http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (21 มกราคม 2563) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2563 ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับการตรวจสอบและรับรอง และการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และ ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ
จังหวัดนราธิวาสให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรและหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน พ.ศ. ....
6. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานและกู้เงินระยะสั้น วงเงิน 800.00 ล้านบาท (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
7. เรื่อง การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562
8. เรื่อง ขออนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงคมนาคม
9. เรื่อง การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการ
10. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562
11. เรื่อง การยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต
12. เรื่อง สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน
13. เรื่อง การส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
14. เรื่อง ขอขยายทุนเรือนหุ้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
15. เรื่อง เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ
กำกับดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือป้องกันอุบัติเหตุทางทะเลของกรมเจ้าท่า
16. เรื่อง การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41
18. เรื่อง การดำเนินการตามคำมั่นที่ให้กับสหภาพยุโรปในการเข้าเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี
19. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงศึกษาธิการและรองโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
21. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน ก.ก.ต.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ เนื่องด้วยศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยลงโทษจำคุกและปรับ พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส. กำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 ฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรและเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน จึงเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของ ส.ส. ของ
พ.ต.ท. ไวพจน์ฯ สิ้นสุดลงเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 101 (13) และต้องตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน 45 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง (ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563)
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขตเลือกตั้งที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับการตรวจสอบและรับรอง และการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอรับการตรวจสอบและรับรอง และการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2553
2. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้าเกษตรยื่นคำขอต่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานตามแบบที่เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอนั้น
3. กำหนดให้เมื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานได้รับคำขอพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรนั้นทันที เว้นแต่มีผู้ยื่นคำขอหลายรายให้ดำเนินการตรวจสอบตามลำดับที่ยื่นคำขอ และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่นำเข้า ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานอาจไปตรวจสอบ ณ สถานที่ผลิตสินค้าเกษตรนั้นในต่างประเทศเพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานได้
ในกรณีที่มีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่นำเข้า พนักงานเจ้าหน้าที่อาจไปตรวจประเมินวิธีการตรวจสอบมาตรฐานในต่างประเทศได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด โดยผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลปะลุรู ตำบลโต๊ะเด็ง และตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส และในท้องที่ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลดุซงญอ ตำบลช้างเผือก ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อันจะทำให้เกษตรกรได้รับสิทธิประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวได้ถูกต้องตามกฎหมายและส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาชีพและมีแรงจูงใจในการพัฒนาอาชีพต่อไป
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรและหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรและหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอากรตอบโต้การอุดหนุน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการคืนอากรหรือหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ เกี่ยวกับสถานที่ที่จะขอคืนอากรหรือหลักประกันการชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ และการขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนกับการนำเข้าสินค้าที่หลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ประเด็น |
รายละเอียด |
1. เพิ่มเติมสถานที่ที่จะขอคืนอากรแก่ผู้นำเข้าที่ขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือากรตอบโต้การอุดหนุน |
เดิมการขอรับคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนต้องนำหลักฐานการชำระอากรชั่วคราวมาติดต่อขอรับคืน ณ ท่าหรือที่ หรือสนามบินศุลกากรที่ได้ชำระอากรดังกล่าวไว้ แก้ไขเป็นด่านศุลกากรหรือสถานที่ที่กรมศุลกากรกำหนดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำของเข้าที่ได้ชำระอากรดังกล่าวไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอรับคืนอากร |
2. เพิ่มเติมกรณีผู้นำเข้าซึ่งมีการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้ ขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุน ที่ถูกเรียกเก็บจากการขยายการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน |
เดิมไม่มี กำหนดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการเพิ่มบทบัญญัติหมวด 10/1 การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนแห่งพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและ การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 |
3. เพิ่มเติมกรณีผู้นำเข้าขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนที่ถูกเรียกเก็บไว้ เนื่องจากภายหลังมีการส่งสินค้าที่ได้ชำระอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรืออากรตอบโต้การอุดหนุนกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยผู้นำเข้าต้องขอรับคืนภายในหกเดือน |
เดิมไม่มี กำหนดขึ้นใหม่เพื่อรองรับการเพิ่มบทบัญญัติหมวด 10/1 การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนแห่งพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและ การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 |
6. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานและกู้เงินระยะสั้น วงเงิน 800.00 ล้านบาท (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ของการรถไฟแห่งประเทศไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ การกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดตามความเหมาะสม สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงินให้ รฟท. พิจารณาดำเนินการตามความเห็นของ กค. ดังต่อไปนี้
1. เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วงเงิน 10,910.69
ล้านบาท
2. เงินกู้ระยะสั้น (วงเงินกู้เบิกเกินบุญชี) วงเงิน 800.00 ล้านบาท โดยให้ รฟท. พิจารณาคัดเลือก
สถาบันการเงินด้วยวิธีการประมูลตามความเห็นของ กค.
สาระสำคัญของเรื่อง
คค. รายงานว่า
รฟท. ได้เสนอขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้การดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่ง
คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 มีรายละเอียด ดังนี้
1. การกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่อง) รฟท.
ได้ประมาณการกรอบวงเงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องที่ได้รับการบรรจุวงเงินกู้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 10.910.69 ล้านบาท
ทั้งนี้ รฟท. มีผลประกอบการขาดทุน เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและ รฟท. ไม่มีการปรับเพิ่มรายได้การขนส่งให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2528 ในขณะที่การชดเชยการขาดทุนฯ ของ รฟท. ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่รัฐต้องจ่ายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเท่าจำนวนที่ขาด ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายและการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถหาเงินจากทางอื่นได้ ซึ่งภาครัฐมีเงินจำกัดไม่สามารถจัดสรรให้เพียงพอกับการขาดทุนจริง ทำให้ รฟท. ต้องกู้เงินโดยให้รัฐบาลค้ำประกันเพื่อมาใช้ในการดำเนินงานอันก่อให้เกิดภาระดอกเบี้ยจ่ายในการกู้เงิน
2. เงินกู้ระยะยสั้น
รฟท. มีความจำเป็นต้องกู้เงินระยะสั้นเพื่อให้มีวงเงินสำรองไว้ใช้เสริมสภาพคล่อง
ในช่วงที่ประสบปัญหาเงินสดขาดมือ โดยได้ทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 800 ล้านบาท อายุสัญญา 1 ปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รฟท. ได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้ดังกล่าวกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แล้ว และจะครบกำหนดอายุสัญญาในวันที่ 29 มีนาคม 2563 รฟท.จึงมีความจำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นไว้สำหรับใช้ในกรณีที่ขาดเงินทุนหมุนเวียนในช่วงใดช่วงหนึ่ง เพื่อไม่ให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 ถึง 29 มีนาคม 2564
3. รฟท. รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และ กค. ค้ำประกัน
การกู้เงิน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม พร้อมขอยกเว้นการคิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ รฟท.
7. เรื่อง การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ในกรณีเดินทางไปปฏิบัติงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547
2. กรณีที่มีความจำเป็นต้องกำหนดอัตราเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอนุกรรมการที่ คณะกรรมการฯ แต่งตั้งที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ให้กระทรวงกลาโหม (สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ) นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณาการกำหนดอัตราเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง เพื่อให้มีความเหมาะสมชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
สำหรับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : บาท/คน/เดือนที่มีการประชุม
ตำแหน่ง |
คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ [มติคณะรัฐมนตรี (7 กันยายน 2547)] |
อัตราเบี้ยประชุม |
ประโยชน์ตอบแทนอื่น |
ระดับคณะกรรมการ |
1) ประธานกรรมการ |
20,000 |
อัตราที่ข้าราชการกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน ระดับ 10 (ข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูงในปัจจุบัน) |
2) กรรมการ |
16,000 |
3) รองประธานกรรมการ |
- |
- |
ระดับคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง |
1) ประธานอนุกรรมการ |
10,000 |
ในอัตราที่ข้าราชการกำหนดสำหรับข้าราชการพลเรือน ระดับ 9 (ข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับต้นในปัจจุบัน) |
2) อนุกรรมการ |
8,000 |
เงื่อนไขสำหรับการได้รับเบี้ยประชุม : ให้ได้รับเฉพาะเดือนที่มีการประชุม โดยกำหนดให้มีการประชุมทุก 3 เดือน และจะต้องเข้าร่วมประชุมในเดือนนั้น |
|
|
|
|
8. เรื่อง ขออนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงคมนาคม จำนวน 4 หน่วยงาน รวม 46 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2564 – 2567 วงเงินรวมทั้งสิ้น 179,671.1980 ล้านบาท โดยมีวงเงินที่จะขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 36,384.2000 ล้านบาท ประกอบด้วย
- กรมทางหลวง จำนวน 41 โครงการ วงเงินรวม 170,665 ล้านบาท (ปีงบประมาณ
2564 : 34,133 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 : 51,199.5000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2566 : 51,199.5000 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2567 : 34,133 ล้านบาท)
- กรมทางหลวงชนบท จำนวน 2 โครงการ วงเงินรวม 3,151 ล้านบาท (ปีงบประมาณ
2564 : 630.2000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 : 1,260.4000 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2566: 1,260.4000 ล้านบาท)
- กรมท่าอากาศยาน จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 3,800 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2564
: 760 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 : 760 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2566 : 1,140 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2567 : 1,140 ล้านบาท)
- การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 1 โครงการ วงเงินรวม 2,055.1980 ล้านบาท
(ปีงบประมาณ 2564 : 861 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2565 : 1,194.1980 ล้านบาท)
9. เรื่อง การขอรับการสนับสนุนงบประมาณการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการ จากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) วงเงิน 240,000,000 บาท โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.
การถ่ายทอดสดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ 5 รายการดังกล่าวประกอบด้วย (1) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (โตเกียว 2020)
(2) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาว (โลซาน 2020)
(3) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว (ปักกิ่ง 2022)
(4) การแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน (ดาการ์ 2022) และ
(5) การแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ (หางโจว 2022) ซึ่ง กก. พิจารณาแล้วเห็นควรซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฯ ทั้ง 5 รายการดังกล่าวจากบริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้บริหารจัดการลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดและการตลาด มูลค่ารวม 480,000,000 บาท (รวมภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องแล้วแต่ไม่รวมค่าดำเนินการด้านเทคนิคการออกอากาศ)
2. คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 มีมติอนุมัติงบประมาณสนับสนุนค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ เป็นเงิน 480,000,000 บาท โดยมีเงื่อนไขหากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สามารถหาผู้สนับสนุนได้มากกว่า 240,000,000 บาท ตามที่นำเสนอคณะกรรมการการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติให้ใช้จ่ายจากแหล่งเงินที่จัดหามาได้เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณของกองทุนทั้งหมด โดยหากมีรายได้จากการจัดหาให้นำกลับคืนมาให้กองทุนเพื่อเป็นทุนสนับสนุน ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาของประเทศชาติต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการรับรู้จำนวน 20,000,000 บาท ให้ กกท. ใช้จ่ายจากแหล่งงบประมาณอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณกองทุน* ดังนั้น กก. จึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจาก กทปส. มาสมทบในวงเงินงบประมาณ 240,000,000 บาท
3. กก. แจ้งว่า การขอรับงบประมาณสนับสนุนในครั้งนี้สามารถดำเนินการได้ตามมาตรา 27 (21) และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการจัดสรรเงิน กทปส. ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (คณะกรรมการ กทปส.) เสนอ และมีความสอดคล้องกับมาตรา 52 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติให้ กทปส. มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง
* บริษัท แพลนบี มีเดีย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าวให้ก่อน และจะนำรายได้จากการบริหารจัดการการถ่ายทอดสดไปชดเชยในส่วนดังกล่าว
10. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอดังนี้
1.
รับทราบ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
1.1 การประกาศกำหนดให้อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
1.2 การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณีเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
1.3 การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน กรณีครอบครัวนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ
1.4 การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.
เห็นชอบ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
2.1 เห็นชอบในหลักการของแผนเร่งด่วนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับแผนงานดังกล่าว ไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.2 เห็นชอบในหลักการของกรอบแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงผ่าน “โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
2.3 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการที่ดินสำหรับการดำเนินงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาสตามที่ กพต. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นำเสนอผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ
รับทราบในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1) การประกาศให้อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในฐานะเมืองต้นแบบที่ 4 “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีขอความเห็นชอบในหลักการของ
แผนเร่งด่วนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เนื่องจากเขตพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับแรงงานในพื้นที่จำนวนมาก และมีความพร้อมด้านกายภาพจากลักษณะทางกายภาพที่เป็นพื้นที่ชายฝั่ง จึงมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการท่าเรือน้ำลึก เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นสามารถใช้ประโยชน์จากการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้อย่างสะดวก โดย
สาระสำคัญของแผนเร่งด่วนการลงทุนฯ ครอบคลุม 4 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้
แผนงาน |
รายละเอียด |
ด้านผังเมือง : ปรับปรุงผังการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ (1) ตำบลนาทับ (2) ตำบลตลิ่งชัน และ (3) ตำบลสะกอม ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาโครงการ ได้รับการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่สีเขียวและสีเขียวคาดขาวทำให้ไม่สามารถจัดตั้งโรงงานและการประกอบอุตสาหกรรม
บางประเภท ส่งผลให้เอกชนที่สนใจไม่สามารถลงทุนในโครงการได้ |
- ให้ ศอ.บต. มีอำนาจปรับปรุงผังการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 3 ตำบล และให้ประกาศใช้ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับการปรับปรุงแล้วใน 12 เดือน
- ให้ ศอ.บต. สามารถดำเนินการยกเว้นกฎหมายผังเมืองในการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินของ 3 ตำบล เพื่อให้สามารถเกิดการลงทุนในพื้นที่ได้ทันที |
ด้านโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางน้ำ (ท่าเรือ) : เป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาติดข้อจำกัดด้านงานมวลชลสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อม |
ให้ ศอ.บต เชิญชวนเอกชนที่สนใจและมีความพร้อมในการร่วมพัฒนาและเสนอโครงการให้ภาครัฐพิจารณา |
ด้านโครงข่ายการขนส่งสินค้าทางบก (ถนนและราง) : ถนนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลที่อยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาโครงการฯ เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนและการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการเดินทางของบุคลากรที่เป็นแรงงานและการขนส่งสินค้า |
ให้ ศอ.บต. ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาและ/หรือสำนักงานจังหวัดสงขลาจัดทำแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจรจังหวัดสงขลาและส่งมอบแผนงาน/โครงการตามแผนแม่บทดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งงบประมาณต่อไป |
ด้านพลังงาน : การสร้างโรงไฟฟ้ามั่นคงภาคใต้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 930 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่ ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,700 เมกะวัตต์ |
การกำหนดพื้นที่เพื่อจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง |
2) การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณีเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าสงวน
3) การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนกรณีครอบครัวนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ โดยให้ความช่วยเหลือเยียวยาเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 1,568,400 บาท
4) การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและอำนวยการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้รัฐบาลตกลงใจในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาทั้งระบบแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
รวมทั้งเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.
กรอบแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงผ่าน “โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของ ศอ.บต. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน หมู่บ้าน และตำบล
โดยมี “สภาสันติสุขตำบล” เป็นกลไกในการบริหารราชการระดับตำบล ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้ง ประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ (1) ภาคส่วนราชการที่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบล (2) ผู้ปกครองท้องที่ในตำบล (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) ผู้นำศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่ตำบล และ (5) ภาคประชาชน โดยการดำเนินการของสภาฯ สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการของสภาสันติสุขตำบล
ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายอำเภอ |
คณะกรรมการบริหาร
งานตำบลแบบบูรณาการจัดทำแผนตำบล (ปลัดอำเภอเป็นประธาน) |
สภาฯ พิจารณาและให้
ข้อเสนอแนะ รวมทั้ง
ข้อคิดเห็นต่าง ๆ
เพื่อขับเคลื่อน
การสร้างความเข้มแข็ง
ให้กับประชาชน
และหมู่บ้าน |
นายอำเภออนุมัติแผนตำบล
รวมถึงกำกับดูแลโครงการและรายงานความก้าวหน้าต่อ ศอ.บต. |
คณะทำงานในการตรวจติดตามการดำเนินงานของสภาฯ ที่จัดตั้งโดย ศอ.บต. ดำเนินการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ เช่น ผลการเบิกจ่ายเงินตามโครงการที่เกี่ยวข้อง |
โดยมีศูนย์ประสานงานโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานระดับอำเภอและตำบล รวมถึงเสนอแนะและยับยั้งการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียหายอย่างร้ายแรง หรือกระทบต่อการดำเนินชีวิตวิถีชีวิตของประชาชนและกระทบต่อความมั่นคงของชาติ |
2.
แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส ซึ่งเป็นแผนบริหารจัดการที่ดินสำหรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาสโดยการจัดซื้อที่ดินจากบริษัทเอกชนจำนวน 1,683 ไร่ ในพื้นที่อำเภอยี่งอ และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เพื่อบริหารจัดการที่ดินดังกล่าวโดยได้มีการแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเช่า จำนวน 600 ไร่ ในพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามอำนาจหน้าที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ส่วนที่ 2 ให้เอกชนเช่า โดยกรมธนารักษ์เปิดประมูลเพื่อสรรหาผู้ลงทุนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด เนื้อที่รวม 1,003 ไร่ ประกอบด้วย 1) พื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 454 ไร่ และ 2) พื้นที่ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เนื้อที่ 548 ไร่
ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่สำหรับใช้ประโยชน์ของทางราชการ ในพื้นที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พื้นที่รวม 79 ไร่ เช่น ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมและการลงทุนและการพัฒนาและส่งเสริมนักธุรกิจรุ่นใหม่ยุค 4.0 เป็นต้น
โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1) ศอ.บต. เป็นหน่วยงานจัดซื้อที่ดินเอกชน และให้แจ้งกรมธนารักษ์เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ 2) กรมธนารักษ์ ที่ดินขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 3) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เป็นต้น
11. เรื่อง การยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอการยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญ
1. สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 พบเกินมาตรฐานต่อเนื่องและมีปริมาณอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จึงต้องจำกัดจำนวนและลดการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากยานพาหนะโดยเฉพาะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โรงงานอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง จึงต้องยกระดับมาตรการให้เข้มงวดขึ้นเพื่อลดมลพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศ
2. การยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต
คณะกรรมการควบคุมมลพิษ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 มีมติให้ยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละออง PM
2.5 ในสถานการณ์วิกฤต โดยให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการโดยเร่งด่วนดังนี้
1)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(1) ออกข้อบังคับเพิ่มเติมเพื่อขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากวงแหวนรัชดาภิเษกขยายเป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก
(2) ออกข้อบังคับหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เข้ามาในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครในวันคี่ ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2563 สำหรับวันคู่ให้เข้าได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด
(3) ยกระดับความเข้มงวดในการตรวจสอบตรวจจับรถยนต์ควันดำอย่างเคร่งครัด
(4) ออกคำสั่งห้ามการใช้รถที่มีมลพิษเกินมาตรฐานที่กำหนดมาใช้ในทางเดินรถและออกกฎกระทรวงเพื่อตรวจรับรองรถยนต์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
2)
กรมการขนส่งทางบก
(1) ตรวจวัดควันดำอย่างเข้มงวดกับรถโดยสาร (ไม่ประจำทาง) ทุกคัน โดยเพิ่มชุดตรวจเป็น 50 ชุดใน 50 เขต (บูรณาการร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร)
(2) ปฏิบัติการร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรในการยกระดับความเข้มงวดการตรวจสอบตรวจจับรถควันดำสำหรับรถโดยสารและรถบรรทุกเพื่อการออกคำสั่งห้ามใช้รถ
3)
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
(1) ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หากตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ให้สั่งปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ
(2) ขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง และสนับสนุนแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือ
4)
กรุงเทพมหานคร
(1) แก้ไขปัญหาการจราจรจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง โดยกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการ 12 ข้ออย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ระงับการก่อสร้าง โดยมีมาตรการทั้ง 12 ข้อ ได้แก่
- การวางแนวแบริเออร์ ให้จัดวางให้ตรงตามแนวเส้นทางจราจร
- ช่องทางกลับรถคับแคบ ให้เปิดช่อง U-Turn ให้กว้าง เพื่อให้รถยนต์กลับรถได้สะดวกขึ้น
- ให้ขนย้ายกองดิน เศษหิน เศษปูนทรายออกจากพื้นที่ก่อสร้างในทันที
- เร่งแก้ไขผิวจราจรให้เรียบร้อย
- แนวก่อสร้างที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง แต่ได้วางแผงแบริเออร์ ให้เปิดช่องทางชั่วคราว
- ให้เร่งก่อสร้างงานฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดที่สะพาน
- ให้จัดระเบียบรถบรรทุกในพื้นที่
- ปรับผิวจราจรให้เป็นช่องจราจรชั่วคราวเพิ่มขึ้น
- พื้นที่ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง แต่ปิดช่องจราจร ให้เปิดช่องจราจรเป็นครั้งคราวในพื้นที่
- การเปิดแนวแบริเออร์แล้วไม่ปิดให้เรียบร้อย ให้ปิดกั้นให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย
- ติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราวตามแนวการก่อสร้าง
- ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างและจัดทำทางสัญจรอย่างปลอดภัย
(2) ไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำการเผา
(5)
จังหวัดต่าง ๆ (ยกเว้น 9 จังหวัดภาคเหนือ)
(1) ออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ควบคุมการเผาขยะมูลฝอย หญ้า พืชไร่ พืชสวน ตอซังข้าว หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของตนเองหรือที่สาธารณะในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง
(2) เข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ
(6)
ข้อเสนออื่น
(1) ขอความร่วมมือหน่วยงานภาคราชการ ภาคเอกชน ประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน
(2) รถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน โดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดของหัวหน้าส่วนราชการ
(3) ให้กระทรวงพลังงานพิจารณาสนับสนุนการลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 ppm
(4) ขอความร่วมมือกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี
(5) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานอื่นสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM
2.5 โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤต
12. เรื่อง สรุปผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางและข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสั่งการไปพิจารณาดำเนินการต่อไป รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบด้วย
ตามที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 21 มกราคม 2563 โดยมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเตรียมแผนการในเรื่องการลงพื้นที่ของคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งรวบรวมและจัดทำรายงานสรุป เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี นั้น
ในการนี้ สำนักงานฯ ขอเสนอรายงานผลการติดตามงานและโครงการ รวมทั้งข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีในการติดตามงานในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ระหว่างวันที่ 12 – 20 มกราคม 2563 มีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคใต้ชายแดน มีเป้าหมายการพัฒนาเป็นแหล่งผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สำคัญของประเทศ เป็นเมืองชายแดนเชื่อมโยงการค้าและการท่องเที่ยวกับพื้นที่ภาคใต้และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ชุมชนมีความเข้มแข็งอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
2. ภาพรวมของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา โดยมีจังหวัดยะลา เป็นหัวหน้ากลุ่มจังหวัด มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 10,936.86 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศและติดกับประเทศมาเลเซีย มีศักยภาพด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมประมง ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ปศุสัตว์ ประมง และอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ รวมทั้งมีประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นแบบพหุวัฒนธรรมที่สามารถพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อาทิ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ มัสยิดกลางปัตตานี เป็นต้น และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย อาทิ ป่าฮาลา-บาลา หาดตะโละกาโปร์ หาดแฆแฆ และหาดนราทัศน์ เป็นต้น โดยกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน มีการกำหนดประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย (1) เพิ่มศักยภาพการผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และการตลาด (2) ส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ (3) ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม และเมืองท่องเที่ยวชายแดน และ (4) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม
3. ผลการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ผลการปฏิบัติราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวม 22 คน โดยมีประเด็นการพัฒนาและข้อสั่งการโดยสรุป ดังนี้
3.1 เพิ่มศักยภาพการผลิตภาคเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และการตลาด
1) ตรวจเยี่ยมการประกอบกิจการของบริษัทปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ จำกัด อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ (1) ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี ดำเนินการส่งเสริมพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม กำหนดแนวทางการพัฒนา พร้อมทั้งหารือและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการมาลงทุน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่คนในพื้นที่ (2) ให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันอาหาร และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี ส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ตลอดจนให้คำแนะนำเชิงลึกเรื่องการแปรรูปน้ำมะพร้าวและการทำขนมคุกกี้จากกากมะพร้าวที่เหลือใช้จากโรงงาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นการต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งจัดหาช่องทางการตลาด เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์จากน้ำมะพร้าว (3) ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคพิจารณาสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย สนับสนุนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการในพื้นที่ ตลอดจนประชาสัมพันธ์การสนับสนุนสินเชื่อภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวทางประชารัฐแก่พนักงานบริษัทปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ จำกัด และประชาชนอย่างทั่วถึง และ (4) ให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี นำผู้ประกอบการ ประชาชน และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลหนองจิก จังหวัดปัตตานี เข้าศึกษาดูงานที่ บริษัท โรแยล พลัส จำกัด
2) ตรวจเยี่ยมบริษัท ซูเพิร์บ ครีเอชั่น เฟอร์นิเจอร์ (ประเทศไทย) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ (1) ให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี จับคู่ทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการในด้านวัตถุดิบ (2) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาผังเมืองจังหวัดปัตตานี และ (3) ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี ติดตามสถานการณ์ พร้อมเร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือจังหวัดปัตตานี
3) ตรวจเยี่ยมโครงการด้านความมั่นคงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและเยี่ยมชมผลงานเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมในการดำเนินการก่อสร้างถนนลาดยางให้ชุมชนประชาร่วมใจ 1 และชุมชนประชาร่วมใจ 2 ซึ่งเป็นถนนสาธารณะที่ใช้สัญจรระหว่าง 2 หมู่บ้าน และสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในการดำเนินการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ และสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในกระบวนการผลิตต่างๆ เพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจักสานจากกระจูด การผลิตน้ำบูดู และการผลิตข้าวเกรียบปลาของชุมชน และ (2) ให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่เร่งดำเนินการตามข้อร้องเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ กรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาของพื้นที่ อาทิ การขุดลอกตะกอนบริเวณปากอ่าว การส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายหาดของชุมชน และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาจนจบปริญญาตรี เป็นต้น
4) ตรวจเยี่ยมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (แปลงใหญ่ข้าวบุดี) อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตรวจสอบการถือครองที่ดินของเอกชนหรือนายทุนที่ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ หากไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้ดำเนินการยึดคืนและเร่งรัดจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน (2) ให้กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการพัฒนาที่ดิน ส.ป.ก. ที่จัดสรรให้กับเกษตรกรให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (3) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการปลูกพืชหลังนา โดยให้ศึกษาความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น พืชตระกูลถั่ว และพืชอาหารสัตว์ เป็นต้น (4) ให้กรมชลประทาน และกรมพัฒนาที่ดิน บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรให้แก่เกษตรกร ทั้งในและนอกเขตชลประทาน อาทิ ขุดเจาะบ่อบาดาล ขุดสระน้ำในไร่นาขนาดเล็ก และการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น (5) ให้กรมปศุสัตว์สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เลี้ยงแพะและวัว โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นแหล่งสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และ (6) ให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จัดตั้งตลาดเพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ และกระจายผลผลิตออกไปยังตลาดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
5) ตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตร กรป.กลางมะปรางมัน ปัตตานี จำกัด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ (1) ให้กรมตรวจบัญชีสหกรณ์วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงินของสหกรณ์ก่อนที่จะอนุมัติเงินกู้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สหกรณ์ล้มละลาย และ (2) ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดหาเครื่องผสมปุ๋ยสั่งตัดให้แก่สหกรณ์การเกษตร กรป.กลาง มะปรางมัน ปัตตานี จำกัด และจัดอบรมและศึกษาดูงานให้กับสหกรณ์การเกษตร โดยศึกษาดูงานสหกรณ์การเกษตรต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง
6) ติดตามการดำเนินนโยบายพลังงานชุมชนในเขตพื้นที่ตรวจราชการที่ 7
กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ข้อสั่งการ ให้สำนักงานพลังงานจังหวัด ดำเนินการดังนี้ (1) ขับเคลื่อนมาตรการการรักษาระดับราคาปาล์มน้ำมันให้ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 4 บาท (2) ประชาสัมพันธ์ สร้างความมั่นใจการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B10 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการส่งเสริม B10 (3) เร่งรัดดำเนินการส่งเสริมการนำน้ำเสียจากโรงงานปาล์มน้ำมันมาผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อผลิตไฟฟ้า (4) บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มเป้าหมาย และ (5) ตระหนักถึงบทบาทของการส่งเสริมพลังงานเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก
3.2 ส่งเสริมการค้าการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ
1) ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน สุไหงโก-ลก ระยะที่ 1 อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ ให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการดังนี้ (1) เร่งรัดการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนสุไหงโก-ลก ระยะที่ 1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมเป็นปัญหาสำคัญที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน (2) เร่งรัดการเสนอของบประมาณโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนสุไหงโก-ลก ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (3) ศึกษาและออกแบบพื้นที่ริมคันกั้นน้ำ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยว เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่สวนสาธารณะสำหรับออกกำลังกาย การออกแบบพื้นที่ริมน้ำเพื่อรองรับการแข่งขันเรือที่แม่น้ำโก–ลก การออกแบบผนังกั้นน้ำโดยใช้เอกลักษณ์ของเมืองสุไหงโก-ลก เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของเมือง (4) เพิ่มระบบไฟฟ้าแสงสว่างเข้าไปในโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนสุไหงโก-ลก ระยะที่ 2 และ (5) บรรจุโครงการศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดน (ด่านตากใบ ด่านสุไหงโก-ลก และด่านบูเก๊ะตา) เพื่อให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาสไว้ในแผนพัฒนาในลำดับต่อไป
2) ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำสายบุรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ (1) ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพัฒนาพื้นที่สาธารณะบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ โดยคำนึงถึงระเบียบข้อบังคับในการขอใช้พื้นที่ รวมทั้งให้มีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และร่วมบูรณาการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาและออกแบบบริเวณพื้นที่เขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน และ (2) ให้กระทรวงมหาดไทย บูรณาการการทำงานกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนศรีสาครให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงนิเวศ และเชิงวัฒนธรรม ตามแนวคิดชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
3) ตรวจเยี่ยมการปรับปรุงถนนลาดยางผิวจราจรแอสฟัลติกส์คอนกรีตและก่อสร้างสะพานถนน สายปน.ถ.1-0089 บ้านนางโอ – บ้านคูระ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงชนบทประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อดำเนินการยกระดับมาตรฐานทางของเส้นทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2563-2564 เพื่อให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางแก่ประชาชนภายในพื้นที่ให้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมด้านการขนส่งสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรและการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี
4) ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงดำเนินการขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อจ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจออกแบบและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หลังจากนั้นจะได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของประชาชนในการเดินทางข้ามทางแยกดังกล่าวและปรับปรุงทางแยกให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณจราจรที่สัญจรผ่านบริเวณดังกล่าว
5) ตรวจเยี่ยมการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 4056 เชื่อมโยงระหว่างตัวเมืองนราธิวาสกับด่านพรมแดนไทย-มาเลเซีย อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ ให้กรมทางหลวงจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการให้มีความพร้อม และขอรับการจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินการก่อสร้างเส้นทางสายดังกล่าว โดยเฉพาะโครงการตอนที่ 1 และจัดสรรงบประมาณในปีต่อๆ ไป เพื่อดำเนินการก่อสร้างในตอนอื่นให้เกิดความต่อเนื่อง จะทำให้ระบบโลจิสติกส์และการขนส่งในพื้นที่ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเหมาะสม เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว เศรษฐกิจของภูมิภาคขยายตัวเติบโตขึ้นตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดไว้
6) ตรวจเยี่ยมโครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ ให้กรมเจ้าท่าพิจารณาจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาดำเนินการขุดลอกร่องน้ำทั้ง 2 ร่องน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสต่อไป
7) ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของท่าอากาศยานนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ ให้กรมท่าอากาศยานดำเนินการ (1) เร่งรัดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ พร้อมครุภัณฑ์อำนวยความสะดวกท่าอากาศยานนราธิวาส วงเงินรวม 800 ล้านบาท ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2563 และผูกพันงบประมาณในปีต่อไป เพื่อให้สามารถลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 รวมทั้งเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผน และสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2565 และ (2) เร่งรัดดำเนินการจัดหาและติดตั้งระบบไฟส่องสว่างแนวรั้วพื้นที่เขตการบิน จัดหาทางลาดลำเลียงผู้โดยสารทุพพลภาพ ขึ้น-ลงอากาศยาน และการซ่อมบำรุงเสริมผิวทางวิ่ง ทางขับ ให้เป็นไปตามแผนและแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
8) ประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ณ จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ (1) ให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่รวมตัวกันเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง สร้างงานและสร้างอาชีพ (2) ให้คณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงการคลังในพื้นที่ เป็นศูนย์ประสานงานหลักของหน่วยงานในพื้นที่มุ่งเน้นการทำงานในเชิงรุกและประสานงานกับกระทรวงการคลัง และ (3) ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสนใจในความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและความทุกข์ยากของประชาชน และให้การสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3.3 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม และเมืองท่องเที่ยวชายแดน
1) ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว (ปรับปรุงภูมิทัศน์น้ำตกโผงโผง) จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการ (1) ผลักดันและสนับสนุนการขอรับงบประมาณโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว (ปรับปรุงภูมิทัศน์น้ำตกโผงโผง) ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดนราธิวาส และ (2) ประสานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการร่วมกันกำหนดแนวทาง วางแผนและส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว (ปรับปรุงภูมิทัศน์น้ำตกโผงโผง) เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พร้อมทั้งกระจายรายได้สู่ชุมชน และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงต่อไป
3.4 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม
1) ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นราธิวาส และการจัดการศึกษาสงเคราะห์เป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กด้อยโอกาส ข้อสั่งการให้สถานศึกษาดำเนินการ (1) จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาชั้นปฐมวัย และประถมศึกษา Coding แบบ Unplug คือ เรียนแบบไม่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เด็กมีทักษะจำเป็นในยุคศตวรรษที่ 21 (2) นำแนวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรม (Science –Technology - Innovation : STI) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ (3) มุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งฝึกลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนมีทักษะและประสบการณ์ในวิชาชีพ
2) การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ ของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ ให้สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดำเนินการ (1) สนับสนุนให้ครู และบุคลากร เข้าอบรมจิตอาสา 904 (2) น้อมนำศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบสำหรับประชาชน (3) เร่งพัฒนาปรับปรุงสื่อนิทรรศการ และกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยประสานความร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM – ED) และ SEAMEO SEPS (4) เร่งดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ จาก OOCC (ONIE Online Commerce Centre) ที่โดดเด่น 100 ผลิตภัณฑ์ เพื่อเข้าคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ OOCC ที่โดดเด่น 100 ผลิตภัณฑ์ของประเทศ และให้สำรวจสถานีบริการน้ำมัน PT ในพื้นที่ว่าแห่งใดมีทำเลที่เหมาะสมต่อการนำผลิตภัณฑ์ OOCC ไปวางจำหน่าย (5) ให้พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าผ่านการเรียนหลักสูตรอาชีพกับสำนักงานฯ และให้มีการประกวดแข่งขันผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เช่น ผ้าพื้นเมืองภาคใต้ เป็นต้น รวมทั้งให้มีการประกวด Young Designer ที่เป็นนักศึกษาของสำนักงานฯ เพื่อส่งเสริมด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (6) กำหนดให้มีการสอบครูผู้ช่วย จำนวน 396 อัตรา โดยปรับหลักเกณฑ์และคุณสมบัติให้สอดคล้องกับผู้ปฏิบัติงานสำนักงานฯ มากขึ้น (7) เร่งดำเนินการปรับแก้ กฎ ระเบียบ กฎหมาย ที่เป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องการเงินและพัสดุ (8) ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ให้มีความทันสมัย แก้ปัญหาจำนวนวิชาที่มากเกินความจำเป็น จำนวนวิชาที่ซ้ำซ้อน จำนวนเวลาเรียนที่มากหรือน้อยเกินไป รวมถึงวิธีวัดและประเมินผล สำหรับกลุ่มเป้าหมายการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (9) เร่งพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น หลักสูตรภาษายาวี มลายู เป็นต้น (10) ให้มีการใช้ประโยชน์จากโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ถูกควบรวม โดยให้ สำนักงาน กศน.จังหวัด ดำเนินการสำรวจเพื่อประสานขอใช้ประโยชน์ในการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ทุกช่วงวัย หรือศูนย์การเรียนรู้อื่นตามความเหมาะสม (11) เร่งดำเนินการสำรวจและทำแผนปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ให้ทันการเสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ (12) จัดทำแนวทางการส่งเสริมให้ครูสอนเด็กเร่ร่อนมีความมั่นคงในอาชีพ
3) ติดตามผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรตำแหน่งศึกษานิเทศก์ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เต็มตามกรอบอัตรากำลังที่มีอยู่
4) ติดตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อสั่งการ (1) ให้กรมที่ดินและจังหวัด ประชาสัมพันธ์และชี้แจงการดำเนินงานโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ให้กรมที่ดินดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่เป้าหมายทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง และปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ และระมัดระวัง มิให้มีการออกโฉนดทับซ้อนกับพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่สาธารณประโยชน์ หรือที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้องห้ามโดยเด็ดขาด และ (3) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี โดยมีผู้แทนจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมที่ดิน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอำเภอ และผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น สำรวจ รวบรวมปัญหาของประชาชน ตลอดจนข้อขัดข้องทางด้านกฎหมายเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป
5) ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในเครือข่ายของมูลนิธิยุวทูตความดี (โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก) จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามแนวทางการทูตประชารัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้และขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถขับเคลื่อนประเทศได้ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ
6) รับฟังการดำเนินงานและมอบนโยบายด้านสาธารณสุขแก่ผู้บริหารและบุคลากรโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ (1) ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ บริหารจัดการระบบสวัสดิการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้เป็นหมอประจำบ้าน เพื่อดูแลประชาชนและผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และ (2) ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจและเสียสละ เพื่อดูแลประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
7) ติดตามการดำเนินงานและมอบนโยบายหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ บัณฑิตแรงงาน และแกนนำอาสาสมัครแรงงาน ณ สถาบันฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน บัณฑิตแรงงาน และอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ ทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายด้านแรงงานโดยยกระดับและเพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนในพื้นที่และสนับสนุนโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และลงพื้นที่พบปะสถานประกอบกิจการและบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะฝีมือแรงงานในภาคการผลิตให้สามารถต่อยอดนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
8) ตรวจเยี่ยมและพบปะประชาชนและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อติดตามการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ข้อสั่งการ (1) ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส ส่งเสริมให้มีอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและบูรณาการการแก้ไขปัญหาครอบครัวร่วมกับภาคประชาชนโดยใช้หลักศาสนาเข้ามาดำเนินการ และสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์และต่อยอดองค์ความรู้ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีคุณค่าและยั่งยืน (3) มอบหน่วยงานสังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ เนื่องจากเป็นปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ที่จะต้องมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน โดยการจัดอบรมครู ก. อำเภอละ 1 ตำบล ซึ่งครู ก. ได้แก่ บุคลากรของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สภาเด็กและเยาวชน ตำรวจ ผู้นำชุมชน และผู้นำทางศาสนา และให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการในพื้นที่ร่วมติดตามและประเมินผล และ (4) ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดให้มีโรงเรียน หลักสูตร และคู่มือ สำหรับผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตร และจัดการอบรมให้แก่สภาเด็กและเยาวชน
และส่งเสริมให้เป็นกลไกในการป้องกันปัญหายาเสพติด
3.5 ประเด็นอื่นๆ
1) ติดตามนโยบายรัฐบาลและข้อเสนอการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ศาลากลางจังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ (1) การเทิดทูนและปกป้องสถาบันหลักของชาติ ให้ทุกหน่วยงานสร้างความตระหนักรู้แก่พี่น้องประชาชน ถึงความสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่ต้องธำรงรักษาไว้ เพื่อสันติสุขของบ้านเมืองสืบไป (2) การสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของสังคม ให้ทุกหน่วยงาน ทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วน ในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะทุกคนล้วนแต่เป็นประชาชนคนไทยและราษฎรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (3) การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ให้เป็นเอกภาพ โดยยึดยุทธศาสตร์พระราชทาน “ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำพาสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม (4) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของจังหวัด ให้จังหวัดปัตตานีและภาคเอกชนควรร่วมกันคิดวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และวางแผนการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจดี สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นตามไปด้วย และ (5) การเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งน้ำในการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ต้องหาทางกักเก็บน้ำตามแก้มลิงในฤดูน้ำหลาก เพื่อให้มีปริมาณน้ำใช้เพียงพอ สามารถบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง
2) รับฟังสรุปผลการปฏิบัติงานคดีความมั่นคงที่สำคัญในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดปัตตานี ข้อสั่งการ (1) ให้หน่วยงานความมั่นคงและทุกหน่วย (ทหาร ตำรวจ ปกครอง ชุดคุ้มครองตำบล อาสารักษาหมู่บ้าน และกำลังภาคประชาชน) ร่วมบูรณาการในการวางมาตรการป้องกันเหตุที่ตั้งหน่วยดูแลความปลอดภัยชีวิตทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุเป็นประจำ และ (2) ให้หน่วยงานความมั่นคงและตำรวจ เร่งรัดรวบรวมพยานหลักฐาน (พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานแวดล้อม) และสืบสวนติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้ เพื่อให้การดำเนินคดีมีความคืบหน้าโดยเร็ว
3) ตรวจเยี่ยมชมและพบปะผู้บังคับบัญชาหน่วยในสังกัดหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี (ฉก.ปัตตานี) ข้อสั่งการ ให้หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี (ได้แก่ หน่วย ฉก.ทพ. 22 ฉก.ทพ. 42 ฉก.ทพ. 43 ฉก.ทพ. 44 ฉก.ปัตตานี 25 ฉก.อโณทัย และ ฉก.สันติสุข) นำแนวทางการดำเนินงานไปปฏิบัติงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ดังนี้ (1) การดำเนินงานด้านการข่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกหน่วยจะต้องประสานความร่วมมือภายในกลไกประชาคมข่าวกรองอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ อันจะนำมาซึ่งการปฏิบัติการทางยุทธการและยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพ (2) เพิ่มความเข้มข้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแทรกซ้อน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ซึ่งถือเป็นความสำคัญเร่งด่วนที่จะช่วยให้การแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในพื้นที่ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น (3) ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านกิจการพลเรือน และการพัฒนาเพื่อความมั่นคงร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของภาครัฐอันจะนำมาซึ่งความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งต่อไป (4) ให้ความสำคัญกับการจัดอบรม ชี้แจงกำลังพลที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย หลักปฏิบัติของแต่ละศาสนา โดยเฉพาะการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นหลักในการปฏิบัติงาน (5) ให้กำลังพลทุกนายดำรงตนอยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ อดทน เพื่อนำความสงบและสันติสุขให้เกิดแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (6) การปฏิบัติหน้าที่ของกำลังพล ต้องอยู่ในความไม่ประมาท มีความระมัดระวัง และตื่นตัวอยู่เสมอ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบครอบ โดยยึดถือหลักกฎหมายและสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด และ (7) ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นกำกับดูแลความเป็นอยู่และทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีขวัญและกำลังใจที่ดี อันจะเป็นปัจจัยสำคัญแห่งการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จต่อไป
13. เรื่อง การส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่องการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอดังนี้
สาระสำคัญ
กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน “
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” โดยใช้มิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นกลไกและเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยส่งเสริมการศึกษา แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ทางวัฒนธรรม นำไปสู่ความเข้าใจและยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชนทุกระดับในพื้นที่ ส่งเสริมการดำเนินวิถีชีวิตและการปฏิบัติตามหลักศาสนาทุกศาสนา ขจัดการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม ทำความเข้าใจและยอมรับในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560-2562 ที่มุ่งให้ “สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไข ความรุนแรง วิถีชีวิตของทุกคนได้รับการปกป้อง พัฒนาบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรมและมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน” โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดประเด็นการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ส่งเสริมวิถีชีวิตและสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา การป้องกัน และการส่งเสริมความมั่นคงยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ เช่น จัดทำงานวิจัยพฤติกรรมเยาวชนชายแดนใต้กับความมั่นคง, จัดทำองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี, พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายทางวัฒนธรรม 2) การเสริมความเข้าใจ เช่น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในวาระสำคัญ, ใช้องค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนพหุวัฒนธรรม, จัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม, ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมและจัดงานพหุวัฒนธรรมตามความต้องการของพื้นที่ 3) การส่งเสริมพหุสังคมที่เข้มแข็ง เช่น สร้างค่านิยมสังคมพหุวัฒนธรรม, เปิดพื้นที่กลางทางพหุวัฒนธรรมเพื่อให้บริการแก่ชุมชน, สร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ดีในกลุ่มเด็ก เยาวชน ประชาชนที่แตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา 4) การขยายการรับรู้และเข้าใจทั้งภายในและภายนอก เช่น ขยายการรับรู้และเข้าใจไปยังเด็ก เยาวชน ประชาชนในประเทศและต่างประเทศ, ชุมชนมีภูมิคุ้มกันและสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติสุข รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการปฏิบัติตามหลักศาสนา และกิจกรรมตามขนบธรรมเนียม เทศกาล ประเพณีและอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ส่งเสริมศิลปินพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้าน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ซัมเปง มะโย่ง ดิเกร์ฮูลู และซิละ เป็นต้น จัดการประกวด/แข่งขันต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม เช่น งานเขียนเรื่องเล่าจากบ้านเรา เพื่อสะท้อนเรื่องราวของท้องถิ่น ความสำนึกรักบ้านเกิดออกมาในรูปแบบของงานวรรณศิลป์
ประเด็นที่ 2 นำหลักพลัง “บวร” หรือ “บรม” ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อสร้างคนดี สังคมดี ให้คุณธรรมนำการพัฒนา ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ในการนำหลักการพลัง “บวร” : บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ” หรือ “บรม : บ้าน โรงเรียน/ราชการ มัสยิด” ไปขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยจัดทำแนวทางการส่งเสริมบทบาท “บวร”/ “บรม” ให้ขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนคุณธรรมให้เป็นศูนย์การในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา รวมถึงให้มีบทบาทและศักยภาพในการบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ ของทุกกระทรวง หน่วยงาน ที่ลงในพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งเป็นศูนย์กลาง แกนนำในการประสานและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ประเด็นที่ 3 การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจากฐานวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เชื่อมโยง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ พัฒนาพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส พิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดนราธิวาส ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว วัดช้างไห้ มัสยิดกรือเซะ และมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี วัดถ้ำคูหาภิมุข หมู่บ้านปิยะมิตร จังหวัดยะลา ฯลฯ ส่งเสริมองค์ความรู้ อนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ รวมถึงพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญ อาทิ เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมของดีบ้านฉันชายแดนใต้ กิจกรรมถนนคนเดินและวิถีถิ่น วิถีตานี วิถีอาเซียน นอกจากนี้ยังส่งเสริมการยกระดับเทศกาลประเพณีและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามความต้องการของพื้นที่ และนำทุนทางวัฒนธรรมมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงจัดตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรม
หากทุกภาคส่วนได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็งจนเป็นพลังสำคัญในการปกป้องและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจ ยอมรับ และอยู่ร่วมกันตามแนวทางสันติวิธี ส่งเสริมให้มีการยึดถือคำสอนที่ถูกต้องของศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตรวมถึงจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและสร้างคุณค่าทางสังคม ในกลุ่มจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
14. เรื่อง ขอขยายทุนเรือนหุ้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอขยายทุนเรือนหุ้นของ ธ.ก.ส. จากเดิม 60,000 ล้านบาท เป็น 80,000 ล้านบาท สำหรับการเพิ่มทุนของ ธ.ก.ส. กระทรวงการคลังจะพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยใช้เงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือแหล่งเงินอื่น สำหรับปี 2563 จะพิจารณาใช้เงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจก่อน
สาระสำคัญ
1. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ธ.ก.ส. มีทุนเรือนหุ้นที่กำหนดตามกฎหมายจำนวน 60,000 ล้านบาท เป็นทุนเรือนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วจำนวน 55,945.34 ล้านบาท คงเหลือเป็นทุนเรือนหุ้นที่ยังไม่ชำระจำนวน 4,054.66 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นใน ธ.ก.ส. จำนวน 55,820.75 ล้านบาท คิดเป็น 558,207,513 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 99.78 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ส่วนที่เหลือจะเป็นการถือหุ้นของสถาบันเกษตรกร สถาบันการเงินและเอกชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2550 - ปี 2556 กระทรวงการคลังได้เพิ่มทุนให้กับ ธ.ก.ส. โดยใช้เงินงบประมาณและเงินปันผลที่ ธ.ก.ส. จ่ายให้กระทรวงการคลัง
2. เนื่องจาก ธ.ก.ส. ดำเนินภารกิจในการเป็นธนาคารพัฒนาชนบท ให้สอดคล้องกับทิศทางและนโยบายของภาครัฐตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และเนื่องจากปัจจุบัน ธ.ก.ส. มีแผนการขยายงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ทั้งด้านการอำนวยสินเชื่อและการทำงานร่วมกับเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินและความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีอัตราส่วนเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ที่เหมาะสม เพื่อสร้างอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กร (Credit Rating) และความเชื่อมั่นในการระดมเงินทุน เพื่อปรับโครงสร้างเงินทุน รวมทั้งเพื่อให้ ธ.ก.ส. มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง รองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (International Financial Reporting Standards 9: IFRS 9) ธ.ก.ส. จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายทุนเรือนหุ้นจากเดิม 60,000 ล้านบาท เป็น 80,000 ล้านบาท และขอจัดสรรงบประมาณเพื่อเพิ่มทุน ธ.ก.ส. จากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อรองรับการขยายบทบาทการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.
โดย ธ.ก.ส. ได้กำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งการเพิ่มทุน ธ.ก.ส. จะทำให้ ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อได้ 12 เท่าของทุนที่เพิ่มขึ้น กรณีที่ ธ.ก.ส. ได้เพิ่มทุน จำนวน 20,000 ล้านบาท สามารถสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกรได้เพิ่มขึ้น จำนวน 240,000 ล้านบาท ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product : GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1065 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 (มูลค่า GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 17,429 ล้านบาท)
15. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการกำกับดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือป้องกันอุบัติเหตุทางทะเลของกรมเจ้าท่า
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า ดำเนินโครงการกำกับดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือป้องกันอุบัติเหตุทางทะเล ภายในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 881.7200 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้ใช้จ่ายจาก งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน หรืองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น แล้วแต่กรณี ในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 881.7200 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายในงบลงทุนค่าครุภัณฑ์ และขอให้กรมเจ้าท่าจัดทำแบบรูปรายการประมาณการค่าก่อสร้าง และคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. ค่าก่อสร้างและจัดหาระบบตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างและอันดามัน (VTS ระยะที่ 3) (พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง) ภายในวงเงิน 466.32 ล้านบาท
2. ค่าก่อสร้างและจัดหาระบบตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างและอันดามัน (VTS ระยะที่ 3) (พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน) ภายในวงเงิน 415.40 ล้านบาท
สาระสำคัญ
กระทรวงคมนาคม โดยกรมเจ้าท่า ได้เสนอโครงการกำกับดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือป้องกันอุบัติเหตุทางทะเล จำนวน 2 รายการ วงเงินรวม 881.72 ล้านบาท ดังนี้
1. ค่าก่อสร้างและจัดหาระบบตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างและอันดามัน (VTS ระยะที่ 3) (พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง) วงเงิน 466.3200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบตรวจการณ์ชายฝั่งและการควบคุมการจราจรทางทะเลให้เกิดความปลอดภัย ต่อเนื่องจากระบบควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ได้แก่ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ – จังหวัดนราธิวาส และบางจุดในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน
2. ค่าก่อสร้างและจัดหาระบบตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างและอันดามัน (VTS ระยะที่ 3) (พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน) วงเงิน 415.4000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบตรวจการณ์ชายฝั่งและการควบคุมการจราจรทางทะเลให้เกิดความปลอดภัย ต่อเนื่องจากระบบควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ให้ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดระนอง-จังหวัดสตูล
โดยทั้ง 2 รายการอยู่ระหว่างจัดทำ TOR คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2563 และใช้ระยะเวลาในการจัดหาผู้รับจ้างประมาณ 2 – 3 เดือน คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างและลงนามในสัญญาจ้างได้ภายในเดือนเมษายน 2563 ระยะเวลาดำเนินการ 300 วัน (เดือนพฤษภาคม 2563 – เดือนกุมภาพันธ์ 2564)
ทั้งนี้ การขอรับการจัดสรรงบกลางฯ ของกรมเจ้าท่าทั้ง 2 รายการข้างต้น เป็นการขยายพื้นที่การควบคุมการจราจรทางน้ำต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างและจัดหารระบบตรวจการณ์ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (VTS) ระยะที่ 1 – 2 ให้มีพื้นที่การกำกับดูแลต่อเนื่องและครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งทะเลของไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ซึ่งจะช่วยยกระดับการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยในการเดินเรือและการจราจรของเรือเดินทะเลระหว่างประเทศและเรืออื่น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการขนส่งและท่องเที่ยวทางน้ำของประเทศ รวมทั้ง การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนภารกิจของกรมเจ้าท่าในการกำกับ ควบคุม ดูแลด้านการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล การป้องกันอุบัติเหตุทางทะเล และสนับสนุนส่งเสริมภารกิจต่าง ๆ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
16. เรื่อง การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเอกสารเพิ่มเติม (Additional Information) การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม (Additional Information) การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก ภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
เอกสารเพิ่มเติม (Additional Information) การนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเพื่อเป็นมรดกโลก เป็นการจัดทำคำชี้แจงประเด็นต่าง ๆ และรายงานผลการดำเนินงานตามข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน – 9 กรกฎาคม 2562 วาระการประชุม 8B.5 การพิจารณาการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ที่มีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Referral) ให้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ สรุป ดังนี้
1. ปรับปรุงแนวขอบเขตการนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อตกลงระหว่างรัฐภาคีราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ราชอาณาจักรไทยได้ดำเนินการปรับขอบเขตพื้นที่การนำเสนอฯ ตามบันทึกการหารือ (Agreed Minutes) ในการประชุมหารือร่วมกันของคณะเจ้าหน้าที่เทคนิคไทย – เมียนมา วันที่ 25 – 26 เมษายน 2562 ณ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร และตามที่ได้หารือร่วมกันในระหว่าง การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยพื้นที่นำเสนอฯ มีขนาด 4,089.4 ตารางกิโลเมตร
2. เตรียมการและนำเสนอข้อมูลที่ปรับปรุงด้านการศึกษาเปรียบเทียบที่แสดงให้เห็นว่าการลดขนาดของพื้นที่การนำเสนอแหล่งเป็นมรดกโลกยังคงมีคุณค่าความโดดเด่นเพียงพอตรงตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 10 และยังคงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของความครบถ้วนสมบูรณ์ การปกป้องคุ้มครองและแผนการบริหารจัดการ
ราชอาณาจักรไทยได้ดำเนินการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่าของพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานในเรื่องส่วนความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืชและสัตว์ ความเหมาะสมของถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่นำเสนอใหม่ และแผนการป้องกันและการบริหารจัดการพื้นที่ที่ยังคงดำเนินการครอบคลุมเต็มพื้นที่และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการจัดให้มีการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (Smart Patrol) และการติดตั้งกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในการป้องกันและรักษาทรัพยากรในพื้นที่
3. แสดงให้เห็นว่าข้อห่วงกังวลทั้งหมดได้รับการแก้ไขโดยการปรึกษาอย่างเต็มที่ร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ตามเอกสารแนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ย่อหน้าที่ 123
ราชอาณาจักรไทยมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาตามข้อห่วงกังวลของสำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และการรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงกังวลของชุมชนต่อการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก โดยจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพ้นที่ และชี้แจงทำความเข้าใจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2562 – 2563 ได้จัดกิจกรรมดังกล่าวในชุมชน ที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและพื้นที่ต่อเนื่อง จำนวน 52 หมู่บ้าน ทั้งชุมชนชาวไทยและชุมชนชาวกะเหรี่ยง – กะหร่าง โดยมีชาวบ้านจำนวน 1,947 ราย จาก 40 หมู่บ้าน ให้การสนับสนุนการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
4. สนับสนุนให้หารืออย่างต่อเนื่องระหว่างราชอาณาจักรไทยและองค์กรที่ปรึกษาและเสนอแนะให้เชิญสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ในฐานะองค์กรที่ปรึกษาปฏิบัติภารกิจในการให้คำปรึกษาในการดำเนินการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ร้องขอตามข้อมติ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก เพื่อเชิญผู้แทนจากสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ในฐานะองค์กรที่ปรึกษาทางธรรมชาติของคณะกรรมการมรดกโลกตรวจเยี่ยมพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และอยู่ระหว่างรอการตอบรับคำเชิญ
5. สนับสนุนให้รัฐภาคีสมาชิกไทยและเมียนมาดำเนินงานร่วมกันในการเชื่อมต่อแนวระบบนิเวศ และร่วมมือด้านการอนุรักษ์ระหว่างแหล่งที่อยู่ระหว่างการนำเสนอเป็นแหล่งมรดกโลก และพื้นที่อนุรักษ์ในฝั่งเมียนมา
ราชอาณาจักรไทยมีความพร้อมและยินดีที่จะร่วมกับเมียนมา เพื่อร่วมกันจัดทำเอกสารนำเสนอพื้นที่คุ้มครองข้ามพรมแดน เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน (Trans boundary) ร่วมกัน
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41 ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ
สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ ครั้งที่ 41 เน้นย้ำความสำคัญของการหาข้อสรุปการเจรจาเกษตรภายในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 ( Ministerial Conference: MC12) เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ Article 20 ของความตกลงเกษตร โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการอุดหนุนภายในมากที่สุด และผลักดันการหารือให้มีความคืบหน้าเพื่อนำไปสู่การเจรจาเรื่องการเปิดตลาดและประเด็นคงค้างในเรื่องการแข่งขันด้านการส่งออกต่อไป สรุป ดังนี้
1. สมาชิกกลุ่มเครนส์ให้ความสำคัญกับการจำกัดและลดการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรที่สมาชิก (World Trade Organization: WTO) ผูกพันไว้ เนื่องจากพบว่า มูลค่าโดยรวมของการอุดหนุนภายในที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนการค้าของสมาชิก WTO ทุกประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจมีมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาที่มาของตัวเลขดังกล่าว พบว่า มูลค่าการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้า ส่วนใหญ่กระทำโดยสมาชิก WTO เพียงไม่กี่ประเทศ
2. สมาชิกกลุ่มเครนส์ผลักดันให้มีการเจรจาเพื่อลดมูลค่าการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าโดยรวมที่สมาชิก WTO ทุกประเทศผูกพันไว้ อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ซึ่งการลดดังกล่าวจะต้องครอบคลุมการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าทุกประเภท
3. การลดมูลค่าการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้าโดยรวมที่สมาชิก WTO ทุกประเทศผูกพันไว้จะเป็นไปตามสัดส่วนของวงเงินการอุดหนุนภายในที่สมาชิก WTO แต่ละประเทศมีสิทธิ์ใช้และผลกระทบต่อตลาดโลก โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการพัฒนาประเทศของสมาชิก WTO ด้วย
4. สมาชิกกลุ่มเครนส์ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการค้าพหุภาคี และการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรจะต้องสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา
ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเครนส์ (Cairns Group Ministerial Meeting: CGMM) ครั้งที่ 41 จะมีขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2563 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส
18. เรื่อง การดำเนินการตามคำมั่นที่ให้กับสหภาพยุโรปในการเข้าเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในการเข้าเป็นภาคี (Multilateral Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters: MAC) ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามข้อ 2)
2. อนุมัติให้ประเทศไทยลงนามพิธีสารเข้าร่วมเป็นภาคี MAC ณ สำนักงานใหญ่ OECD กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อประเทศไทยได้รับหนังสือเชิญให้เข้าร่วมเป็นภาคี MAC จาก OECD
3. อนุมัติให้เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นผู้ลงนามพิธีสารฯ
4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นผู้ลงนามพิธีสารฯ และจัดส่งหนังสือดังกล่าวต่อ OECD
5. เห็นชอบในการนำ MAC เข้าสู่วาระพิจารณาของรัฐสภา เมื่อการลงนามพิธีสารฯ เรียบร้อยแล้ว
6. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศ) และการให้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าสู่วาระการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อ MAC ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
7. รับทราบแผนกฎหมายลำดับรองออกภายใต้พระราชบัญญัติฯ
8. อนุมัติให้ยื่นสัตยาบันสารเพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน เมื่อพระราชบัญญัติฯ มีผลใช้บังคับ
9. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศประสานสถานทูตไทยประจำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อทำความเข้าใจกับสมาชิก (Code of Conduct Group on Business :COCG) เกี่ยวกับการดำเนินการของฝ่ายไทยในการปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้กับสหภาพยุโรปและสนับสนุนการเข้าเป็นภาคี MAC เพื่อให้ OECD ส่งหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าเป็นภาคี MAC โดยเร็วที่สุด และสามารถลงนามพิธีสารฯ ได้ก่อนการประชุม COCG เพื่อพิจารณา (EU List of Non-cooperative Jurisdictions for Tax Purposes : EU List) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563
สาระสำคัญของเรื่อง
1) MAC เป็นความตกลงพหุภาคีที่มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษีระหว่างประเทศสมาชิก พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง OECD และสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2531 และมีพิธีสารแก้ไขในปี 2553 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 135 ประเทศ วัตถุประสงค์หลักของ MAC คือ สร้างกลไกความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการหลบหลีกและหลีกเลี่ยงภาษีผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การแลกเปลี่ยนข้อมูล (2) การให้ความช่วยเหลือในการติดตามจัดเก็บภาษีค้างชำระ (3) การให้บริการจัดหาเอกสารตามที่ได้รับคำร้องขอ โดยความช่วยเหลือทั้ง 3 ด้าน ครบคลุมภาษีทุกประเภทและรูปแบบการให้ความช่วยเหลือในด้านที่ (2) และ (3)
2) กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นว่า เมื่อประเทศไทยได้รับหนังสือเชิญให้เข้าเป็นภาคี MAC ควรตอบรับการเข้าร่วมเป็นภาคี MAC ในข้อที่ประเทศไทยมีกฎหมายภายในที่รองรับการดำเนินการ ได้แก่ ประมวลรัษฎากร และร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านการพิจารณาตรวจร่างจากคณะกรรมการกฤษฎีกา อันเป็นการตรากฎหมายเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ MAC ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นพื้นฐานในการเข้าเป็นภาคี MAC ดังนี้
(1) ประเภทภาษีที่ครอบคลุม ได้แก่ ภาษีเงินได้หรือกำไร ภาษีผลได้จากทุน (Capital gains) และภาษีความมั่นคง (Net wealth) (Article 2 – Taxes covered วรรค 1 a., Chapter I – Scope of the Convention) ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ MAC สำหรับประเภทภาษีที่มีในระบบ สำหรับประเทศไทยครอบคลุมเฉพาะประเภทภาษีเงินได้
(2) รูปแบบการให้ความช่วยเหลือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Section I – Exchange of Information, Chapter III – Forms of assistance) กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการ ดังนี้
(2.1) แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเภทภาษีตามที่กำหนดในข้อ 2 ของความตกลง (Article 4 – General Provision)
(2.2) แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ (Article 5 – Exchange of information on request) การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ (Article 6 – Automatic Exchange of Information) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบมิได้ร้องขอ (Article 7 – Spontaneous Exchange of Information)
(2.3) ตรวจสอบภาษีพร้อมกันในประเทศของตนและนำผลการตรวจสอบมาแลกเปลี่ยนกันสำหรับรายที่มีความเกี่ยวข้อกัน (Article 8 – Simultaneous tax examinations)
(2.4) แจ้งประเทศสมาชิกที่ส่งข้อมูลผ่านการแลกเปลี่ยน ในกรณีที่ได้รับข้อมูลจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ซึ่งไม่ตรงกับข้อมูลที่มีอยู่ในความครอบครอง (Article 10 – Conflicting information)
สำหรับรูปแบบการให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ จะให้สิทธิตั้งข้อสงวนตามที่กำหนดในข้อ 30 (Article 30 - Reservations)
19. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงศึกษาธิการและรองโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอการแต่งตั้งโฆษก ศธ. และรองโฆษก ศธ. ตามคำสั่ง ศธ. ที่ สป 1176/2562 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก ศธ. และรองโฆษก ศธ. สั่ง ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2562 ดังนี้
1. นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโฆษก ศธ.
2. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองโฆษก ศธ.
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1.
นางสาวธำรงลักษณ์ ลาพินี ผู้อำนวยการกองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2.
นางชื่นสุมน นิวาทวงษ์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.
นายวิชิต จรัสสุขสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายการพาณิชย์และอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
21. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2563 เรื่อง คณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน
เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนการลงทุนของประเทศ ทั้งในส่วนของการลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2564 และกำหนดแนวทางหรือมาตรการด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้านการคลัง ด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งมาตรการด้านการร่วมทุน และมาตรการในการเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเจรจาการค้าและการลงทุน โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 รองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ประธานกรรมการ
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองประธานกรรมการ
1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ
1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
1.6 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.7 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.8 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กรรมการ
(นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล)
1.9 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.10 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
1.11 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรรมการ
1.12 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
1.13 เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
1.14 เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรรมการ
1.15 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.16 ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการ
1.17 ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการ
1.18 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการ
1.19 อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรรมการ
1.20 อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ
1.21 เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา กรรมการ
1.22 รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
1.23 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.24 ผู้แทนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.25 ผู้แทนกรมบัญชีกลาง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.26 ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการก็ได้
2. หน้าที่และอำนาจ
2.1 กำกับและเร่งรัดการขับเคลื่อนแผนการลงทุนของประเทศ ทั้งในส่วนของการ
ลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2561 ให้แล้วเสร็จตามห้วงเวลาที่กำหนด รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับและเร่งรัดการขับเคลื่อน
2.2 กำหนดแนวทางหรือมาตรการด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ด้านการคลัง
ด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งมาตรการด้านการร่วมทุน และมาตรการในการเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการสั่งการให้หน่วยงานของรัฐและคณะกรรมการดำเนินการต่อไป
2.3 จัดทำโครงการและมาตรการด้านการเงินการคลัง พร้อมทั้งแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
2.4 รายงานผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีทราบอย่างสม่ำเสมอหรือมีเหตุอันควร
2.5 เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐ คณะกรรมการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นตามความจำเป็นหรือตามที่คณะกรรมการเห็นควร
2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
2.7 ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ที่แต่งตั้งตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 หรือตามระเบียบทางราชการ แล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
...................