วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563
สรุปการตอบกระทู้ถามในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๒
กระทู้ถามด้วยวาจาลำดับที่ ๒
เรื่อง นโยบายการแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซากอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ผู้ตั้งกระทู้ถาม นายชลิต แก้วจินดา สมาชิกวุฒิสภา
ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
ผู้ตอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประภัตร โพธสุธน)
ผู้ถาม : นายชลิต แก้วจินดา สมาชิกวุฒิสภา ถามกระทู้โดยสรุปดังนี้
๑. จากความเสียหายที่ประชาชนในหลาย ๆ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง
รัฐบาลมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งซ้ำซากที่เกิดขึ้นทุกปีให้มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร
๒. ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งขึ้นอยู่กับโครงการและโครงงานที่ปฏิบัติ จึงต้องการทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ เรื่อง ๒.๑ การเติมน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วยหนองคลองบึงที่ไม่ใช้น้ำฝนอย่างเดียว ๒.๒ การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติกับปัญหาเรื่องการรุกล้ำ ๒.๓ การเก็บเกี่ยวน้ำฝนนำมาใช้ rain water havesting ๒.๔ เขื่อนใต้ดิน ๒.๕ แผนที่น้ำใต้ดิน ๒.๖ แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในที่สูงและในพื้นที่เสี่ยงภัยเกิดไฟป่า
๒.๗ การทำฝนหลวงโดยไม่ใช้เครื่องบิน ๒.๘ การเกษตรในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และไม่ใช่ที่ สปก. มีผลอย่างไร
๓. รัฐบาลจะมีมาตรการหรือนโยบายในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียรายได้จากการทำการเกษตร ปศุสัตว์ หรือผลกระทบที่ได้จากการส่งออกผลผลิตที่ลดลงหรือไม่ อย่างไร
๔. การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และแผนขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ภัยแล้งที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วสามารถช่วยแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมาย และเป็นไปตามกำหนดระยะเวลา
ที่ต้องดำเนินการในแต่ละขั้นตอนตลอดจนเกิดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอน การดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๗ และมาตรา ๘ บัญญัติไว้หรือไม่ อย่างไร
ผู้ตอบ : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือ(นายประภัตร โพธสุธน) ตอบกระทู้ถามโดยสรุปดังนี้
๑. สถานการและแนวโน้ม สภาพฝน กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดหมายปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนปี ๒๕๖๒ จะมีปริมาณน้ำฝนรวมของทั้งประเทศน้อยกว่าปี ๒๕๖๑ และน้อยกว่าค่าปกติประมาณ ร้อยละ ๔ - ๑๐ ช่วงครึ่งหลัง ของของฤดูฝน (สิงหาคม - กันยายน) จะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นโดยจะมีฝนหนักถึงหนักมากคาดว่าพายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ๑ - ๒ ลูก ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ๓๕ แห่ง ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ มีปริมาณน้ำใช้การได้ทั้งประเทศ ๑๖,๗๒๑ ล้านลูกบาศก์เมตร แนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาผลกระทบการเผชิญเหตุระยะเร่งด่วน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดตั้งหน่วยปฏิบัติตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม – ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๑๘ หน่วยปฏิบัติ (ปัจจุบันคงเหลือ ๑๑ หน่วยปฏิบัติการ) ขึ้นบิน ๑๗๑ วัน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๖๓ จำนวน ๔,๘๗๐ เที่ยวบิน จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม ๕๘ จังหวัด มาตรการช่วยเหลือมอบหมายกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักบูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาและบรรเทาปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อให้แต่ละจังหวัดดำเนินการแก้ไขบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากภัยแล้งและอุทกภัย ในจังหวัด ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำได้จัดการเพื่อรองรับสภาวะวิกฤตน้ำในการสูบน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แหล่งน้ำสนับสนุนการผลิตน้ำในการอุปโภคบริโภค วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำทั้งภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรน้ำฝนและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภาวะน้ำแล้งน้ำท่วมระดับตำบลที่กำหนดเป็น Area Base
๒. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สนับสนุนการเติมน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ การบริหารจัดการน้ำใต้ดินพื้นดินมีการพัฒนาแหล่งน้ำ กรมพัฒนาที่ดินมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ - ๒๕๖๒ ดำเนินการได้มากกว่า ๙,๐๐๐ แห่ง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๖๒ เป็นจำนวน ๖๕ แห่ง โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร ในส่วนกรมทรัพยากรน้ำคำนึงถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ โดยการเชื่อมโยงแหล่งน้ำธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อแก้ไขปัญหารุกล้ำเพื่อเพิ่มความจุและแก้ไขปัญหาเรื่องการุกล้ำแหล่งน้ำสาธารณะ การเก็บเกี่ยวน้ำฝนมาใช้ rain water havesting กรมทรัพยากรน้ำอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการดำเนินงานและรูปแบบที่เหมาะสม แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในที่สูงและในพื้นที่เสี่ยงภัยเกิดไฟป่า ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงดำเนินการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงในอำเภอสองแคว อำเภอนาหมื่น อำเภอแม่จริม อำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
๓. การช่วยเหลือเยียวยาพื้นที่เสียหายสิ้นเชิง ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือแล้ว ๑๕ จังหวัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจพบ
ความเสียหายแล้ว ๑๒ จังหวัด ซึ่งจะเร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน ช่วยเหลือตามโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต ๒๕๖๒ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต ๒๕๖๒ เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงที่ซื้อประกันภัยกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะได้รับการช่วยเหลือ ไร่ละ ๑,๒๖๐ บาท โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต ๒๕๖๒ เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงที่ซื้อประกันภัยกับ ธ.ก.ส. จะได้รับการช่วยเหลือไร่ละ ๑,๕๐๐ บาท
๔. กรมชลประทานได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประท่านซึ่งเกิดจากการดำเนินการ ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๖๐ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประท่านได้ ๒.๓๘ ล้านไร่ ตามที่พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๗ และ มาตรา ๘ บัญญัติไว้ กรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรน้ำ กำหนดให้กรมทรัพยากรน้ำเป็นหน่วยงานสนับสนุน
ประเด็นปฏิรูปที่ ๑ : การบริหารแผนโครงการที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประเด็นย่อยที่ ๑.๒ : การปรับปรุงวิธีบริหารโครงสร้างเชิงซ้อนร่วมกันอย่างเป็นระบบกิจกรรม การศึกษาวิเคราะห์การปรับปรุงวิธีการบริหารโครงสร้างเชิงซ้อนอย่างมีระบบในพื้นที่ตัวอย่าง เช่น ลำเชียงไกร ลำคันฉู ในปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ลำเชียงไกร จำนวน ๕ โครงการ คือ ๑) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงหนองไทร ๒) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองตะไก้ ๓) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงสง่า ๔) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงหนองแวง
๕) โครงการอนุรักฟื้นฟูสระหนองหว้า
(โปรดตรวจสอบการถาม-ตอบ กระทู้ถามที่เป็นทางการ จากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาอีกครั้ง)
ข่าวทำเนียบรัฐบาล
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35
ข่าวกระทรวง
วีดิทัศน์รายการ/คลังภาพ
วาระงาน