http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (7 มกราคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ….
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นำร่อง พ.ศ. ….
4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่
เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. … รวม 2 ฉบับ
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสำหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. ….
7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ….
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. ….
9. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ….
10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง มาตรการพิเศษ เพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ
12. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2564
13. เรื่อง ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1
14. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562
15. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
17. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63
18. เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย
19. เรื่อง การประชุมคณะทำงานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคไทย– เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 1
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักงาน ก.พ.)
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
***************
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. …. ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
สลค. เสนอว่า
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และโดยที่สภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่ |
สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง |
สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง |
1 |
22 พฤษภาคม 2562 – 18 กันยายน 2562 |
1 พฤศจิกายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 |
2 |
22 พฤษภาคม 2563 – 18 กันยายน 2563 |
1 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 |
3 |
22 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564 |
1 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 |
4 |
22 พฤษภาคม 2565 – 18 กันยายน 2565 |
1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 |
2. ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
พ.ศ. 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ซึ่งกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองจะสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงสมควรปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปี
ครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มาเพื่อดำเนินการ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดเพิ่มเติมให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มีอำนาจมอบหมายหน่วยงานอื่นออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ
2. กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับซึ่งสินค้าเกษตรใด ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต และกำหนดเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องมีใน
การยื่นแบบคำขอรับใบอนุญาต
3. กำหนดขั้นตอน วิธีการ และกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต การแจ้งให้
ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาตหรือจัดส่งเอกสาร หรือหลักฐานให้ถูกต้องหรือครบถ้วน รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และการออกใบอนุญาต
4. กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ ซึ่งสินค้าเกษตรใดต้องแจ้งการส่งออกหรือนำเข้าซึ่งสินค้าเกษตรนั้นเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาตทุกครั้งก่อนวันที่ส่งออกหรือนำเข้าอย่างน้อยสามวัน
5. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาคำขอรับใบอนุญาต หนังสือแจ้งการส่งออกหรือนำเข้า และบรรดาใบอนุญาต ที่ได้ยื่นไว้หรือได้ออกให้ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2553
ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงฉบับนี้ หรือให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะ
สิ้นอายุ แล้วแต่กรณี
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นำร่อง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นำร่อง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการ
ต่อไปได้
คค. เสนอว่า
1. เนื่องจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้นำร่อง ชั้น 2 ค. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 60 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และการกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่องไม่สอดคล้องกับคุณวุฒิทางการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรผู้นำร่อง คค. จึงเห็นสมควรปรับปรุงคุณสมบัติของผู้นำร่อง ชั้น 2 ค. โดยต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทย หรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง จากเดิมมีเพียงโรงเรียนนายเรือหรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดตามหลักสูตรฝ่ายเดินเรือของรัฐบาลไทย หรือรัฐบาลต่างประเทศ และแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงชั้นการได้รับประกาศนียบัตร จากเดิมต้องเป็นหรือเคยเป็นนายเรือของเรือกลที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่น้อยกว่า 450 ฟุตมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และได้รับประกาศนียบัตรชั้น 1 (นายเรือ) จากกรมเจ้าท่า เป็นไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรประจำเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดห้าร้อยตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 นอกจากนี้ หน้าที่ของผู้นำร่องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ยังไม่สอดคล้องกับหน้าที่ของผู้นำร่องตามมาตรฐานสากล และที่ปฏิบัติงานอยู่จริง จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้นำร่องมีหน้าที่เพียงการให้คำแนะนำและช่วยเหลือนายเรือ ไม่มีหน้าที่ทำการแทนนายเรือและการออกคำสั่งให้
นายเรือต้องปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของการทำการนำร่องในระดับสากล
2. ภารกิจการนำร่องหรือการเป็นผู้นำทางเรือให้เข้า - ออก ร่องน้ำต่าง ๆ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญและเป็นสากล ในปัจจุบันมีเขตท่าเรือที่บังคับการเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง ได้แก่ เขตท่าเรือกรุงเทพ เขตท่าเรือศรีราชา เขตท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เขตท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เป็นต้น ซึ่งผู้นำร่องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะ ความปลอดภัยของร่องน้ำ การเดินเรือในร่องน้ำจำกัด ในที่แคบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการนำทางเรือให้เข้า – ออกร่องน้ำต่าง ๆ และเป็นเจ้าหน้าที่รัฐช่วยสอดส่องการกระทำผิดกฎหมายไทย
3. ผู้นำร่อง แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ดังนี้
3.1 ผู้นำร่องชั้น 2 ค. ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน 400 ฟุต (121.92 เมตร)
3.2 ผู้นำร่องชั้น 2 ข. ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำไม่เกิน 450 ฟุต (137.20 เมตร)
3.3 ผู้นำร่องชั้น 2 ก. ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำ ไม่เกิน 500 ฟุต (152.44 เมตร)
3.4 ผู้นำร่องชั้น 1 ทำการนำร่องเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำ ไม่เกิน 565 ฟุต (172.26 เมตร)
3.5 ผู้นำร่องชั้นอาวุโส ทำการนำร่องเรือได้ทุกขนาด
3.6 ผู้เชี่ยวชาญการนำร่อง เป็นผู้นำร่องชั้นอาวุโสซึ่งได้ทำการนำร่องมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้นำร่องชั้น 2 ค.
4. คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้นำร่อง พ.ศ. …. เพื่อแก้ไขปรับปรุงคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นผู้นำร่อง ชั้น 2 ค. และแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของผู้นำร่อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหน้าที่ของผู้นำร่องตามมาตรฐานสากลและที่ปฏิบัติงานอยู่จริงในปัจจุบัน อันจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำร่องเพียงพอตามความจำเป็นและความต้องการของประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำของประเทศให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้นำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ปรากฏว่า ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียเห็นด้วยในหลักการของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเป็นผู้นำร่องชั้น 2 ค. ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายเรือ กองทัพเรือไทย หรือกองทัพเรือต่างประเทศ หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิทยาการเดินเรือ ตามที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง
1.2 ต้องได้รับประกาศนียบัตรสำหรับผู้ทำการในเรือฝ่ายเดินเรือ ในชั้นไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความสามารถนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือของเรือกลเดินทะเลขนาดห้าร้อยตันกรอสหรือมากกว่า หรือประกาศนียบัตรชั้น 3 (ต้นหนที่สอง) ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสอบความรู้ของผู้ทำการในเรือตามกฎหมายการเดินเรือในน่านน้ำไทย หรือชั้นประกาศนียบัตรอื่นที่เทียบเท่า
1.3 ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการเรือ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่ามาแล้ว
ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือปฏิบัติหน้าที่นายเรือ (MASTER) มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือตำแหน่งต้นเรือมาแล้ว
ไม่น้อยกว่าสองปี หรือตำแหน่งนายเรือและต้นเรือรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี
1.4 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันรับสมัคร และ
มีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญได้ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
2. กำหนดให้ผู้นำร่องที่ทำการนำร่องจะต้องแนะนำนายเรือให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และกำหนดนิยามคำว่า “ทำการนำร่อง” ให้หมายความว่า เข้าทำหน้าที่ช่วยเหลือนายเรือเฉพาะในเรื่องการเดินเรือ และ
การบังคับเรือให้เคลื่อนเดินไปอย่างปลอดภัยในเขตท่าหรือน่านน้ำซึ่งบังคับให้เป็นเขตที่ต้องเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง
โดยนายเรือรับรู้และเห็นชอบด้วย กับคำบอกหรือคำแนะนำของผู้นำร่อง
3. กำหนดให้ผู้นำร่องทุกคนที่ทำการนำร่องเรือลำใด ต้องใช้ความระมัดระวังและพยายามให้มากที่สุดที่จะหลีกเลี่ยง หรือป้องกันมิให้เกิดอันตราย หรือเสียหายแก่เรือลำนั้นหรือเรือลำอื่น หรือแก่ทรัพย์สิ่งของอย่างใด ๆ โดยแนะนำนายเรือให้กระทำ หลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ เพื่อป้องกันความเสียดายดังกล่าว แต่นายเรือยังคงมีอำนาจที่จะระงับหรือไม่ปฏิบัติตามคำบอก หรือคำแนะนำของผู้นำร่องก็ได้
4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ได้แก่
(1) ประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (2) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (3) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ (4) ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (เดิมกำหนดเพียง (2) – (4) เท่านั้น)
2. แก้ไขอำนาจของสภาสถาบัน โดยให้สภาสถาบันมีอำนาจอนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
และประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษา (เดิม มีอำนาจอนุมัติการให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และประกาศนียบัตรวิชาชีพเท่านั้น)
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดการศึกษาสายอาชีวศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรประกาศนียบัตรเตรียมอาชีวศึกษาได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่เด็กและเยาวชนในการศึกษาต่อจากระดับประถมศึกษาตามความสนใจและความถนัดของตน โดยนักเรียนรุ่นแรกจะจบการศึกษาในปี 2563 จำนวน 186 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษารวม 8 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน จังหวัดลำพูน วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี วิทยาลัยการอาชีพนาแก จังหวัดนครพนม วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จังหวัดสกลนคร วิทยาลัยการอาชีพโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรี เรื่อง การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ข้อ 8.3 พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับอุตสาหกรรม 4.0
5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. กำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดบึงกาฬ ในพื้นที่บริเวณที่ 1 (อำเภอเมืองบึงกาฬ) พื้นที่บริเวณที่ 2 (อำเภอปากคาด) พื้นที่บริเวณที่ 3 (อำเภอบุ่งคล้า) พื้นที่บริเวณที่ 4 (อำเภอโซ่พิสัย) พื้นที่บริเวณที่ 5 (อำเภอพรเจริญ) พื้นที่บริเวณที่ 6 และพื้นที่บริเวณที่ 7 (อำเภอเซกา)
2.
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. …. ปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในท้องที่จังหวัดภูเก็ต ในพื้นที่บริเวณที่ 1 (ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 2 และพื้นที่บริเวณที่ 3 (ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 4 (ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต) พื้นที่บริเวณที่ 5 ถึง พื้นที่บริเวณที่ 10 (ตำบลป่าตอง อำเภอกระทู้)
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสำหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสำหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
คค. เสนอว่า
1. โดยที่มาตรา 5 ข้อ 6/3 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ประเภทและขนาดของเรือสนับสนุนการประมง และลักษณะของสิ่งของที่จะบรรทุกหรือให้การสนับสนุนเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 พ.ศ. 2561 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดกิจการอื่น
2. ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการกองเรือไทยที่เกี่ยวข้องกับการประมง คค. จึงยกร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเรือและขนาดเรือ และลักษณะของสิ่งที่จะบรรทุกสำหรับเรือสนับสนุนการประมง พ.ศ. …. ขึ้น ซึ่งจะเป็นมาตรการให้กรมเจ้าท่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามควบคุม เฝ้าระวังมิให้มีการนำเรือสนับสนุนการประมงไปใช้ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เรือที่เจ้าของเรือแจ้งว่าจม สูญหาย จ่าย หรือโอนให้ผู้อื่นโดยไม่สามารถแสดงหลักฐาน ไม่สามารถติดตามได้ว่าเรืออยู่ที่ใด กลับเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกองเรือประมงได้อีก อันเป็นมาตรการสนับสนุนการป้องกันการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นผลดีต่อการประมงของประเทศโดยรวม ทั้งนี้ คค. โดยกรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนผู้มีส่วนได้เสียแล้วเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ กรมเจ้าท่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมเห็นด้วยในหลักการของร่างกฎกระทรวงฉบันนี้ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้เรือที่จดทะเบียนเป็นเรือกลเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปที่กำหนดประเภทการใช้เรือไว้ว่าเป็นเรือบรรทุกสินค้าห้องเย็น น้ำมันเพื่อการประมงน้ำจืด น้ำจืดเพื่อการประมง และผลิตภัณฑ์น้ำมัน เป็นเรือสนับสนุนการประมง
2. กำหนดยกเว้นให้เรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเตาซึ่งมีการระบุในใบอนุญาตใช้เรือว่าเป็นเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเตาเป็นการเฉพาะ เรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งมีการทำสัญญาโดยตรงกับบริษัทน้ำมันในประเทศไทยให้เป็นผู้จัดส่งผลิตภัณฑ์น้ำมัน ระหว่างคลังน้ำมันในประเทศไทย หรือขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันระหว่างคลังน้ำมันในประเทศไทยกับต่างประเทศ ในช่วงเวลาที่สัญญาระหว่างบริษัทน้ำมันกับเรือบรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันยังมีผลใช้บังคับ และเรือของหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นเรือสนับสนุนการประมง
7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการปรับปรุงแผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เนื่องจากการจำลองสีจำแนกพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมตามแผนที่หมายเลข 1/2 ดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับการจำลองสีจำแนกพื้นที่ของที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างประกาศ
ให้ยกเลิกแผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 และให้ใช้แผนที่หมายเลข 1/2 ท้ายร่างประกาศนี้แทน
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคัดค้าน การถอดถอน การสิ้นสภาพ และการเพิกถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ย การพิจารณาคำคัดค้านของนายทะเบียน และการมีคำสั่งให้คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนอื่นเพื่อทำหน้าที่แทนผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งถูกคัดค้าน
2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอถอดถอน การพิจารณาคำขอถอดถอนของนายทะเบียนต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรับฟังคำชี้แจงของผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็ว เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรให้นายทะเบียนมีคำสั่งถอดถอนผู้ไกล่เกลี่ย พ้นจากหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น รวมทั้งมีคำสั่งให้คู่กรณีตกลงแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนใหม่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นต่อไป
3. กำหนดหลักเกณฑ์การสิ้นสภาพผู้ไกล่เกลี่ย และการเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 การพิจารณาและมีคำสั่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยสิ้นสภาพหรือถูกเพิกถอนการเป็นผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งการจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีผู้ไกล่เกลี่ย พร้อมให้นายทะเบียนแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ไกล่เกลี่ยโดยเร็ว
9. เรื่อง ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการจัดทำร่างระเบียบฯ ตามข้อ 1. ได้ภายใน 90 วันนับแต่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1. กำหนดให้การสรรหาประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีคณะกรรมการสรรหาครบถ้วนตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และหากมีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการสรรหาขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 60 วัน
2. กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการรับสมัครบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการไม่น้อยกว่า 3 รายชื่อ หรือรับสมัครบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 เท่าของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว
3. กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
4. กำหนดให้เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามจำนวนที่กำหนดตามกฎหมายแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง
5. กำหนดให้เมื่อคณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง และกรณีมีเหตุให้ต้องสรรหาประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เริ่มดำเนินการสรรหาก่อนครบวาระของประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
6. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตามระเบียบนี้ และ ให้ประธานกรรมการสรรหามีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) โดยขอกำหนดระยะเวลาเริ่มรับคำขอกู้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และสิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) โดยขอกำหนดระยะเวลาเริ่มรับคำขอกู้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 และสิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน ซึ่ง
โครงการทั้งสองโครงการสิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2562
2. โครงการทั้งสองโครงการเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่เห็นชอบโครงการ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ที่เห็นชอบในหลักการการปรับปรุงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการออกไปอีก 1 ปี โดยทั้งสองโครงการมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
2.1 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) มีวัตถุประสงค์
เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจเกษตรกรแปรรูป (อาหารและไม่ใช่อาหาร) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (หรือธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ผู้ประกอบการใหม่หรือมีนวัตกรรม (หรือธุรกิจผลิตหรือบริการอื่น ๆ)และกลุ่มธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 50,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีใน 3 ปีแรก รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 บาท โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มียอดเบิกจ่าย 27,562.07 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยเห็นว่าโครงการนี้ยังจะมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ในการลดต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะในปัจจุบันที่การลงทุนการจับจ่ายใช้สอยยังอยู่ในระดับสูงตัวเนื่องจากความไม่มั่นใจในการลงทุนของผู้ประกอบการ SMes จึงขอขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก 1 ปี
2.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินลงทุนเพื่อลงทุน ขยาย ปรับปรุง กิจการ ควบคู่กับเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน) ในกลุ่มธุรกิจ S - Curve ที่ต้องการยกระดับ ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 7 ปี รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน กรณีธนาคารออมสินให้สินเชื่อกับผู้กู้ ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 420 ล้านบาท และชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน กรณีให้สินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ต่อปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน2,975 ล้านบาท โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 มียอดเบิกจ่าย 4,446.07 ล้านบาท ซึ่งธนาคารออมสินเห็นว่าโครงการนี้มีวงเงินโครงการคงเหลือเป็นจำนวนมาก และยังมีผู้ประกอบการ SMEs แสดงความจำนงขอใช้สินเชื่อในโครงการอย่างต่อเนื่อง จึงขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการไปอีก 1 ปีโดยสิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการแล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน และเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2564 สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ คงเดิม
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ โดยในส่วนของงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้ สทนช. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ หากไม่เพียงพอเห็นควรให้ สทนช. พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี หรือโอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร จากโครงการ/รายการที่ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ และมีงบประมาณเหลือจ่าย และ/หรือรายการที่หมดความจำเป็นแล้วแต่กรณี เพื่อมาสมทบในการดำเนินการตามแผนของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเป็นลำดับแรก
2. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติประสานการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. รายงานว่า
1.
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาทั้งภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วมซึ่งส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ รัฐบาลพร้อมด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหามิให้ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาวิกฤตน้ำโดยการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ตลอดจนมีมาตรการป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดย
มีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ในฐานะหน่วยงานหลักจัดการภัยพิบัติรวมถึงปัญหาวิกฤตน้ำ ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับระดับการจัดการสาธารณภัยตามแผนฯ
ซึ่งแบ่งสาธารณภัยออกเป็น 4 ระดับ คือ สาธารณภัยขนาดเล็ก สาธารณภัยขนาดกลาง สาธารณภัยขนาดใหญ่ และสาธารณภัยขนาดร้ายแรงยิ่ง และพิจารณายกระดับสาธารณภัยตามขนาดพื้นที่ประสบภัย จำนวนประชากรที่ได้รับความเดือดร้อน หรือความสามารถในการรับมือเผชิญเหตุด้วยทรัพยากรที่แต่ละพื้นที่มีอยู่เป็นหลัก ในการนี้
เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทัน สามารถเตรียมการรับมือกับปัญหาวิกฤตน้ำที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องบูรณาการและให้มีข้อมูลทุกด้านที่เพียงพอต่อการตัดสินใจใช้มาตรการในแต่ละระดับได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
2. สนทช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. ได้จัดทำกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำเสนอ กนช. ซึ่งในคราวประชุม กนช. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ได้มีมติเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (War Room) โดยให้มีโครงสร้างถาวรใน สนทช. และต่อมาในการประชุม กนช. ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ สทนช. ดำเนินการต่อไป
3.
กรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
3.1 ปัจจุบัน สทนช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศทั้งระบบ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยในการทำหน้าที่ สทนช. ต้องพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์วิกฤตน้ำด้วย เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เป็นต้น ทั้งนี้
การบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติจำเป็นต้องกำหนดองค์กรหรือผู้รับผิดชอบเพื่อทำหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ เอาไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์น้ำและลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ดังนั้น การจัดทำกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำรวมถึงโครงสร้างกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมี สทนช. เป็นฝ่ายเลขานุการถาวรที่ทำหน้าที่สนับสนุน จึงมีความจำเป็นและสำคัญเร่งด่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
3.2
กรอบโครงสร้างขององค์กรภายใต้ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและองค์ประกอบ
3.2.1
กำหนดโครงสร้างตามระดับสาธารณภัยด้านน้ำที่เกิดขึ้น 3 ระดับ ดังนี้
1)
ระดับ1 ภาวะสถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นและ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีความรุนแรง
ในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 10 ของระดับภาค
2)
ระดับ 2 ภาวะรุนแรง (หรือคาดว่าจะรุนแรง) และคาดว่า จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้น
ในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 30 ของระดับภาคและ/หรืออาจจะก่อให้เกิดผลกระทบ/ความเสียหายในบริเวณกว้าง
3)
ระดับ 3 ภาวะวิกฤติ (หรือคาดว่าจะเกิดวิกฤติ) และคาดว่า จะมีผลกระทบกับประเทศไทยและมีแนวโน้มความรุนแรงสูงขึ้น
ในพื้นที่มากกว่าร้อยละ 60 ของระดับภาค และ/หรืออาจจะก่อให้เกิดผลกระทบ/ความเสียหายในบริเวณกว้าง
3.2.2
กรอบโครงสร้างฯ มีรายละเอียด ดังนี้
|
โครงสร้าง |
องค์ประกอบ |
หน้าที่และอำนาจที่สำคัญ |
ระดับ 3
(วิกฤติหรือคาดว่าจะวิกฤติ |
ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ |
ผู้บัญชาการ : นายกรัฐมนตรี |
(1) ควบคุม สั่งการ บัญชาการ และอำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำเป็นการชั่วคราว จนกว่าปัญหาวิกฤติน้ำจะผ่านพ้นไป
(2) ออกคำสั่งเพื่อการป้องกันแก้ไข ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและประกาศคำสั่งดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
(3) บัญชาการร่วมกับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ในกรณีที่เป็นสาธารณภัยด้านทรัพยากรน้ำหรือวิกฤติน้ำ |
ระดับ 2
(รุนแรงหรือคาดว่าจะรุนแรง) |
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ |
ผู้อำนวยการ :รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
รองผู้อำนวยการ : เลขาธิการ สทนช.
แบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) กลุ่มอำนวยการในภาวะวิกฤติ
(2) กลุ่มคาดการณ์ในภาวะวิกฤติ
(3) กลุ่มบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติ
(4) กลุ่มแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์
ในภาวะวิกฤติ |
(1) บริหารจัดการน้ำซึ่งอยู่ในเกณฑ์วิกฤติน้ำรุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง (ระดับ 2)
(2) ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กำกับ ดูแลสถานการณ์น้ำ รวมถึงประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ำ เพื่อประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำต่อ บกปภ.ช. และสร้างการรับรู้ให้แก่สาธารณชน โดยอำนวยการและบูรณาการร่วมกับ บกปภ.ช. เพื่อพิจารณาระดับความรุนแรงสถานการณ์ภาวะวิกฤติน้ำ |
ระดับ 1
(สถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น) |
ศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ
|
ผู้อำนวยการ : เลขาธิการ สทนช.
รองผู้อำนวยการ : รองเลขาธิการ สทนช.
แบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) คณะทำงานอำนวยการ
(2) คณะทำงานคาดการณ์
(3) คณะทำงานบริหารจัดการน้ำ
(4) คณะทำงานแจ้งเตือน และประชาสัมพันธ์ |
(1) อำนวยการ บริหารจัดการ รวบรวม บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
(2) ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กำกับ ดูแลสถานการณ์น้ำ รวมถึงประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ำ
(3) วิเคราะห์สถานการณ์ รายงานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แล้วแจ้งเตือนไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) และหน่วยปฏิบัติ อื่น ๆ เพื่อรับทราบข้อวิเคราะห์คาดการณ์พื้นที่เป้าหมายในการปฏิบัติการ รวมทั้งแนวโน้มความรุนแรงเป็นการล่วงหน้า |
ภาวะปกติ |
ผู้อำนวยการ น้ำแห่งชาติ
(เป็นหน่วยงานภายใน สทนช.) |
ผู้อำนวยการน้ำแห่งชาติ
(เป็นหน่วยงานภายใน สทนช.) |
ติดตาม/เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำของประเทศ ทั้งภาวะน้ำท่วม/น้ำแล้งอย่างใกล้ชิด |
3.3 แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ
แนวทางการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ |
ภาวะสถานการณ์มีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้น (ระดับ 1)
|
ภาวะรุนแรง หรือคาดว่าจะรุนแรง
(ระดับ 2)
|
ภาวะวิกฤติ หรือคาดว่าจะวิกฤติ
(ระดับ 3) |
1. ติดตาม เฝ้าระวัง สภาพอากาศสถานการณ์น้ำในลำน้ำ อ่างเก็บน้ำ
2. บูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์สถานการณ์น้ำทั้งด้านปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำที่อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัย ภัยแล้งและปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน |
1. ติดตามเฝ้าระวังเพื่อประเมินสถานการณ์และเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
2. ประเมินการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. อำนวยการร่วมกับ กอปภ.ก
4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการน้ำผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด
5. จัดทำข้อมูลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
6. ประมวลผลข้อมูลเพื่อนำเสนอไปสู่การตัดสินใจยกระดับเป็นศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจหรือการประกาศเข้าสู่ภาวะปกติ |
1. ติดตามเฝ้าระวังเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 2. บัญชาการร่วมกับ บกปภ.ช.
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินตัดสินใจร่วมกันเพื่อเสนอผู้บัญชาการสั่งการในการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติ
4. การแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ
5. จัดทำข้อมูลเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง |
4. เพื่อให้เกิดการบูรณาการและเป็นการแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมป้องกันแก้ไข ควบคุม ระงับ หรือบรรเทาผลร้ายจากความเสียหายด้านน้ำที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในกรณีเกิดภาวะวิกฤตเพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับประกอบการตัดสินใจพิจารณาตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติให้ในกรณีเกิดปัญหาวิกฤตน้ำจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์ หรือพืช หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐอย่างรุนแรง ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการ อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำเป็นการชั่วคราวจนกว่าปัญหาวิกฤตน้ำจะผ่านพ้นไป
12. เรื่อง วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน [สงป. กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.] เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 (1) ที่บัญญัติให้ในการจัดทำงบประมาณประจำปีให้ สงป. เป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับ กค. สศช. และ ธปท. เพื่อกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณรายจ่ายและวิธีการเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือการจัดการในกรณีที่ประมาณการรายได้สูงกว่าวงเงินงบประมาณ และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
สาระสำคัญของเรื่อง
สงป. รายงานว่า จากการประชุมพิจารณากำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่าง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย สงป. กค. สศช. และ ธปท. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 สรุปสาระสำคัญและมติที่ประชุมได้ ดังนี้
1. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
1.1 สมมติฐานทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.1 – 4.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภาคต่างประเทศ ตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของกรอบงบลงทุนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ และการปรับตัวดีขึ้นของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2564 ยังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
1.2 ประมาณการรายได้รัฐบาล
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,264,200 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร อากรถอนคืนกรมศุลกากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 2,777,000 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิที่กำหนดไว้ จำนวน 2,731,000 ล้านบาท เป็นจำนวน 46,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7
1.3 นโยบายงบประมาณ วงเงิน และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
จากสมมติฐานทางเศรษฐกิจและประมาณการรายได้รัฐบาลตามข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้น และเพื่อให้การจัดการรายจ่ายภาครัฐสามารถขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565) แผนการปฏิรูปประเทศ และนโยบายรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินภารกิจของหน่วยงานตามกฎหมาย จึง
ได้กำหนดนโยบายงบประมาณขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 523,000 ล้านบาท ทำให้มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,300,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่กำหนดไว้ 3,200,000 ล้านบาท
จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.1 โดยมี
สาระสำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 3,300,000 ล้านบาท ดังนี้
(สามารถดาวน์โหลดตารางได้จากไฟล์ดาวน์โหลด)
2. งบประมาณรายจ่ายลงทุนและงบประมาณรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีจำนวนและสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
2. ข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุม 4 หน่วยงาน
2.1 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ควรเป็นการดำเนินนโยบายการคลังที่ยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจไม่เป็นไปตามที่ประเมินไว้ได้อย่างทันท่วงที
2.2 การจัดทำงบประมาณควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความท้าทายมากขึ้นในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลให้แรงงานบางส่วนถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี และอาจไม่สมารถปรับตัวได้ดีดังเช่นอดีตที่ผ่านมาแม้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มดีขึ้น
2.3 การจัดสรรเงินอุดหนุนให้ อปท. เป็นภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเงินอุดหนุนบางส่วนมีความซ้ำซ้อน จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาทบทวนเงินอุดหนุนสำหรับภารกิจที่มอบหมายให้ อปท. ดำเนินการแทนรัฐบาล รวมถึงการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกันเงินสำรองและการใช้จ่ายเงินสะสมของ อปท. ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ อปท. มีสภาพคล่องเกินอยู่ในระดับสูง สะท้อนให้เห็นได้จากเงินฝากของ อปท. ในระบบสถาบันการเงินที่มีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
13. เรื่อง ผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) [การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)] เสนอผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 ตุลาคม 2562) เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 กรอบวงเงินไม่เกิน 24,278.63 ล้านบาท โดยในส่วนค่าบริหารโครงการฯ อัตราไม่เกินร้อยละ 1 จำนวน 234.72 ล้านบาท เห็นควร
ให้ กยท. ใช้จ่ายจากกองทุนพัฒนายางพาราในลำดับแรก] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยในคราวประชุม ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ได้พิจารณาการใช้เงินจากกองทุนฯ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) และอนุมัติงบประมาณค่าบริหารโครงการฯ จากแหล่งเงิน 2 แหล่ง ดังนี้
แหล่งเงิน |
งบประมาณที่ใช้
(ล้านบาท) |
กลุ่มเกษตร |
จำนวนเกษตรกร
(ราย) |
1.1) กองทุนพัฒนายางพารา โดยถัวจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของกองทุนฯ ตามมาตรา 49 (3) แห่งพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รายการเงินงบประมาณสำรองเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง |
181.85 |
เฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. |
1,129,336 |
1.2) ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ (สงป.) |
52.87 |
เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. |
282,681 |
รวม |
234.72 |
|
ทั้งนี้ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 และข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยการบริหารและจัดสรรเงินกองทุนพัฒนายางพารา พ.ศ. 2559
ไม่สามารถนำเงินกองทุนฯ มาใช้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. ซึ่งต่อมา กยท. ได้ขอความเห็นของ สงป. ในประเด็นการจ่ายเงินประกันรายได้และงบประมาณค่าบริหารโครงการฯ ที่จะจ่ายให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่มาแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. และไม่สามารถใช้เงินจากกองทุนฯ ได้ (จากการประสานงานกับ กยท. ทราบว่า สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า หากมีปัญหาข้อกฎหมายควรหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนั้น กยท. จึงดำเนินโครงการฯ ทั้งหมดโดยใช้เงินจากกองทุนฯ เพียงแหล่งเดียว ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 181.85 ล้านบาท)
2. กษ. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ กำกับดูแล ติดตามการดำเนินงาน และวินิจฉัยประเด็นปัญหา พร้อมเสนอความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 คณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง และคณะทำงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 ระดับตำบล เพื่อกำกับดูแล แก้ไขปัญหา และปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. คณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิงได้มีการประชุมเพื่อกำหนดราคาอ้างอิง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 โดยได้กำหนดราคาอ้างอิงในการประกันรายได้ตามชนิดยางและอัตราค่าชดเชยรายได้ ในรอบที่ 1 ดังนี้
3.1
ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ใช้ราคาเฉลี่ยจากสำนักงานตลาดกลางยางพารา (สตก.) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ สตก.จังหวัดสงขลา สตก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตก.จังหวัดนครศรีธรรมราช สตก.จังหวัดยะลา สตก.จังหวัดบุรีรัมย์ และ สตก.จังหวัดหนองคาย ดังนี้
ราคาประกันรายได้
(ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) |
ราคากลางอ้างอิง |
ราคาชดเชย |
60.00 บาท/กิโลกรัม |
38.97 บาท/กิโลกรัม |
21.03 บาท/กิโลกรัม |
3.2
น้ำยางสด DRC 100% ใช้ราคาเฉลี่ยจาก สตก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ สตก.จังหวัดสงขลา ดังนี้
ราคาประกันรายได้
(ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) |
ราคากลางอ้างอิง |
ราคาชดเชย |
57.00 บาท/กิโลกรัม |
37.72 บาท/กิโลกรัม |
19.28 บาท/กิโลกรัม |
3.3
ยางก้อนถ้วย DRC 50% ใช้ราคาเฉลี่ยจาก สตก.จังหวัดบุรีรัมย์ และ สตก.จังหวัดหนองคาย ดังนี้
ราคาประกันรายได้
(ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562) |
ราคากลางอ้างอิง |
ราคาชดเชย |
23.00 บาท/กิโลกรัม |
16.19 บาท/กิโลกรัม |
6.81 บาท/กิโลกรัม |
4. ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ที่ประชุมได้เห็นชอบตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การเบิกจ่ายเงินโครงการฯ เช่น
4.1 กยท. จัดพิมพ์รายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางโครงการฯ จากระบบติดประกาศ ณ ที่ทำการหมู่บ้าน หรือจุดศูนย์รวมชุมชนหมู่บ้าน หลังจากนั้นมอบรายชื่อดังกล่าวให้คณะทำงานโครงการฯ ระดับตำบล เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางและระบุผลรับรองหรือไม่รับรอง
4.2 กยท. จัดพิมพ์ผลการพิจารณาตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางติดประกาศ ณ ที่ทำการหมู่บ้าน หรือจุดศูนย์รวมชุมชนหมู่บ้าน หลังจากนั้นนำผลประมวลข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยางที่ผ่านการรับรองส่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
กรณีไม่ผ่านการรับรองสามารถยื่นอุทธรณ์ ต่อคณะทำงานโครงการฯ ระดับตำบล และกรณีไม่ผ่านการรับรองจากคณะทำงานโครงการฯ ระดับตำบล สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะอนุกรรมการบริหารโครงการฯ
4.3 ธ.ก.ส. ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารของเกษตรกรให้ถูกต้องและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของเกษตรกร
5.
การจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งวดที่ 1 (วันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2562) ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 กยท. ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. และมีการดำเนินการ (จากเป้าหมาย 1,711,252 ราย) ดังนี้
ส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. |
ธ.ก.ส. จ่ายเงินแล้ว |
เกษตรกรชาวสวนยาง
และคนกรีด (ราย) |
พื้นที่ (ล้านไร่) |
วงเงินจ่าย
(ล้านบาท) |
เกษตรกร
(ราย) |
จำนวนเงิน
(ล้านบาท) |
640,300 |
7.12 |
5,515.48 |
495,930
(ร้อยละ 77.45) |
2,834.55
(ร้อยละ 51.39) |
ในส่วนของเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการ แต่ยังไม่ได้รับการจ่ายเงินประกันรายได้ งวดที่ 1 ในวันที่ 1 – 15 พฤศจิกายน 2562 เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการตรวจรับรองสิทธิเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการประกันรายได้ตามข้อกำหนดของโครงการ และเป็นการป้องกันการทุจริต เพื่อให้มีการใช้งบประมาณของรัฐอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อผ่านการตรวจรับรองสิทธิเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการเร่งจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 1 งวดที่ 1 ให้ครบเป้าหมายทันที
14. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 (กนป.) ตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติเสนอดังนี้
ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ครั้งที่ 5/2562 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กนป. มีมติเห็นชอบการดำเนินการ 4 เรื่อง ดังนี้
เรื่อง |
มติ กนป. |
1.1 การปรับแผนการดำเนินการตามมาตรการใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า |
เห็นชอบการปรับแก้ไขข้อความในสรุปมติการประชุม กนป. ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสามารถดำเนินการตามแผนส่งมอบน้ำมันปาล์มดิบ ดังนี้
1.1.1 สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 2/2562 (แก้ไขเพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มิถุนายน 2562) รับทราบ] แนวทางการดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (เพิ่มเติม) แก้ไขจาก “ผู้ขายจัดส่งน้ำมันปาล์มดิบ ณ คลังน้ำมันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใน 30 วัน (ปฏิทิน) หลังจากลงนามสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ...” เป็น “ผู้ขายจัดส่งน้ำมันปาล์มดิบ ณ คลังน้ำมันปาล์มดิบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาตามสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบกับ กฟผ. ...”
1.1.2 สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (27 สิงหาคม 2562) รับทราบ] การใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตไฟฟ้า แก้ไขจาก “...ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ภายใน 2 สัปดาห์” เป็น “...ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” |
1.2 การขอขยายระยะเวลาดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำมัน
ปาล์มดิบ |
เห็นชอบการขอขยายระยะเวลาการดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำมันปาล์มดิบ ตามมติ กนป. ครั้งที่ 4/2562 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 จากเดิม กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เป็น ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับจากวันที่กรมการค้าภายในได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ |
1.3 การทบทวนมาตรการบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม |
1.3.1 เห็นชอบให้คงมาตรการบริหารการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับภาษีในโควตาและ ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งกำหนดให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว
1.3.2 เห็นชอบการทบทวนมาตรการบริหารการนำเข้าสินค้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มนอกโควตา WTO สำหรับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มนอกโควตา WTO จากเดิม กำหนดให้ขึ้นทะเบียนเพียงครั้งเดียวโดยไม่กำหนดวันหมดอายุ เป็น กำหนดให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะปัจจุบันของผู้นำเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 มอบหมายกรมการค้าต่างประเทศแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป |
1.4 แนวทางการกำหนดด่านนำเข้าและนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์ม |
1.4.1 เห็นชอบกำหนดด่านนำเข้าและนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์มฯ ดังนี้
1.4.1.1 ด่านนำเข้าสินค้าน้ำมันปาล์มฯ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรมาบตาพุด สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
1.4.1.2 ด่านนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์ม ด่านต้นทาง 1 ด่าน คือ สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และกำหนดด่านปลายทางสำหรับการนำผ่านน้ำมันปาล์มฯ ไปยังแต่ละประเทศ ดังนี้ 1) กำหนดด่านศุลกากรจันทบุรี เป็นด่านปลายทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา 2) กำหนดด่านศุลกากรหนองคาย เป็นด่านปลายทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) กำหนดด่านศุลกากรแม่สอดเป็นด่านปลายทางไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
1.4.2 มอบหมายกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อบังคับใช้ต่อไป |
2. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรรับทราบตามที่ กนป. เสนอ เพื่อพิจารณามอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไป
15. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามแผนยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ 2 ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดกรอบเวลาและเร่งรัดการดำเนินกิจกรรมภายใต้ แผนฯ ระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2562 จากรายงานดังกล่าวพบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินการเป็นไปตามแผน ส่งผลให้การพัฒนาบริการภาครัฐโดยรวมดียิ่งขึ้น ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามแผนฯ ระยะที่ 2
หัวข้อ |
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
แผนงานที่ 1
การปรับปรุงคู่มือ
สำหรับประชาชน ระยะที่ 2 |
· จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการปรับปรุงคู่มือสำหรับประชาชน เพื่อให้ส่วนราชการสามารถปรับปรุงคู่มือสำหรับประชาชนให้มีมาตรฐานเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน และเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนที่ปรับปรุงใหม่ในระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
· การปรับปรุงคู่มือสำหรับประชาชน สามารถปรับลดจำนวนคู่มือสำหรับประชาชน จาก 700,000 กว่ารายการ เหลือ 2,115 รายการ ซึ่งเป็นคู่มือกลางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ รวมถึงปรับปรุงคู่มือเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย (Infographic) ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ จำนวน 454 รายการ
· การพิจารณาลดขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ โดยพบว่าสามารถลดระยะเวลารอคอยและขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการให้บริการลงได้รวม 2.9 ล้านนาที หรือ 6,049 วัน
· การลดรายการเอกสารหลักฐานประกอบ ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารอื่น ๆ โดยสามารถลดลงได้ 1,212 รายการ |
แผนงานที่ 2
การจัดทำแบบฟอร์มเอกสารราชการ 2 ภาษา (รวม 5 ประเภทเอกสาร) |
· ปี 2560 ดำเนินการจัดทำเอกสารราชการที่ประชาชนต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้ครบถ้วนตามแผน และสามารถจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ได้ร้อยละ 98.61
· ปี 2562 พบว่าเอกสารที่เหลืออีก 3 ประเภท ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จประมาณ 813 รายการ (แบบฟอร์มในการยื่นคำขอ ดำเนินการแล้วร้อยละ 97.90 คู่มือสำหรับประชาชน ดำเนินการแล้วร้อยละ 61.43 และเอกสารราชการอื่น ๆ ดำเนินการแล้วร้อยละ 73.31)
· นอกจากนี้กรมการกงสุลและกรมการปกครอง ได้พัฒนาระบบโปรแกรมการคัดรับรองเอกสารการขึ้นทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ รวม 12 ประเภท เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร เป็นต้น ทำให้สามารถคัดสำเนาจากฐานข้อมูลและสั่งพิมพ์เอกสารเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการรับรองเอกสาร และลดภาระค่าใช้จ่ายในการแปลและรับรองเอกสารของประชาชน จากผลการดำเนินการพบว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 สิงหาคม 2562 มีประชาชนขอรับบริการจำนวน 50,950 ฉบับ สามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้กว่า 20
ล้านบาท |
แผนงานที่ 3
การพัฒนาระบบติดตาม
การให้บริการ |
อยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาระบบติดตามสถานะ (Tracking System) การให้บริการโดยดำเนินการผ่านระบบศูนย์กลางข้อมูลธุรกิจติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว (Biz Portal) |
แผนงานที่ 4
การอำนวยความสะดวก
ในการจองคิวกลาง และการให้ข้อมูลป้อนกลับของประชาชนต่อการให้บริการ |
พัฒนาระบบคิวกลางสำหรับนัดหมายเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาการให้ข้อมูลป้อนกลับของประชาชนต่อการบริการของหน่วยงานรัฐ (Citizen Feedback Survey) และการยกเลิกสำเนาเอกสาร (CITIZENinfo) |
แผนงานที่ 5
การทบกวนกฎหมายในการยกเลิกใบอนุญาตที่ไม่จำเป็น |
ดำเนินการทบทวนกฎระเบียบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับรายงานความยาก – ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business 2020) และอยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตเพื่อลดขั้นตอนที่ ไม่จำเป็นหรืออุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ |
2. การดำเนินการในระยะต่อไป
1) ปรับปรุงคู่มือสำหรับประชาชน เช่น ปรับปรุงระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ พัฒนาระบบกลางของภาครัฐในการนำข้อมูลคู่มือสำหรับประชาชนหรืองานบริการภาครัฐเชื่อมโยงกับระบบ Citizen Portal เป็นต้น
2) เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐที่ยังไม่ได้จัดทำแบบฟอร์มเอกสารราชการ 2 ภาษา (ประมาณ 813 รายการ) จัดทำให้แล้วเสร็จตามแผน และส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ เผยแพร่ขึ้นสู่เว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th)
16. เรื่อง ขอความเห็นชอบการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์โครงการจากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน เป็นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. เห็นชอบการยุติโครงการและการขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ ตามข้อเท็จจริง 2.2
3. รับทราบการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ตามข้อเท็จจริง 2.3
โดยให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ข้อเท็จจริง
1. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ภายในกรอบวงเงิน 14,491.4 ล้านบาท โดยให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณาใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติโดยพิจารณาจากโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) จัดทำรายละเอียดให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
2. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 มีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
2.1 ขอเปลี่ยนแปลงชื่อและวัตถุประสงค์โครงการจากโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน เป็นโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการที่มุ่งสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในด้านการประกอบอาชีพ ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการบริการของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจ้างแรงงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน
2.2 ให้ใช้งบประมาณโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้วโดยขอยุติการดำเนินโครงการและขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ จำนวน 3 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 2,407,700,000 บาท มาใช้ในการดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้
(1) โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 2 (งบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555) จำนวนเงิน 22,800,000.-บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552
(2) โครงการหมู่บ้านจัดตั้งใหม่ (งบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555) จำนวนเงิน 934,000,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556
(3) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) จำนวนเงิน 1,450,900,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยงบประมาณได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
2.3 ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณโดยขอใช้งบประมาณดำเนินโครงการจำนวน12,083,700,000 บาท จากงบประมาณดำเนินโครงการอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ของ สทบ. ไปก่อน รวม 6 โครงการ ดังนี้
(1) โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 จำนวนเงิน 9,107,000,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยยังต้องดำเนินการจัดเพิ่มทุนให้กองทุนที่ได้ดำเนินการฟื้นฟูและพัฒนาตามแนวทางที่กำหนดแล้ว
(2) โครงการพัฒนาเมือง จำนวนเงิน 1,671,569,548.01 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับโอนงบประมาณจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินโครงการแทน โดยยังต้องดำเนินการจัดงบประมาณให้ชุมชนที่เสนอขอมาและผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการ ซึ่งขณะนี้มีโครงการรอการพิจารณาอนุมัติจำนวน 1,026 โครงการ
(3) โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จำนวนเงิน 475,817,353.80 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 โดยยังต้องดำเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ
(4) โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จำนวนเงิน 1,922,276,140.-บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยยังต้องดำเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ
(5) โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ จำนวนเงิน 1,041,311,227.- บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยยังต้องดำเนินการจัดงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการ ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ
(6) โครงการประชารัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร จำนวนเงิน1,066,085,370.09 บาท ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยยังต้องดำเนินการจัดทำงบประมาณให้กองทุนที่เสนอโครงการซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ
โดยขอให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณจำนวนเงินดังกล่าว ใช้คืนให้ สทบ.ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อจักได้ดำเนินโครงการเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการต่อไป
3. สำนักงบประมาณได้ตอบข้อหารือ กรณีการนำงบประมาณที่มีภาระผูกพันไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุดที่ นร0714/2550 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ว่าพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลและรายได้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งทำให้งบประมาณรายจ่ายที่จัดสรรให้และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเบิกจ่ายไปแล้วเป็นเงินนอกงบประมาณที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสามารถใช้จ่ายได้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โดยให้เบิกจ่ายเงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่มีงบประมาณคงเหลือจากโครงการต่าง ๆ ที่เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงเป็นการอนุญาตและเป็นแนวทางให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินำกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการโครงการต่าง ๆ ไว้เดิม มาเป็นวงเงินสำหรับใช้จ่ายในโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้านต่อไป ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะต้องไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติด้วย
4. สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้ประชุมร่วมกับสำนักงบประมาณและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในวันที่ 25 ธันวาคม 2562 โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธาน โดยได้พิจารณาแนวทางการใช้งบประมาณตามข้อเท็จจริง 2.2 และ 2.3 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี
17. เรื่อง ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,041 โครงการ ภายในวงเงิน 3,079,472,482 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน จำนวน 2,295,698,982 บาท และให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลปรับแผนการดำเนินงานจากกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในโครงการเพิ่มน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำ เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 และยังไม่ขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณ จำนวน 783,773,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อทำความ ตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปหักออกจากงบประมาณที่ได้รับในโครงการที่มีความซ้ำซ้อนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกาศใช้บังคับแล้ว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562
2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้ทันภายในช่วงฤดูแล้ง และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ รวมถึง สรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการในครั้งนี้ และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป
3. สำหรับกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นควรที่จะพิจารณาใช้จ่ายจากเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการดังกล่าวด้วย
สาระสำคัญ/ข้อเท็จจริง
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้รายงานผลจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2562/63 ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 เพื่อทราบและเห็นชอบ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
1. ด้านอุปโภค-บริโภค
1.1 ในเขตพื้นที่บริการของการประปานครหลวง (กปน.) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 32,000,000 บาท โดยการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลประกอบด้วย 1) สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง 2) สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี 3) สถานีสูบจ่ายน้ำบางเขน และ 4) สถานีสูบจ่ายน้ำลาดกระบัง
1.2 ในเขตพื้นที่บริการของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในเขต รวม 61 สาขา 31 จังหวัด ครอบคลุมโรงพยาบาล ในพื้นที่เสี่ยง จำนวน 224 แห่ง โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 223 โครงการ วงเงิน 1,812,050,000 บาท โดย กปภ. ปรับแผนของตนเอง จำนวน 173 โครงการ วงเงิน 653,000,000 บาท และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 50 โครงการ วงเงิน 1,159,050,000 บาท
1.3 ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 และ 1.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง 43 จังหวัด 42,452 หมู่บ้าน ประกอบด้วย พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในระดับรุนแรง 1,270 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ำในระดับปานกลาง 1,927 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ำเล็กน้อย 935 หมู่บ้าน และไม่มีผลกระทบ 38,320 หมู่บ้าน โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งจำนวน 3,151 โครงการ วงเงิน 4,185,422,482 บาท โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน1,160 โครงการ วงเงิน 2,265,000,000 บาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 1,991 โครงการ วงเงินรวม 1,920,422,482 บาท ประกอบด้วย
(1) ขุดเจาะบ่อบาดาล 1,100 โครงการ ดำเนินการโดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 187 โครงการ กองทัพบก 209 โครงการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 704 โครงการ วงเงิน 1,300,530,496 บาท
(2) จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน 230 โครงการ ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230 โครงการ วงเงิน 145,265,895 บาท
(3) ซ่อมแซมระบบน้ำประปา 654 โครงการ ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 654 โครงการ วงเงิน 450,856,091 บาท
(4) ในส่วนของโรงพยาบาล ได้มีการสำรวจโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จำนวน 157 โครงการ โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง แบ่งเป็นขุดเจาะบ่อบาดาล 3 โครงการ ดำเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 3 โครงการ วงเงิน 880,000 บาท และซ่อมแซมระบบน้ำประปา ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 โครงการ วงเงิน 22,890,000 บาท
พื้นที่ |
งบประมาณของหน่วยงาน |
เสนอของบประมาณเพิ่มเติม |
จำนวน
(โครงการ) |
งบประมาณ
(ล้านบาท) |
จำนวน
(โครงการ) |
งบประมาณ
(ล้านบาท) |
ในพื้นที่เขตบริการการประปา |
177 |
685.00 |
50 |
1,159.05 |
การประปานครหลวง |
4 |
32.00 |
- |
- |
การประปาส่วนภูมิภาค |
173 |
653.00 |
50 |
1,159.05 |
นอกพื้นที่เขตบริการการประปา |
1,160 |
2,265.00 |
1,991 |
1,920.44 |
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา |
- |
- |
190 |
221.97 |
กองทัพบก |
- |
- |
209 |
247.11 |
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล |
- |
- |
704 |
832.34 |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
1,160 |
2,265.00 |
888 |
619.02 |
รวมใน-นอกเขตการประปา |
1,337 |
2,950.00 |
2,041 |
3,079.49 |
2. ด้านเกษตร
2.1 ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยมีการปรับแผนจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ – กลาง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 มีการปรับแผนเพิ่มขึ้น จำนวน 587 ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผนเดิม 11,984 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 12,570 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
2.2 นอกพื้นที่เขตชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสำรวจพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 2.6 ล้านไร่ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำขั้นรุนแรง ยืนต้นตายจำนวน 0.37 ล้านไร่ ในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยมอบกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุน พร้อมทั้งจัดทำแผนและมาตรการเสนอโดยด่วนต่อไป
3. ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและกองทัพบก ได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ รวม 4,192 เครื่อง แบ่งเป็นรถบรรทุกน้ำและรถผลิตน้ำ 1,517 เครื่อง เครื่องจักรและเครื่องขุด 175 เครื่อง และเครื่องเจาะบ่อและสูบน้ำ 2,500 เครื่อง โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับไปดำเนินการวางแผนการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อไป
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติจึงจำเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อนจำนวน 3,079,472,482 บาท สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วง ฤดูแล้งปี 2562/63
18. เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการ/โครงการที่เสนอ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. รับทราบมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs/โครงการ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. เห็นชอบมาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา ร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญ
มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย มีรายละเอียด ดังนี้
1. กลุ่ม SMEs ที่ต้องการสภาพคล่อง ประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้
1.1 โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยปรับปรุงวัตถุประสงค์และคุณสมบัติ SMEs ของโครงการ PGS 8 ให้ บสย. สามารถค้ำประกันกับลูกหนี้ที่มีศักยภาพแต่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว และต้องได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้รวมถึงสินเชื่อ Re-finance เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่องให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ บสย. กำหนดวงเงินค้ำประกันและการจ่ายค่าประกันชดเชยโครงการดังกล่าว โดยให้บริหารจัดการภายในงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว ซึ่งในเบื้องต้น บสย. ได้กำหนดวงเงินไว้ 10,000 ล้านบาท และกำหนดการจ่ายค่าประกันชดเชยเฉลี่ยสูงสุดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ำประกันโครงการนี้
ทั้งนี้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดำเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดำเนินคดี สำหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชำระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ บสย.
นอกจากนี้ เพื่อให้ SMEs ได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นำเสนอคณะกรรมการกองทุน สสว. เพื่อจัดสรรเงินงบประมาณจากโครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. ที่ได้รับตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ให้กับ บสย. เพื่อดำเนินโครงการ บสย. SMEs สร้างไทย อีกจำนวน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย มีวงเงินค้ำประกัน 60,000 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชยความเสียหายไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ำประกันโครงการนี้ โดยให้ บสย. กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อโครงการดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม
อนึ่ง เงินในส่วนที่เหลือภายใต้โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. ขอให้ สสว. ให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่อง ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่เป็น NPLs แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วด้วย
1.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ของธนาคารออมสิน มีวงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ และวัตถุประสงค์โครงการ โดยให้รวมถึงธุรกิจที่เป็น Supply Chain และธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจ 10 S-Curve และสามารถให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่เป็น NPLs แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และให้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงการขอสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเดียวได้ โดยธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการอัตราร้อยละ 0.1 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการคิดดอกเบี้ยกับ SMEs ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี
1.3 โครงการ GSB SMEs Extra Liquidity ของธนาคารออมสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนปรนภาระการจ่ายเงินต้นและเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี (Minimum Loan Rate : MLR) ลบร้อยละ 1 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารออมสินอยู่ที่ร้อยละ 6.375 ต่อปี) ระยะเวลากู้สูงสุด 6 ปี (ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น 1 ปี) ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นที่มีความพร้อมพิจารณาดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันเพื่อเป็นการลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SMEs ได้กว้างขวางมากขึ้น
2. กลุ่ม SMEs ที่กำลังจะถูกฟ้อง
โครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 เพื่อเป็นการช่วยเหลือ SMEs ที่กำลังจะถูกฟ้องในโครงการดังกล่าว จึงเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการค้ำประกันในโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 ออกไปอีก 5 ปี รวมถึงยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเมื่อสถาบันการเงินดำเนินคดีกับ SMEs โดยให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างนี้แก่ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ บสย. กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าประกันชดเชยให้เหมาะสมในส่วนที่ขยายระยะเวลา โดยให้ บสย. บริหารจัดการให้ค่าประกันชดเชยอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
เมื่อ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้สถาบันการเงินแล้ว ให้สถาบันการเงินติดตามการชำระหนี้ในส่วนที่ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยให้แล้ว โดยไม่เป็นการว่าจ้าง พร้อมทั้งให้ บสย. ทำความตกลงกับสถาบันการเงินในรายละเอียดต่อไป
สำหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชำระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ บสย.
3. กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพ ปัจจุบันมีมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs ทั้งโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและโครงการค้ำประกันสินเชื่อ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
3.1 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นผู้พิจารณาสินเชื่อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 วงเงินคงเหลือ 5,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี
3.2 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ของ ธพว. โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 20,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 3 ต่อปี ใน 3 ปีแรก พร้อมทั้งปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายให้สามารถให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPLs และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วได้ด้วย
3.3 โครงการสินเชื่อ SME ประชารัฐสร้างไทย ของธนาคารออมสิน โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 45,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ใน 2 ปีแรก โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินเร่งประชาสัมพันธ์โครงการและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs
3.4 โครงการสินเชื่อ กรุงไทย SME ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) โดยเพิ่มวงเงินสินเชื่ออีก 10,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 4 ต่อปี โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งนี้ ให้ ธ.กรุงไทย เร่งประชาสัมพันธ์โครงการและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาสินเชื่อเพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ SMEs
3.5 โครงการ PGS 8 ของ บสย. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 สำหรับวงเงินค้ำประกันคงเหลือ บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดำเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดำเนินคดี สำหรับกรณีประนอมหนี้กับ บสย. ให้ บสย. สามารถพิจารณาลดต้นเงินค่าประกันชดเชยในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการชำระหนี้ได้ โดยให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ บสย. นอกจากนี้ ยังขยายการค้ำประกันสินเชื่อให้ครอบคลุมถึงธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมแฟ็กเตอริง
3.6 โครงการ Direct Guarantee ของ บสย. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้า SMEs เป้าหมาย เช่น ลูกค้าเดิมของ บสย. ลูกค้าในธุรกิจที่มี NPLs ต่ำ เป็นต้น วงเงินค้ำประกัน 5,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกันต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน โดย บสย. เป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกันตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า (Risk Based Pricing) ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี
4. มาตรการอื่น ๆ
4.1 ขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการพิจารณาแนวทางการกันสำรองที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะ Preemptive TDR และกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่เป็น NPLs และมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติม ทั้งของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
4.2 ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์กำหนดเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
4.3 มาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม
กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรเสนอมาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (มาตรการทางภาษีฯ) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ เฉพาะการปลดหนี้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า การให้บริการ และการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า การให้บริการ และการกระทำตราสารระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
3) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดและเฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
4) ยกเว้นให้การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นในส่วนของหนี้ที่ปลดให้แก่ลูกหนี้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด
5) ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือห้องชุดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ร้อยละ 0.01 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนี้ (1) กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์ หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่น (2) กรณีสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่ได้รับโอนมาตาม (1) ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น (3) กรณีการจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้ของสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินหรือระหว่างลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นกับเจ้าหนี้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งเป็นหลักประกันอยู่เดิมหรืออสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดซึ่งนำมาเป็นหลักประกันใหม่ และ (4) กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดนั้นไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้เรียกเก็บค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด ร้อยละ 0.01 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ตาม (4) สำหรับจำนวนเงินที่นำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และให้เรียกเก็บตามอัตราปกติสำหรับราคาประเมินทุนทรัพย์ส่วนที่เกินจำนวนเงินที่นำไปชำระหนี้ดังกล่าว
19. เรื่อง การประชุมคณะทำงานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคไทย– เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะทำงานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา (ผภร.) กลับประเทศ ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็น ผภร. ครั้งที่ 1 และเห็นชอบในการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว และหากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการมีรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ไทยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ตั้งแต่ปี 2527 ปัจจุบันมีผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา 9 แห่ง ใน 4 จังหวัดชายแดนไทย – เมียนมา ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 แห่ง (บ้านแม่สุริน บ้านใหม่ในสอย บ้านแม่ลามาหลวง บ้านแม่ละอูน) จังหวัดตาก 3 แห่ง (บ้านนุโพ บ้านแม่หละ บ้านอุ้มเปี้ยม) จังหวัดกาญจนบุรี 1 แห่ง (บ้านต้นยาง) และจังหวัดราชบุรี 1 แห่ง (บ้านถ้ำหิน) รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 115,598 คน โดยทั้งหมดอยู่ระหว่างรอเดินทางกลับเมียนมาเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย ซึ่งตั้งแต่ปี 2559 รัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมาได้ร่วมมือกันส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับโดยสมัครใจอย่างต่อเนื่อง รวม 4 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 1,039 คน โดยได้มีการประชุมคณะทำงานร่วมไทย – เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ แล้ว 3 ครั้ง [ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงเนปยีดอ เมียนมา] และในการประชุมคณะทำงานร่วมฯ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 ที่จังหวัดเชียงราย ได้เห็นชอบให้มีคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ซึ่งคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคดังกล่าว ได้มีการประชุมหารือครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ณ กรุงเนปยีดอ เมียนมา
โดยร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว ทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างสรุปผลการประชุมคณะทำงานร่วมไทย –เมียนมา ในการเตรียมการส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 3 ได้แก่ การแต่งตั้งคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคเพื่อเป็นกลไกในการติดตามการนำผลลัพธ์ของคณะทำงานร่วมฯ ไปปฏิบัติ การกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา การจ้างผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเข้ามาทำงานในไทยภายหลังเดินทางกลับเมียนมาแล้ว การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน การเปิดจุดผ่านแดนเพิ่มในการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา
2. ร่างสรุปผลการประชุมคณะทำงานร่วมระดับเทคนิคไทย – เมียนมา ในประเด็นผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากลับประเทศ ครั้งที่ 1 ได้แก่ การส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา ครั้งที่ 4 และการหารือเรื่องการใช้จุดผ่านแดนในการส่งกลับผู้หนีภัยกลุ่มดังกล่าว (ปัจจุบันส่งกลับแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562) ความร่วมมือเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน (การกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเมียนมา) การหารือด้านแรงงาน (ร่างแผนปฏิบัติการการจ้างงานผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาโดยระบุขั้นตอนการกลับมาทำงานอย่างถูกกฎหมายในไทย)
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(สำนักงาน ก.พ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1.
นางสุทธิลักษณ์ เอื้อจิตถาวร ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สำนักงาน ก.พ. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2562
2.
นางสาวพัชรา เพ็ชรทวี ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สำนักงาน ก.พ. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2562
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1.
นางสาวสมใจ กาญจนาพงศ์กุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2562
2.
นางสาวมาลินี จิตตกานต์พิชย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มไวรัสวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ภูมิคุ้มกันวิทยา) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2562
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. อนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวม 5 คน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ดังนี้
1) นายสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการ
2) นายพีระพงศ์ ทีฆสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์
3) นายรัฐชาติ มงคลนาวิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์
4) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์
5) นางปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
***************