และเข้าถึงได้สำหรับประชาชนทุกคน และ (5) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนและมุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือและการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
23. เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับองค์การยูเนสโก
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
1. การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2. การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จำนวน 6 คณะ ได้แก่
2.1 คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2.2 คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2.3 คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2.4 คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2.5 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2.6 คณะกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
โดยมีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคงเดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
สาระสำคัญ
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกวี จงกิจถาวร ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ นายสมบัติ สุวรรณพิทักษ์ นางวันเพ็ญ อัพตัน นางสาวกาญจนา วานิชกร ปลัดกระทรวงยุติธรรม หรือผู้แทน อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือผู้แทน เลขาธิการสภาการศึกษา หรือผู้แทน อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน ประธานคณะกรรมการแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน และ ประธานคณะกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ หรือผู้แทน โดยมีรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และหัวหน้ากลุ่มความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) พิจารณาเสนอแนะและให้คำปรึกษาหารือแก่รัฐบาลในด้านนโยบายและการดำเนินงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชนขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
2) เข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
3) ประสานงานกับรัฐบาล หน่วยงาน องค์การ สถาบัน และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกประเทศในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชนของยูเนสโก
4) ส่งเสริมให้หน่วยราชการและสถาบันต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของรัฐและไม่ใช่ของรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วม และดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชนของยูเนสโก
5) ร่วมมือกับคณะกรรมการแห่งชาติของประเทศอื่น ๆ ที่เป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโก ในการจัดกิจกรรมด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
6) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความมุ่งหมายโครงการและกิจกรรม ตลอดจนกระตุ้นความสนใจของประชาชนทั่วไปในงานขององค์การยูเนสโก
7) ติดตามการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
8) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับวัตถุประสงค์โดยทั่วไปขององค์การยูเนสโก
9) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จำนวน 6 คณะ
1.
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ นางขนิษฐา ห้านิรัติศัย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทน เลขาธิการสภาการศึกษา หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน และ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน โดยมีผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ นักวิเทศสัมพันธ์ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) พิจารณาเสนอแนะและให้คำปรึกษาหารือแก่คณะกรรมการแห่งชาติฯ ในด้านนโยบายและการดำเนินงานทางด้านการศึกษา ที่เกี่ยวกับองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2) เข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานทางด้านการศึกษาขององค์การยูเนสโก
3) ส่งเสริมให้หน่วยราชการและสถาบันต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและมิใช่ของรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้านการศึกษาขององค์การยูเนสโก
4) ติดตามการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวกับงานการศึกษาขององค์การยูเนสโก
5) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมด้านการศึกษาขององค์การยูเนสโก
6) รับผิดชอบงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
2.
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ นางสาวสุทธาสินี วัชรบูล นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ศาสตราจารย์กิตติคุณสุรพล วิรุฬรักษ์ หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร นางสาวดารุณี ธรรมโพธ์ดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุชา ทีรคานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หรือผู้แทน อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม หรือผู้แทน อธิบดีกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือผู้แทน อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือผู้แทน อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอ หรือผู้แทน และผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ นักวิชาการวัฒนธรรม กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรม และนักวิเทศสัมพันธ์ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) พิจารณาเสนอแนะและให้คำปรึกษาหารือแก่คณะกรรมการแห่งชาติฯ ในด้านนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการทางด้านวัฒนธรรมขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2) เข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานทางด้านวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก
3) ส่งเสริมให้หน่วยราชการและสถาบันต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและมิใช่ของรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้านวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก
4) ติดตามการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวกับงานด้านวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก
5) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมด้านวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก
6) รับผิดชอบงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
3.
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นประธานกรรมการ นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้แทน อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือผู้แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือผู้แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือผู้แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงยุติธรรม หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงแรงงาน หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือผู้แทน อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว หรือผู้แทน อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือผู้แทน อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ หรือผู้แทน และผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหัวหน้ากลุ่มความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ นักวิเทศสัมพันธ์ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) พิจารณาเสนอแนะและให้คำปรึกษาหารือแก่คณะกรรมการแห่งชาติฯ ในด้านนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการทางด้านสังคมศาสตร์ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2) เข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานทางด้านสังคมศาสตร์ขององค์การยูเนสโก
3) ส่งเสริมให้หน่วยราชการและสถาบันต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและมิใช่ของรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้านสังคมศาสตร์ขององค์การยูเนสโก
4) ติดตามการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวกับงานด้านสังคมศาสตร์ขององค์การยูเนสโก
5) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมด้านสังคมศาสตร์ขององค์การยูเนสโก
6) รับผิดชอบงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
4.
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายกวี จงกิจถาวร อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม หรือผู้แทน คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือผู้แทน คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้แทน คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือผู้แทน คณบดีวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หรือผู้แทน คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือผู้แทน คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือผู้แทน คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือผู้แทน คณบดีคณะนิเทศศาสตร์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือผู้แทน นายกสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หรือผู้แทน อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทน ผู้แทนจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ และ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้แทน โดยมีผู้อำนวยการสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมงานประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ และนักวิเทศสัมพันธ์ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) พิจารณาเสนอแนะและให้คำปรึกษาหารือแก่คณะกรรมการแห่งชาติฯ ในด้านนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการทางด้านสื่อสารมวลชนขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
2) เข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานทางด้านสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
3) ส่งเสริมให้หน่วยราชการและสถาบันต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและมิใช่ของรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้านสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
4) ติดตามการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวกับงานด้านสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
5) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมด้านสื่อสารมวลชนขององค์การยูเนสโก
6) รับผิดชอบงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
5.
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานกรรมการ นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร นางสาวก่องแก้ว วีระประจักษ์ นางสาวขนิษฐา วงศ์พานิช นายประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทน ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) หรือผู้แทน ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ หรือผู้แทน และ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือผู้แทน โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และนักวิเทศสัมพันธ์ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) กำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และเกณฑ์มาตรฐาน ในการคัดเลือกเอกสารเพื่อเสนอองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติให้ขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกภูมิปัญญาแห่งโลก
2) ประสานงานกับหน่วยราชการและองค์กรเอกชนซึ่งมีเอกสารในครอบครองเพื่อดำเนินงานเป็นเครือข่ายของประเทศไทย
3) ร่วมมือกับหน่วยราชการและองค์กรเอกชนในข้อ 2) เพื่อคัดเลือกเอกสารที่มีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนดขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และเกณฑ์กำหนดของประเทศไทย
4) จัดทำบัญชีเอกสารที่ได้รับการคัดเลือกแล้วเพื่อเสนอองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
5) จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของเอกสาร ความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์และเผยแพร่ให้มีการเข้าถึงอย่างกว้างขวาง
6) ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศและคณะกรรมการระดับภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจตามความจำเป็น
8) ดำเนินการอื่นใดที่สอดคล้องกับแผนงานนี้
6.
การปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
นายสันทัด สมชีวิตา นายสนิท อักษรแก้ว และนางมาลี สุวรรณอัตถ์ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทน อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือผู้แทน อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้แทน อธิบดีกรมป่าไม้ หรือผู้แทน เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน คณบดีคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือผู้แทนผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ หรือผู้แทน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือผู้แทน ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือผู้แทน ผู้แทนศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) ประเทศไทย ผู้แทนมูลนิธิไทยรักษ์ป่า ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน ผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช ผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า ผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก และผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนักวิเทศสัมพันธ์ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คงเดิม)
1) พิจารณาเสนอแนะและให้คำปรึกษาหารือแก่คณะกรรมการแห่งชาติฯ ในด้านนโยบายและการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของยูเนสโก
2) เข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานทางด้านโครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก
3) ส่งเสริมให้หน่วยราชการและสถาบันต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและมิใช่ของรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก
4) กำกับ ดูแลและติดตามการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก
5) เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่สงวนชีวมณฑลเข้าร่วมการประชุมในโอกาสต่าง ๆ
6) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมของโครงการมนุษย์และชีวมณฑลขององค์การยูเนสโก
7) รับผิดชอบงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ
8) แต่งตั้งคณะทำงานและคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง
นางนภสร ทุ่งสุกใส ผู้ตรวจราชการกรม (ผู้ตรวจราชการกรมระดับสูง) กรมการจัดหางาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง
นางสาวสุนทราลักษณ์ เพ็ชรกูล ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 8 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1.
นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2.
นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3.
นายปรีดี ภูสีน้ำ รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
4.
นายทวีศักดิ์ เที่ยงธรรม รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
5.
นายธนากร ดอนเหนือ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
6.
นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
7.
นายประสิทธิ์ เขียวศรี รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 สำนักงานปลัดกระทรวง
8.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 10 สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
27. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นายมนูญ สรรค์คุณากร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล แทน นายวิทิต อรรถเวชกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง
นางสาววิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ประเภทบริหาร ระดับต้น) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ประเภทบริหาร ระดับสูง) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)