http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (2 มกราคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 พ.ศ. ….
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การผลิต หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน โดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. ….
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. เรื่อง แนวทางการทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาต ของทางราชการ
7. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล พ.ศ. 2563 (ดส.)
8. เรื่อง โครงการ “ส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร จากใจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ปี พ.ศ. 2563 (กษ.)
9. เรื่อง ของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2563 ของกระทรวงยุติธรรม
10. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4
12. เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
13. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและการเปลี่ยนผ่านที่ครอบคลุมแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสว่าด้วยความร่วมมือในสาขาคมนาคมขนส่ง
14. เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย –บังกลาเทศ ครั้งที่ 5
15. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 และการกำหนด ค่าตอบแทนของกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง
16. เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการ
ต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงาน ป.ป.ท.)
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
19. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงยุติธรรม)
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
22. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
คค. เสนอว่า
1. ประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาเพื่อการรวบรวมกฎเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการรับขนระหว่างประเทศทางอากาศ หรืออนุสัญญามอนตริออล ค.ศ. 1999 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 โดยมีพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นกฎหมายอนุวัติการพันธกรณีตามอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งพระราชบัญญัติฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศที่มีต่อคนโดยสาร ผู้ตราส่งและผู้รับตราส่ง รวมทั้งกำหนดเกณฑ์การจำกัดความรับผิด (limits of liability) โดยกำหนดเป็นหน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน (Special Drawing Rights ; SDR)
2. สำนักงานสาขาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้มีหนังสือถึงสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) แจ้งเรื่องการทบทวนเกณฑ์จำกัดความรับผิดตามข้อ 24 ของอนุสัญญาฯ ว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ในฐานะผู้เก็บรักษาอนุสัญญา (Depository) ได้พิจารณาทบทวนเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามอนุสัญญาฯ ตามรอบระยะเวลา 5 ปี โดยอ้างอิงตามอัตราเงินเฟ้อสะสมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 โดยการทบทวนดังกล่าวนี้ จะมีผลใช้บังคับภายในหกเดือนนับจากหนังสือแจ้งดังกล่าวนี้ คือ ภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2562 รวมทั้งแจ้งว่าไม่มีกรณีรัฐภาคีส่วนใหญ่แจ้งไม่เห็นด้วยกับการทบทวนปรับแก้เกณฑ์ดังกล่าวภายใน 3 เดือน นับจากหนังสือฉบับแรกของ ICAO และ ICAO ขอให้รัฐภาคีของอนุสัญญาฯ จัดทำกฎหมายภายในเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ
3. คค. เห็นว่า เกณฑ์จำกัดความรับผิดใหม่นี้มีความเหมาะสมตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของโลก และเพื่อให้คนโดยสาร ผู้ตราส่ง หรือผู้รับตราส่ง ได้รับการชดเชยความเสียหายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้นจากผู้ขนส่ง และโดยที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า เกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัตินี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา คค. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อปรับปรุงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่มีต่อคนโดยสาร สัมภาระของคนโดยสาร และของที่รับขนส่ง
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. เปลี่ยนแปลงเกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 โดยให้ใช้เกณฑ์จำกัดความรับผิด ดังต่อไปนี้แทน
เกณฑ์จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่อง |
เดิม
หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน
(Special Drawing Rights : SDR)/ คนโดยสาร |
ทบทวนและปรับแก้ในครั้งนี้
หน่วยสิทธิพิเศษถอนเงิน*
(Special Drawing Rights : SDR)/ คนโดยสาร |
คนโดยสารถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย (มูลค่าความเสียหายที่ผู้ขนส่งไม่อาจบอกปัดหรือจำกัดได้)
(มาตรา 14 ของพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศฯ)
|
113,100
(ประมาณ 4,784,763 บาท) |
128,821
(ประมาณ 5,462,491 บาท) |
ความล่าช้าในการรับขนคนโดยสาร (มาตรา 15 ของพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศฯ) |
4,694
(ประมาณ 198,582 บาท) |
5,346
(ประมาณ 226,690 บาท) |
สัมภาระลงทะเบียนถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหาย หรือสัมภาระล่าช้า
(มาตรา 16 ของพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศฯ) |
1,131
(ประมาณ 47,848 บาท) |
1,288
(ประมาณ 54,616 บาท) |
ของถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหาย หรือสัมภาระล่าช้า
(มาตรา 39 ของพระราชบัญญัติการรับขนทางอากาศฯ) |
19/กิโลกรัม
(ประมาณ 804 บาท) |
22/กิโลกรัม
(ประมาณ 933 บาท) |
* กพท. ได้คำนวณเกณฑ์จำกัดความรับผิดที่อาจมีการปรับแก้เพิ่มเติมตามที่ ICAO ได้แจ้ง โดยนำข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2562 มาคำนวณเพื่อประกอบการพิจารณาทบทวน และเมื่อมีการปริวรรตเป็นเงินบาท โดย 1 SDR เท่ากับ 1.37 USD และ 1 USD เท่ากับ 30.88 บาท
2. พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กษ. เสนอว่า โดยที่การกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2546 ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการ สัตวแพทย์ พ.ศ. 2546 และกำหนดอัตร่าค่าธรรมเนียม ดังนี้
รายการ |
อัตราค่าธรรมเนียม (ฉบับละ/บาท) |
เดิม |
ปรับปรุง |
1. |
ค่าขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งและค่าต่ออายุใบอนุญาต |
3,000 |
5,000 |
2. |
ค่าขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นสองและค่าต่ออายุใบอนุญาต |
2,000 |
3,000 |
3. |
ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการ สัตวแพทย์ |
200 |
500 |
4. |
ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการสัตวแพทย์ |
2,000 |
เท่าเดิม |
5. |
ค่าใบแทนใบอนุญาตตาม 1 และ 2 และใบแทนเอกสารตาม 4 |
200 |
500 |
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องกำเนิดรังสีเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ ที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. …. 2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาในการแจ้งการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ พ.ศ. …. 3) ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสีเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1. รวม 3 ฉบับ ได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องกำเนิดรังสีเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ ที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ
กำหนดให้ผู้มีไว้ครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับใช้เพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ซึ่งไม่มีวัสดุกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบ และเพื่อใช้งานในสถานพยาบาล ต้องแจ้งครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี ดังนี้
(1) เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป (general x – ray machine)
(2) เครื่องเอกซเรย์ทันตกรรม (dental x – ray machine)
(3) เครื่องเอกซเรย์เต้านม (mammographic x – ray machine)
(4) เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (bone densitometer)
(5) เครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือด (angiogram or digital subtraction angiography)
2.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดระยะเวลาในการแจ้งการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ
2.1 กำหนดนิยาม คำว่า “ใบแจ้งครอบครอง” “เครื่องกำเนิดรังสี” “ผู้แจ้ง” และ “ผู้รับแจ้ง”
2.2 ให้ผู้แจ้งยื่นแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี ก่อนการใช้งานครั้งแรกต่อผู้รับแจ้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีไว้ในครอบครองหรือใช้
2.3 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอ พร้อมเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วน ในกรณีที่แบบคำขอหรือเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้รับแจ้งแจ้งต่อผู้แจ้งทราบและดำเนินการแก้ไขหรือส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในสามสิบวัน
2.4 ผู้แจ้งที่ประสงค์จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบแจ้งครอบครองซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อมูลรายการเครื่องกำเนิดรังสีที่แจ้งครอบครองหรือใช้ ให้ยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบแจ้งครอบครองต่อผู้รับแจ้งภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
2.5 ในกรณีที่ใบแจ้งครอบครองชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้แจ้งยื่นคำขอรับใบแทนใบแจ้งครอบครองต่อผู้รับแจ้ง พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบแทนใบแจ้งครอบครองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย
2.6 ในกรณีผู้แจ้งมีความประสงค์จะยกเลิกการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามที่ได้แจ้งไว้ ให้ผู้แจ้งยื่นคำขอยกเลิกการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีต่อผู้รับแจ้ง
2.7 กรณีเครื่องกำเนิดรังสีตามที่ได้แจ้งครอบครองหรือใช้เกิดสูญหาย ให้ผู้แจ้งแจ้งต่อผู้รับแจ้งภายในสิบวันนับแต่วันที่ทราบเหตุแห่งการสูญหาย และให้ผู้รับแจ้งดำเนินการแก้ไขเอกสารแนบท้ายใบแจ้งครอบครองให้กับผู้แจ้งภายในสิบห้าวัน
2.8 แบบคำขอแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี แบบคำขอแก้ไขใบแจ้งครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี แบบคำขอรับใบแทนใบแจ้งครอบครอง แบบคำขอยกเลิกการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี แบบคำขอเพิ่มรายการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี และแบบแจ้งเครื่องกำเนิดรังสีสูญหาย ให้เป็นไปตามที่ผู้รับแจ้งประกาศกำหนด
2.9 ให้ผู้รับแจ้งรายงานข้อมูลการแจ้งการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีต่อคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
3.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสีเพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ
3.1 กำหนดนิยาม คำว่า “ความปลอดภัยทางรังสี” “มาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสี” “เครื่องกำเนิดรังสี” “ผู้แจ้ง” “ผู้รับแจ้ง” “ปริมาณรังสีสมมูล” “ปริมาณรังสียังผล” และ “ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี”
3.2 กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางรังสี โดย
- ผู้แจ้งต้องดูแลรักษาให้เครื่องกำเนิดรังสีที่ครอบครองหรือใช้มีความปลอดภัยตามเกณฑ์
- สถานที่ บริเวณ หรือห้อง ที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดรังสี ต้องสามารถป้องกันรังสีได้ตามมาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด
- ต้องมีสัญลักษณ์เตือนภัยทางรังสีหรือคำเตือน
- ผู้แจ้งต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันรังสีสำหรับผู้ป่วยหรือญาติ รวมถึงของบุคลากรที่จำเป็นต้องอยู่ภายในห้องเครื่องกำเนิดรังสีตามความเหมาะสม
- ผู้แจ้งต้องจัดให้มีอุปกรณ์รังสีบุคคล เช่น แผ่นวัดรังสีโอเอสแอล (OSL) หรือทีแอลดี (TLD) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือหน่วยงานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศรับรอง
3.3 กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสี โดย
- ผู้แจ้งต้องควบคุมดูแลและป้องกันอันตรายจากรังสีให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีต้องไม่ได้รับรังสีเกินกว่าขีดจำกัดปริมาณรังสีที่กำหนด
- ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างการให้นมบุตร ให้ใช้ขีดจำกัดปริมาณรังสีเช่นเดียวกันกับประชาชนทั่วไป
- ผู้แจ้งต้องควบคุมการป้องกันอันตรายจากรังสีให้การใช้งานเครื่องกำเนิดรังสีมีความปลอดภัย สามารถป้องกันรังสีที่ประชาชนจะมีโอกาสได้รับรังสีไม่เกินกว่าขีดจำกัดปริมาณรังสีที่กำหนด
3.4 กำหนดผู้ควบคุมใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี
- ผู้แจ้งต้องจัดให้มีผู้ควบคุมใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี โดยคุณสมบัติเป็นผู้มีใบประกอบโรคศิลปะหรือใบประกอบวิชาชีพ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นักฟิสิกส์การแพทย์ หรือเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงานรังสี ปฏิบัติงานภายใต้กำกับดูแลของผู้มีใบประกอบโรคศิลปะหรือใบประกอบวิชาชีพ
3.5 กำหนดการดำเนินการด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี
- ผู้แจ้งต้องรับผิดชอบป้องกันอันตรายจากรังสีจากการใช้เครื่องกำเนิดรังสี โดยจัดให้มีการดำเนินการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสี ให้เครื่องกำเนิดรังสีที่ครอบครองหรือใช้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด
- ให้ผู้แจ้งรายงานผลการดำเนินการด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้รับแจ้ง โดยยื่นพร้อมกับการยื่นสำเนารายงานผลการทดสอบเครื่องกำเนิดรังสีภายใน 60 วัน
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การผลิต หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน โดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การผลิต หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน โดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสภากาชาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดนิยาม “ผู้ผลิตยา” “สถานพยาบาลของรัฐ” “ผลิตยา” “ผู้นำเข้ายา” “นำเข้ายา” “ขาย” “เภสัชเคมีภัณฑ์” “เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป” “เภสัชชีววัตถุ” “เภสัชภัณฑ์รังสี”
2. กำหนดแบบที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและนำเข้ายาตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. กำหนดการยื่นแบบแจ้งตามกฎกระทรวงฉบับนี้ให้ยื่น ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
4. กำหนดให้การรับแจ้งการผลิต หรือนำเข้ายาแผนปัจจุบัน จะแสดงไว้ในแบบแจ้ง หรือจะออกเป็นหนังสือ หรือให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด
5. กำหนดการแจ้งการผลิตยาแผนปัจจุบันต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมแนบแผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ผลิตยา และสถานที่เก็บยา
6. กำหนดให้ผู้ผลิตยาขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้าจะต้องดำเนินการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. กำหนดให้ผู้ผลิตยาขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือได้รับผลตอบแทนจะต้องดำเนินการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน
8. กำหนดการแจ้งการนำเข้ายาแผนปัจจุบันต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพร้อมแนบแผนที่แสดงที่ตั้ง สถานที่เก็บยา เอกสารหรือหลักฐานที่ระบุไว้ในแบบแจ้งและตามที่กำหนดไว้เกี่ยวกับหนังสือชี้แจงวัตถุประสงค์การนำเข้ายาฯ ฉลาก เอกสารกำกับยา หนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ยา หรือเอกสารเทียบเท่า ใบรับรองผลวิเคราะห์
9. กำหนดให้มีการจัดทำบัญชี และรายงานที่เกี่ยวกับการนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ และมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. เรื่อง แนวทางการทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาต ของทางราชการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาต ของทางราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้
แนวทางการทบทวนฯ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
- กรณีค่าธรรมเนียมใบคำขอและใบแทน โดยพิจารณารายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมกับต้นทุน หากรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการ ให้หน่วยงานพิจารณายกเลิกการจัดเก็บดังกล่าว เนื่องจากไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินการของภาครัฐ
- กรณีค่าธรรมเนียมใบอนุญาต โดยพิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการอนุมัติอนุญาต ของทางราชการ ตามเงื่อนไข ดังนี้
2.1 หากรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนในการดำเนินการ ให้หน่วยงานพิจารณายกเลิกใบอนุญาต และ/หรือทบทวนขั้นตอนการให้บริการและอาจต้องประเมินเปรียบเทียบกับภาระที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนที่มารับบริการร่วมด้วย
2.2 ควรทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมทุก 5 ปี ตามนัยมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 หากหน่วยงานเห็นควรยกเลิกการจัดเก็บ และ/หรือปรับอัตราค่าธรรมเนียม ให้พิจารณาดำเนินการกับค่าธรรมเนียมที่ถูกระบุในกฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของหน่วยงานก่อน เนื่องจากสามารถดำเนินการการแก้ไขได้โดยง่าย ทั้งนี้ ในกรณีที่ปรับอัตราค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชน รวมถึงต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบริการที่ดีขึ้น
2.3 พิจารณาจากใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต/การรับรอง การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง และการตรวจสอบ ทั้งนี้ ไม่ครอบคลุมใบอนุญาตด้านจริยธรรม เช่น การขอนุญาตฆ่าสัตว์ การขออนุญาตสุรา ยาสูบ และการพนัน เนื่องจากใบอนุญาตดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ และส่งผลกระทบเชิงลบ รวมถึงใบอนุญาตด้านวัตถุอันตราย เชื้อโรค โบราณวัตถุและศิลปกรรม เนื่องจากต้องใช้เป็นหลักฐานยืนยันทางกฎหมาย และอาจเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ
2.4 หากมีการออกใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือมีแผนการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้พิจารณาแนวทางการจดแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม หรืออาจยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ เนื่องจากการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถลดต้นทุนในการดำเนินการ รวมถึงการดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยสร้างความโปร่งใส ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลตรวจสอบข้อมูลได้ทันที และยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการขอรับบริการ
สำนักงาน ก.พ.ร. มีแผนการดำเนินการโดยให้ส่วนราชการที่มีอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาตของทางราชการ พิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการเสนอผลการดำเนินการต่อ ก.พ.ร. ภายใน 6 เดือน (มีนาคม 2563) และให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งลดภาระค่าใช้จ่ายภาคธุรกิจและประชาชน
7. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล พ.ศ. 2563 (ดส.)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 5,000 คน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 3พฤศจิกายน 2562 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.
ความเดือดร้อนที่ชุมชน/หมู่บ้านได้รับในรอบปี 2562 มากที่สุด คือ สินค้าอุปโภค-บริโภคราคาแพง (ร้อยละ 23.3) รองลงมา คือ ปัญหาจากการทำเกษตรกรรม เช่น ต้นทุนสูง ผลผลิตราคาตกต่ำและผลผลิตเสียหายจากแมลง/โรคระบาด (ร้อยละ 20.6)
2.
ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2563 ที่ต้องการจากรัฐบาลมากที่สุด คือ การแก้ปัญหาสินค้าอุปโภค-บริโภคราคาแพง (ร้อยละ 50.9) รองลงมา คือ การแก้ปัญหาด้านการเกษตร เช่น ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า และหาตลาดรองรับ (ร้อยละ 30.6)
3.
ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ
ประชาชนมีความเชื่อมั่นในระดับเชื่อมั่นมาก – มากที่สุดร้อยละ 39.7 เชื่อมั่นปานกลางร้อยละ 44.4 ขณะที่ไม่เชื่อมั่นร้อยละ 2.2
4.
ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อมาตรการ “ชิมช้อปใช้” พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดร้อยละ 36.2 พึงพอใจปานกลางร้อยละ 36.3 ขณะที่พึงพอใจในระดับน้อย-น้อยที่สุดและไม่พึงพอใจร้อยละ 27.5 โดยให้เหตุผล เช่น ระบบการลงทะเบียนและการใช้สิทธิยุ่งยาก ซับซ้อน (ร้อยละ 11.3) สิ้นเปลืองงบประมาณ/ไม่เกิดประโยชน์ (ร้อยละ 8.1)
5.
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานสถิติแห่งชาติมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 ควรมีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เช่น ควบคุมราคาสินค้า แก้ปัญหาด้านการเกษตร แก้ปัญหาน้ำท่วม/ภัยแล้งแก้ปัญหายาเสพติดและปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษ
5.2 ควรมีการส่งเสริมโครงการและสวัสดิการของรัฐให้ทั่วถึงและเพียงพอ เช่น ดูแลผู้สูงอายุ การรักษาพยาบาลฟรี สนับสนุนทุนการศึกษา และจัดหาที่อยู่อาศัย
5.3 ควรมีนโยบายเร่งช่วยเหลือผู้ว่างงาน/ถูกเลิกจ้าง เช่น ชดเชย/เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อบรมสร้างอาชีพเสริม
5.4 การดำเนินนโยบาย/มาตรการที่ภาครัฐจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมควรมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
8. เรื่อง โครงการ “ส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร จากใจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ปี พ.ศ. 2563 (กษ.)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ โครงการ “ส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร จากใจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ปี พ.ศ. 2563 เพื่อสร้างรายได้เพิ่มและลดรายจ่ายครัวเรือนให้กับเกษตรกรและประชาชน และเพื่อมอบความสุขและความรู้ทางด้านการเกษตรให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้
- มอบของขวัญเกษตรกรไทย มีกิน มีใช้ มีรายได้พอเพียง โดยการจัดทำโครงการใหม่และ
เพิ่มเติมงานบริการให้แก่เกษตรกรและประชาชน จำนวน 9,102 คน 8,080 ครัวเรือน เช่น ส่งมอบโครงการชลประทานขนาดเล็กที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 จำนวน 6 โครงการ ปรับปรุงถนนคันคลองพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 4 ตลอดจนสนับสนุนพันธุ์พืชเสริมรายได้ การฝึกทักษะขยายพันธุ์พืช การผลิตชีวภัณฑ์ และมอบปัจจัยการผลิต จำนวน 20 จุด ใน 20 จังหวัด
2.
เพิ่มพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ โดยการจัดหาสินค้าดีมีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนและเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกรจำนวน 28,340 คน เช่น การจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรราคาพิเศษ การจำหน่ายกระเช้าของขวัญจากสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยที่ได้รับเครื่องหมาย ‘Q’ ณ จุดจำหน่ายของหน่วยงานในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนจัดจำหน่ายในตลาดออนไลน์
3.
ปีใหม่เที่ยวทั่วไทยสุขใจไปกับ กษ. ได้แก่ 1)
เปิดสถานที่ราชการปรับภูมิทัศน์รองรับนักท่องเที่ยว มีประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 29,500 คน เช่น โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ : อุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ จังหวัดมุกดาหาร ศูนย์เรียนรู้โครงการพระราชดำริ โรงเรียนข้าวนาและชาวนา ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 2)
เปิดสถานที่ให้ประชาชนเข้าชมฟรี/ลดค่าบริการ มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 116,000 คน เช่น เปิดสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำให้ประชาชนเข้าชมฟรี จำนวน 8 แห่ง เปิดพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ประชาชนเข้าชมฟรี และ 3)
ตั้งจุดบริการประชาชน มีประชาชนได้รับประโยชน์จำนวน 31,630 คน โดยให้บริการประชาชนหน้าสถานที่ราชการที่อยู่ในเส้นทางการเดินทางช่วงเทศกาล เช่น จุดพักรถ ห้องน้ำ ขนม และน้ำดื่ม จำนวน 198 จุด
9. เรื่อง ของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2563 ของกระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอการดำเนินการโครงการ/กิจกรรมของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2563 ของกระทรวงยุติธรรม
สรุปโครงการหรือกิจกรรมที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2563 รวม 23 โครงการ
แนวทาง |
โครงการ/กิจกรรม |
ระยะเวลา |
สถานที่ดำเนินการ |
1. การลดภาระค่าใช้จ่าย
และช่วยเหลือประชาชน
ให้เข้าถึงความยุติธรรม |
1.1 การจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี (กบค.)
- เพื่อเพิ่มโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถเจรจากันได้
ด้วยความพึงพอใจ สะดวก รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นธรรม |
12 ม.ค. 63 |
- ส่วนกลาง |
1.2 การจัดขายทอดตลาดในวันหยุดราชการ : วันเสาร์ (กบค.)
- เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าซื้อทรัพย์จากการ
ขายทอดตลาดในวันหยุดได้ |
28 ธ.ค. 62 -
25 ม.ค. 63 |
- ส่วนกลาง
- ส่วนภูมิภาคที่กำหนด |
1.3 การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในโครงการ DJOP Center
ซึ่งเป็นผลงานของเด็กและเยาวชนในความดูแลของกรมพินิจฯ
ในราคาพิเศษ (ลดราคา 10 - 20 %) (กพน.) |
28 ธ.ค. 62 -
1 ม.ค. 63 |
- สถานพินิจฯ
และศูนย์ฝึกฯ |
1.4 การจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ซี่งเป็นผลงานของผู้ต้องขัง
ในราคาพิเศษ (รท.) |
28 ธ.ค. 62 -
1 ม.ค. 63 |
- ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์
เรือนจำและทัณฑสถาน |
1.5 การให้บริการการบันทึกภาพลักษณะร่องรอยตำหนิพิเศษของ
พระเครื่องให้กับประชาชนตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ (สนว.) |
1-31
ม.ค. ๖๓ |
- สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ |
2. การให้บริการความรู้และ
ความเข้าใจด้านกฎหมาย |
2.1 การให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชน : (กบค.)
- กฎหมายในชีวิตประจำวัน
- กฎหมายค้ำประกัน จำนำ จำนอง ขายฝาก
- กระบวนการขั้นตอนการบังคับคดี
- การวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท |
25 ม.ค. 63
28 ม.ค. 63
30 ม.ค. 63
|
- จังหวัดสุโขทัย
- จังหวัดนครสวรรค์
- จังหวัดสิงห์บุรี
|
2.2 การลงพื้นที่ทั่วประเทศในการให้คำปรึกษากฎหมาย
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (กบค.) |
ช่วงเทศกาล
ปีใหม่ |
- สถานีขนส่งสายใต้
- สบค.ทั่วประเทศ |
2.3 “ส่งความสุข ส่งความรู้กฎหมายกลับบ้าน ในเทศกาลปีใหม่ ”
(สกธ.) |
26 ธ.ค. 62 |
- สถานีขนส่งหมอชิต
- สถานีรถไฟหัวลำโพง |
2.4 “ฉลองเทศกาลปีใหม่ ปลอดภัยจากยาเสพติด” (ป.ป.ส.)
ช่วงรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
- ให้แก่พนักงาน เจ้าของผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป |
16-24
ธ.ค.62 |
- สำนักงานนิคม
อุตสาหกรรม
- สถานประกอบการ |
2.5 ไกล่เกลี่ยก่อนไหม ไม่ต้องไปขึ้นศาล (กคส.)
- การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในการบริการไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาท ตาม พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 |
ตลอดปี 2563 |
- กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ
|
3. การบริการงานยุติธรรม
ช่วงเทศกาลปีใหม่
|
3.1 โครงการยุติธรรมเชิงรุกสร้างสุขให้ประชาชน
โดยรับเรื่องราวร้องเรียนจากประชาชน ให้คำปรึกษาแนะนำ
และประสานการช่วยเหลือแบบบูรณาการฯ (สชจ.) |
เริ่มตั้งแต่
ต.ค. 62 |
- สำนักงานยุติธรรม
จังหวัดทั่วประเทศ |
3.2 บริการญาติเยี่ยมพิเศษโดยผู้ปกครองสามารถขอรับบริการ
ญาติเยี่ยมได้ทุกวัน (กพน.) |
28 ธ.ค. 62 -
1 ม.ค. 63 |
- สถานพินิจฯ
และศูนย์ฝึกฯ |
3.3 โครงการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ (รท.)
- นักโทษเด็ดขาดที่รับอนุมัติจ่ายออกทำงานสาธารณะ
นอกเรือนจำ หรือได้รับอนุญาตให้ออกทำงานนอกเรือนจำ
ออกไปทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับชุมชน เช่น
1 เรือนจำ 1 วัด 1 โรงเรียน
|
ช่วงเทศกาล
ปีใหม่ |
1. เรือนจำ
2. ทัณฑสถาน
3. สถานกักขัง |
3.4 โครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ (คป.)
1) กิจกรรมในช่วงการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ได้แก่
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนัก
และความสำนึกในการขับขี่
- การทำงานบริการสังคมที่ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน
เช่น การปรับภูมิทัศน์ การทำความสะอาดเครื่องหมาย
จราจร การตัดแผ้วถางสิ่งกีดขวางบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ
2) กิจกรรมช่วงควบคุมเข้มข้น ได้แก่
- การจัดเวรให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่รับคดีที่ศาลหรือ
สำนักงานเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมดูแลผู้กระทำผิด
ในคดีเกี่ยวกับการจราจร
- การสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ
ประชาชน ณ จุดบริการประชาชน ด่านชุมชนและด่าน
ตรวจค้นตามถนนสายหลักก่อนเข้าจังหวัด |
16 -26
ธ.ค. 62
24 ธ.ค. 62 -
2 ม.ค. 63 |
- ทั่วประเทศ
- ทั่วประเทศ |
3.5 กิจกรรมเยียวยาประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อในคดีอาญา
ให้ได้รับความเป็นธรรม (กคส.) |
25 ธ.ค. 62 - 31 ม.ค. 63 |
- กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ
- ส่วนภูมิภาค |
3.6 คุ้มครองสิทธิฉับไวประชาชนสุขใจ (กคส.)
- จัดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบติดตามสถานการณ์ และลงพื้นที่เชิงรุก
แจ้งสิทธิผู้เสียหาย และรับคำขอตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทน
ผู้เสียหายฯ |
28 ธ.ค. 62 – 31 ม.ค. 63 |
- กรุงเทพมหานคร |
3.7 “ฉลองเทศกาลปีใหม่ ปลอดภัยจากยาเสพติด” (ป.ป.ส.)
ช่วงปฏิบัติการ
- บูรณาการร่วมกับหน่วยบริการในพื้นที่ ได้แก่ การตรวจ
ปัสสาวะพนักงานขับรถโดยสาร/ตรวจวัดแอลกอฮอล์ เป็นต้น
- พบปะประชาชนในหมู่บ้านชุมชน สร้างการมีส่วนร่วม |
25 ธ.ค. 62 –
5 ม.ค. 63 |
- สถานีขนส่งผู้โดยสาร
ทั่วประเทศ
- หมู่บ้านกองทุนแม่
ของแผ่นดิน
- จุดตรวจ |
4. การบริการงานยุติธรรม
ผ่านระบบเทคโนโลยี |
4.1 การเยี่ยมเด็กและเยาวชนทางไกล ผ่านระบบ VDO Conference
ตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.30 น. (กพน.) |
28 ธ.ค. 62 -
1 ม.ค. 63 |
- สถานพินิจฯ
และศูนย์ฝึกฯ |
4.2 Application นัดหมายพนักงานสอบสวนด้วยระบบ On Line
โดย QR Code เพื่อนัดหมายวัน เวลา สถานที่ มาให้ปากคำต่อ
เจ้าพนักงานสอบสวน (กสพ.)
หรือสามารถติดต่อผ่านเว็บไซต์
https://register.dsi.go.th/NiceReview/New |
1 ธ.ค. 62 -
31 มี.ค. 63 |
- On Line |
4.3 Application ผู้เสียหายคดีแชร์ลูกโซ่ ให้ข้อมูล/ปากคำเบื้องต้น
ผ่านระบบ On Line โดย QR Code (กสพ.)
หรือสามารถติดต่อผ่านเว็บไซต์
https://register.dsi.go.th/NiceReview/New |
1 ธ.ค. 62 -
31 มี.ค. 63 |
- On Line |
4.4 สายด่วนยุติธรรมสร้างสุขไม่ต้องขอ เรารอ 24 ชั่วโมง (กคส.)
- ให้บริการปรึกษาทางกฎหมายหลายภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน ภาษายาวี ภาษาบาฮาซา ภาษามาเลย์ ภาษาไทย
รวมถึงรับเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอด 24 ชั่วโมง |
ตลอดปี 2563 |
- ทั่วประเทศ
- โทร. 1111
กด 77 ฟรี |
4.5 กิจกรรมยกระดับการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม
ผ่านช่องทางดิจิทัล (กย.)
- www.jfo.moj.go.th
- Mobile Application : Justice Fund
- เพจ Facebook กองทุนยุติธรรม |
ตลอดปี 2563 |
- สำนักงานกองทุน
ยุติธรรม
- สำนักงานยุติธรรม
จังหวัดทุกจังหวัด |
4.6 การรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน
และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... (กคส.)
ผ่านช่องทางดิจิทัลและการลงพื้นที่ 5 ภูมิภาค |
ธ.ค. 62 -
ม.ค. 63 |
- กรมคุ้มครองสิทธิ
และเสรีภาพ
|
10. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี จาก
เดิม 10 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2562)
เป็น 14 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2566) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการฯ ที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม จำนวน 9,341.36 ล้านบาท
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า กรมชลประทานได้ดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดยมีผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.1 งานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 รายการ ได้แก่
งานก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น ซึ่งปัจจุบันได้เปิดใช้งานและเก็บกักน้ำแล้ว โดยมีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองหลวง รัชชโลทร สำนักงานชลประทานที่ 9 รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ
1.2 งานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มี 3 รายการ สรุปได้ ดังนี้
1) งานก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งขวา กรมชลประทานได้ว่าจ้างผู้รับจ้าง ตามสัญญา กจ. 25/2556 (กสพ.) ลงวันที่ 12 กันยายน 2556 กำหนดแล้วเสร็จภายใน 630 วัน เริ่มวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 6 สิงหาคม 2558 และแก้ไขสัญญาเพิ่มเติม จำนวน 5 ครั้ง วงเงินค่าก่อสร้าง 387.55 ล้านบาท ครบอายุสัญญาตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมในวันที่ 19 มีนาคม 2563 ปัจจุบันมีผลงานสะสมร้อยละ 50.87
2) งานจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย กรมชลประทานได้ว่าจ้างผู้รับจ้าง ตามสัญญา กจ. 28/2561 (สพด.) ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2561 วงเงินค่าก่อสร้าง 259.63 ล้านบาท อายุสัญญา 900 วัน เริ่มวันที่ 15 สิงหาคม 2561 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 30 มกราคม 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างและมีผลงานสะสมร้อยละ 12.05
3) งานจ้างก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย สัญญาที่ 2 [เป็นส่วนหนึ่งของงานในข้อ 2)] ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างกรมชลประทานเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และมีแผนการดำเนินงานก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566
รายการ
(อยู่ระหว่างดำเนินการ) |
วงเงิน
(ล้านบาท) |
สัญญา |
ผลงาน
สะสม |
เริ่มสัญญา |
สิ้นสุด |
1) คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งขวา |
387.55 (ตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม) |
15 พฤศจิกายน 2556 |
19 มีนาคม 2563 |
50.87%
(ณ ส.ค. 62) |
2) คลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย |
259.63 |
15 สิงหาคม 2561 |
30 มกราคม 2564 |
12.05%
(ณ พ.ค. 62) |
3) คลองส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย สัญญาที่ 2 |
270.00 |
มีแผนการดำเนินงานก่อสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566 |
2. ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและการใช้ประโยชน์พื้นที่ของราษฎรเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ออกแบบก่อสร้างไว้เดิมประกอบกับในขั้นตอนการจัดหาที่ดินมีเจ้าของทรัพย์สินส่วนหนึ่งไม่ยอมรับราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ภาครัฐกำหนด บางส่วนไม่ยินยอมให้เข้าใช้พื้นที่ รวมทั้งที่ดินบางแปลงติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งในการดำเนินการจัดหาที่ดิน กรมชลประทานใช้วิธีเจรจาซื้อขายที่ดินจากราษฎรที่ถูกกำหนดเป็นเขตชลประทานควบคู่กับการใช้พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกอบกับกรมชลประทานได้มีการแก้ไขแบบก่อสร้างเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับราษฎรและเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำให้กรมชลประทานต้องปรับแผนการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้เดิมจึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาโครงการฯ ออกไป โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ทั้งหมดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
3. แผนปฏิบัติการ
3.1
งานที่ต้องดำเนินการในช่วงระยะเวลา 3 เดือน (จะดำเนินการตั้งแต่ได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563)
1) ก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งขวาและก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้ายให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ รวมทั้งเตรียมความพร้อมงานก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบฝั่งซ้าย สัญญาที่ 2 (ตามข้อ 1.2) ให้สามารถเริ่มก่อสร้างได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
2) จัดหาที่ดินงานคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำให้สอดคล้องกับแผนงานก่อสร้าง
3) กษ. (กรมชลประทาน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3.2
งานที่ต้องดำเนินการในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี กษ. (กรมชลประทาน) จะดำเนินการก่อสร้างและเตรียมความพร้อมงานคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ งานการจัดหาที่ดิน และแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติการในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรก ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ รวมทั้งติดตามเร่งรัด การเบิกจ่ายงบประมาณของงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4
คณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง ขอความเห็นชอบขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุ่น รุ่นที่ 4 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบขยายกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (โครงการฯ) รุ่นที่ 4 ออกไปอีก 2 ปี
จาก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 – 2563 [คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ แล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 21 มกราคม 2556)]
เป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 และขอผูกพันงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 81.85 ล้านบาท [งบประมาณดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 21 มกราคม 2556)] โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จะเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ ในภาพรวมเป็นรายปีต่อไป
สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4 ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2. ในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการมีความประสงค์ที่จะดำเนินโครงการฯ รุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคที่ผ่านมา และแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เป็นรูปธรรม (2) เหตุผลความจำเป็น ในการดำเนินโครงการฯ รุ่นต่อไป และความเป็นไปได้ที่จะมีจำนวนนักเรียนทุนได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (3) การวางแผนและเตรียมกำลังคนให้พร้อมในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิชาที่ขาดแคลนและสาขาวิชาที่สอดรับกับสภาวการณ์ของประเทศไทย เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต อาทิ นักการตลาดออนไลน์ระหว่างประเทศ นักวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และนำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการฯ ตามขั้นตอนต่อไป
3. ให้สำนักงาน ก.พ. เร่งรัดการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 (เรื่อง การจัดสรรทุนรัฐบาลให้แก่หน่วยงานของรัฐ) ด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
เรื่องนี้เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (21 มกราคม 2556) เห็นชอบการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (โครงการฯ) รุ่นที่ 4 ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อให้นักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติดี ได้มีโอกาสรับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีหรือปริญญาใบแรกทั้งในประเทศและต่างประเทศตามสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับทุนและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย |
ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ |
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 - 2563 |
กรอบวงเงินงบประมาณ |
14,493 ล้านบาท |
ผลการดำเนินโครงการฯ |
หัวข้อ |
รายละเอียด |
จำนวนนักเรียนทุนที่รับทุน |
568 คน |
จำนวนนักเรียนทุนที่ลาออก/พ้นสภาพ/สละสิทธิ์ |
7 คน |
จำนวนนักเรียนทุนที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการฯ |
105 คน |
สำเร็จการศึกษาในประเทศไทย 28 คน |
สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ 77 คน |
จำนวนนักเรียนทุนฯ ที่ยังศึกษาอยู่ในโครงการฯ |
456 คน |
ศึกษาในประเทศไทย 311 คน |
ศึกษาต่างประเทศ 145 คน |
รวมทั้งสิ้น |
561 คน |
|
เงื่อนไขภายหลัง
จากจบโครงการฯ |
นักเรียนผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการฯ แล้ว จะต้องทำงานในประเทศไทยซึ่งสามารถเลือกทำงานได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน |
โดยในครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ขยายกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ รุ่นที่ 4 ออกไปอีก 2 ปี จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 – 2563 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 -2565 และ
ขอผูกพันงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 81.85 ล้านบาท (งบประมาณดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้ว) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ ในภาพรวมเป็นรายปีต่อไป เนื่องจากในช่วงดำเนินการเปิดรับสมัครนักเรียนทุนเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ รุ่นที่ 4
มีการเปิดรับสมัครถึง 3 ครั้ง เพราะจำนวนนักเรียนทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการฯ ส่งผลให้นักเรียนทุนที่สมัครในครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ทันตามกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติไว้ (จะจบการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 113 คน และจะจบการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 4 คน) ประกอบกับนักเรียนทุนบางรายได้ขอพักการศึกษาจากปัญหาสุขภาพ และบางรายมีการขอปรับเปลี่ยนมาศึกษาในประเทศ
12. เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
คณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) เสนอแล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการตามกรอบแนวทางการดำเนินโครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยให้ ศอ.บต. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการแล้วนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาก่อนดำเนินตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้ ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย
2. รับทราบการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการบริหารโครงการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยให้มีศูนย์ประสานและบริการเบ็ดเสร็จด้านพลังงานเป็นส่วนงานภายใน ศอ.บต. และให้ ศอ.บต. หารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการกำหนดกลไกการดำเนินโครงการนี้ให้มีลักษณะเดียวกับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก เช่น การพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการของชุมชน การกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางการรับซื้อไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก (AEDP) ของกระทรวงพลังงานและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018) ทั้งนี้ ให้พิจารณาประเด็นความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวกับคณะกรรมการตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วย
3. มอบหมายให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยจัดทำรายงานความก้าวหน้าปัญหาและอุปสรรคของโครงการฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้เร่งรัดแก้ไขปัญหาและอุปสรรคโดยเร็ว รวมทั้งประสานและอำนวยการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด พร้อมทั้งร่วมมือกับทุกภาคส่วนประชาสัมพันธ์ผลกระทบเชิงบวกต่อสาธารณชนให้ทราบและเห็นความก้าวหน้าของโครงการฯ และการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม
4. ให้ ศอ.บต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรการเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีที่มีจำนวนประชาชน/กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์ของประชาชนให้ความสนใจในการเข้าร่วมการดำเนินโครงการฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
สาระสำคัญของเรื่อง
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินโครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการพลังงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้แนวทางประชารัฐด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน รวมทั้งช่วยพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้
แนวทางการดำเนินโครงการฯ กำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยการบริหารโครงการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งเป็นกลไกการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าภาคใต้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยมี
อำนาจหน้าที่ครอบคลุมเกี่ยวกับกำหนดประเภทเชื้อเพลิง สถานที่ตั้ง คัดเลือกโครงการ กำหนดวันจ่ายไฟฟ้า การจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ เป็นต้น
รวมทั้งกำหนดให้มีศูนย์ประสานและบริการเบ็ดเสร็จด้านพลังงานเป็นส่วนงานภายใน ศอ.บต. เพื่อเป็นสำนักงานดำเนินโครงการ ทั้งนี้
แนวทางการดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ สรุปได้ ดังนี้
1. กระบวนการต้นทาง
×
การจัดสรรปัจจัยการผลิตที่จำเป็นให้กับประชาชนในพื้นที่ เช่น กล้าพันธุ์ ปุ๋ยธรรมชาติ ที่ดินทำกิน
×
ส่งเสริมให้จัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยง/เพาะพันธุ์กล้าไม้พืชพลังงานในระดับหมู่บ้านและชุมชน โดยประชาชน/ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ
×
ยกระดับการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่มีสาขาวิชาและการเรียนการสอนด้านการเกษตรให้มีความเชี่ยวชาญและสร้างบุคลากรเฉพาะด้านพืชพลังงาน
×
ให้มีศูนย์ประสานฯ โดยเป็นส่วนงานภายใน ศอ.บต
2. กระบวนการกลางทาง
×
จัดตั้งศูนย์รวบรวมวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
×
ส่งเสริมให้สถาบันวิชาการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการแปรรูปสินค้า ผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีมาตรฐานเพื่อให้มีสินค้าและบริการจากหมู่บ้านและชุมชนในพื้นที่ไปสู่ตลาดสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งจัดตั้งกลุ่มอาชีพวิสาหกิจและสหกรณ์ของประชาชน
3. กระบวนการปลายทาง
×
จัดทำข้อเสนอการบริหารกิจการพลังงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยจะขอรับจัดสรรอัตราการผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
×
การกำหนดสัดส่วนการลงทุน โดยมีผู้ถือหุ้นร่วมกัน 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1) ประชาชน/กลุ่มอาชีพ/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์ของประชาชน ถือหุ้นอัตราไม่เกินร้อยละ 40 (ให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเป็นผู้ถือหุ้นแทนประชาชนไปก่อนจนกว่าประชาชนจะมีความเข้มแข็ง) 2) ภาคเอกชนในพื้นที่ที่มีศักยภาพและทำงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ถือหุ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 และ 3) กฟผ./กฟภ./บริษัทเอกชนนอกพื้นที่เป็นผู้ถือหุ้นในอัตราไม่เกินร้อยละ 30
×
ให้มีคณะกรรมการอำนวยการบริหารโครงการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
×
ให้จัดตั้ง “กองทุนพลังงานไฟฟ้าเพื่อประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยนำรายได้จากผลกำไรสุทธิไม่เกินร้อยละ 10 ของโรงไฟฟ้า มาเพื่อสนับสนุนทุนการศึกษา ทุนสร้างอาชีพให้กับประชาชน เป็นต้น
ระยะเวลาดำเนินการ : 5 ปี (ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการ)
ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น : จำนวน 19,764 ล้านบาท/5 ปี (3,952.80 ล้านบาท/ปี)
ทั้งนี้ ที่ประชุมที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้มีการจัดทำแนวทางการบริหารโครงการฯ และนำเสนอรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประธานกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ในขณะนั้น) พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ ศอ.บต. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการดังกล่าวตามขั้นตอน
13. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและการเปลี่ยนผ่านที่ครอบคลุมแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสว่าด้วยความร่วมมือในสาขาคมนาคมขนส่ง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนิเวศวิทยาและการเปลี่ยนผ่านที่ครอบคลุมแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสว่าด้วยความร่วมมือในสาขาคมนาคมขนส่ง (ร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงฯ) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการะทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสำหรับการลงนามดังกล่าว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงจากที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไปแล้ว หากการปรับเปลี่ยนไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ด้วย
สาระสำคัญของร่างปฏิญญาแสดงเจตจำนงฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือด้านการขนส่งบูรณาการการพัฒนาระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน การรักษาสิ่งแวดล้อม การรับมือกับผลกระทบจากการขนส่งหลายรูปแบบต่อมลภาวะทางอากาศ ซึ่ง คค. สามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยทั้งสองประเทศจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากร รวมถึงจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาระบบขนส่งอย่างยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป
โดยขอบเขตความร่วมมือ ประเทศผู้ลงนามจะเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลในสาขาการขนส่งอย่างยั่งยืน ดังนี้ (1) การขนส่งทางราง (ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า) (2) การขนส่งมวลชนในเมือง (รวมถึงรถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้ารางเบา รถประจำทางในเมือง รถกระเช้า) (3) การขนส่งด้วยเทคโนโลยีสะอาดและมาตรการส่งเสริมการดำเนินการดังกล่าว (4) การขนส่งหลายรูปแบบและโลจิสติกส์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งสินค้าทางน้ำ) (5) การขนส่งทางทะเล (6) ทางหลวงและความปลอดภัยทางถนน (7) การขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งประเทศผู้ลงนามทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกันและ (8) การใช้สัญญาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
14. เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5 ตามข้อ 2 เพื่อให้คณะผู้แทนไทย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนเป็นประธานฝ่ายไทย ใช้หารือกับฝ่ายบังกลาเทศ ทั้งนี้หากในการประชุมดังกล่าว มีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 2 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับบังกลาเทศ ให้คณะผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1. การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5 เป็นเวทีการประชุมหารือระดับรัฐมนตรีการค้าเกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับบังกลาเทศ และแนวทางจัดทำความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกันหรือเอื้อประโยชน์ต่อกัน ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้าน
ต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรม เกษตร ประมง บริการสุขภาพและสาธารณสุข และความเชื่อมโยงทางคมนาคม
2. กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมเตรียมการฝ่ายไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 เพื่อพิจารณาประเด็นที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันในการประชุม JTC ไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างวันที่ 8 – 9 มกราคม 2563 ณ กรุงเทพ โดยเห็นควรเสนอท่าทีไทย ดังนี้
2.1 การค้าและการลงทุน หารือแนวทางการส่งเสริมการค้าและการลงทุน รวมถึงการขจัดอุปสรรคทางการค้าสองฝ่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564
2.2 ความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย – บังกลาเทศ หารือเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย – บังกลาเทศ โดยให้สองฝ่ายแลกเปลี่ยนผลการศึกษาการจัดทำ FTA ระหว่างกัน
2.3 การให้สิทธิพิเศษในการยกเลิกภาษีนำเข้าและโควตา (DFOF) ไทยอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อต่ออายุโครงการ DFOF ที่จะหมดอายุลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 โดยจะมีการพิจารณาทบทวนรายการสินค้าและกฎหมายถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้โครงการดังกล่าว ซึ่งไทยจะนำสินค้าที่บังกลาเทศร้องขอเพิ่มเติมมาพิจารณาด้วย
2.4 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทยยินดีให้ความร่วมมือกับบังกลาเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตร ด้านการประมงและปศุสัตว์ ด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข การเชื่อมโยงทางคมนาคม
2.5 ในโอกาสเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์จะจัดกิจกรรมอื่น ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและบังกลาเทศ อาทิ การสัมมนาโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับบังกลาเทศ
15. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 และการกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. แต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ตามมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562
2. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คนร. จำนวน 5 คน ตามมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 ดังนี้
2.1 นายกานต์ ตระกูลฮุน
2.2 นางศุภจี สุธรรมพันธุ์
2.3 นายปรีดี ดาวฉาย
2.4 นายประสัณห์ เชื้อพานิช
2.5 นายเทวินทร์ วงศ์วานิช
สำหรับการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและกรมบัญชีกลาง) รับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. ให้ได้ข้อยุติ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งต่อไป
16. เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2563 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 นั้น
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติม คำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. ยกเลิกข้อ 4.1.5 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562
2. เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ 1.1.7 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 166/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562
“1.1.7 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ”
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงาน ป.ป.ท.)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ป.ป.ท. เสนอแต่งตั้ง
นายพุฒิพงษ์ เลิศสถิตย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ท. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ท. ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สังกัด ศอ.บต. จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. รับโอน
นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ศอ.บต.
2. แต่งตั้ง
นายชนธัญ แสงพุ่ม ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ศอ.บต.
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการตามข้อ 1. ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมการโอนด้วยแล้ว
19. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้ง
นายภาณุ จันทร์เจี้ยวใช้ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอให้กระทรวงยุติธรรมรับโอน
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษ (นักวิเคราะห์นโยบายและ แผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ซึ่ง ก.พ. ได้มีมติกำหนดให้เป็นตำแหน่งเพื่อการรับโอนนายชาญเชาวน์ฯ เป็นการเฉพาะราย ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนข้าราชการดังกล่าวแล้ว
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1.
นายนำพร บุญปราบ ผู้อำนวยการสำนัก 10 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
2.
นายสาโรจย์ ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการสำนัก 4 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบงานการข่าว (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
3.
นายปิยะ คงขำ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
22. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) จำนวน 2 คณะ ดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version)
2. คณะกรรมการอุปถัมภ์โครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของเรื่อง
วธ. รายงานว่า
1. รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (กรมการศาสนา) มหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) เพื่อถวายพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย และทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก โดยรัฐบาลจะเน้นการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนาสู่ประชาคมในเวทีโลก ซึ่งได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการดังกล่าวแล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 11 มิถุนายน 2562)
2. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานการหารือร่วมกันระหว่าง วธ. (กรมการศาสนา) พระพรหมบัณฑิต ผู้แทนมหาเถรสมาคม และศูนย์พหุภาษาการแปลและล่ามแห่งอาเซียน โดยศาสตราจารย์มณีรัตน์ สวัสดิวัฒน์ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน 2 คณะ ดังนี้
2.1 คณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) ประกอบด้วย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นประธานกรรมการ กรรมการมหาเถรสมาคม จำนวน 19 รูป เป็นกรรมการ และพระพรหมบัณฑิต เป็นกรรมการและเลขานุการ
2.2 คณะกรรมการอุปถัมภ์โครงการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2 ปลัดกระทรวง จำนวน 20 กระทรวง นายกราชบัณฑิตยสภา ผู้อำนวยการศูนย์พหุภาษาการแปลและล่ามแห่งอาเซียน เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม และมีกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการร่วมอีกจำนวน 4 ราย
โดยคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ ดังกล่าว มีหน้าที่สนับสนุนและให้คำแนะนำในการดำเนินงานจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) ตลอดจนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อให้การจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 26/2562 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่ประชุมได้เห็นชอบรายนามคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ (Tipitaka English Version) และให้ วธ. (กรมการศาสนา) นำเสนอคณะรัฐมนตรีดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ ต่อไป
………….