http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (8 ธันวาคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่
อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่
อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา
อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ
สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพ ทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอน ใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. ....
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่ง ทางบก พ.ศ. 2522
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จำนวน 5 ฉบับ
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้อง เป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ....
12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี
พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. ....
13. เรื่อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. ....
15. เรื่อง (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
16. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับโครงสร้างเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
18. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์
โควิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับสมบูรณ์)
19. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เกี่ยวกับ การจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานของรัฐ และแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ
21. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
22. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 ในประเทศไทย พ.ศ. 2566
23. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
24. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
25. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและ บริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563
26. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2
27. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 30/2563
28. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2563
29. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
30. เรื่อง สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP)
สินค้าไทย 231 รายการ ด้วยเหตุผลประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2563
31. เรื่อง การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา –
แม่โขง ครั้งที่ 9
32. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Project of Mekong - Lancang Cooperation Special Fund)
33. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล
34. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวงการต่างประเทศ)
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
36. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
38. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร
39. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางพิจารณา ในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักข่าวกรองแห่งชาติและ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยตามที่ วธ. เสนอ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ วธ. รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ วธ. เสนอ เป็นการกำหนดแนวทางการพิจารณาจัดตั้งวัดคาทอลิก ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณ ฐานะ ของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยาม ตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการยื่นคำขอจัดตั้งวัดและคำขอให้รับรองวัดจากมิซซัง โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดหรือรับรองวัด เพื่อเป็นกลไกในการพิจารณาจัดตั้งวัดของมิซซัง ขึ้นใหม่และรับรองวัดคาทอลิกที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยที่ไม่ได้มีสถานะเป็นวัดคาทอลิกที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้ง การพิจารณากำหนดคำขอจัดตั้งวัดและคำขอให้รับรองวัดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1. กำหนดให้มี
“คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 6 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 3 คน และอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดต่อรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยให้กรมการศาสนาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ
2.
กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกจากมิซซัง ดังนี้
(1) เป็นสถานที่ที่สมควรเป็นที่พำนักของบาทหลวงและเพื่อการประกอบศาสนกิจ อย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ
(2) ตั้งอยู่ห่างจากวัดคาทอลิกอื่นโดยรอบ ไม่น้อยกว่า 20 กิโลเมตร
(3) มีบาทหลวงพำนักอยู่เป็นประจำอย่างน้อย 2 คน
(4) เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยตั้งอยู่ในเขตชุมชนที่มีคริสต์ศาสนิกชนอาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า 200 คน
(5) มีเหตุผลที่จะสนับสนุนได้ว่า เมื่อตั้งวัดคาทอลิกแล้วจะได้รับการทำนุบำรุง ส่งเสริมและอุปถัมภ์จากประชาชนในพื้นที่ โดยอาจดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบบริเวณที่ตั้งวัดคาทอลิก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
3.
กำหนดรายละเอียดเอกสารในการขอจัดตั้งวัดคาทอลิก เช่น แผนที่แสดงเขตที่ตั้งวัดคาทอลิก วัดคาทอลิกและสถานที่ใกล้เคียงโดยรอบ และเส้นทางคมนาคมโดยสังเขป หนังสือรับรองให้จัดตั้งวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยให้มิซซังยื่นคำขอจัดตั้ง ณ กรมการศาสนา เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาคำขอ และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำขอและเอกสารประกอบคำขอแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
4. กำหนดให้เมื่อคณะกรรมการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกแล้ว ให้เสนอคำขอพร้อม ความเห็นประกอบไปยังรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งวัดคาทอลิกแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศการจัดตั้งวัดคาทอลิกในราชกิจจานุเบกษา
5. กำหนดให้รวบรวมข้อมูลวัดคาทอลิกเพื่อจัดทำเป็นทะเบียน และให้กรมการศาสนารวบรวมข้อมูลจัดส่งให้กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
6. กำหนดให้วัดที่ได้จัดตั้งอยู่ก่อนวันที่ระเบียบฉบับนี้ใช้บังคับ หากมิซซังร้องขอให้ รับรองวัดคาทอลิก ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นคณะกรรมการอาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเว้นหลักเกณฑ์หรือเอกสารบางประเภทได้ตามเหตุผลและความจำเป็น
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
1. ขสมก. ได้ดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาการใช้พื้นที่เชิงธุรกิจ อู่มีนบุรีและอู่บางเขน เพื่อศึกษาวิเคราะห์และประเมินความต้องการใช้ประโยชน์ที่มีความสำคัญกับบริบทพื้นที่ ทั้งกายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อนำเสนอผังแม่บทในการใช้พื้นที่และทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปเป็นนโยบายและแผนการดำเนินการในการพัฒนาพื้นที่ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ ขสมก. และนำผลการศึกษาไปดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดยสรุปได้ว่า
1.1 อู่มีนบุรี มีพื้นที่ 10 ไร่ มีราคาตลาดมูลค่า 347 ล้านบาท มีความเหมาะสมใน การพัฒนาเป็นอพาร์ตเม้นท์และตลาด ลักษณะการให้สิทธิเอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
1.2 อู่บางเขน มีพื้นที่ 11 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา มีราคาตลาดมูลค่า 1,148.25 ล้านบาท มีความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการประเภท ศูนย์การค้า โรงแรมลักษณะเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรม
ทั้งนี้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของ ขสมก. เพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์และธุรกิจ เป็นไปตามมาตรา 7 แต่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) ได้ให้ ขสมก. พิจารณาแนวทางเลือกที่สามารถดำเนินการได้ตามขอบเขตของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
2. คณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเพิ่มรายได้ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ลดภาระกับภาครัฐ จำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่ในเชิงธุรกิจตามแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 นอกจากนี้ เพื่อการบริหารจัดการหนี้สิน และเกิดประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ในระยะยาว จำเป็นต้องออกพันธบัตรเงินกู้ จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงมีมติที่ประชุมครั้งที่ 6/2561 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561 ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ในส่วนของมาตรา 6 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและมาตรา 7 (7) ในส่วนของการออกพันธบัตรเงินกู้
3. ขสมก. ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. ตามข้อ 2. รวมทั้งได้หารือไปยังกระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแล้ว ทั้งสองหน่วยงานไม่ขัดข้องในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 และมาตรา 7 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (25 มิถุนายน 2562) เห็นชอบในหลักการแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ซึ่งรวมถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจและการบริหารหนี้สินอันจะต้องดำเนินการด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 คค. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้นใหม่ เพื่อให้ ขสมก. สามารถดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ได้อย่างต่อเนื่องตามแผนฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งพัฒนาองค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มรายได้และ ลดภาระให้กับภาครัฐ อันจะพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในด้านการบริการสาธารณะและสามารถก้าวเข้าสู่ การแข่งขันด้านบริการสาธารณะในสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ขสมก. ให้สามารถประกอบการอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบการขนส่งบุคคล หรือประกอบธุรกิจอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ ขสมก. หรือประโยชน์สาธารณะได้
2. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจการดำเนินกิจการ เพื่อประโยชน์แก่กิจการ ขสมก. ให้สามารถออกพันธบัตรเงินกู้หรือตราสารอื่นใด เพื่อการลงทุนหรือเพื่อประโยชน์แก่กิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอ สูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟ และทางและสะพานข้ามทางรถไฟ ตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน ซึ่งสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และ ให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้สถานพยาบาลสามารถจัดให้มีการฝึกอบรมและการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบโรคศิลปะหรือการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดบทนิยาม คำว่า “การฝึกอบรม” “การวิจัย” “สถานพยาบาล” “สภาวิชาชีพ” “คณะกรรมการวิชาชีพ” และ “คณะกรรมการ”
2. กำหนดให้สถานพยาบาลอาจจัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล
3. กำหนดให้การฝึกอบรมมี 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทที่ 1 การฝึกอบรมหลักสูตรที่มีการรับรองจากสภาวิชาชีพหรือคณะกรรมการวิชาชีพ และประเภทที่ 2 การฝึกอบรมหลักสูตรอื่นนอกจากประเภทที่ 1 สถานพยาบาลที่จะจัดการฝึกอบรมให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตพร้อมเอกสาร และกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาการยื่นคำขอการฝึกอบรมแต่ละประเภท
4. กำหนดให้การวิจัยในสถานพยาบาลต้องดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและการทดลองในมนุษย์ ในกรณีที่สถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาลจะจัดการวิจัย ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อการวิจัยเสร็จสิ้นให้แจ้งการสิ้นสุดการวิจัยต่อผู้อนุญาตภายใน 30 วัน ในกรณีที่เชื่อได้ว่าสถานพยาบาลหรือผู้ประกอบวิชาชีพไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและแนวทางจริยธรรมดังกล่าว หรือการดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ผู้อนุญาตอาจเพิกถอนการให้ความเห็นชอบการวิจัยได้
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงมหาดไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ สธ. เร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยด่วนต่อไป
ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
1. โดยที่มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร ประกอบกับมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 บัญญัติให้ในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือปลูกหรือก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติอื่นหรือทำลายความหลากหลายทางชีวภาพหรือระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ หรือขุดหาแร่ หิน ดิน หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสมุนไพร เว้นแต่การดำเนินการใด ๆ เพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร หรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพรโดยได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมายดังกล่าว สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตเพื่อจัดการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
3. คณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในการประชุมครั้งที่ 90-3/2563 (Zoom Cloud Meeting) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2. และให้ดำเนินการต่อไป
4. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็น โดยการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม 2562 – 20 กันยายน 2562 รวมระยะเวลา 26 วัน รวมทั้ง มีหนังสือไปยังส่วนราชการ และองค์กรที่เกี่ยวข้องและมีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จำนวน 16 หน่วยงาน โดยส่วนใหญ่เห็นชอบในหลักการของร่างกฎกระทรวงฯ
จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเพื่อการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากสมุนไพร พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดคำนิยามคำว่า “พื้นที่คุ้มครองสมุนไพร” “ใบอนุญาต” “ผู้อนุญาต” “เจ้าหน้าที่” “อธิบดี” และ “คณะกรรมการ”
2. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ ไม่ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
2.1 การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรของหมอพื้นบ้านในการผลิตยาเพื่อยังชีพแบบพื้นบ้าน หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์เพื่อช่วยเหลือตนเอง หรือประชาชน
2.2 การใช้ประโยชน์จากสมุรไพร หรือการใช้ประโยชน์จากพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรของประชาชน ตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชนที่เป็นมา
3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำขอรับใบอนุญาต และวิธีการพิจารณาอนุญาตการชำระค่าธรรมเนียม และการแจ้งการอนุญาต รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองในการบริหารพื้นที่คุ้มครองสมุนไพรหรือ การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในพื้นที่คุ้มครองสมุนไพร
4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพักใช้ใบอนุญาต การสั่งถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตการเพิกถอนใบอนุญาต และการแจ้งคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
เป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ 3 งาน 31 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลโตนดแห่งใหม่ และใช้ประโยชน์อย่างอื่นในราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลโตนด ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินสาธารณประโยชน์แปลงดังกล่าวแล้ว
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมจากร่างที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ คค. เสนอ เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องเอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตและการขอต่ออายุใบอนุญาต เพื่อให้การพิจารณาความเหมาะสมของผู้รับใบอนุญาตหรือขอต่ออายุใบอนุญาตมีข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอและมีประสิทธิภาพ และให้การดำเนินการของ นายทะเบียนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมด้วยแผนการดำเนินการในการประกอบการขนส่ง และเอกสารหลักฐานตามแบบที่กรมการขนส่งกำหนด
3. กำหนดขั้นตอนและแนวทางการพิจารณาดำเนินการออกและต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
4. กำหนดให้นายทะเบียนต้องตรวจสอบข้อมูลการประกอบการขนส่งของผู้ประกอบการขนส่งในช่วงระยะเวลาการได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งเพื่อประกอบการพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ผ่านมา และให้อำนาจนายทะเบียนที่จะพิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ หากพบว่าผู้ประกอบการขนส่งนั้นได้กระทำการใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
5. ให้อธิบดีกรมการขนส่งทางบกมีอำนาจประกาศกำหนดมาตรฐานหรือลักษณะของรถโดย ความเห็นชอบของรัฐมนตรีและกำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จำนวน 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 จำนวน 5 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. ....
กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ เจ้าหน้าที่ทางนิวเคลียร์และรังสี และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตสังสี อีกทั้งกำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้แก่สภากาชาดไทย และหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ
2.
ร่างกฎกระทรวงการแจ้งการครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. ....
กำหนดให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสียื่นคำขอแจ้งการครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีนั้น และให้ผู้แจ้งจัดส่งรายงานแสดงปริมาณของวัสดุกัมมันตรังสีที่มีไว้ในครอบครองหรือใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี แต่ไม่ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม เว้นแต่กรณีที่ได้รับใบแจ้งภายหลังวันที่ 30 กันยายน ให้ได้รับยกเว้นการจัดส่งรายงานดังกล่าวสำหรับปีนั้น
3.
ร่างกฎกระทรวงการแบ่งระดับ การกำหนดคุณวุฒิ และการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พ.ศ. ....
3.1 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มี 3 ระดับ ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วไป (2) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาวุโส (3) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ควบคุม โดยแต่ละระดับจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กำหนด
3.2 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ดังนี้
3.2.1 กำหนดให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต ต่อเลขาธิการสำนักางานปรมาณูเพื่อสันติ หรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร และหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบอนุญาต เมื่อได้รับคำขอแล้วให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือ ผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายตรวจคำขอรับใบอนุญาตดังกล่าว
3.2.2 กำหนดให้การพิจารณาออกใบอนุญาตให้เลขาธิการสำนักงานปรมาณู เพื่อสันติพิจารณาตามหลักเกณฑ์โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้
4.
ร่างกฎกระทรวงการจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. ....
กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่มีเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วเกิดขึ้น ต้องเก็บรักษาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วดังกล่าวตามวิธีการที่ระบุไว้ในรายงานวิเคราะห์ความปลอดภัยของสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขในใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ เว้นแต่ส่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วให้แก่หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่เก็บรักษาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว ส่งไปจัดการนอกราชอาณาจักร หรือส่งกลับคืนแก่ประเทศผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซึ่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
5.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดการดำเนินกิจการทางนิวเคลียร์ที่ต้องแจ้งต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ....
กำหนดให้ผู้ซึ่งดำเนินกิจการทางนิวเคลียร์ตามที่ระบุในภาคผนวก 1 ของพิธีสารเพิ่มเติมความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์ความปลอดภัยวัสดุนิวเคลียร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ต้องแจ้งการดำเนินกิจการทางนิวเคลียร์ต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ทั้งนี้ กิจการทางนิวเคลียร์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือประกอบสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และการจัดเก็บหรือแปรสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล (IEC) และเป็นไปตามข้อตกลงว่าด้วยการปรับระบบด้านกฎระเบียบและการควบคุมบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (AHEEERR) อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องเสียง วีดิทัศน์ และเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ที่คล้ายกัน คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1195 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5505 (พ.ศ. 2562) โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงตามที่ อก. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี การผลิตในปัจจุบัน อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตู้เย็นและตู้เย็นแบบมีช่องแช่เยือกแข็งสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2186 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 5711 (พ.ศ. 2563) และมาตรฐานเลขที่ มอก. 2214 – 2561 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5712 (พ.ศ. 2563) โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและ ร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ มท. เสนอ เป็นการปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 ที่ให้โอนบรรดากิจการและอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีในส่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ไปเป็นของกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันอุบัติภัยของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นเอกภาพ
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1. แก้ไขบทนิยามคำว่า “อุบัติภัย” เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 โดยในส่วนของอุบัติเหตุเนื่องจากการจราจรทางบก ไม่หมายความรวมถึงอุบัติเหตุทางถนน
2. ตัดบทนิยามคำว่า “แผนหลัก” ออก เนื่องจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายมีแผนของแต่ละหน่วย เพื่อปฏิบัติงานอยู่แล้ว ควรกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) ทำหน้าที่เพียงเสนอนโยบายเท่านั้น
3. ปรับปรุงโครงสร้าง องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ของ กปอ. และแก้ไขชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน
4. เพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 2 ปี เป็น 4 ปี
5. ปรับปรุงเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 7 (4) จากบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
6. ปรับปรุงองค์ประชุมและระเบียบการประชุมของ กปอ. เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
7. แก้ไขหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลขานุการ กปอ. โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของ กปอ. แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
8. กำหนดค่าเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ กปอ. และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดย กปอ. ว่าให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของ ปภ.
9. แก้ไขผู้รักษาการตามระเบียบนี้ จากนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
12. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
พณ. เสนอว่า โดยที่คณะกรรมการนโยบายอาหารได้มีมติเห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คราวละ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563เห็นชอบการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ (กากถั่วเหลือง ปลาป่น และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ปี 2564 – 2566 ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ 1/2563 (ครั้งที่ 79) เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายอาหารเสนอ พณ. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน สำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. ....
จึงได้เสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1.
กำหนดให้ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 1005.90.90 ซึ่งมีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรองรับถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) หนังสือรับรอง ใบรับรอง หรือเอกสารอื่นใด
ซึ่งแสดงว่าสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อชีวิต หรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช
2.
กำหนดให้การนำสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
2.1
กรณีองค์กรคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า ต้องนำเข้าระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม ของแต่ละปี และต้องจัดทำแผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด ภาวะราคา และความต้องการใช้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ
2.2
กรณีผู้นำเข้าทั่วไป ต้องนำเข้าระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม ของแต่ละปี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานควบคุมการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
2.3
ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชและด่านกักสัตว์ หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่
3.3
กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ สำหรับการนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามข้อ 1. เข้ามาในราชอาณาจักร
ในอัตราน้ำหนักสุทธิเมตริกตันละศูนย์บาท
4.
กำหนดให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
13. เรื่อง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ..) จำนวน 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 14/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้
1. ยกเลิกเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาพำนักระยะยาวในราชอาณาจักรที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำฯ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)
2. ยกเลิกเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงปานกลางฯ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร พร้อมทั้งขยายระยะเวลาให้แก่คนต่างด้าวที่มากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในกรณีที่เดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าน่านน้ำไทยก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ และกรณีเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาจอด และจอดเรืออยู่ที่ท่าเรือในราชอาณาจักรก่อนประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้ มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ออกไปอีก 30 วันหลังจากวันที่ประกาศฉบับใหม่มีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
หลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ทั้ง 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และประเทศที่มีความเสี่ยงปานกลาง ตามการจัดกลุ่มประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ มีจำนวนไม่มาก ดังนั้นการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ 2 ฉบับ ดังกล่าว ที่กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อพำนักระยะยาวในราชอาณาจักรตามเงื่อนไขการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เฉพาะบุคคลที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร เฉพาะบุคคลที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือความเสี่ยงปานกลางฯ ทำให้มีชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย มีจำนวนไม่มาก โดยข้อมูล ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ประเภทนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (STV) จำนวน 825 คน จาก 29 สัญชาติ
หลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้ต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ที่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ในราชอาณาจักร ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารในกรณีที่เดินทางออกจากประเทศต้นทางและอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าน่านน้ำไทยก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ และกรณีเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาจอดและจอดเรืออยู่ที่ท่าเรือในราชอาณาจักรก่อนประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 มีผลบังคับใช้ มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ภายใน 30 วันหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ วันที่ 1 พฤศจิกยน 2563 แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานต้องไปออกประกาศ คำสั่ง และระเบียบรองรับประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จึงทำให้กระบวนการอนุญาตให้บุคคลต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศมีผลสมบูรณ์ประมาณวันที่ 22 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา จึงทำให้เรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) เข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้เพียง จำนวน 6 ลำ
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด -19 โดยเฉพาะในส่วนของภาคการท่องเที่ยวที่ต้องการดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึง จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ 2 ฉบับดังกล่าว
14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ลดอัตราค่าธรรมเนียม และยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงเพื่อขยายระยะเวลา และลดอัตราค่าธรรมเนียมในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) และปรับปรุงถ้อยคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เพิ่มส่วนลดอัตราค่าธรรมเนียมแก่ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่ยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) จากเดิมลดให้ร้อยละ 30 เป็นลดให้ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 3 ปี (1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566)
2) ปรับปรุง ข้อ 3 (8) การตรวจเอกสาร ดังนี้
- ยกเลิก คำว่า “งบการเงิน” ใน (ข) เพื่อลดความซ้ำซ้อนและทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจเอกสารงบการเงิน เนื่องจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 24 กันยายน 2561 แล้ว
- ยกเลิกข้อความใน (ค) “การตรวจเอกสารทางระบบคอมพิวเตอร์ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด” เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 1020/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น จึงควรใช้อัตราค่าธรรมเนียมอัตราเดียว
3) ปรับปรุงข้อ 3 (9) การขอสำเนาหรือขอให้ถ่ายเอกสารพร้อมทั้งคำรับรอง รวมทั้งสำเนาเอกสารพร้อมทั้งคำรับรองที่ออกตามหมายเรียกของศาล และ ข้อ 3 (10) การขอหนังสือรับรองข้อความในทะเบียน รวมทั้งหนังสือรับรองที่ออกตามหมายเรียกของศาล โดยยกเลิกวรรคสอง ใน (9) และ (10) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 1020/1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม
4) ปรับปรุงข้อ 3 (12) คำว่า “ถ่ายโอนข้อมูล” เป็นคำว่า “เชื่อมโยงข้อมูล” และคำว่า “รายละ 30 บาท” เป็นคำว่า “รายการละ 30 บาท” เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการให้บริการในปัจจุบันของกรม
5) ปรับปรุงข้อ 5 คำว่า “ส่วนราชการ” เป็นคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และสนับสนุนนโยบายการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ
15. เรื่อง (ร่าง) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ ดังนี้
1.เห็นชอบ (ร่าง) แผนการปฏิรูปประทศ (แผนฯ) (ฉบับปรับปรุง) ตามที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ และรายงานต่อรัฐสภาตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ต่อไป
2. เห็นชอบแนวทางการขับคลื่อนแผนฯ (ฉบับปรับปรุง) โดยให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ สศช. ร่วมกันขับเคลื่อนแผนฯ ให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. รายงานว่า
1. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 คณะ ได้ดำเนินการปรับปรุงแผนฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยได้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนเมื่อเดือนสิงหาคม – กันยายน 2563 ผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้วจึงได้เสนอ
(ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 เพื่อให้ความเห็นต่อ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) แล้วจึงได้นำประเด็นความเห็นดังกล่าวไปปรับปรุงกิจกรรม Big Rock เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของแผนให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำเสนอ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปทุกคณะได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ก่อนนำ
เสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติให้ ความเห็นชอบ
2.
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มีมติเกี่ยวกับ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ดังนี้
2.1
เห็นชอบ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 คณะ เสนอ โดยเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ จำนวน 13 คณะ และเห็นชอบการปรับปรุงแผนฯ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ และให้ขยายระยะเวลาการปรับปรุง แผนฯ โดยขั้นตอนการเสนอ (ร่าง) แผนฯ(ฉบับปรับปรุง) เป็นไปตามตามนัยของมาตรา 11 และ มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พศ. 2560 ซึ่งบัญญัติ
ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ (ร่าง) แผนฯ ที่ผ่านการพิจารณาแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับจากวันที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบแล้ว
(ภายในวันที่ 9ธันวาคม 2563)
2.1.1
องค์ประกอบของ (ร่าง) แผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย
องค์ประกอบ |
รายละเอียด |
1. แผนฯ 13 ด้าน |
ได้แก่ (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมาย (4) กระบวนการยุติธรรม (5) เศรษฐกิจ (6) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (7) สาธารณสุข (8) สื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ (9) สังคม (10) พลังงาน (11) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (12) การศึกษา และ (13) วัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
2. กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) |
เป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นใหม่/ดึงจากแผนฯ เดิม โดยเน้นเฉพาะกิจกรรมปฏิรูปสำหรับแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมได้ (Big Rock) จำนวน 62 กิจกรรม ทั้งนี้ ทุกกิจกรรม Big Rock ต้องมีเป้าหมายสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ |
3. ผลอันพึงประสงค์
ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด |
เป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ในมาตรา 257 และมาตรา 258 ซึ่งบัญญัติให้ทำการปฏิรูปประเทศเพื่อวางรากฐานการพัฒนาไปสู่ประเทศที่มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุล ประชาชนในสังคมมีโอกาสทัดเทียมกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข |
4. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก |
กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม Big Rock เพื่อทำงานร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ในการประสานบูรณาการกับหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง รวมหน่วยงานทั้งสิ้น 36 แห่ง และ 2 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ |
5. ระยะเวลาดำเนินการ |
ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 |
6. ขั้นตอนและวิธีการ
ดำเนินการปฎิรูป |
ระบุขั้นตอนและวิธีการการดำเนินงานของกิจกรรมปฏิรูปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมปฏิรูปและแผนการปฏิรูปประเทศด้านนั้น ๆ |
7. ข้อเสนอให้มีหรือให้แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย |
มีรายชื่อของกฎหมายที่ต้องจัดทำหรือปรับปรุง รวมทั้งสิ้น 45 ฉบับ |
2.1.2 ในส่วนของ
การบูรณาการระหว่างแผนฯ ด้านต่าง ๆ พบว่ามีประเด็นใกล้เคียงและเกี่ยวข้องกันที่สามารถบูรณาการร่วมกันได้
7 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพคน (2) การท่องเที่ยว (3) การเตรียมความพร้อมและการพัฒนาผู้สูงอายุ (4) การลดอุปสรรคในการดำเนินชีวิต และลดขั้นตอนทางธุรกิจ (5) การกระจายอำนาจ (6) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และ (7) การมีส่วนร่วม และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กิจกรรม Big Rock จะต้องหาแนวทางดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
2.2
เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ โดยเมื่อแผนฯ (ฉบับปรับปรุง) มีผลใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ สศช. ดำเนินการขับเคลื่อนแผนฯ (ฉบับปรับปรุง) ให้บรรลุตามเป้าประสงค์ภายในปี 2565 โดยดำเนินการ ดังนี้
2.2.1 ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมของแผนฯ เดิม ในรูปแบบ
ภารกิจปกติของหน่วยงาน คู่ขนานกับกิจกรรม Big Rock
2.2.2 จัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรม Big Rockและถ่ายทอดขั้นตอนการดำเนินการแก่หน่วยงานปฏิบัติ
2.2.3 ให้หน่วยงาน
จัดทำแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งรวมถึงการดำเนินงาน/โครงการที่ดำเนินการภายใต้กิจกรรม Big Rock และแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
2.2.4 การขับเคลื่อนประเด็นการบูรณาการระหว่างแผนฯ ด้านต่าง ๆ ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและหน่วยงานผู้รับผิดชอบ
จัดทำความเชื่อมโยงของกิจกรรม Big Rock เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.2.5 ให้สำนักงบประมาณให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock
2.2.6
ให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและ สศช. ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและติดตามในระดับนโยบาย และให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
(สำนักงาน ป.ย.ป.) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและติดตามในระดับปฏิบัติ รวมถึงพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อรองรับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน/โครงการที่ดำเนินการภายใต้กิจกรรม Big Rock
16. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนาน การปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ. ได้พิจารณาข้อเสนอแนะของรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ โดยได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า) สำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหน้า สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม กรมพระธรรมนูญ และกองการต่างประเทศ ยธ. แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม. |
สรุปผลการพิจารณา |
1. กฎหมายภายใน |
รัฐบาลควรพิจารณาการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่ห้ามการเลือกปฏิบัติในภาพรวมเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ |
ปัจจุบันกฎหมายภายในของประเทศไทยที่มีอยู่ไม่ขัดต่อหลักการของอนุสัญญาฯ จึงไม่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายใหม่ อย่างไรก็ตาม ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล พ.ศ. .... เพื่อให้เป็นกฎหมายกลางในการขจัดการเลือกปฏิบัติในภาพรวมต่อไป |
2. กลุ่มคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ |
2.1 รัฐบาลควรสำรวจจำนวนผู้สูงอายุไร้สัญชาติและคนไร้สัญชาติที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร แต่ได้เข้ามาอยู่อาศัยจนมีความกลมกลืนกับสังคมไทย รวมถึงสาเหตุของความไร้สัญชาติ และสภาพปัญหาที่บุคคลดังกล่าวต้องประสบ รวมทั้งควรมีนโยบายให้กระบวนการให้สัญชาติแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น |
ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และมีเอกสารประกอบการพิจารณาที่เป็นไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดสามารถเข้าถึงสิทธิในสัญชาติได้
กรณีกลุ่มผู้สูงอายุไร้สัญชาติ มท. โดยกรมการปกครองได้สำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้ว และได้แก้ไขสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถหาหลักฐานการเกิดเพื่อมาใช้วิธีการขอสัญชาติ โดยให้นายทะเบียนใช้วิธีการสอบปากคำพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือใช้กระบวนการประชาคมหมู่บ้าน หรือการรับรองโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อยืนยันว่าผู้สูงอายุดังกล่าว เป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทยแทนหลักฐานการเกิดและได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเร่งรัดดำเนินการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติให้กับกลุ่มผู้สูงอายุไร้สัญชาติอย่างจริงจังและเร่งด่วน
กรณีคนไร้สัญชาติที่ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักร แต่เข้ามาอยู่อาศัยจนมีความกลมกลืนกับสังคมไทย มท. ได้เสนอขอแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพ เข้ามาและอยู่มานานตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายแล้ว (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สมช.) และได้แก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ซึ่งอนุมัติหลักเกณฑ์การให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 |
2.2 รัฐบาลควรเร่งตรวจสอบหาสาเหตุของการจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร และแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว (กรณีอำเภอแม่แตง และเวียงแห) และควรกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานจนกว่าจะได้รับสถานะกลับคืน รวมทั้งกำหนดแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าว |
กรณีการจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มท. โดยกรมการปกครอง ได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีมูลเหตุต้องสงสัยกระทำการทุจริต และได้ทำการคืนรายการบุคคลเรียบร้อยแล้ว จำนวน 70 ราย สำหรับกรณีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร. 13) โดยอ้างการปฏิบัติตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ข้อ 105 โดยไม่มีทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อย จะต้องตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนชาวเขาหรือการจัดทำทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ โดยบุคคลที่มีหลักฐานทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อย ให้ขอคืนรายการบุคคล ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักฐานดังกล่าวให้ถือว่าการจำหน่ายรายการบุคคลนั้นถูกต้องแล้ว
กรณีอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ สาเหตุการจำหน่ายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร เนื่องจากสำนักทะเบียนไม่ได้ดำเนินการตามแนวทางหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการขอคืนรายการทะเบียนบุคคล จึงทำให้ต้องส่งคำร้องคืนหรือแจ้งกลับเพื่อให้ดำเนินการเพิ่มเติมส่งผลให้เกิดความล่าช้า ไม่มารายงานตัวตามระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ สำนักทะเบียนกลาง ได้ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง แนวทางปฏิบัติ โดยจะคืนรายการทะเบียนเป็น “บุคคลถูกระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียนอยู่ระหว่างรอรายงานตัว” เมื่อตรวจสอบพยานหลักฐานแล้ว เชื่อได้ว่าเป็นเจ้าของรายการและ มีคุณสมบัติถูกต้อง ให้เสนอนายอำเภอหรือนายทะเบียนเพื่อยกเลิกการระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียน
ปัจจุบัน มท. โดยกรมการปกครอง ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิต่อกรณีการจำหน่ายรายการบุคคลออกจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและการระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียนราษฎรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สม.) กรมการปกครอง จังหวัดเชียงใหม่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล โดยจะได้บูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป |
2.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรชี้แจงทำความเข้าใจกับคนไทยพลัดถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการยื่นคำขอคืนสัญชาติ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) รวมทั้งอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นเพื่อให้ได้รับสัญชาติโดยเร็ว และรัฐบาลควรมีนโยบายให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่คนกลุ่มนี้ รวมถึงสิทธิด้านการศึกษา สวัสดิการ และการประกอบอาชีพ |
มท. โดยกรมการปกครอง ได้ทำความเข้าใจกับคนไทยพลัดถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการยื่นคำขอคืนสัญชาติ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นมาโดยตลอด ผ่านการลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ มุลนิธิชุมชนไท และ สม. โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้งานสถานะบุคคลและสัญชาติ เป็น 1 ใน 10 โครงการสำคัญของกรมการปกครอง โดยกำหนดเป้าหมาย จำนวน 13,300 ราย ทั้งนี้ กรมการปกครองได้แก้ไขปัญหาคนไทยพลัดถิ่น โดยได้ดำเนินการออกหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นแล้ว จำนวน 7,712 ราย อนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานะของบุคคลในเอกสารการทะเบียนราษฎร จำนวน 3,285 ราย รวมคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่นทั้งสิ้น จำนวน 10,997 ราย
สำหรับกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการคืนสัญชาติไทย รัฐบาลมีนโยบายให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ดังนี้ (1) ด้านการรักษาพยาบาล (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 และวันที่ 20 เมษายน 2558) ให้ สธ. รับผิดชอบการรักษาพยาบาลให้กับคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่รัฐบาล มีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลและกลุ่มที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ (2) ด้านการศึกษา (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548) ให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยทุกคนเข้าศึกษาเล่าเรียน และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องออกหลักฐานรับรองผลการเรียนให้ทุกราย (3) ด้านการประกอบอาชีพ (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559) ให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะและ สิทธิของบุคคล ทำงานได้ทุกประเภทงาน |
3. กลุ่มคนไทยเชื้อสายมลายู |
3.1 รัฐบาลควรส่งเสริมหลักนิติรัฐโดยติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐให้อยู่ในกรอบกฎหมายอย่างเคร่งครัด |
กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย และหากมีเจ้าหน้าที่กระทำการ ฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการทั้งทางอาญา แพ่ง และทางวินัย พร้อมทั้งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากกลุ่มองค์กรภายนอกเข้ามาตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการจัดตั้งสภาสันติสุข สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของตำบล และมีส่วนร่วมในการแจ้งความเห็นการไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติและเน้นการทำงานที่โปร่งใส เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกผ่านเว็บไซต์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ของ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งที่ผ่านมาได้แจ้งข้อมูลข่าวสารจนนำไปสู่การติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุได้หลายราย |
3.2 รัฐบาลควรเร่งรัดกระบานการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยยึดหลักความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ |
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) ร่วมกับ 5 หน่วยงานคือ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุข และ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า โดยให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลทุกคนบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติยึดถือตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนอกเหนือหลักเกณฑ์ตามระเบียบของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) |
3.3 รัฐบาลควรเคารพวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู และปรับปรุงการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่ โดยใช้ภาษามลายูท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย |
หน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานใน จชต. ยืนยันว่าการดำเนินงานต่าง ๆ ใน จชต. ยึดหลักตามยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นแนวคิดในการปฏิบัติงาน ซึ่งทุกหน่วยงานให้ความสำคัญและมีความระมัดระวังในการเคารพวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ตลอดจนการสื่อสารระหว่างรัฐกับประชาชนในพื้นที่อย่างมาก โดยมีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขนบธรรมเนียม ภาษา ประเพณี และวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ อันจะเป็นการเสริมสร้างความพร้อมใน การปฏิบัติหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ |
3.4 รัฐบาลควรดำเนินมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูได้เข้าถึงสิทธิต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม ใช้ความระมัดระวัง ไม่สร้างความรู้สึกแบ่งแยก |
มท. โดยกรมการปกครอง ได้ดำเนินการตามโครงการตรวจพิสูจน์ สารพันธุกรรม (DNA) เพื่อนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการรับรองสถานะทางทะเบียนราษฎร เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ รวมทั้งเป็นมาตรการช่วยสร้างหลักประกันในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 1,392 ราย |
3.5 รัฐบาลควรมีมาตรการทางสังคมและการศึกษาเพื่อสร้างความกลมเกลียวระหว่างชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ให้มากขึ้น |
หน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานใน จชต. ได้ดำเนินมาตรการทางสังคมและการศึกษาเพื่อสร้างความกลมเกลียวระหว่างไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูกับชาวไทยพุทธในพื้นที่ ในการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่ผู้เรียนในพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและหลักคำสอนของแต่ละศาสนา ตลอดจนการยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยกำหนดให้วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม รวมทั้งศาสนาอื่นเป็นวันหยุดราชการประจำปีในพื้นที่ด้วย |
3.6 รัฐบาลควรดูแลให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิด ต้องมีการลงโทษทางวินัยและทางอาญาอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้เกิดวัฒนธรรมการไม่ต้องรับโทษ |
กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า มีแนวนโยบายในการบังคับใช้กฎหมายมั่นคงตามหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและหลักการอื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติ หลีกเลี่ยงการตั้งฐานปฏิบัติการในหมู่บ้าน ชุมชน วัด โรงเรียน มัสยิด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะเด็ก บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนผู้บริสุทธิ์ นอกจากนี้ ยังมีการวางแนวทางปฏิบัติสำหรับการตั้งด่านตรวจ การตรวจค้น การติดตามจับกุม การควบคุมตัว และการใช้อาวุธให้เป็นไปตามหลักกฎหมายและจารีตประเพณีท้องถิ่น โดยดำเนินการตามมาตรการจากเบาไปหาหนัก ซึ่งเจ้าหน้าที่จะใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายเท่านั้น และมี การติดตามให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตามระเบียบ |
3.7 รัฐบาลควรทบทวนประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ใน จชต. โดยควรบังคับใช้เท่าที่จำเป็นและในระยะเวลาที่จำกัดเท่านั้น |
คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 12 กันยายน 2560) เห็นชอบแผนการและขั้นตอนการปรับลดพื้นที่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อนำพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้แทน ที่ผ่านมามีการปรับลดพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคงเหลือ 28 อำเภอ (จากทั้งหมด 33 อำเภอ) ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี ความร้ายแรงในพื้นที่ จชต. และเจ้าหน้าที่ทุกคนได้คำนึงถึงความถูกต้องและ ความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด |
3.8 รัฐบาลควรเร่งรัดให้มีกฎหมายอนุวัติให้สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาปสูญโดยถูกบังคับ |
คณะรัฐมนตรีมีมติ (วันที่ 23 มิถุนายน 2563) เห็นชอบต่อ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎรตามลำดับต่อไป |
3.9 รัฐบาลควรกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมตัวบุคคลตามกฎหมายด้านความมั่นคง ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใส |
บุคคลที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายด้านความมั่นคงจะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ดังนี้
1) ระเบียบวิธีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 เป็นมาตรการกำกับไม่ให้เจ้าหน้าที่กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอันขาด ซึ่งรวมถึงการกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการตั้งด่าน การค้นตัวบุคคล และพื้นที่ต้องสงสัย รวมทั้งการกักตัวเพื่อสืบหาข้อเท็จจริง ซึ่งสามารถทำได้ไม่เกิน 7 วัน และต้องประสานผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน และหากนำตัวออกจากพื้นที่ไปสอบถาม ต้องแจ้งญาติพี่น้องของผู้ถูกควบคุมตัวให้ทราบ และอนุญาตให้ญาตใกล้ชิดสามารถเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้ตั้งแต่ วันแรกนับแต่ถูกควบคุมตัว หากผู้ต้องสงสัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดต้องรีบปล่อยตัวทันที และเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้ว สำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต. จะจัดให้มีการเยียวยาทั้งการเยียวยาจิตใจจากการกักตัว คนละ 30,000 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้
2) ระเบียบและวิธีการปฏิบัติในการจับกุมและควบคุมตัวตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นมาตรการควบคุมการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้สามารถจับกุมโดยพลการ หากมีความประสงค์ที่จะทำการควบคุมตัว จะต้องขออำนาจศาล เมื่อศาลพิจารณาอนุญาตให้ควบคุมตัวจะทำได้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน หากมีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อ ต้องได้รับอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย โดยพิจารณาถึงความจำเป็นร่วมกันในการขออำนาจศาลควบคุมตัวต่อไปได้ อีกคราวละ 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของศาล และ ในระหว่างการควบคุมตัว ญาติของบุคคลต้องสงสัยสามารถเข้าเยี่ยมได้ตั้งแต่วันแรกของการควบคุมตัว |
3.10 กรณีการเสนอให้รัฐอนุญาตให้ กสม. สามารถตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัว หรือพบผู้ถูกควบคุมตัวได้ทันทีเมื่อได้รับการร้องเรียนเพื่อให้สามารถตรวจสอบและแสวงหาข้อเท็จจริงตามหน้าที่และอำนาจได้โดยเร็ว |
กสม. สามารถเข้าตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัว หรือพบผู้ถูกควบคุมตัวได้ โดยจะต้องดำเนินการตามระเบียบและแนวปฏิบัติของหน่วยงาน ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
4. กลุ่มชาติพันธุ์ |
4.1 รัฐบาลควรยุติการจับกุมกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจัดให้มีกระบวนการพิสูจน์สิทธิว่าเป็นผู้อยู่อาศัยมาก่อน การประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ การจะขับไล่หรือไล่รื้อต้องดำเนินการหลังจากมีการพิสูจน์สิทธิและคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น |
การดำเนินคดีและจับกุม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า แลพันธุ์พืช ชี้แจงว่า จะดำเนินการกับผู้ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้เท่านั้น หากมีการบุกรุก ยึดถือ ครอบครอง ภายหลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และกรณีที่มีการกระทำที่ผิดเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เช่น การซื้อขายเปลี่ยนมือ บุกรุกเพิ่มเติม ฯลฯ แต่สำหรับกรณีราษฎรผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินจะได้รับ การตรวจสอบและพิจารณาตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 แต่หากเป็นการกระทำผิดภายหลังคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายทุกกรณี โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นราษฎรทั่วไป หรือกลุ่มชาติพันธุ์ |
4.2 รัฐบาลควรทบทวนปรับปรุงขั้นตอนก่อนการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติ และแนวทางการจัดการข้อพิพาทการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานของรัฐในเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติควรผนวกมิติทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ด้วย โดยยอมรับการมีส่วนร่วมของชุมชน |
การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดรับฟังความคิดเห็นและเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยเขตที่จะทำการประกาศต้องมีการสำรวจพื้นที่อยู่อาศัย และที่ทำกินเดิมของราษฎร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อนเสมอ สำหรับการจัดการข้อพิพาท และการประกาศมรดกโลกทางธรรมชาตินั้น ยึดถือหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนเช่นเดียวกัน โดยใน การดำเนินการทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง จะต้องมีการหารือประชาชนหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง |
4.3 รัฐบาลควรพิจารณาศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการทำเกษตรแบบยังชีพของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในรูปแบบ “ไร่หมุนเวียน” |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับสัญชาติไทยแล้ว สามารถขอรับการส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและการทำไร่หมุนเวียน จาก กษ. ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการดูแลประเด็นดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ในหลักการ ปลูกพืชเพื่อทำไร่หมุนเวียนนั้น จะต้องกำหนดมาตรการและแนวทาง การปฏิบัติที่ชัดเจน โดยจะต้องสามารถควบคุม กำกับ และตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการเปิดพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มเติม |
4.4 รัฐบาลควรดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม |
สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ที่มี การปรับปรุงแก้ไขใหม่ ได้กำหนดการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เกี่ยวข้องใน การจัดการพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินของราษฎรในชุมชนที่อาศัยอยู่เดิม ให้สามารถอยู่อาศัยภายในเขตอุทยานแห่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการเข้าใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในพื้นที่ เพื่อให้คงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตของชุมชนเดิม และกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ |
4.5 รัฐบาลควรเร่งดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ |
สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว แต่จะดำเนินการได้หลังจากที่ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว [ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติฯ ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะนำเสนอ สภาผู้แทนราษฎร ตามลำดับต่อไป] |
4.6 รัฐบาลควรพิจารณาให้ชนเผ่ามานิกลุ่มที่ต้องการดำรงชีวิตตามภูมิปัญญาดั้งเดิมได้อยู่ในพื้นที่สมบูรณ์ ลดการให้ความช่วยเหลือแบบสงเคราะห์ เช่น การแจกข้าว อาหาร เสื้อผ้า ซึ่งจะทำให้ชนเผ่ามานิสูญเสียอัตลักษณ์และศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองและธรรมชาติ ส่วนกลุ่มที่ประสงค์จะตั้งถิ่นฐานถาวรและทำการเกษตรควรจัดสรรพื้นที่ให้ตามความเหมาะสม |
กลุ่มชาติพันธุ์มานิ หรือ ซาไก ที่มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งถาวรและได้รับการรับรองสถานะบุคคลแล้ว สามารถได้รับการพิจารณาเพื่อการอยู่อาศัยและทำกินภายในเขตป่าอนุรักษ์ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 64 และพระราชบัญญัติป่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 121 แต่สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ หรือ ซาไก ที่มีวิถีแบบดั้งเดิมอยู่อาศัยในป่าเคลื่อนย้ายที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง หากมีความจำเป็นต้องดำรงชีพอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดใหม่ทดแทนได้ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 65 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 57 |
5. กลุ่มแรงงานข้ามชาติ |
5.1 รัฐบาลควรบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง |
ประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันการลักลอบ นำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง โดย รง. ได้แก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างบูรณาการภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 – 2564 และการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งเสริมให้มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย คุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามมาตรฐานสากลและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา เพื่อปรับลดขั้นตอนระยะเวลาในการนำเข้าแรงงาน ด้วยการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐ พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมแรงงานข้ามชาติก่อนเข้ามาทำงานในประเทศ และได้ตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าวและนายจ้าง/สถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ รง. ได้ร่วมมือทางวิชาการกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว ผ่านโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง โครงการความปลอดภัยและยุติธรรม และร่วมกับกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาจัดโครงการยกระดับการบังคับใช้กฎหมายแรงงานและกฎหมายอาญา เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ รง. และ สมช. ได้จัดทำ (ร่าง) แผนการบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) โดยกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย กลยุทธ์ที่ 1 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบและจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้จัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องด้วย |
5.2 รัฐบาลควรทำความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการรับรองสัญชาติของเด็กที่เกิดจากแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพื่อป้องกันปัญหาเด็กไร้สัญชาติภายในประเทศ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านในการจดทะเบียนการเกิดของเด็ก การรับรองสัญชาติและการสมรสของแรงงานดังกล่าวด้วย |
สธ. ได้จัดทำคู่มือเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองการเกิดให้เด็กที่เกิดจากบุคคลที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย และได้แจกจ่ายให้โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทั่วประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน อยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป |
5.3 รัฐบาลควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง และการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว |
รง. อยู่ระหว่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยได้มีความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศในการร่วมกันศึกษาและ นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงกฎหมายให้มีบทบัญญัติสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการรอพิจารณาวาระที่ 2 และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างกระบวนการนำเสนอคณะรัฐมนตรีสำหรับการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ 87 นั้น รง. จะดำเนินการในลำดับถัดไป |
6. กลุ่มผู้อพยพ/ผู้แสวงหาที่พักพิง |
6.1 รัฐบาลควรเร่งพิจารณาดำเนินการตามระบบคัดกรองคนเข้าเมืองผิดกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 |
ปัจจุบันได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 แล้ว โดยจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการคัดกรอง คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ อันเป็นภูมิลำเนาได้ พ.ศ. 2562 แล้ว ปัจจุบัน สตม. อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครองซึ่งเป็นผู้แทน จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามระเบียบฯ ดังกล่าว ต่อไป |
6.2 รัฐบาลควรแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต้นทางและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อรับชาวโรฮีนจากลับภูมิลำเนา หากรายใดไม่สามารถส่งกลับได้เนื่องจากอาจเป็นอันตราย ควรพิจารณาประสานและทำงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเพื่อให้ความช่วยเหลือเรื่องการตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามต่อไป |
สมช. และ สตม. ได้ดูแลผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้เป็นไป ตามหลักมนุษยธรรม กรอบกฎหมายภายใน และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ทั้งนี้ ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการไทยได้ประสานผ่านช่องทาง การทูตทั้งเมียนมาและบังกลาเทศเพื่อให้เข้ามาพิสูจน์อัตลักษณ์และยืนยัน ความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา ซึ่งบังกลาเทศได้เข้ามาพิสูจน์อัตลักษณ์และยืนยันความเป็นพลเมืองจนสามารถรับกลับประเทศแล้วจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ไทยยังดำเนินการร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติในการสนับสนุนให้ชาวโรฮีนจาไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามด้วย |
6.3 รัฐบาลควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย |
สมช. ได้จัดประชุมเพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวนท่าทีของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว |
6.4 รัฐบาลควรพิจารณาแก้ไขปัญหาความแออัดของห้องกักและจัดให้มีระบบรักษาพยาบาลผู้ต้องกักที่เจ็บป่วยอย่างเหมาะสม |
สตม. ได้มีคำสั่งกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการรับตัว การควบคุมและดูแลคนต่างด้าว โดยกำหนดแนวทางการดูแลผู้ต้องกักไว้ให้ดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การรักษาพยาบาล” ซึ่งสถานที่กักตัวหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองได้จัดเตรียมยานพาหนะ และเจ้าหน้าที่ตำรวจรับผิดชอบในการนำผู้ต้องกักที่มีอาการเจ็บป่วยส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่น ๆ และกำหนดให้สถานที่กักตัวหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองประสานงานกับโรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีการส่งตัวผู้ต้องกักไปรักษาโดยจัดให้มีสถานที่เฉพาะสำหรับผู้ต้องกักที่เจ็บป่วยเพื่อสะดวกต่อการควบคุม พร้อมทั้งงจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุม ดูแลอย่างใกล้ชิด |
6.5 รัฐบาลควรพิจารณาทางเลือกอื่นแทนการควบคุมตัวผู้อพยพไว้ในห้องกักของ สตม. |
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ตช. พม. กต. มท. สธ. ศธ. รง. ได้ร่วมลงนามในบันทึกความตกลง เรื่อง การกำหนดมาตรการและแนวทางแทน การกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและแนวทางปฏิบัติงานของ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการไม่กักตัวเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ไว้ในสถาน กักตัวฯ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีเห็นชอบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานภายใต้บันทึกฯ ดังกล่าวแล้ว โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน อยู่ระหว่าง การยกร่างคู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน ตามบันทึกฯ ดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคปฏิบัติงานในทิศทางเดียวกัน |
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับโครงสร้างเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปรับโครงสร้างเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จากอัตรา 200,000 บาท
เป็นอัตรา 235,900 บาท (เพิ่มขึ้น 35,900 บาท) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดตำแหน่งรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จาก 200,000
เป็น 235,900 บาท (เพิ่มขึ้น 35,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.95) ซึ่งอัตราเงินเดือนดังกล่าวการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ใช้มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 โดยในครั้งนี้ กฟภ. ได้มีการวิเคราะห์หลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนระบบแรงจูงใจ และสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 รวมทั้งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และสำนักงาน ก.พ. ตามขั้นตอนของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว นอกจากนี้ กฟภ. แจ้งว่า ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่กระทบรายได้ที่นำส่งเข้ารัฐแต่อย่างใด และ กฟภ. ไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลในการดำเนินการ จึงไม่กระทบต่อภาระงบประมาณ หรือภาระการสูญเสียรายได้ของรัฐในอนาคต
18. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565 (ฉบับสมบูรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอดังนี้
1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด – 19 พ.ศ. 2564 – 2565 (แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ) (ฉบับสมบูรณ์) เพื่อประกาศใช้ต่อไป
2. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ตามที่ สศช. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สศช. รายงานว่า
1. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) และมอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาตินำเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในส่วนของ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
2.
(ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ยังคงยึดหลักการ เป้าประสงค์มิติและประเด็นการพัฒนาตาม (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับปรับปรุง) แต่มีการปรับค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับบริบทการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ได้ ดังนี้
สาระสำคัญ |
รายละเอียด |
หลักการ |
ล้มแล้ว ลุกไว (Resilience) |
เป้าประสงค์ |
เพื่อให้ “คนสามารถยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติิ และมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ (Economic Transformation)” |
3 มิติ
การพัฒนา |
1. การพร้อมรับ (Cope) คือ ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวะวิกฤติให้สามารถยืนหยัดและต้านทานความยากลำบาก รวมถึงฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
2. การปรับตัว (Adapt) คือ การปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงพร้อมกระจายความเสี่ยงและปรับตัวอย่างเท่าทันเพื่อแสวงหาประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป
โดย 3 มิติการพัฒนา จะทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ภายใต้หลัก 3 ขั้นการพัฒนา ได้แก่ survival (การอยู่รอด) Sufficiency (พอเพียง) และ Sustainability (ยั่งยืน) |
4 ประเด็น
การพัฒนา |
โดยเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในระยะ 2 ปีข้างหน้า ได้แก่
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาต่างประเทศ
2. การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศไทยมีโอกาส และมีศักยภาพภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงและบริบทโลกใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไป
3. การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) เพื่อการยกระดับและปรับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและโครงสร้างเศรษฐกิจที่ปรับเปลี่ยนไป พร้อมทั้งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต
4. การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors) ให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของประเทศ |
แนวทางการพัฒนา |
มีความสอดคล้องกับข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอการดำเนินการจากองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่
1. รายงาน Consolidated Socio-Economic Impact Assessment of COVID – 19 in Thailand ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP)
2. รายงาน Navigating COViD - 19 in Asia and the Pacific ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)
3. Thailand Economic Monitor: Thailand in the Time of COVID - 19 ของธนาคารโลก (World Bank) |
3. สศช. ได้เสนอ
แนวทางการดำเนินการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการบูรณาการได้และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ดังนี้
3.1 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใช้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์)เป็นกรอบในการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติมจากโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 250 โครงการ ที่เป็นโครงการที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ (Top Priorities) ภายใต้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ให้ทันต่อคำของบประมาณประจำปี 2565 ต่อไป
3.2 ให้สำนักงบประมาณใช้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ (ฉบับสมบูรณ์) เป็นกรอบในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของโครงการประจำปีงบประมาณ 2565 ร่วมกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ประเด็น ในปัจจุบัน
19. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สงป. รายงานว่า สงป. ได้ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.
หลักการและกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) (ยุทธศาสตร์ชาติ) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) (แผนแม่บทฯ) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฯ) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 - 2565) (นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติฯ) แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด - 19 พ.ศ. 2564 - 2565 (แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาล โดย
มุ่งให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับประเด็นการพัฒนาตามแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ จำนวน 4 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) (2) การยกระดับขีดความสามารถของประเทศเพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว (Future Growth) (3) การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ (Human Capital) (4) การปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ (Enabling Factors)
ที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถรับมือและเตรียมความพร้อมในการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมี
หลักการสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย (ตามข้อ 2.)
1.2 นำเป้าหมายและตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ มากำหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์ในแต่ละด้าน เพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนในแต่ละระดับที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
1.3 นำแผนแม่บทเฉพาะกิจฯ 4 ประเด็น แผนย่อยภายใต้แผนแม่บทฯ 23 แผน จำนวน 85 ประเด็น และแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 13 ด้าน มากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ยุทธศาสตร์แต่ละด้าน พร้อมทั้งนำเป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนดังกล่าวมากำหนดไว้ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และตัวชี้วัดที่สามารถติดตามผลได้
1.4 นำแนวทางและประเด็นการพัฒนาภายใต้แผนแม่บทเฉพาะกิจฯ แผนย่อยภายใต้แผนแม่บทฯ และแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) มากำหนดเป็นนโยบายการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำโครงการรองรับประเด็นดังกล่าว และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป
2.
โครงสร้างของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย
2.1
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
(3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
(5) ยุทธศสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(6) ยุทธศาตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
2.2
รายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย
20. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เกี่ยวกับการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานของรัฐ และแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 เกี่ยวกับการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ของหน่วยงานของรัฐ และเห็นชอบแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยประสานกับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยดำเนินการทบทวนและปรับปรุงแผน BCP ให้เป็นปัจจุบันเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และได้รายงานความคืบหน้าการจัดทำแผน BCP พร้อมทั้งนำเสนอกรอบแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 และครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การส่งเสริมหน่วยงานของรัฐจัดทำแผน BCP
1.1 สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต และการจัดทำแผน BCP โดยจัดทำ (1) คู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (2) แนวทางการทบทวนและปรับปรุงแผน BCP (3) คลิปวีดิโอแนวทางการจัดทำแผน BCP และ (4) แบบฟอร์มแนะนำสำหรับการทำแผน ทั้งนี้ ได้เผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานภาครัฐในการจัดทำแผน BCP
1.2 ร่วมกับกรมสรรพากร สำนักงานจังหวัดนครปฐม สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครปฐม และเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในการจัดทำแผนตัวอย่างเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ในการศึกษาประกอบการจัดทำแผนของหน่วยงาน โดยมีแผนตัวอย่าง 4 ประเภทหน่วยงาน ได้แก่ (1) ส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการให้บริการประชาชน (กรมสรรพากร) (2) ส่วนราชการที่มีภารกิจด้านการอำนวยการบริหารงานภาครัฐ (สำนักงาน ก.พ.ร) (3) ส่วนราชการส่วนภูมิภาค (สำนักงานจังหวัดนครปฐมและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครปฐม) และ (4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (เทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม)
1.3 เปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารแนะนำการจัดทำแผน BCP ทางแอปพลิเคชัน LINE @opdcteam ขณะนี้มีผู้ติดตาม LINE จำนวน 2,741 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563)
1.4 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผน BCP ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่ส่วนราชการระดับกรม เมื่อวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2563 ส่วนราชการส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 และ อปท. เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563
2. การจัดทำแผน BCP ของหน่วยงานของรัฐ
2.1
การทบทวนและปรับปรุงแผน BCP ของหน่วยงานของรัฐ ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 มีหน่วยงานของรัฐ
จัดทำแผน BCP แล้ว 3,616 หน่วยงาน (คิดเป็นร้อยละ 43.66) จากจำนวนหน่วยงานทั้งหมดที่ต้องจัดทำแผน 8,281 หน่วยงาน โดยมีการวิเคราะห์ภาพรวมของแผนที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างพันธกิจ กระบวนการหลักที่สำคัญ การนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชน รวมถึงกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องที่สำคัญ กรณีหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการจัดทำและยังไม่ได้จัดส่งแผน BCP สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้ติดตามให้หน่วยงานดังกล่าวจัดทำแผนให้แล้วเสร็จต่อไป นอกจากนี้ แผน BCP ยังรองรับสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย ดังนี้
แผนรองรับสถานการณ์ |
ร้อยละ |
COVID19/โรคระบาดต่อเนื่อง |
96.97 |
อัคคีภัย |
98.10 |
อุทกภัย |
95.33 |
ชุมนุมประท้วง/จราจล |
84.97 |
ไฟฟ้าดับวงกว้าง |
60.33 |
ก่อการร้าย |
34.71 |
แผ่นดินไหว |
31.24 |
คุกคามทางไซเบอร์ |
25.90 |
ทั้งนี้ ในสถานการณ์การคุกคามทางไซเบอร์ หน่วยงานได้จัดทำแนวปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Contingency Plan) ตามแนวทางของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) อยู่แล้วนอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมสนับสนุน ดศ. ในการจัดทำแผน BCP ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับเหตุวิกฤตที่กระทบต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศและภัยคุกคามทางไซเบอร์
2.2
การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในประเด็นที่คณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563)
2.2.1
การนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชน จากสถานการณ์ COVID-19 หน่วยงานของรัฐได้เห็นถึงความสำคัญของการนำระบบ e-Service และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชน ทั้งระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่แล้ว รวมถึงมีแผนที่จะพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในระยะต่อไป เช่น การจองทะเบียนรถผ่านแอปพลิเคชัน (กรมการขนส่งทางบก) การรักษาผู้ป่วยผ่านระบบ AI (กรมการแพทย์) การพัฒนาระบบ Educational Data Center: EDC (กระทรวงศึกษาธิการ) (ศธ.) และระบบการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลคนหาย คนนิรนามและศพนิรนาม (สถาบันนิติวิทยาศาสตร์) ทั้งนี้ หน่วยงานได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบช่องทางการรับบริการออนไลน์เพื่อทดแทนการเดินทางมาติดต่อราชการด้วยตนเองในส่วนของส่วนราชการส่วนภูมิภาคและ อปท. ได้ให้บริการประชาชนผ่านระบบของส่วนกลาง
2.2.2
การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต หน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้ทบทวนและปรับปรุงแผน BCP เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ให้ความสำคัญต่อการให้บริการประชาชนโดยไม่ให้เกิดการหยุดชะงัก โดยกำหนดกลยุทธ์ความต่อเนื่องและวิธีการต่าง ๆ ไว้แล้ว เช่น
ภารกิจ |
การดำเนินการ |
ด้านไฟฟ้า |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีแผนที่รองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าหากเกิดสภาวะวิกฤตที่ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าหยุดชะงักจะสามารถจ่ายไฟคืนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ภายใน 3 ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ภายใน 24 ชั่วโมง (หรือจะหยุดชะงักไม่เกิน 1 วัน) นอกจากนี้ได้ใช้ระบบเทคโนโลยีในการควบคุมการผลิตและจ่ายไฟฟ้าจากส่วนกลางได้เต็มทั้งระบบ ตลอดจนมีระบบสำรองในการควบคุมในกรณีที่ระบบแรกไม่สามารถใช้การได้ มีระบบที่ควบคุมและสั่งการโดยเจ้าหน้าที่กรณีระบบหลักและระบบสำรองล้มเหลว รวมทั้งมีแผนการหมุนเวียนหรือทดแทนบุคลากรเมื่อเกิดสภาวะวิกฤต |
ด้านโทรคมนาคม |
หน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่หน่วยงานของรัฐได้อย่างต่อเนื่อง โดยหยุดชะงักไม่เกิน 4 ชั่วโมง เร็วกว่ามาตรฐานของคุณภาพบริการโทรคมนาคมที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กำหนดให้ไม่นานกว่า 24 ชั่วโมง โดยมีระบบที่ครอบคลุมทั้งระบบการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการและระบบงานภายในองค์กร มีแหล่งข้อมูลสำรองทุกระบบ มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ในรูปแบบทรัพยากรร่วมของหน่วยงาน รวมทั้งกำหนดขั้นตอนและหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินไว้อย่างชัดเจน |
3.
แนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนด
แนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐที่มีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับบริการภาครัฐอย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤตสามารถใช้บริการแบบเบ็ดเสร็จผ่าน e-Service ภาครัฐ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการด้วยตนเอง ในขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐทุกแห่งต้องมีความพร้อมในการดำเนินภารกิจอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
3.1
การนำระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานและให้บริการแก่ประชาชน
ภารกิจ |
การดำเนินการ |
การพัฒนา
e-Service ภาครัฐ |
ให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดการพัฒนางานบริการแบบเบ็ดเสร็จ โดยนำ e-Service มาเป็นทางเลือกให้ประชาชนใช้แทนการเดินทางไปติดต่อราชการเอง ณ หน่วยงาน
โดยเฉพาะงานที่มีปริมาณการขอรับบริการเป็นจำนวนมาก งานที่ต้องมีการรอคิวรับบริการ ณ หน่วยงาน งานที่มีผลทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น หรือสนับสนุนช่วยเหลือให้ภาคเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบปัญหาในสถานการณ์ COVID-19 ฟื้นตัวได้รวดเร็วและยั่งยืนยิ่งขึ้น รวมถึงงานที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานประชาสัมพันธ์ e-Service ของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับนำความเห็นของประชาชนหลังใช้บริการมาปรับปรุงให้ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งพิจารณาให้สามารถขยายเวลาการให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง |
การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ
ที่เป็นอุปสรรค |
ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ร่วมกับหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ในการเร่งรัดแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ e-Service |
การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน
ด้านดิจิทัล
ของประเทศ |
ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ดศ. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (องค์กรมหาชน) เร่งรัดการส่งเสริมและให้การสนับสนุนหน่วยงานในการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน บริการโทรคมนาคมมีความเร็วและความเสถียรเพียงพอ มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูล ควบคู่ไปกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสำคัญของประเทศ เพื่อให้ระบบบริการในรูปแบบ e-Service มีความสมบูรณ์ สามารถให้บริการได้อย่างเบ็ดเสร็จตั้งแต่ยื่นเรื่องจนได้รับเอกสารการอนุมัติ |
การขับเคลื่อน
การให้บริการ
ประชาชนผ่าน
e-Service ภาครัฐ |
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการให้บริการประชาชน
ผ่าน e-Service ภาครัฐ โดยกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนางานบริการภาครัฐให้เป็น e-Service ยกระดับระบบที่มีอยู่ให้สามารถบริการออนไลน์ได้อย่างครบวงจร ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ (สงป.) กรมบัญชีกลาง พิจารณากำหนดแนวทางการสร้างแรงจูงใจแก่หน่วยงานของรัฐในการเร่งพัฒนาการให้บริการประชาชนผ่าน e-Service |
3.2
การส่งเสริมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตในระยะต่อไปแก่หน่วยงานของรัฐ
ภารกิจ |
การดำเนินการ |
การสร้างองค์ความรู้ในการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต |
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสริมสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของหน่วยงานของรัฐเพื่อยกระดับการดำเนินการ โดยเตรียมความพร้อมแบบองค์รวมตั้งแต่การบริหารจัดการ การทำความเข้าใจองค์กร การกำหนดกลยุทธ์ การจัดทำแผนและนำไปปฏิบัติ การทดสอบ ปรับปรุง ทบทวนแผน และการปลูกฝังให้ดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์กรเพื่อยกระดับความพร้อมของภาครัฐในการรับมือกับสภาวะวิกฤตต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้แผนและการดำเนินการตามแผน BCP ของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
การพัฒนาคุณภาพของ BCP |
ให้หน่วยงานของรัฐทบทวน ทดสอบ ซักซ้อม และปรับปรุงแผนเป็นประจำทุกปีเพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ รวมทั้งให้พิจารณาจัดทำแผนจำแนกตามสถานการณ์ตามบริบทขององค์กรและพื้นที่ มีการบูรณาการทรัพยากรระหว่างหน่วยงานที่มีทรัพยากรประเภทเดียวกัน หน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่/อาคารเดียวกัน และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แผน BCP ของหน่วยงานมีความครบถ้วนสมบูรณ์และทันต่อสถานการณ์ |
การขยายผล
สู่หน่วยงานในพื้นที่ |
ให้หน่วยงานของรัฐและ อปท. ที่มีหน่วยงานในสังกัดอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ส่งเสริมและติดตามให้หน่วยงานในสังกัด เช่น อำเภอ โรงเรียน โรงพยาบาล จัดทำแผน BCP เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทุกระดับมีความพร้อมต่อการให้บริการอย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต ทั้งนี้ กรมการแพทย์อยู่ระหว่างการส่งเสริมโรงพยาบาลในสังกัดจัดทำแผน BCP ต้นแบบ เพื่อจะขยายผลให้โรงพยาบาลอื่น ๆ ดำเนินการต่อไป โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมในการส่งเสริมองค์ความรู้และติดตามการดำเนินการดังกล่าวด้วย |
การสนับสนุน
การจัดหาทรัพยากรในสภาวะวิกฤต |
ให้ สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการสนับสนุนหน่วยงานของรัฐให้สามารถจัดหาทรัพยากรในสภาวะวิกฤตได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน BCP เช่น การจัดเตรียมงบประมาณสำรองเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับดำเนินภารกิจสำคัญหรือภารกิจในการบริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แผน BCP มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเมื่อเกิดเหตุวิกฤต |
การจัดทำแผน
BCP เฉพาะด้าน |
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำแผน BCP เฉพาะด้าน เพื่อรองรับสถานการณ์ที่สำคัญ เช่น ร่วมกับ ดศ. และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในการจัดทำแผน BCP ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ หรือกรอบแนวทางในการจัดทำแผน BCP ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้นำไปปรับปรุงแผน BCP ของตนเองต่อไป |
ทั้งนี้ ให้
สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัด ติดตาม และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการตามแนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริการภาครัฐ และรายงานให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบเป็นระยะ
21. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำครึ่งปี (มกราคม – มิถุนายน 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) [เป็นการดำเนินการตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ที่บัญญัติว่า ทุกหกเดือน ให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบ ทั้งนี้ ให้จัดทำรายงานภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี] โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 หดตัวสูงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมาตรการปิดเมืองที่เข้มงวดส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว
การส่งออกบริการภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ
การส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากรายได้ของประเทศคู่ค้าอ่อนแอลง
การบริโภคภาคเอกชนหดตัวสูงตามการจ้างงาน รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสูงตามภาวะอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ และ
ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับลดลงตามผลประกอบการและความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ซึ่ง
การใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจ นอกจากนี้
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศมีความเปราะบางมากขึ้น โดย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบตามราคาหมวดพลังงาน ในขณะที่
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงเป็นบวกแต่ปรับลดลงมากตามอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง และ
อัตราการว่างงานเร่งตัวขึ้นมาก ส่วน
เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องและสามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้
อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงจากเดือนธันวาคม 2562 เนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดปรับลดลงมากตามรายรับจากนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ในภูมิภาคและประเทศไทย
2. การดำเนินงานของ ธปท. มีการดำเนินงานและประเมินผลนโยบาย 3 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านนโยบายการเงิน
2.1.1 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้
กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติ (24 ธันวาคม 2562) อนุมัติให้
ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 – 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่สำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2563 ซึ่งเหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อไทยที่มีแนวโน้มต่ำลง และการเปลี่ยนรูปแบบเป้าหมายเป็นช่วงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกและไทยผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูง
2.1.2
กนง. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 3 ครั้ง จากร้อยละ 1.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ซึ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลายและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จากร้อยละ 0.46 เหลือร้อยละ 0.23 ของฐานเงินฝากเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินปรับลดอัตราเงินกู้อ้างอิงเพิ่มเติมซึ่งจะช่วยบรรเทาภาวะหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง
2.1.3 กนง. ให้ความสำคัญกับ
การติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไปจนกระทบการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยเห็นควรติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลของมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายขาออกที่ได้ดำเนินการไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 และการประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม
2.2 ด้านนโยบายสถาบันการเงิน
2.2.1 คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
(1)
การเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงิน การสนับสนุนการธนาคารเพื่อความยั่งยืน และการผลักดันความเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคและโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เช่น โครงการ MyPromptQR ให้ร้านค้าสามารถรับเงินด้วยการแสกน QR code และการทดสอบนวัตกรรมการเงินใหม่ ๆ ใน Regulatory Sandbox และ Own Sandbox
(2)
การปรับปรุงนโยบายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที โดยเฉพาะการออกมาตรการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เช่น การกำหนดมาตรการขั้นต่ำในการช่วยเหลือลูกหนี้ การออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจและการผ่อนผันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงิน
(3)
การผลักดันและปรับปรุงนโยบายเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินและความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การยกระดับการกำกับดูแลด้าน IT Risk Management และ Cyber Resilience ให้มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และการจัดทำแนวนโยบายการให้สินเชื่อในลักษณะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
2.2.2
การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม โดยการติดตามและประเมินความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และการให้ความเห็นต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เช่น การดูแลไม่ให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์จนเกินไป
2.2.3
ผลการดำเนินการของระบบธนาคารพาณิชย์และระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institution: SFIs)
(1)
ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคง เงินกองทุนและเงินสำรองอยู่ในระดับสูง แต่ผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ด้านการเติบโตของสินเชื่อ ระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวจากการใช้สินเชื่อของภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่แต่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงจากการหดตัวของเศรษฐกิจ
(2)
ระบบ SFIs มีเงินกองทุนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเพียงพอที่จะรองรับการขยายสินเชื่อในระยะต่อไปได้ ทั้งนี้ สินเชื่อของระบบ SFIs มีการชะลอตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
2.3 ด้านนโยบายระบบการชำระเงิน
2.3.1
โครงการระบบพร้อมเพย์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 มียอดการลงทะเบียนใช้บริการจำนวน 55.1 ล้านหมายเลข ปริมาณโอนเงินเฉลี่ยต่อวัน 14.5 ล้านรายการหรือคิดเป็นมูลค่า 56.2 พันล้านบาท อีกทั้งยังทำสถิติการใช้งานสูงสุดใหม่ถึง 20.2 ล้านรายการต่อวัน
2.3.2
การดำเนินการตามกรอบการพัฒนา 5 ด้านของแผนกลยุทธ์ ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 5
(1)
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่เชื่อมโยงกัน โดยส่งเสริมการใช้ ISO 20022 ในการจัดทำมาตรฐานข้อความการชำระเงินของระบบพร้อมเพย์ ระบบ Bulk payment และระบบบาทเนต ให้สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างระบบได้ รวมทั้งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลที่ต่อยอดการใช้ ISO 20022 ในการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางดิจิทัลอื่น เช่น ข้อมูลใบแจ้งหนี้ เพื่อส่งเสริม e-Business อย่างครบวงจร
(2)
การส่งเสริมนวัตกรรมและบริการชำระเงิน โดยผลักดันการพัฒนาบริการชำระเงินหรือโอนเงินระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีและช่องทางใหม่กับประเทศต่าง ๆ ผ่านความร่วมมือทั้งในระดับธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ เช่น การเชื่อมโยงระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างประเทศและการเชื่อมโยงระบบโอนเงินรายย่อยแบบเรียลไทม์ เช่น โครงการเชื่อมโยง PromptPay ของไทย และ PayNow ของสิงคโปร์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2564
(3)
การส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้บริการชำระเงิน เช่น การเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตให้เป็นแบบชิปการ์ดเพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น การผลักดันการขยายการใช้ digital payment ในหน่วยงานภาครัฐ และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ digital payment อย่างแพร่หลาย
(4)
การกำกับดูแลและการบริหารความเสี่ยง มีการจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องภายใต้พระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้าสำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์
(5)
การพัฒนาข้อมูลชำระเงิน อยู่ระหว่างพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และติดตามความเสี่ยงของผู้ให้บริการ e-Payment รวมทั้งจัดทำเครื่องมือและตัวชี้วัดในการติดตามทิศทางการชำระเงินรายย่อย จัดทำสถิติข้อมูลการชำระเงินเพื่อใช้รายงานภาพรวมธุรกรรมการชำระเงินต่อผู้บริหารโดยเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ infographic ผ่านเว็บไซต์และช่องทางออนไลน์ของ ธปท. และศึกษาแนวทางการบูรณาการข้อมูลการชำระเงินร่วมกับผู้ให้บริการ e-Payment
22. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 ในประเทศไทย พ.ศ. 2566
คณะรัฐมนตรีรับทราบการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 ในประเทศไทย พ.ศ. 2566 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี โดยในแต่ละปีมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ได้ส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ปีแรกที่มีการจัดการแข่งขัน (พ.ศ. 2547) จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 16 ปี
2. ในปี 2566 ประเทศไทยได้รับเชิญให้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 19 โดย สอวน. (ซึ่งมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานมูลนิธิ) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศธ. และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ทั้งนี้
งานดังกล่าวจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
1) วัตถุประสงค์ |
- เฉลิมพระเกียรติ 100 พรรษา ชาตกาล ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศด้านวิชาการและการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน และการวิจัย ที่จะช่วยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศ
- ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถด้านปัญญา และพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้นทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ |
2) หน่วยงานเจ้าของโครงการ |
สอวน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศธ. และ สสวท. |
3) ระยะเวลาโครงการ |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567 |
4) ผู้เข้าร่วม |
คาดว่าจะมีผู้เข้าแข่งขันประมาณ 60 ประเทศ ประเทศละ 6 คน อาจารย์ผู้ควบคุมดูแล ประเทศละ 3 คน และมีประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์จำนวนหนึ่ง รวมผู้เข้าร่วมประมาณ 600 คน |
5) การติดตามและ
สรุปผลของโครงการ |
มีการประเมินทุกขั้นตอนตลอดการดำเนินโครงการ เพื่อนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที และประเมินขั้นสุดท้ายเพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของโครงการ |
6) ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- กระตุ้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของไทยให้มีมาตรฐานสูงขึ้นและมีความทันสมัย
- เยาวชนของไทยมีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพิ่มมากขึ้นและได้มีโอกาสแสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
- ครูและเยาวชนของไทยได้รับประสบการณ์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูและเยาวชนจากนานาชาติ
- นานาประเทศยอมรับความสามารถของนักวิชาการไทยมากยิ่งขึ้น
- เผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่ง |
6) งบประมาณ |
ประมาณ 79,229,450 บาท (จากงบประมาณประจำปีของ สอวน. รวมทั้งการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน) |
23. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนกันยายน 2563 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การจัดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อปท. ทุกแห่ง ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติฯ ครบถ้วน จำนวน 7,550 แห่ง และบันทึกรายชื่อผู้สมัครในระบบรายงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Report) ของกรมการปกครองแล้ว 448,926 คน (เป้าหมาย 377,500 คน) และได้จัดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติฯ ใน 76 จังหวัด 3,800 อปท. โดยมีผู้ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 194,560 คน
2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 เนื่องในวันมหิดล (วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) จังหวัดต่าง ๆ ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการทำกิจกรรมพัฒนาโรงพยาบาล/สถานพยาบาลภายในพื้นที่จังหวัด เช่น การทำความสะอาดปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ของโรงพยาบาลและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ตามความเหมาะสมของพื้นที่
3. การติดตามผลการดำเนินการที่สำคัญของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้แก่
3.1 ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด-19
3.2 ความคืบหน้าการดำเนินโครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง โดยกรมราชทัณฑ์
3.3 ความคืบหน้าการพัฒนาคลองเปรมประชากรและการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ทิ้งขยะลงคลองเปรมประชากร
3.4 รายงานผลการสนับสนุนโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์
3.5 รายงานสถานการณ์ด้านภัยพิบัติและผลกระทบจากพายุโซนร้อน “โนอึล”
3.6 ความคืบหน้าการพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ความคืบหน้าการพัฒนาสระบ่อหินขาว จังหวัดนครสวรรค์ และความคืบหน้าโครงการพัฒนาบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร
3.7 ความคืบหน้าการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนร่วมกับเด็กและเยาวชนจิตอาสา “พลังเยาวชนสร้างสรรค์ปันสุขให้สังคม” ณ สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
3.8 ความคืบหน้าการฝึกอบรมจิตอาสาภัยพิบัติประจำ อปท.
3.9 รายงานการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้กิจกรรมจิตอาสาพระราชทานและ การปฏิบัติงานของจิตอาสา 904 ทั่วประเทศ ผ่านระบบแอปพลิเคชันและรายงานการประชาสัมพันธ์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “จิตอาสาพระราชทาน” เพื่อสร้างการรับรู้ในด้านต่าง ๆ
4. ข้อมูลจำนวนจิตอาสาและกิจกรรมจิตอาสา ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีจิตอาสาลงทะเบียน รวม 6,709,049 คน [จำแนกตามพื้นที่ (ภูมิลำเนา) ได้แก่ กรุงเทพมหานครจำนวน 455,919 คน ส่วนภูมิภาค จำนวน 6,253,130 คน และจำแนกตามเพศ ได้แก่ เพศชาย จำนวน 2,986,471 คน เพศหญิง จำนวน 3,722,578 คน] และมีการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา จำนวน 52,045 ครั้ง กิจกรรมจิตอาสาภัยพิบัติ จำนวน 656 ครั้ง และการบรรยายขยายผลให้ความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย จำนวน 1,001 ครั้ง มีผู้เข้ารับฟังการบรรยาย จำนวน 634,711 คน
24. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
กค. เสนอว่า
1. พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มาตรา 10 บัญญัติให้
ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ กค. รายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
2. กค. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
2.1 ความเป็นมาและข้อเท็จจริง
2.2 รายละเอียดการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบด้วย
รายละเอียดของการกู้เงิน และวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ และผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ ซึ่งประกอบด้วย
รายละเอียดโครงการและผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับของโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 4 โครงการ (เป็นโครงการตามแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงศ์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)
จึงได้เสนอรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของรายงาน
1.
ความเป็นมาและข้อเท็จจริง
ตามที่รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 โดยได้กำหนดวงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาทเพื่อนำไปใช้สำหรับแผนงานหรือโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนด และตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดฉบับนี้กำหนดให้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้ กค. รายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
2. รายละเอียดการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
2.1
รายละเอียดของการกู้เงิน
ณ วันที่ 30 กันยายน 2563
กค. ได้ลงนามในสัญญากู้เงินและออกตราสารหนี้ภายใต้พระราชกำหนดแล้ว จำนวน 373,761.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.38 ของวงเงินกู้ตามพระราชกำหนด และ
มีวงเงินกู้คงเหลือตามพระราชกำหนด จำนวน 626,239.00 ล้านบาท ซึ่ง กค. จะได้ดำเนินการทยอยกู้เงินเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเพิ่มเติมตามความจำเป็นและความสอดคล้องกับการใช้เงินของโครงการต่อไป
2.2
วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ ประกอบด้วย
1) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โดยเงินกู้ตามพระราชกำหนดดังกล่าวสามารถนำไปใช้จ่ายตามแผนงานโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนด อันประกอบด้วย 3 แผนงานหรือโครงการ ดังนี้
(1)
แผนงานที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
วงเงิน 45,000.00 ล้านบาท
(2)
แผนงานที่ 2 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ
วงเงิน 555,000.00 ล้านบาท
(3)
แผนงานที่ 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
วงเงิน 400,000.00 ล้านบาท
3.
ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
การดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 4 โครงการ ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (แผนงานที่ 2) โดย
สามารถเยียวยาให้กับผู้มีสิทธิ์ จำนวน 30,524,376 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 89.92 จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 33,946,103 ราย
4.
สถานภาพการอนุมัติแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 30 กันยายน 2563คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว
จำนวน 46 โครงการ วงเงินรวม 476,587.44 ล้านบาท และหน่วยงานเจ้าของโครงการ
ได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน 298,071.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.54 ของกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
5.
การดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและอยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ซึ่ง กค. จะรายงานผลการกู้เงินและผลสัมฤทธิ์เมื่อโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จต่อไป
25. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2563 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เสนอและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่ 1/2563 และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กบส. รายงานว่า ผลการประชุม กบส. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ซึ่งมี
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.
เรื่องเพื่อทราบ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่
1.1
รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2562 โดยคาดการณ์ว่าในปี 2562 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.4 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หรือมีมูลค่ารวม 2,258.4 พันล้านบาท เป็นไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีการชะลอตัวจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในส่วนการประมาณการสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในปี 2563 คาดการณ์ว่ามูลค่าต้นทุนโลจิสติกส์มีแนวโน้มลดลงจากการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยคาดว่า สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยอยู่ที่ร้อยละ 12.9-13.4 ต่อ GDP อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน
1.2
ความคืบหน้าการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
ด้าน |
ผลการดำเนินการ |
อุตสาหกรรม |
พัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 205 กิจการ พัฒนาบุคลากรจำนวน 300 คน ลดต้นทุนโลจิสติกส์รวม 2,536 ล้านบาท และเพิ่มผลิตภาพการผลิตโดยนำระบบอัตโนมัติมาใช้ปรับปรุงสายพานขนส่งสินค้าในโรงงานและนำระบบ Enterprise Resource Planning มาใช้เพื่อวางแผนการผลิตและจัดการวัตถุดิบ |
การเกษตร |
จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร พ.ศ. 2563-2565 (ฉบับทบทวน) เพื่อให้สามารถแปลงไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน
รวมทั้งอยู่ระหว่างพัฒนาระบบ e-Logistics เพื่อออกใบรับรองด้านสุขอนามัยพืช |
การพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) |
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ครบทั้ง 37 หน่วยงาน และมีธุรกรรมการให้บริการ
ผ่านระบบ NSW แล้ว 379 รายการ จาก 807 รายการ (คิดเป็นร้อยละ 47)
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
ที่ออกตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้ครบทุกประเทศ และอยู่ระหว่างจัดหาองค์กรผู้ให้บริการ NSW ทั้งนี้ การปรับลดขั้นตอนกระบวนการทำงานภาครัฐใน 5 สินค้ายุทธศาสตร์ ได้แก่ น้ำตาล ข้าว ยางพารา สินค้าแช่แข็ง และวัตถุอันตราย มีความก้าวหน้าตามรายสินค้ายุทธศาสตร์อยู่ระหว่างร้อยละ 37-35 |
การพัฒนาระบบบริหารจัดการท่าเรือในประเทศ |
(1) ท่าเรือศาลาลอย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ระหว่างจัดทำแผนบริหารจัดการ
(2) ท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ จังหวัดตราด อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี
(3) ท่าเรือคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ระหว่างสอบถามความสนใจ
ขององค์การสะพานปลาหรือผู้ที่สนใจ
(4) การบริหารจัดการท่าเทียบเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ระหว่างเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 (เรื่อง การส่งเสริมการจัดท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร) เพื่อนำพื้นที่บางส่วนของท่าเรือสาธารณะมาใช้ในเชิงพาณิชย์ |
2.
เรื่องเพื่อพิจารณา จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
2.1 แผนการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port)
2.1.1 สาระสำคัญ
(1) แผนการพัฒนาท่าเรือทางบก (Dry Port) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาท่าเรือบกของไทยในระยะยาวให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าสู่การขนส่งทางรางโดยใช้ท่าเรือบกเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งและช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศในภาพรวม โดยแผนดังกล่าวมี
วิสัยทัศน์เพื่อเสริม
ความสามารถในการแข่งขันของไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางรางของภูมิภาคอาเซียน
(2)
แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 1)
การพัฒนาท่าเรือบกเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูง วงเงินรวมประมาณ 30,920 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างท่าเรือทางบกในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ขอนแก่น และนครสวรรค์ และการปรับปรุงมาตรฐานการเดินรถไฟเพื่อเป้าหมายการตรงต่อเวลาในการให้บริการ 2) การสร้างศักยภาพของท่าเรือบกและธุรกิจสนับสนุน วงเงินรวมประมาณ 830 ล้านบาท โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการจัดตั้งศูนย์อำนวย
ความสะดวกด้านศุลกากรและการตรวจสอบสินค้าในลักษณะ One Stop Service และโครงการจัดตั้งศูนย์เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างท่าเรือบก ท่าเรือแหลมฉบัง และด่านชายแดน
(3)
รูปแบบการลงทุน การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดหาที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเอกชนบริการพื้นที่ท่าเรือบก
(4)
นโยบายและมาตรการอื่นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาท่าเรือบก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งสินค้าทางรางและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนนและการกำหนดให้ท่าเรือบกเป็น “ที่” เพื่อเป็น “ด่านศุลกากร” ตามนิยามในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
2.1.2
ความเห็นและประเด็นอภิปราย
(1)
ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นเพิ่มเติม เช่น 1) ควรศึกษารายละเอียดในเชิงลึกของพื้นที่ที่จะพัฒนาโครงการให้ครบถ้วน รวมทั้งมาตรการสนับสนุนหรือแนวทางแก้ไขผลกระทบที่ได้รับจากการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต 2) จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินโครงการฯ โดยนำปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ มาพิจารณา เช่น ต้นทุนค่าที่ดิน ปริมาณตู้สินค้า และขนาดพื้นที่ และ 3) ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบและปัจจัยที่จะส่งผลต่อ
การดำเนินโครงการฯ อย่างรอบด้านรวมทั้ควรกำหนดมาตรการสนับสนุนที่มีความชัดเจน
(2)
กบส. มีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ควรดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และประสานรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการ ดำเนินงานอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงรูปแบบการลงทุนที่มี
ความเหมาะสม คุ้มค่า และประโยชน์สูงสุด 2) ให้ความสำคัญกับ
แนวทางการเชื่อมโยงการขนส่งในภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างทะเลอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และทะเลจีนใต้ และ 3)
ศึกษาภาพรวมของการขนส่งสินค้าที่มุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงในแต่ละรูปแบบ
การขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1.3
มติที่ประชุม
(1) เห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้นำความเห็นของฝ่ายเลขานุการฯ และความเห็นของ กบส. ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
(2) มอบหมายให้ คค. จัดทำภาพรวมแนวทางการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกันในแต่ละรูปแบบการขนส่ง และนำเสนอ กบส. ในการประชุมครั้งต่อไปด้วย
2.2 การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) จากสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
2.2.1
แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ฯ ประกอบด้วย
(1)
การดำเนินการของภาครัฐ ประกอบด้วย
กิจกรรม |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก |
1) การพัฒนาฐานข้อมูลกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านโลจิสติกส์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน |
สศช. |
2) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะที่ให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบข้อมูลในการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งและโลจิสติกส์อัตโนมัติ |
คค. |
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการสื่อสารให้สามารถรองรับการสร้างธุรกิจใหม่ |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคทม (ดศ.) |
4) การสนับสนุนความเชื่อมโยงของภาคธุรกิจขนส่งที่ยังสามารถเติบโตได้กับสินค้าเกษตรหรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล |
ดศ. และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
|
5) การสนับสนุนการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
กระทรวงการคลัง (กค.) และ คค. |
6) การขจัดอุปสรรคด้านการขนส่งระหว่างประเทศ |
กค. และ คค. |
(2)
ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานของภาคเอกชนผู้ประกอบการภาคเอกชนควรให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1)
การบริหารความเสี่ยงธุรกิจและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 2)
การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการคลังสินค้าให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3)
การใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบจัดเก็บข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้าและการขนส่ง
4) การสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการ โลจิสติกส์และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และ
5) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ กบส. มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ความปกติใหม่ฯ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [ตามข้อ 2.2.1 (1)] ดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
2.2.2 ข้อเสนอแนะของภาคเอกชน ตัวแทนภาคเอกชนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน |
ความเห็นและมติ กบส. |
การขับเคลื่อนให้โลจิสติกส์เป็นอุตสาหกรรมในการสร้าง
รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ โดยมีรายได้
เพิ่มจากเดิมอย่างน้อย 300,000 ล้านบาทต่อปี
ภายในปี 2565
|
ความเห็น : ในปี 2562 มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
ของธุรกิจโลจิสติกส์มีมูลค่าประมาณ 486,708 ล้านบาท
ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องและปัจจัยหลายด้าน
ที่ยังไม่ได้นำมาใช้คิดคำนวณ
มติ : มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแนวทาง
การดำเนินงานต่อไป |
การจัดตั้งสำนักงานโลจิสติกส์แห่งชาติและสภาโลจิสติกส์แห่งชาติ เพื่อบูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ให้อยู่ภายใต้หน่วยงานเดียว
|
ความเห็น : กบส. เป็นกลไกการขับเคลื่อนในระดับ
นโยบายโดยมีองค์ประกอบทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนเป็นกรรมการ รวมทั้งมีการกำหนดให้มี
แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบ
โลจิสติกส์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับจัดสรร
งบประมาณในการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการอยู่แล้ว
จึงไม่มีความจำเป็นในการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว
มติ : มอบหมายให้ฝ่ายลขานุการฯ ประสานความร่วมมือ
กับภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนา
ระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย |
การพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลของประเทศไทย
(National Digital Trade Platform: NDTP)
และการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-Commerce Platform) |
ความเห็น : ภาครัฐควรเร่งสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศใช้ระบบดังกล่าว
มติ : มอบหมาย กค. ดศ. สำนักงานพัฒนาธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดการพัฒนาระบบ NDTP ร่วมกับภาคเอกชน
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสามารถเชื่อมโยงกับ
ระบบการนำเข้าและส่งออกสินค้าอื่น ๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ |
การจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์เพื่อพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับชุมชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐให้บริการด้านการส่งออกและใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งกรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) และอยู่ระหว่างจัดหาหน่วยงาน
หรือองค์กรเพื่อทำหน้าที่ NSW Operator
|
มติ : มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) พณ.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงอุตสาหกรม (อก.) และกระทรวงมหาดไทย ยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด (2) กค. คค. และ ดศ. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรองรับการดำเนินงาน
ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ
ในชุมชน และ (3) กค. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการออกใบอนุญาตและใบรับรองสินค้าเพื่อพัฒนา
ระบบการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก
ต่อผู้ใช้บริการ |
การให้บริการของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ควรให้บริการ
24 ชั่วโมง ในกรณีส่งสินค้าเร่งด่วนทางอากาศ
|
มติ : มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) กค.
เป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่มี
ภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านระบบ NSW และ (2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรร
เจ้าหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนในการให้บริการ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม |
การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
กรณีมาตรา 102 และมาตรา 152 (ยกเว้นไม่ต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมายบางประการเพื่ออำนวยความสะดวก
ด้านพิธีศุลกากร) |
มติ : มอบหมายให้ กค. (กรมศุลกากร) พิจารณา
ความหมาะสมของระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายโดยให้คำนึงถึงกฎระเบียบเป็นสำคัญ |
โครงการช่องทางพิเศษสำหรับสินค้าเน่าเสียง่าย
โดยอยู่ระหว่างศึกษาโครงการและทำกรอบ
แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโซ่ความเย็น
|
มติ : มอบหมายให้ กค. กษ. พณ. และ คค. หารือร่วมกัน
โดยให้ความสำคัญในการรวมจุดออกใบรับรอง
สุขอนามัยพืชและจุดตรวจสินค้าเกษตรในลักษณะ
การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ |
ขอขยายเวลาการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายลงกึ่งหนึ่ง
เป็นระยะเวลา 2 ปี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สินเชื่อ
เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ Soft loan และแปลงสินทรัพย์
ทางธุรกิจให้เป็นทุนสามารถใช้ค้ำประกัน |
มติ : มอบหมายให้ กค. พิจารณาความเหมาะสม
ในการกำหนดมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ
และให้ สศช. ติดตามการดำเนินงานในระยะต่อไป
|
2.2.3
ความเห็นและประเด็นอภิปราย
(1) ควรมีการจัดประชุม กบส. เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการผลักดันในเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติในแต่ละประเด็นการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป
(2) มอบหมาย กค. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดติดตามการพัฒนาระบบ NSW ให้มีความสมบูรณ์และครบถ้วนภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 รวมทั้งเร่งรัดการพัฒนาระบบ Port Community System (PCS) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและเอกสารการขนส่งทางเรือกับระบบ NSW ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
(3) ให้หน่วยงานหรือคณะกรรมการต่าง ๆ ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทาง มาตรการ และกฎระเบียบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการขนส่งสินค้าให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างมีศักยภาพ
(4) ให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนข้อบังคับการกำหนดให้เรือขนส่งชายฝั่งที่มารับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังต้องใช้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง A เป็นลำดับแรก เพื่อลดผลกะทบด้านต้นทุนและประสิทธิภาพในการให้บริการของผู้ให้บริการขนส่ง
2.2.4
มติที่ประชุม เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ฯและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับความเห็นและประเด็นอภิปรายของ กบส. ไปดำเนินการ และให้ สศช. ติดตามการดำเนินงานและรายงาน กบส. เพื่อทราบต่อไป
3.
เรื่องอื่น ๆ ที่ประชุมได้มีหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศ ได้แก่
3.1
การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าเกษตรที่ผลิตในชุมชน กษ. ชี้แจงว่า ในปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย เพื่อการจำหน่ายและบริโภคภายในประเทศแล้ว แต่การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าของประเทศปลายทาง อย่างไรก็ตาม กษ. ได้พัฒนาระบบการทดสอบสินค้าเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของโควิด-19 ในสินค้าประมงเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ กษ. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้รับทราบแนวทางการตรวจรับรองสินค้าเกษตรเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
3.2
การสนับสนุนผู้ประกอบการ e-Commerce เกี่ยวกับการจดทะเบียนรถบรรทุกที่ยังคงมีความล่าช้าในการดำเนินการ และไม่ทันกับความต้องการของผู้ประกอบการจึงควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการจดทะเบียนให้สะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ คค. ให้ความสำคัญในการพัฒนาแนวทางหารือรูปแบบการจดทะเบียนรถบรรทุกให้มีความสะดวกและรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณานำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ดำเนินการร่วมด้วย เพื่อรองรับกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ รวมทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นตามการเติบโตของตลาด e-Commerce
26. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติให้ปรับแก้วิธีการกำหนดราคากลางอ้างอิง จากเดิมประกาศทุก 2 เดือน (2 เดือน/1 ครั้ง) แก้ไขเป็น ประกาศทุก 1 เดือน โดยใช้ราคาอ้างอิงเฉลี่ยของแต่ละเดือนที่ชดเชย ตั้งแต่เตือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป (เป็นการยกเลิกข้อความในหน้า 2 ของ เอกสารแนบ 6 ของหนังสือ กษ. ด่วนที่สุด ที่ กษ. 2908.02/3684 ลงวันที่ 14 กันยายน 2563)
จากเดิม “ข้อ 4.4 (2) กำหนดให้ ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคาอ้างอิงประกาศทุก 2 เดือน (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา, SICOM, TOCOM, เซี่ยงไฮ้ และปัจจัยอื่น ๆ”
และให้ใช้ข้อความดังนี้แทน “ข้อ 4.4 (2) ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนดราคาอ้างอิงประกาศทุก 1 เดือน (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา, SICOM, TOCOM เซี่ยงไฮ้ และปัจจัยอื่น ๆ”
2. อนุมัติเพิ่มเติมให้เกษตรกรที่แจ้งพื้นที่ปลูกยาง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารแสดงถึงการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ หรือยินยอมให้ใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตร ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางเพื่อการดำรงชีพและเป็นเกษตรกรที่ด้อยโอกาส และยังไม่สามารถข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร ได้รับความช่วยเหลือในการประกันรายได้ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวทางการดำเนินงานของโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า จากการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 พบว่า เกษตรกรที่แจ้งพื้นที่ปลูกยาง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารแสดงถึงการอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐ หรือยินยอมให้ใช้ทำประโยชน์ทางการเกษตร จะไม่สามารถได้รับการช่วยเหลือในโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้ เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางเพื่อการดำรงชีพและเป็นเกษตรกรที่ด้อยโอกาส และยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร และในรายละเอียดการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการกำหนดราคากลางอ้างอิงในการประกันรายได้ ตามชนิดและอัตราค่าชดเชยรายได้ในแต่ละรอบ 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง และให้มีการจ่ายเงินชดเชยทุก 1 เดือน เพื่อให้การดำเนินการในการกำหนดราคากลางอ้างอิงสอดคล้องกับวิธีการจ่ายเงินชดเชยทุก 1 เดือน ปรับแก้วิธีการกำหนดราคากลางอ้างอิง จากเดิมประกาศทุก 2 เดือน (2 เดือน/1 ครั้ง) แก้ไขเป็น ประกาศทุก 1 เดือน โดยใช้ราคาอ้างอิงเฉลี่ยของแต่ละเดือนที่ชดเชย ตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป
เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเห็นสมควรเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 เพื่อให้สามารถช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำอย่างทั่วถึง
27. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 30/2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2563 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และพิจารณาความเหมาะสมของการปรับปรุงรายละเอียดของแผนงานหรือโครงการ รวมถึงรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ ราย 3 เดือน รอบที่ 2 (ระหว่างวันที่1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
วงเงินรวม 22,500 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ภายใต้แผนงานที่ 3.3 พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการต่อไป
2. อนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง วงเงินและแหล่งเงิน จำนวนไม่เกิน 20,635.4925 ล้านบาท โดยให้ขอรับจัดสรรเงินงบประมาณจากงบกลางฯ
3. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 และข้อ 2 ดำเนินการดังนี้
3.1 จัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายวัน/รายเดือน (แล้วแต่กรณี) เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลด ค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ
3.2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงปัญหา
อุปสรรค โดยจัดส่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ภายในวันที่ 7ของเดือนถัดไป
3.3 ประสานกับกระทรวงการคลังในการรายงานขีดความสามารถในการชำระคืนหนี้
เงินกู้ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 6 แห่พระราชกำหนดฯ ด้วย
4. อนุมัติการปรับปรุงรายละเอียดวิธีดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกันและโครงการกำลังใจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้ เห็นควรให้ปรับลดวงเงินสำหรับจัดกิจกรรมกระตุ้นการเดินทางในรูปแบบ Consumer Fair จำนวน 3 ครั้ง ภายใต้โครงการเราเที่ยวด้วยกัน จากวงเงิน 9,000,000 บาท เป็น 8,080,000 บาท (ปรับลด 920,000 บาท) พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเศษฐกิจการคลังและธนาคารกรุงไทยฯ รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการต่อไปด้วย
5. มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเร่งสร้างความชัดเจนของการดำเนินโครงการเที่ยวไทยวัยเก๋าตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน รวมถึงการลงทุนต่าง ๆ ของภาคเอกชน เพื่อให้สภาวะการบริโภคและการลงทุนกลับเข้าสู่ระดับปกติได้โดยเร็วตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และนำเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่งตามขั้นตอนต่อไป
6. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ดำเนินแผนงาน/โครงการโดยใช้เงินกู้ตาม พระราชกำหนดฯ ที่มีรูปแบบการร่วมจ่ายของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่าจะสามารถตรวจสอบยืนยันข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่เพื่อให้เกิดความรัดกุมในการดำเนินการ กระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งดำเนินการติดตามตรวจสอบผู้เข้าร่วมโครงการในเชิงรุก นอกจากนี้ ให้ส่วนราชการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการดำเนินโครงการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการดำเนินโครงการต่อไป
7. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ ราย 3 เดือน ครั้งที่ 2 (ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563) ตามมาตรา 8 (2) แห่งพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบรับความเห็นและข้อสนอแนะ เพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
8. รับทราบผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ของจังหวัดพัทลุง และอนุมัติให้จังหวัดพัทลุงดำเนินโครงการเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วงเงิน 6.0500 ล้านบาท ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบแผนงาน/โครงการของจังหวัด จำนวน 12 โครงการ เร่งรายงานผลการดำเนิงานตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
28. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2563
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2563 และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
กค. เสนอว่า
1. มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่าภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
ให้ กค.รายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงินและการค้ำประกัน รวมถึงผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 ข้อ 16 กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะติดตามประเมินผลโครงการหรือแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และจัดทำรายงานผลสำเร็จของโครงการนั้น ประกอบด้วยความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบของโครงการ และความยั่งยืนของโครงการเพื่อเสนอต่อ กค. พร้อมกับรายงานการกู้เงินและการค้ำประกันเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อเสนอรัฐสภาทราบต่อไป
2. กค. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ประจำปีงบประมาณ 2563 เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
2.1
รายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว และรายงานสถานะหนี้สาธารณะ
2.2
รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการประจำปีงบประมาณ 2563 ตามหลักเกณฑ์การประเมินผล 5 ประการ ได้แก่ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ (Relevance) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) ผลกระทบ (Impact) และความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability) โดยในปีงบประมาณ 2563 กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จของรัฐวิสาหกิจ 6 แห่ง จำนวนรวม 15 โครงการ
จึงได้เสนอรายงานฯ มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของเรื่อง
1.
รายงานการกู้เงินและการค้ำประกันที่กระทำในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
1.1 โครงสร้างของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติและรับทราบ
มีวงเงินรวม 2,991,574.40 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 แผนงานย่อย ได้แก่
แผนงานย่อย |
วงเงิน (ล้านบาท) |
(1) แผนการก่อหนี้ใหม่ |
1,656,020.40 |
(2) แผนการบริหารหนี้เดิม |
968,510.10 |
(3) แผนการชำระหนี้ |
367,043.90 |
1.2 รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 รวมทั้งสิ้น
2,364,050.34 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.02 ของแผน
1.3 กค. รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ บริหารและจัดการหนี้สาธารณะตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงินรวม 2,364,050.34 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) ผลการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 1,298,592.66 ล้านบาท 2) ผลการบริหารหนี้เดิม วงเงิน 685,126.56 ล้านบาท และ 3) ผลการชำระหนี้ วงเงิน 380,331.12 ล้านบาท และ กค. รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐได้ใช้เครื่องมือทางการเงินและอาศัยโอกาสที่ภาวะตลาดการเงินเอื้ออำนวยดำเนินการบริหารหนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการหนี้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) อยู่ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด (ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP) อยู่ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด (ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP) รวมทั้งสามารถจัดหาเงินกู้ที่มีต้นทุนต่ำและอยู่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม
1.4
การจัดหาเงินกู้ของภาครัฐทำให้รัฐบาลมีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในการบริหารประเทศ เพื่อการวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสให้แก่ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินโครงการแผนงานลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการที่สำคัญด้านต่าง ๆ เช่น (1) โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) (2) โครงการรถไฟฟ้า จำนวน 5 โครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ (3) โครงการพัฒนาระบบราง จำนวน 5 โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ จำนวน 3 โครงการ
1.5
การระดมทุนของรัฐบาลด้วยวิธีการออกพันธบัตรทำให้มีปริมาณการออกพันธบัตรอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
1.6
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีจำนวน 7,848,155.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 49.34 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) โดยเป็นหนี้รัฐบาล จำนวน 6,734,881.76 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 795,980.29 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ และธุรกิจประกันสินเชื่อ) (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 309,472.36 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 7,821.47 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ วันที่ 30 กันยายน 2562
หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 946,354.33 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.71 หนี้สาธารณะดังกล่าวสามารถจำแนกตามแหล่งที่มา โดยเป็นหนี้ต่างประเทศ 139,390.11 ล้านบาท และหนี้ในประเทศ 7,708,765.77 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.78 และร้อยละ 98.22 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ และจำแนกตามอายุหนี้คงเหลือ แบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 6,770,098.48 ล้านบาท และหนี้ระยะสั้น 1,078,057.40 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 86.26 และร้อยละ 13.74 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ
2.
รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาและโครงการประจำปีงบประมาณ 2563
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการประเมินผล
โครงการพัฒนาและโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 15 โครงการ โดยทั้ง 15 โครงการดังกล่าว ได้มีแหล่งเงินกู้มาจากเงินกู้ในประเทศ (กค. ค้ำประกันเงินกู้ และ กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) ดังนี้
โครงการ |
เจ้าของ
โครงการ |
วงเงินกู้
(ล้านบาท) |
แหล่งเงินกู้ |
ผลการประเมิน |
รัฐวิสาหกิจ |
1) โครงการจัดหา
รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า
จำนวน 112 คัน |
การรถไฟ
แห่งประเทศไทย |
193.28 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการขนส่ง ลดภาระขาดทุน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยระบบรางตามนโยบายรัฐบาล โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ C หมายถึง พึงพอใจ |
2) โครงการทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี |
การทางพิเศษ
แห่งประเทศไทย |
2,245.17 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการรองรับเชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีกับปากทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยตรง ลดปัญหาการจราจร ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก |
3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนใต้ดิน |
การไฟฟ้า
นครหลวง |
200.00 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้าและเพื่อปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก |
4) โครงการปรับปรุงขยายการประปาพัทยา
จังหวัดชลบุรี |
การประปา
ส่วนภูมิภาค |
765.65 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาพัทยาให้สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำประปาที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของชุมชนในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้า โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึงพึงพอใจมาก |
5) โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7/1 |
การประปา
นครหลวง |
833.00 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการยกเลิกใช้น้ำบาดาลและเพิ่มประสิทธิภาพการสูบจ่ายน้ำให้กับบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งเชื่อมต่อระบบท่อ/อุโมงค์ส่งน้ำเส้นที่ 3 จากโรงงานผลิตน้ำบางเขนไปยังสถานีสูบจ่ายน้ำบางพลีให้ครบวงจรทั้งระบบ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ A หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด |
6) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
การประปา
ส่วนภูมิภาค |
95.83 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปาของ กปภ. สาขาอรัญประเทศ ขนาด 200 ลบ.ม./ชม. เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำประปาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก |
7) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด |
การประปา
ส่วนภูมิภาค |
128.71 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาร้อยเอ็ด ขนาด 1,000 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก |
8) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาฉะเชิงเทรา (น.เทพราช) จังหวัดฉะเชิงเทรา |
การประปา
ส่วนภูมิภาค |
350.07 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปาของหน่วยบริการเทพราช สาขาบางคล้า ขนาด 1,000 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ C พึงพอใจ |
9) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายประปาปากท่อ จังหวัดราชบุรี |
การประปา
ส่วนภูมิภาค |
246.73 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการเพิ่มกำลังผลิตน้ำประปา ขนาด 500 ลบ.ม./ชม. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ โดยผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ C พึงพอใจ |
10) โครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว (เกาะมุกด์ เกาะสุกร และเกาะลิบง จังหวัดตรัง) |
การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค |
253.00 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าและลดปัญหาในการปฏิบัติการและบำรุงรักษา ลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึง พึงพอใจมาก |
11) โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะศรีบอยา เกาะปู และเกาะพีพีดอน จังหวัดกระบี่ |
การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค |
558.07 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการพัฒนาระบบไฟฟ้าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าและลดปัญหาในการปฏิบัติการและบำรุงรักษา ลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ B หมายถึงพึงพอใจมาก |
12) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสงขลา (โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะน) |
การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย |
4,657.47 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภาคใต้ โดยเพิ่มกำลังการผลิตพร้อมจ่ายในพื้นที่และลดการพึ่งพาหรือความเสี่ยงในการถ่ายเทพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลางและมาเลเซีย โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ A พึงพอใจมากที่สุด |
13) โครงการโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2 |
การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย |
4,000.00 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ไม่ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ รวมทั้งลดการสูญเสียในระบบไฟฟ้าจากการส่งพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลาง โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ A พึงพอใจมากที่สุด |
14) โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์) |
การรถไฟ
แห่งประเทศไทย |
34,362.15 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
- เป็นการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการเดินทาง บรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้ที่เดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ D หมายถึง ไม่พึงพอใจ |
15) โครงการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางเดินเชื่อมสถานีเพชรบุรี)
(ประเมินร่วมกับโครงการลำดับที่ 14) |
การรถไฟ
แห่งประเทศไทย |
84.15 |
เงินกู้ในประเทศ
(กค. ค้ำประกันเงินกู้) |
29. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติให้สำนักงาน ปปง. จัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินแห่งราชอาณาจักรภูฏาน โดยใช้ร่างบันทึกความเข้าใจที่ปรับแก้ถ้อยคำแล้ว [ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)เสนอ]
2. อนุมัติให้เลขาธิการ ปปง. หรือผู้แทนสำนักงาน ปปง. เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฝ่ายไทย
3. อนุมัติให้สำนักงาน ปปง. ใช้ดุลยพินิจแก้ไขได้โดยมิต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก หากเป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยที่ไม่กระทบต่อสารัตถะของบันทึกความเข้าใจฯ
4. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) เพื่อให้เลขาธิการ ปปง. หรือผู้แทนสำนักงาน ปปง. เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจฝ่ายไทย
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ (ที่ปรับแก้ถ้อยคำตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ)
1. วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม ขยายผล พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของตนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่ต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน
2. ความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลใด ๆ ที่มีอยู่ที่อาจเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งมีส่วนร่วมกับการฟอกเงิน โดยข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนของคู่ภาคีทั้งสอง ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวจะต้องกระทำโดยริเริ่มเองหรือเมื่อได้รับการร้องขอ และจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับใช้ในประเทศของตนและความยินยอมของคู่ภาคีทั้งสอง การร้องขอข้อมูลดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดพฤติการณ์แห่งคดีพร้อมเอกสารข้อมูลที่สำคัญโดยย่อ
3. การเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลหรือเอกสารใด ๆ ที่ได้รับจากภาคีจะต้องไม่นำไปเผยแพร่แก่บุคคลที่สามโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดในทางการปกครอง การดำเนินคดี หรือกระบวนการยุติธรรมในศาลโดยปราศจากความยินยอมจากภาคีผู้เปิดเผยข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้จะสามารถนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางศาลได้ เมื่อข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาหรือความผิดมูลฐาน โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในภาคผนวกหมายเลข 1 (เช่น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การค้ามนุษย์ การฉ้อโกงประชาชน การก่อการร้าย) สำหรับประเทศไทยและความผิดที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทุกประเภทสำหรับราชอาณาจักรภูฏาน
4. มีผลบังคับใช้ มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่คู่ภาคีฝ่ายหลังได้มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจดังกล่าวโดยทำเป็นหนังสือแจ้งขอยกเลิกให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5. ข้อโต้แย้ง ข้อโต้แย้งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตีความบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ให้ดำเนินการแก้ไขโดยการหารือร่วมกันระหว่างคู่ภาคีภายใต้หลักการความตกลงร่วมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน โดยไม่อ้างอิงถึงบุคคลที่สามหรือศาลระหว่างประเทศ
30. เรื่อง สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) สินค้าไทย 231 รายการ ด้วยเหตุผลประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง สหรัฐอเมริกาประกาศระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) สินค้าไทย 231 รายการ ด้วยเหตุผลประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
1. การประกาศระงับสิทธิ GSP สหรัฐฯ ได้มีการประกาศระงับสิทธิ GSP สินค้าไทย จำนวน 573 รายการ จากผลการประเมินคุณสมบัติประเทศไทยในประเด็นการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีประกาศแจ้งผลการประเมินคุณสมบัติของประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ของสหรัฐฯ ในการพิจารณาแบบรายประเทศ โดยสหรัฐฯ ได้ประกาศระงับสิทธิ GSP สินค้าไทย รวม 231 รายการ ด้วยเหตุผลในประเด็นการเปิดตลาดสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทยที่ไม่อยู่ในระดับที่ เท่าเทียมและสมเหตุสมผล ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2533 เป็นต้นไป
2. สาเหตุของการประกาศระงับสิทธิ GSP สินค้าไทย 231 รายการ ตามข้อ 1 เนื่องจากไทยห้ามนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ ที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง (แรคโตพามีน) ในระบบการเลี้ยง โดยสหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ค่าการตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limits:MRLs) ของสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร (Codex) ในการพิจารณาการประเมินความเสี่ยงสำหรับการเปิดตลาดเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยนำโดยรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายพิศาล พงศาพิชญ์) ได้เข้าร่วมการเปิดรับฟังความคิดเห็นของคณะอนุกรรมาธิการ GSP ณ สำนักงาน United States Trade Representative (USTR) กรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 เพื่อชี้แจงความคืบหน้าในการพิจารณาเปิดตลาดให้กับสินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์นำเข้าจากสหรัฐฯ ที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในระบบการเลี้ยง
สรุปข้อชี้แจงได้ดังนี้
2.1 ไทยได้หารือและทำงานร่วมกับฝ่ายสหรัฐฯ มาอย่างต่อเนื่องในกระบวนการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับ โดยอยู่ในระหว่างการดำเนินขั้นตอนที่ 4 จากทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ หน่วยงานสัตวแพทย์ของประเทศผู้ส่งออกจัดส่งแบบสอบถามให้กรมปศุสัตว์พิจารณาและให้ความคิดเห็น
2.2 ไทยยังไม่รับรองค่าการตกค้างสูงสุดตามมาตรฐานที่ Codex ให้การรับรอง เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยจะบริโภคทั้งเนื้อสุกรและเครื่องในสุกร ซึ่งเป็นส่วนที่มีการตกค้างของสารเร่งเนื้อแดงในระดับสูง ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงของไทยจึงครอบคลุมทุกชิ้นส่วนเนื้อเยื่อสุกร ในขณะที่มาตรฐานของ Codex ครอบคลุมเพียง 4 เนื้อเยื่อ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต)
2.3 ไทยได้เน้นย้ำเกี่ยวกับการให้ความสำคัญเรื่องการปกป้องความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภคและยึดหลักการว่ามาตรฐานที่ใช้กับสินค้านำเข้าจะต้องสอดคล้องกับสินค้าภายในประเทศ หากไทยเปิดตลาดให้สินค้าสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดงจากต่างประเทศในขณะที่ยังห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในประเทศจะไม่เป็นธรรมต่อผู้ผลิตในประเทศ
3. ผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิ GSP
สินค้า 231 รายการ ที่สหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิ GSP มีการส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP จริงเพียง 157 รายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้สิทธิฯ 601.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการระงับสิทธิดังกล่าวมีผลให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราภาษีปกติ (MFN Rate) เฉลี่ยร้อยละ 3-4 จากเดิมที่ได้รับการยกเว้นเป็นร้อยละ 0 คิดเป็นมูลค่าต้นทุนภาษีที่ต้องเสียเพิ่มประมาณ 18.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 600 ล้านบาท)
โดยรายการสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบได้พิจารณาจาก
2 มิติ คือ 1)
สัดส่วนการใช้สิทธิ GSP และ 2)
ระดับอัตราภาษี MFN ที่ต้องชำระ ซึ่งรายการสินค้าที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบปานกลาง-สูง เช่น อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์และส่วนประกอบ กรอบและโครงสร้างแว่นตาทำด้วยพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเรซิน เกลือฟลูออรีน และเครื่องนอนที่ทำจากยางหรือพลาสติก ทั้งนี้ จากการประกาศระงับสิทธิฯ สินค้าทั้ง 231 รายการดังกล่าว ทำให้ไทยมีสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ คงเหลือ 2,660 รายการ เป็นสินค้าที่มีการใช้สิทธิฯ จริง 645 รายการ มูลค่าการใช้สิทธิฯ ประมาณ 2,622 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. มาตรการรองรับผลกระทบ
4.1
การหารือกับฝ่ายสหรัฐ เพื่อหาทางออกร่วมกันในทุกช่องทาง เช่น การประชุม คณะมนตรีภายใต้กรอบ Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) การหารือระหว่าง USTR กับผู้แทนฝ่ายไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี
4.2
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างหลากหลาย เช่น Online Business Matching สำหรับสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสหรัฐฯ และตลาดใหม่ การส่งเสริมสินค้าไทยเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยใช้ช่องทาง Cross border e-Commerce เข้าถึงผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ และตลาดใหม่โดยตรง
4.3
การประสานและหารือกับภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามผลกระทบที่ภาคเอกชนอาจจะได้รับจากการถูกระงับสิทธิอย่างใกล้ชิด
4.4
การจัดทำคลินิกให้คำปรึกษาและจัดสัมมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัว รวมถึงให้คำปรึกษาผ่านช่องทางไลน์แอปพลิเคชันชื่อบัญชี “@gsp_helper”
31. เรื่อง การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ครั้งที่ 9
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาพนมเปญของการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ครั้งที่ 9 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรอง ร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างปฏิญญาพนมเปญฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิกยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
1. ยินดีต่อความคืบหน้าของการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ซึ่งพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อตั้งกรอบความร่วมมือในปี 2546 ตามเจตนารมณ์ของปฏิญญาพุกาม โดยเฉพาะในมิติด้านการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนการสร้างเสริมความร่วมมือที่ยั่งยืนระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงทั้ง 5 ประเทศ
2. ย้ำเจตนารมณ์ที่จะสานต่อการขับเคลื่อนแผนงานตามสาขาความร่วมมือ 3 เสา ของแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี (ค.ศ. 2019 -2023) โดยเฉพาะการดำเนินการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ ACMECS เป็นกรอบความร่วมมือที่มีพลวัตและสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ โดยผู้นำประเทศสมาชิกได้เห็นชอบในหลักการให้มีการบรรลุการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS (ACMECS Development Fund) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนที่จะสนับสนุนการพัฒนาโครงการภายใต้ ACMECS อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ตลอดจนให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ ACMECS และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาทั้งในและนอกภูมิภาคเพื่อผนึกกำลังและบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. ตระหนักถึงภัยคุกคามทางสาธารณสุขที่เกิดจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ โดยเฉพาะการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ตลอดจนย้ำความสำคัญของการยกระดับความร่วมมือของประเทศสมาชิก ACMECS ในการดำเนินมาตรการอย่างครอบคลุมเพื่อบรรเทาและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งเห็นชอบที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข การสร้างภูมิคุ้มกัน และการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานร่วมกันภายใต้กลไกของกรอบความร่วมมือพหุภาคี อาทิ อาเซียน องค์การอนามัยโลก และการร่วมมือกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนานอกอนุภูมิภาค
4. เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ และการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ และให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางดิจิทัล การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนการสร้างขีดความสามารถของภาคธุรกิจ รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ตลอดจนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและเร่งให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS
โดยที่ประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง ครั้งที่ 9 มีกำหนดจะรับรองร่างปฏิญญาพนมเปญฯ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2563
32. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Project of Mekong - Lancang Cooperation Special Fund)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Project of Mekong - Lancang Cooperation Special Fund) และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี 2563 ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการบริการจัดการงบประมาณของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายจีนให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้กองทุนอย่างสูงสุด ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1.
หลักการเบื้องต้น มุ่งบริหารจัดการกองทุนเพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่งคั่งต่อประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง - ล้านช้าง โดยเคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุน
2.
โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 4 โครงการ ได้แก่
2.1 โครงการการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน และ 10 ไมครอน (PM10 and PM2.5 from HAZE Smog and Visibility Effect in Thailand) เสนอโดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน 59,576 ดอลลาร์สหรัฐ
2.2 โครงการการตรวจวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง (A Microbial - based Index to Assess the Ecological Status of the Lancang - Mekong River based on Molecular Approaches and DNA Barcoding) เสนอโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน 461,300 ดอลลาร์สหรัฐ
2.3 โครงการการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การแปรรูป การควบคุมศัตรูพืช การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง รวมทั้งการบริหารจัดการของเสีย (Enhance Production Capacity and People’s Livelihood by Improving the Value Chain for Cassava Cultivation and Application: Clean Cassava Chips, Native Starch, Modified Starch, Ethanol and Biogas Production) เสนอโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นจำนวนเงิน 462,700 ดอลลาร์สหรัฐ
2.4 โครงการบริหารจัดการโลจิสติกส์และการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The Cooperation of SMEs and Labor in Logistics and Border Trade in Lancang - Mekong Countries under the plan to develop an Integrated Transportation and Logistic) เสนอโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นจำนวนเงิน 453,000 ดอลลาร์สหรัฐ
3.
การส่งมอบงบประมาณและการบริหารจัดการ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะส่งมอบงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการภายใน 20 วันหลังจากการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ และฝ่ายไทย โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะแจ้งฝ่ายจีนอย่างเป็นทางการภายใน 10 วัน หลังการได้รับงบประมาณ
4.
การควบคุมดูแลและประเมินผลโครงการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะควบคุมดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ และอาจมีการตรวจสอบการดำเนินโครงการร่วมกันกับฝ่ายจีน ทั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และคืนงบประมาณส่วนที่เหลือให้แก่ฝ่ายจีนภายใน 3 เดือน หลังจบโครงการ โดยการประยุกต์ใช้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
33. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล (Framework for Promoting Accessibility for All in ASEAN Digital Broadcasting) และอนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของไทยรับรองร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล แบบเวียน (Ad-referendum) โดยกรมประชาสัมพันธ์จะประสานสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งยืนยันการรับรองของไทย ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างกรอบความร่วมมือดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่สำนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ
สาระสำคัญของร่างกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมบริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง และเสริมสร้างความร่วมมือ การพัฒนา และความมุ่งมั่นในการให้บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญกับการพัฒนากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการสร้างประชาสังคมที่เข้มแข็งและครอบคลุม โดยมุ่งส่งเสริมการให้บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึง ได้แก่ คำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption) เสียงบรรยายภาพ (Audio Description) และภาษามือ (Sign Language Interpretation)
34. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
นายนรชิต สิงหเสนี เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่างโดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
1.
นายเจริญ ชื้อตระกูล ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2.
นางรุ่งรัตนา บุญ – หลง ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3.
นางสาวหิรัญญา บุญจำรูญ ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
4.
นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
36. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง
นายมนู สิทธิประศาสน์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ผู้อำนวยการ สคพ.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากสถาบันหรือองค์การ จำนวน 2 คน และกลุ่มบุคคลผู้มีคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ จำนวน 2 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
1.
ผู้แทนจากสถาบันหรือองค์การ
1.1 นายวิจารย์ สิมาฉายา ผู้แทนสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
1.2 รองศาสตราจารย์พนิต ภู่จินดา ผู้แทนสมาคมนักผังเมืองไทย
2.
กลุ่มบุคคลผู้มีคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ
2.1 นายสุพล ศรีพันธุ์ ผู้มีคุณวุฒิทางด้านการพัฒนาเมืองและการจัดรูปที่ดิน
2.2 นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์ ผู้มีคุณวุฒิทางด้านกฎหมายและการจัดรูปที่ดิน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
38. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้ง
นายนฤทัต เจริญเศรษฐศิลป์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร แทน นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
39. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1. นางกฤษณา ลิ่มสุวรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรวรรธน์ พลวิชัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์
3. นางสาวสุลักขณา ธรรมานุสติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
..............
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)