http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (3 ธันวาคม 2562) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2562 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2562 (พน.)
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของเครื่องพันธนาการที่ใช้แก่เด็กและเยาวชน พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการ ปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. ….
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุนและเงินชดเชยตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562)
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จำนวน 6 ฉบับ
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของสถานที่ และเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นประจำสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทาง วิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
รวม 4 ฉบับ
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จำนวน 2 ฉบับ
9. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมทาง หลวงชนบท ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วย ทางหลวง พ.ศ. ….
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทาน การประดับและกรณีที่ให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน สิทธิ บัตรประจำตัว และการเรียกเหรียญกับบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนคืน พ.ศ. ….
12. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเกี่ยวกับกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะตามมาตรา 7 (1) (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
13. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงที่ต้องจัดทำตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ
14. เรื่อง การยุบเลิกศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
15. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลและอำเภอที่ติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศแบบ C Band ชนิด Dual Polarization พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยงและหอเรดาร์ ที่สถานีเรดาร์ตรวจอากาศหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
16. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 และ วันที่ 7 ตุลาคม 2562
17. เรื่อง ขอผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามมิให้อนุญาตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน ในทุกกรณี เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ (เกาะพระทอง จังหวัดพังงา) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
18. เรื่อง การแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
19. เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ
20. เรื่อง แผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
21. เรื่อง สรุปมติประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2562
22. เรื่อง ผลิตภัณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว
23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคี อนุสัญญา
รอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 9 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 9
24. เรื่อง ร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ครั้งที่ 33
25. เรื่อง ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ 1
26. เรื่อง การขอความเห็นต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมเอเปค ประจำปี 2562
27. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองระดับสูงของการประชุมทบทวนระยะกลางของแผนปฏิบัติการเวียนนาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลสำหรับ ทศวรรษ ค.ศ. 2014 – 2024
28. เรื่อง การเข้าร่วม Nitric Acid Climate Action Group (NACAG) Initiative ของประเทศไทย
29. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติแทน ตำแหน่งที่ว่าง
31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548
32. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่ง ประเทศไทย
33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น ที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกีฬาในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยาองค์การในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2562 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2562 (พน.)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2562 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
โดยที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 จึงสมควรปรับปรุงคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งมีสาระสำคัญซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งให้ปรับปรุงคำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2562 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2562 สรุปการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.
ตัดข้อที่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและการดำเนินงานที่เกี่ยวกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงออก เนื่องจากมาตรา 54 ของพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ข้อกำหนดตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอันยกเลิก
2.
ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ดังนี้
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2562 |
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 (เดิม) |
(1) กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาและกำหนดราคาสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่าย ณ โรงกลั่นเพื่อใช้ในราชอาณาจักร หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร |
(1) กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร |
(2) กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณและค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง |
(2) กำหนดค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง |
(3) กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณและอัตรา สำหรับค่าขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง หรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง |
(3) กำหนดค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก๊าซ ณ คลังก๊าซ ตลอดจนกำหนดราคาขายก๊าซ ณ คลังก๊าซ เป็นราคาเดียวกันทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร |
|
(4) กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายให้แก่ประชาชน |
- |
(5) กำหนดชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้ได้รับเงินชดเชย
|
(4) กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาและกำหนดราคาสำหรับราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นหรือราคาขายปลีก |
(6) กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีก |
- |
(7) พิจารณากำหนดอัตราภาษีให้อยู่ในระดับ
ไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีต่ำสุดและไม่สูงกว่าอัตราภาษีสูงสุด |
(5) กำหนดให้โรงกลั่นแจ้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน |
(8) กำหนดให้โรงกลั่นแจ้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน |
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้ |
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้ |
(7) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย |
(10) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย |
3.
ตัดข้อกำหนด ข้อห้ามปฏิบัติในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซหุงต้มออก เนื่องจากมีสาระสำคัญอยู่ในพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องแล้ว
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของเครื่องพันธนาการที่ใช้แก่เด็กและเยาวชน
พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของเครื่องพันธนาการที่ใช้แก่เด็กและเยาวชน พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้เครื่องพันธนาการที่ใช้แก่เด็กและเยาวชนให้ใช้ได้เฉพาะสายรัดข้อมือและกุญแจมือ
2. กำหนดให้สายรัดข้อมือมีชนิดเดียว คือ สายรัดข้อมือพลาสติกขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด แบบตวัดรัดให้แน่นด้วยตัวเอง โดยใช้ปลายสายพลาสติกพันรอบข้อมือซ้ายและข้อมือขวา
3. กำหนดให้กุญแจมือมี 2 แบบ ได้แก่ กุญแจมือแบบห่วงทำด้วยโลหะมีฟันเฟืองโลหะระหว่างตัวห่วงโลหะทั้งสองข้างเชื่อมติดกันด้วยลูกโซ่โลหะ และกุญแจมือแบบห่วงทำด้วยโลหะมีฟันเฟืองโลหะระหว่างตัวล่วงโลหะทั้งสองข้างเชื่อมติดกันด้วยบานพับโลหะ
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการ
ลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. ….
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้
นักโทษเด็ดขาดซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความประพฤติดี มีความอุตสาหะ
มีความก้าวหน้าในการศึกษา และทำการงานเกิดผลดี หรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
อาจได้รับ
การพิจารณาเลื่อนชั้น การแต่งตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานเรือนจำ การลดวันต้องโทษจำคุก
การลดวันต้องโทษจำคุกลงอีกไม่เกินจำนวนวันที่ทำงานสาธารณะหรือทำงานอื่นใด เพื่อประโยชน์ของทางราชการนอกเรือนจำ
การพักการลงโทษ การฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการนอกเรือนจำหรือการรับการศึกษาอบรมนอกเรือนจำ โดยให้นำพฤติการณ์การกระทำความผิด ลักษณะความผิด ความรุนแรงของคดี และการกระทำความผิดที่ได้กระทำมาก่อนแล้ว มาประกอบการพิจารณาให้ประโยชน์ในแต่ละกรณีด้วย
2. กำหนดให้
การเลื่อนชั้นนักโทษเด็ดขาดกรณีปกติ ให้เลื่อนตามลำดับชั้นครั้งละหนึ่งชั้น และ
ให้ผู้บัญชาการเรือนจำดำเนินการเลื่อนชั้นนักโทษเด็ดขาดกรณีปกติตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
2.1 นักโทษเด็ดขาดซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปีและต้องโทษจำคุกเพียงคดีเดียว
ให้เลื่อนชั้นได้ปีละสามครั้ง คือ ในวันสิ้นเดือนเมษายนครั้งหนึ่ง ในวันสิ้นเดือนสิงหาคมครั้งหนึ่ง และในวันสิ้นเดือนธันวาคมอีกครั้งหนึ่ง
2.2 นักโทษเด็ดขาดซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกเกินกว่าสามปีหรือต้องโทษจำคุกหลายคดี
ให้เลื่อนชั้นได้ปีละสองครั้ง คือ ในวันสิ้นเดือนมิถุนายนครั้งหนึ่งและในวันสิ้นเดือนธันวาคมอีกครั้งหนึ่ง
3. กำหนดให้
กรณีมีความจำเป็นต้องแต่งตั้งนักโทษเด็ดขาดให้มีตำแหน่งหน้าที่ผู้ช่วยเหลือ
เจ้าพนักงานเรือนจำในกิจการเรือนจำ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด ซึ่งการคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด
ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด ดังนี้
3.1 อัตราส่วนของนักโทษเด็ดขาดซึ่งผู้บัญชาการเรือนจำจะแต่งตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่
ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานเรือนจำต้องไม่เกินร้อยละสามของจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ
3.2 มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม เว้นแต่มีนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมไม่เพียงพอให้แต่งตั้งจากนักโทษเด็ดขาดชั้นดีมากหรือชั้นดีตามลำดับ
(ข) เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยงานเจ้าพนักงานเรือนจำเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
(ค) ไม่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัยหรือมีประวัติถูกลงโทษทางวินัยหรือ
เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานเรือนจำหรือผู้ช่วยงานเจ้าพนักงานเรือนจำ
(ง) ไม่เป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งกระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ หรือเป็นอาชญากรโดยอาชีพ หรือเป็นผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดให้โทษที่เข้าข่ายรายสำคัญ และมีอิทธิพลตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
4.
กำหนดให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดมาแล้วไม่น้อยกว่า
หกเดือนหรือหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามหมายศาลในขณะนั้นแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า หรือไม่น้อยกว่า
สิบปีในกรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตที่มีการเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา
อาจได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกตามชั้นและตามจำนวนวัน ได้แก่ ชั้นเยี่ยม เดือนละห้าวัน ชั้นดีมาก เดือนละสี่วัน และ
ชั้นดี เดือนละสามวัน
5. กำหนดให้
นักโทษเด็ดขาดซึ่งถูกส่งออกไปทำงานสาธารณะหรือทำงานอื่นใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการนอกเรือนจำ
ให้ได้รับการลดวันต้องโทษคำคุกลงเท่าจำนวนวันที่ทำงานนั้น และคณะอนุกรรมการ
เพื่อพิจารณาคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดที่จะสั่งให้ออกไปทำงานสาธารณะ หรือทำงานอื่นใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการนอกเรือนจำ
อาจกำหนดให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์อื่นใดเพื่อสนับสนุนการควบคุมตัวนักโทษเด็ดขาดก็ได้
6.
กำหนดให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดมาแล้วไม่น้อยกว่า
หกเดือนหรือหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามหมายศาลในขณะนั้นแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า หรือไม่น้อยกว่า
สิบปีในกรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตที่มีการเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา อาจได้รับการ
พักการลงโทษ
7.
กำหนดให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในขณะนั้น และเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปีหกเดือน
อาจได้รับอนุญาตให้ออกไป
ฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการนอกเรือนจำ และผู้บัญชาการเรือนจำอาจกำหนดให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดเพื่อสนับสนุนการควบคุมตัวนักโทษเด็ดขาดผู้นั้นก็ได้
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุนและเงินชดเชยตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินสนับสนุนและเงินชดเชยตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้เงินสนับสนุนและเงินชดเชยที่ผู้มีเงินได้ได้รับตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ อันเนื่องมาจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ทั้งนี้ กค. รายงานว่า การเสนอร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะทำให้รัฐอาจสูญเสียรายได้จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 5,500 ล้านบาท แต่ประโยชน์ที่จะได้รับจากการยกเว้นภาษีดังกล่าวจะทำให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัว อันเป็นผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจัดเก็บรายได้ภาษีอากร และส่งเสริมภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จำนวน 6 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง รวม 6 ฉบับ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองได้ภายในกำหนดระยะเวลาตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวงรวม 6 ฉบับ มีสาระสำคัญดังนี้
ร่างกฎกระทรวง |
สาระสำคัญ |
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. .... |
กำหนดให้เครื่องกำเนิดรังสีดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
(1) เครื่องกำเนิดรังสีที่มีลักษณะปิดมิดชิด สำหรับงานวิเคราะห์หรืองานตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางด้านการศึกษาวิจัย ด้านการเกษตรกรรม ด้านการอุตสาหกรรม และด้านความมั่นคงปลอดภัย
(fully enclosed radiation generator for analysis or inspection related to research and development, agriculture, industry, and security)
(2) เครื่องฉายรังสีทางชีวภาพโดยวิธีเอกซเรย์กำลังต่ำในลักษณะที่ปิดมิดชิด (fully enclosed low-energy x-ray biological irradiator)
(3) เครื่องเอกซเรย์ตรวจกระเป๋า (baggage inspection x-ray unit) รวมถึงเครื่องถ่ายภาพรังสีโดยอาศัยการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์
(4) เครื่องเอกซเรย์กระเจิงกลับแบบมือถือสำหรับงานรักษาความปลอดภัย (handheld backscatter x-ray security inspection unit)
(5) เครื่องเอกซเรย์สำหรับงานวิเคราะห์แบบมือถือหรือพกพา (Handheld or portable x-ray analysis unit)
(6) เครื่องวัดทางอุตสาหกรรมด้วยรังสีเอกซ์แบบติดตั้งอยู่กับที่ (fixed industrial x-ray gauges)
(7) หลอดเอกซเรย์ หรือหลอดเอกซเรย์พร้อมเรือนหลอด (tube housing) ของเครื่องกำเนิดรังสีตามรายการข้างต้น |
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาในการแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี
พ.ศ. .... |
- กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลาในการแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 26/2 วรรคหนึ่ง ต้องยื่นคำขอแจ้งการครอบครองหรือใช้ต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีดังกล่าว
(2) กำหนดให้ในกรณีก่อนการใช้งานเครื่องกำเนิดรังสีครั้งแรก และทุก ๆ สองปีตลอดที่มีการใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี ผู้แจ้งต้องยื่นสำเนารายงานผลการประเมินความปลอดภัยที่ผ่านมาตรฐานจากหน่วยงานที่สำนักงานประกาศรับรองภายในสามสิบวันหลังจากวันที่ได้รับผลการตรวจ
(3) กำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีที่ประสงค์จะยกเลิกการครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามที่ได้แจ้งไว้จะต้องดำเนินการตามที่กำหนด เช่น การจัดการเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่งออกเครื่องกำเนิดรังสี จำหน่ายหรือส่งต่อให้ผู้ที่ประสงค์จะครอบครองหรือใช้รายอื่น |
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. .... |
- กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสี หรือผู้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยทางรังสีของสถานประกอบการของผู้รับใบอนุญาต ทั้งในกรณีการปฏิบัติงานปกติและเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินทางรังสีโดยมีหลักการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีดังต่อไปนี้
(1) สถานประกอบการที่ใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภท 1 และเครื่องกำเนิดรังสี ประเภท 1 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีอยู่ประจำตลอดเวลาที่ใช้วัสดุกัมมันตรังสีหรือเครื่องกำเนิดรังสีนั้น
(2) สถานประกอบการที่ใช้วัสดุกัมมันตรังสีประเภท 2 3 และ 4 และเครื่องกำเนิดรังสีประเภท 2 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีที่พร้อมปฏิบัติหน้าที่เมื่อเรียกหา ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวอาจมีลักษณะเป็น
การถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพได้ |
4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... |
- กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านวัสดุนิวเคลียร์ ต้องจัดให้มีหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์อย่างน้อยหนึ่งคนประจำสถานที่ทำการของผู้รับใบอนุญาต
(2) ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของสถานที่ทำการของผู้รับใบอนุญาต จะต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลาที่เปิดทำการ
(3) ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของสถานที่ทำการของผู้รับใบอนุญาตจะต้องพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำตลอดเวลาที่เปิดทำการ
(4) ผู้รับใบอนุญาตอาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์หนึ่งคนทำหน้าที่ควบคุมดูแลทั้งความปลอดภัย ความมั่นคงปลอดภัย และการพิทักษ์ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ก็ได้ |
5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ พ.ศ. .... |
- กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ดังต่อไปนี้
(1) สถานที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการผลิตพลังงาน แต่ไม่รวมถึงยานหาพนะที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการผลิตพลังงานสำหรับการขับเคลื่อน
(2) สถานที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย |
6. ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีสำหรับเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. .... |
- กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีเพื่อให้ผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามมาตรา 26/2 ต้องปฏิบัติ โดยกำหนดให้ความปลอดภัยทางรังสี หมายถึง การป้องกันประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากความเสี่ยงทางรังสี และความปลอดภัยของสถานประกอบการหรือกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากรังสี ทั้งที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามปกติและเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใด ๆ อันอาจคาดหมายได้ |
|
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีให้ผู้แจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามมาตรา 26/2 ต้องปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การดำเนินการด้านควบคุมความปลอดภัยทางรังสี โดยต้องจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยทางรังสี อุปกรณ์ เครื่องใช้ เช่น การจัดให้มีอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลที่เหมาะสมกับชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน
(2) สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี เช่น ต้องติดตั้งเครื่องหมายสัญลักษณ์ทางรังสีที่เห็นได้ชัดเจนที่จุดทางเข้าพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตรา เครื่องกำเนิดรังสีและตำแหน่งอื่นที่เหมาะสม
(3) ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี เช่น ห้ามไม่ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบหกปี เข้าไปในพื้นที่ควบคุมและพื้นที่ตรวจตราหรือปฏิบัติงานใด ๆ เกี่ยวกับรังสี
(4) จำกัดปริมาณรังสี (dose limit) เช่น การควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ได้รับรังสีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้อย่างสมเหตุสมผลตามมาตรฐานการปฏิบัติงานนั้น ๆ และต้องได้รับรังสีไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ในร่างกฎกระทรวงนี้ |
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของสถานที่ และเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นประจำสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะของสถานที่ และเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่จำเป็นประจำสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้ที่ตั้งของสถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ต้องสะอาด ปราศจาก
สิ่งรกรุงรัง หรือแหล่งสะสมของขยะ เชื้อโรค สัตว์พาหะ ฝุ่นละออง และมลพิษ หากที่ตั้งของสถานที่ดำเนินการเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ ไม่มีเส้นทางการคมนาคม ไม่สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคที่จำเป็นได้ อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด เป็นพื้นที่ใกล้กับแหล่งที่มาของเชื้อโรค มลพิษ เสียง ความสั่นสะเทือน หรือมีลักษณะอื่นใดที่อาจทำให้ไม่เหมาะสมต่อการดำเนินการ ให้ผู้รับผิดชอบสถานที่ดำเนินการชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการตั้งสถานที่ดำเนินการนั้น พร้อมแผนหรือมาตรการจัดการ
2. กำหนดให้สถานที่ดำเนินการต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ (1) ลักษณะงานทางวิทยาศาสตร์ (2) ประเภท ชนิด สายพันธุ์ จำนวน และพฤติกรรมของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (3) วิธีการเลี้ยงหรือระบบการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (4) การป้องกันการติดเชื้อ การควบคุมสภาพแวดล้อม
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สารพิษ มลพิษ จากการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และ
(5) เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. กำหนดให้สถานที่ดำเนินการสำหรับสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประเภทสัตว์ทดลองต้องมีระบบการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ระบบอนามัยเข้ม (Strict Hygienic Conventional System) ระบบปลอดเชื้อก่อโรคจำเพาะ (Specified Pathogen Free System) ระบบปลอดเชื้อสมบูรณ์ (Germ Free System) และระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ (Animal Biosafety) ระบบใดระบบหนึ่งหรือ
หลายระบบ
4. สถานที่ดำเนินการต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้บุคคล ยานพาหนะ ที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงสิ่งรบกวนและสัตว์อื่นเข้าไปภายในสถานที่หรือบริเวณต้องห้าม และไม่ให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้หลุดออกไปภายนอกได้
5. เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินการต่อสัตว์ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ประจำสถานที่ดำเนินการต้องมีลักษณะและจำนวนที่เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยง หรือระบบการเลี้ยง ประเภท ชนิด จำนวนของสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ และลักษณะของงานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
6. กำหนดให้ผู้รับผิดชอบสถานที่ดำเนินการต้องจัดให้มีการประเมินความเสี่ยง แผนจัดการความเสี่ยง และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือภัยธรรมชาติไว้ให้ชัดเจน และมีการซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 รวม 4 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงการจดแจ้งและการออกใบรับจดแจ้งเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
2. ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวงการแจ้งรายการละเอียดและการออกใบรับแจ้งรายการละเอียดเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวง |
สาระสำคัญ |
ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 |
(1) กำหนดให้ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าที่ประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ให้ยื่นคำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมด้วยหนังสือรับรองความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตหรือเจ้าผลิตภัณฑ์ฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์และเอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่กำหนดในแบบคำขอ
(2) เมื่อผู้อนุญาตได้รับคำขอแล้ว ให้ตรวจสอบคำขอ เอกสารและหลักฐานที่ผู้ยื่นคำขอส่งมอบ หากครบถ้วน ถูกต้องและชำระค่าธรรมเนียมใบรับจดแจ้งตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยเรื่องกำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์แล้วให้ออกใบรับจดแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
(3) คำขอจดแจ้งหรือรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(4) การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 2 |
(1) กำหนดให้ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าที่ประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ให้ยื่นคำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์พร้อมด้วยฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ และเอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่กำหนดในแบบคำขอ
(2) ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อผู้อนุญาตก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอ โดยการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้กระทำโดยวิธีสลักหลังใบอนุญาตหรือจะออกใบอนุญาตให้ใหม่ก็ได้
(3) ในกรณีที่ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้รับอนุญาตในใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์หรือใบจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ตามกรณีที่กำหนด ได้แก่ (1) ชื่อผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (2) ชื่อหรือที่ตั้งสถานที่ผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ให้ถือว่าผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์นั้น ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้รับอนุญาตในใบอนุญาตดังกล่าวนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบจดทะเบียนสถานประกอบการ
(4) ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้รับอนุญาตในกรณีอื่นๆ นอกจากข้างต้น ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดใบแบบคำขอ โดยการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข จะแสดงไว้ในท้ายคำขอหรือใบแนบท้ายใบอนุญาตหรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตทราบก็ได้
(5) ในกรณีที่ใบอนุญาตชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต โดยให้ส่งคืนใบอนุญาตฉบับเดิมที่ชำรุดหรือยื่นหลักฐานการแจ้งความกรณีสูญหายหรือถูกทำลายด้วย แล้วแต่กรณี โดยใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์หรือแบบใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ แล้วแต่กรณี และให้มีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ที่ด้านหน้าด้วย
(6) คำขออนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือรายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
(7) การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(8) กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ใบอนุญาตที่ออกให้ก่อนวันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ และคำขอใดๆ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้อนุญาต ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลม ในกรณีที่คำขอดังกล่าวมีข้อแตกต่างไปจากคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อให้
การเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ |
ร่างกฎกระทรวงตามข้อ 3 |
(1) กำหนดให้ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ให้ยื่นคำขอแจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ พร้อมด้วยฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์และเอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่กำหนดในแบบคำขอ
(2) ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียด ให้ยื่นคำร้องขอต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียด ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียดก่อนวันที่ใบรับแจ้งรายการละเอียดสิ้นอายุ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอ โดยการอนุญาตให้ต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียด ให้กระทำโดยวิธีสลักหลังใบรับแจ้งรายการละเอียดหรือจะออกใบรับแจ้งรายการละเอียดให้ใหม่ก็ได้
(3) ในกรณีที่ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้รับอนุญาตในใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์หรือใบจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ตามกรณีที่กำหนด ได้แก่ (1) ชื่อผู้จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ (2) ชื่อหรือที่ตั้งสถานที่ผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ ให้ถือว่าผู้แจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์นั้นได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้แจ้งไว้ในใบรับแจ้งรายการละเอียดดังกล่าวนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบจดทะเบียนสถานประกอบการ
(4) ผู้แจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้แจ้งไว้ในกรณีอื่นๆ นอกจากข้างต้น ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้แจ้งรายการผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในแบบคำขอโดยการอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข จะแสดงไว้ในท้ายคำขอหรือใบแนบท้ายใบรับแจ้งรายการละเอียด หรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับแจ้งรายการละเอียดทราบก็ได้
(5) ในกรณีที่ใบรับแจ้งรายการละเอียด ชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้แจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ยื่นคำขอรับใบแทนใบรับแจ้งรายการละเอียดต่อผู้อนุญาต โดยให้ส่งคืนใบรับแจ้งรายการละเอียดฉบับเดิมที่ชำรุดหรือยื่นหลักฐานการแจ้งความกรณีสูญหายหรือถูกทำลายด้วย แล้วแต่กรณี โดยใบแทนใบรับแจ้งรายการละเอียด ให้ใช้แบบใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตเครื่องมือแพทย์หรือแบบใบรับแจ้งรายการละเอียดนำเข้าเครื่องมือแพทย์แล้วแต่กรณี และให้มีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ที่ด้านหน้าด้วย
(6) คำขอแจ้งรายการละเอียด ใบแจ้งรายการละเอียด คำขอต่ออายุใบรับแจ้งรายการละเอียด คำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบรับแจ้งรายการละเอียดหรือรายการ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และคำขอรับใบแทนใบรับแจ้งรายการละเอียดให้เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(7) การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ หรือด้วยวิธีการอื่นใด
ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(8) กำหนดบทเฉพาะกาล ให้ใบรับแจ้งรายการละเอียดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ออกให้ก่อนวันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ และคำขอใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่าง
การพิจารณาของผู้อนุญาต ให้ถือว่าเป็นคำขอตามกฎกระทรวงนี้โดยอนุโลมในกรณีที่คำขอดังกล่าวมีข้อแตกต่างไปจากคำขอตามกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ |
ร่างกฎกระทรวง
ตามข้อ 4 |
ค่าธรรมเนียม
ตามร่างกฎกระทรวงฯ
(ฉบับละ/บาท) |
ค่าธรรมเนียมท้าย
พระราชบัญญัติฯ
(ฉบับละ/บาท) |
ให้กำหนดค่าธรรมเนียม อาทิ
(1) ใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิต
(2) ใบจดทะเบียนสถานประกอบการนำเข้า
(3) ใบอนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์
(4) ใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์
(5) ใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์
ฯลฯ |
2,000
4,000
10,000
20,000
1,000
ฯลฯ |
10,000
20,000
100,000
200,000
10,000
ฯลฯ |
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จำนวน 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (ปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผลิตยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2546)
1.1 ปรับปรุงการกำหนดขั้นตอนและหลักฐานในการยื่นขอใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน
1.2 กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้รับใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันต้องดำเนินการ
1.2.1 จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการผลิตยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและรายการประจำปีเกี่ยวกับการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
1.2.2 จัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตยา และกระจายยาตามลักษณะและจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1.2.3 ดำเนินการผลิตยาและกระจายยาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน การผลิตยาและการกระจายยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1.2.4 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำรับรองตามที่ให้ไว้ในทะเบียนตำรับยาของตน
1.3 เพิ่มเงื่อนไขในการต่ออายุใบอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน โดยกำหนดให้ผู้อนุญาตจะพิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่า
1.3.1 ผู้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 14
1.3.2 ไม่ผ่านการตรวจประเมินสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจประเมินสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1.3.3 ไม่ผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกระจายยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1.4 กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาสามารถเพิ่มสถานที่เก็บยาได้
2.
ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (ปรับปรุงกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510)
2.1 กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดลักษณะและจำนวนอุปกรณ์ และสถานที่ที่ใช้ในการเก็บรักษายา
2.2 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
2.2.1 นำหรือสั่งยาจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิตยาแผนปัจจุบัน หรือได้มาตรฐานทัดเทียมกัน
2.2.2 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บรักษายา และ
การกระจายยา
2.2.3 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำรับรองที่ให้ไว้ในทะเบียนตำรับยาของตน
2.2.4 รายงานการส่งออกยาไปนอกราชอาณาจักร
2.3 เพิ่มเงื่อนไขในการต่ออายุใบอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักร โดยกำหนดให้ผู้อนุญาตจะพิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่า
2.3.1 ผู้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 14
2.3.2 ไม่ผ่านการตรวจประเมินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บรักษายาและการกระจายยาแผนปัจจุบันที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2.4 ปรับปรุงแบบท้ายกฎกระทรวงให้เหมาะสมและสอดคล้องกัน
9. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมทางหลวงชนบท ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมทางหลวงชนบท ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
กำหนดลักษณะ ชนิด และประเภทของเครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมทางหลวงชนบท ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. …. เพื่อยกเลิกคดีพิเศษที่ต้องดำเนินการตามที่กำหนดในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ รวม 13 คดีความผิด
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ยกเลิกคดีความผิดทางอาญาที่กำหนดเพิ่มเติมในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติม ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 จำนวน 5 คดีความผิด ดังนี้
คดีความผิดอาญาตามกฎกระทรวงฯ |
คดีความผิดอาญาตามร่างกฎกระทรวงฯ ที่ ยธ. เสนอ |
(1) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
(2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
(4) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(5) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
(6) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(7) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(8) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(9) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(10) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(11) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
(12) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
(13) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
(14) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(15) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(16) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(17) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(18) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(19) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน |
(1) คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร
(2) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต
(4) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(5) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ
(6) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(7) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(8) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(9) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่
(10) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(11) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
(12) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
(13) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยา
(14) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(15) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(16) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(17) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
(18) คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(19) คดีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน |
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทาน การประดับและกรณีที่ให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน สิทธิ บัตรประจำตัว และการเรียกเหรียญกับบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนคืน พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทาน
การประดับและกรณีที่ให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน สิทธิ บัตรประจำตัว และการเรียกเหรียญกับบัตรประจำตัว
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนคืน พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงกลาโหมรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
เป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทาน การประดับ และกรณีที่ให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน สิทธิ บัตรประจำตัว และการเรียกเหรียญกับบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนคืน พ.ศ. 2512 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ วิธีการ และเงื่อนไขการขอพระราชทานการประดับและกรณีให้ประดับเหรียญพิทักษ์เสรีชน สิทธิ บัตรประจำตัว และการเรียกเหรียญกับบัตรประจำตัวผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนคืน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์เสรีชน
พ.ศ. 2512 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเหรียญพิทักษ์เสรีชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งจะทำให้การขอพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชนครอบคลุมถึงผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การปฏิบัติการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติในต่างประเทศ หรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ
12. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเกี่ยวกับกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะตามมาตรา 7 (1) (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวม 3 ฉบับ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ ทั้ง 3 ฉบับ
1.
ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง กิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการถนน ทางหลวง ทางพิเศษ และการขนส่งทางถนน พ.ศ. …. ได้กำหนดกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการถนน ทางหลวง ทางพิเศษ และการขนส่งถนน
ตามมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ดังนี้
1.1 ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
การดำเนินกิจการทางถนน ทางหลวง ทางพิเศษ
(1) ที่พักริมทาง
(2) ระบบควบคุมการเก็บเงินค่าใช้ทาง
(3) ระบบการสื่อสาร
(4) ระบบการควบคุมการจราจร
1.2 ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ
การดำเนินกิจการการขนส่งทางถนน
(1) สถานีขนส่งผู้โดยสาร
(2) สถานีขนส่งสัตว์และหรือสิ่งของ
(3) อู่ซ่อมรถและบริการซ่อมรถ
(4) การพัฒนาระบบตั๋วร่วม
2.
ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง กิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการรถไฟ รถไฟฟ้า และการขนส่งทางราง พ.ศ. …. ได้กำหนดกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการรถไฟ รถไฟฟ้า และการขนส่งทางราง ตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ดังนี้
2.1 ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการรถไฟ รถไฟฟ้า
(1) ระบบควบคุมการเดินรถ
(2) ระบบการสื่อสาร
(3) ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร
(4) ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าขับเคลื่อน
(5) ศูนย์ซ่อมบำรุง
(6) สถานที่จอดยานพาหนะของผู้โดยสาร
2.2 ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการการขนส่งทางราง
(1) สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง
(2) ย่านกองเก็บตู้สินค้า ลานบรรทุกตู้สินค้า
(3) การพัฒนาระบบตั๋วร่วม
3.
ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ เรื่อง กิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการท่าเรือและการขนส่งทางน้ำ พ.ศ. …. ได้กำหนดกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการท่าเรือและการขนส่งทางน้ำ ตามมาตรา 7 (4) แห่ง พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ดังนี้
3.1 ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการท่าเรือ
(1) โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่งโดยระบบคอนเทนเนอร์นอกเขตทำเนียบท่าเรือ
(2) สถานีตรวจและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก
(3) ท่าเรือบก
(4) การใช้เรือลากจูง
(5) การยกตู้สินค้าโดยปั้นจั่นยกตู้สินค้า
(6) คลังสินค้า โรงเก็บรักษาสินค้า ลานวางตู้สินค้า
3.2 ให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการการขนส่งทางน้ำ
(1) อู่เรือ
(2) การพัฒนาระบบตั๋วร่วม
13. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงที่ต้องจัดทำตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 1. ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ….
2. ร่างกฎกระทรวงการงดหรือลดเบี้ยปรับ พ.ศ. …. 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใน
การคำนวณมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ พ.ศ. …. รวมจำนวน 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง จำนวน 3 ฉบับ
ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ดังกล่าว กำหนดขึ้นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นผู้จัดเก็บภาษีนำไปปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท งดเบี้ยปรับของภาษีที่ค้างชำระกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมาย รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการคำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.
ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ….
1.1
กำหนดให้ลดภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 50 ดังต่อไปนี้
1.1.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาได้มาทางมรดก โดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทั้งนี้ ต้องได้รับโอนมรดกและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมก่อนวันที่ 13 มีนาคม 2562
1.1.2 ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตไฟฟ้า และโรงผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตไฟฟ้า
1.2
กำหนดให้ลดภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 90 ดังต่อไปนี้
1.2.1 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอสังหาริมทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น สถาบันการเงินประชาชน บริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นเวลา
ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของหน่วยงาน
1.2.2 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นโครงการจัดสรรเพื่ออยู่อาศัยหรืออุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินดังกล่าว
1.2.3 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดดังกล่าว
1.2.4 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว
1.2.5 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน กฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรือกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแล้ว ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ขายเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562
1.2.6 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในกิจการของสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในกิจการของโรงเรียน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
1.2.7 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานที่ให้บริการแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ได้แก่ เล่นกีฬา สวนสัตว์ สวนสนุกที่มีเครื่องเล่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
1.2.8 ที่จอดรถของการรถไฟฟ้า ที่ดินที่เป็นลานจอดรถสาธารณะในสถานีขนส่งผู้โดยสาร ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ตั้งของถนนหรือทางยกระดับ ที่เป็นทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือเป็นทางหลวงสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงสัมปทาน
2.
ร่างกฎกระทรวงการงดหรือลดเบี้ยปรับ พ.ศ. …. เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการของดเบี้ยปรับของภาษีที่ค้างชำระสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมาย
3.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ พ.ศ. …. เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด ดังนี้
3.1
กรณีที่ดิน
3.1.1 ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส. 3 ก.) ให้พนักงานประเมินเทียบเคียงราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินกับแปลงที่ดินใกล้เคียงที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน
3.1.2 ที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินอื่น หรือที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้พนักงานประเมินใช้ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินรายเขตปกครองกรมธนารักษ์หรือสำนักงานกรมธนารักษ์พื้นที่จัดส่งให้เป็นฐานในการคำนวณภาษีของที่ดิน
3.2
กรณีสิ่งปลูกสร้าง ให้พนักงานประเมินใช้ราคาสิ่งปลูกสร้างตามบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างที่กรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่จัดส่งให้ เป็นฐานในการคำนวณภาษีของสิ่งปลูกสร้าง และกรณีไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างให้พนักงานประเมินเทียบเคียงราคาประเมินทุนทรัพย์ของสิ่งปลูกสร้างตามบัญชีเทียบเคียงสิ่งปลูกสร้างที่กรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่จัดส่งให้
3.3
กรณีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะอื่นซึ่งไม่สามารถเทียบเคียงตามบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ให้พนักงานประเมินแจ้งให้เจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวนำส่งเอกสารหรือหลักฐานแสดงมูลค่าสิ่งปลูกสร้างเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดราคาของสิ่งปลูกสร้างต่อ อปท.
14. เรื่อง การยุบเลิกศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอการยุบเลิกศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อ อว. จะได้ดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการยุบเลิกศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เนื่องจากศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ไม่มีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ ตามรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2557 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีความเห็นว่า ควรยุบเลิกบัญชีเงินฝากของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ซึ่งได้มีการปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าวไปแล้ว และในปัจจุบันศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์มิได้มีรายได้จากการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนของบุคลากรเบิกจ่ายจากงบเงินอุดหนุนในความรับผิดชอบของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่แล้ว การยุบเลิกหน่วยงานจึงไม่ส่งผลต่อการเงินและงบประมาณในภาพรวมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นชอบ
15. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลและอำเภอที่ติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศแบบ C Band ชนิด Dual Polarization พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยงและหอเรดาร์ ที่สถานีเรดาร์ตรวจอากาศหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลและอำเภอที่ติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศแบบ C Band ชนิด Dual Polarization
1 พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยงและหอเรดาร์ ที่สถานีเรดาร์ตรวจอากาศหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
จากเดิม ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
เป็น สถานีเรดาร์ตรวจอากาศหาดใหญ่
ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลและอำเภอที่ติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศแบบ C Band ชนิด Dual Polarization พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยงและหอเรดาร์ ที่สถานีเรดาร์ตรวจอากาศหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
จากเดิม ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
เป็นสถานีเรดาร์ตรวจอากาศหาดใหญ่
ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เนื่องจากมีการแจ้งชื่อตำบลและอำเภอคลาดเคลื่อน โดยจะดำเนินการติดตั้งเครื่องเรดาร์เพื่อทดแทนหอเรดาร์เดิมในพื้นที่เดิม โดยสำนักงบประมาณได้เห็นชอบความเหมาะสมของราคาครุภัณฑ์ ในวงเงิน 147.73 ล้านบาท ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2563 โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแล้ว จำนวน 30.26 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 117.47 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวงเงินเดิมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ (158.8 ล้านบาท)
_____________________________
1 เรดาร์ตรวจอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อนที่ของเมฆและพายุ เพื่อใช้ประกอบการพยากรณ์อากาศ
16. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 และวันที่ 7 ตุลาคม 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
1. อนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ ครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 และวันที่ 7 ตุลาคม 2562
จากเดิมกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 โดยขอขยายระยะเวลาดำเนินการ
ออกไปถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่กระทรวงการคลัง (กค.) อนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณรายการนี้
2. อนุมัติหลักการให้นำงบประมาณที่เหลือจากการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติครัวเรือนละ 5,000 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 และวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ไปใช้ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติที่อาจะเกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๆเช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก เป็นต้น โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเช่นเดียวกันกับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติใน
ครั้งนี้
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติครัวเรือนละ 5,000 บาทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565 และวันที่ 7 ตุลาคม 2562 ที่อนุมัติในหลักการกรอบวงเงินงบประมาณ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีอุทกภัยจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ. 2561 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 418,480 ครัวเรือน วงเงิน 2,092.40 ล้านบาท ใน 32 จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัน โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสินซึ่งกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 โดย มท. ได้แจ้งว่าการดำเนินการดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นและไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามเวลาที่กำหนดจึงขอขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งกระทรวงการคลังอนุมัติให้ขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณนี้รวมทั้งขออนุมัติหลักการให้นำงบประมาณที่เหลือจากการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวไปใช้ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติที่อาจะเกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๆเช่น ภาคใต้ภาคตะวันออก เป็นต้น โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเช่นเดียวกับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติในครั้งนี้ ซึ่งผลการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
|
- ไม่มีครัวเรือนเสียหายตามหลักเกณฑ์
|
ธนาคารออมสินโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์สำเร็จใน28 จังหวัด จำนวน 49,352 ครัวเรือน เป็นเงิน 246.76 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ดำเนินการครบถ้วนแล้วใน 7 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดกระบี่ 2) จังหวัดเชียงใหม่ 3)
จังหวัดน่าน 4 ) จังหวัดเพชรบูรณ์ 5) จังหวัดแพร่ 6) จังหวัดเลย และ 7) จังหวัดสุโขทัย
- มีข้อมูลที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 4,625 ครัวเรือน ใน 21 จังหวัด
- ธนาคารออมสินส่งคืนข้อมูล เนื่องจากผู้ประสบภัยไม่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน/ ไม่มีบัญชีธนาคารออมสิน/บัญชีธนาคารถูกปิด จำนวน 5,499 ครัวเรือน ใน 10 จังหวัด |
จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- จังหวัดหนองบัวลำภู
- จังหวัดสระแก้ว
- จังหวัดชัยภูมิ
|
17. เรื่อง ขอผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามมิให้อนุญาตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน ในทุกกรณี เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ (เกาะพระทอง จังหวัดพังงา) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 (เรื่อง การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเรื่องการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการอำเภอคุระบุรี แปลงที่ 1 (เกาะพระทอง) บริเวณท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะพระทอง จังหวัดพังงา
2. ให้กระทรวงมหาดไทย กำกับ ดูแลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทน ไม่น้อยกว่า 20 เท่า ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณีการดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน พ.ศ. 2556 ด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
เรื่องนี้เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงเกาะพระทอง จังหวัดพังงาด้วย แต่โดยที่พื้นที่ดำเนินการตามโครงการฯ บางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าชายเลน โครงการอำเภอคุระบุรี แปลงที่หนึ่ง บริเวณท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ห้ามมิให้อนุญาตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณี ทั้งภาครัฐและเอกชน กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างระบบจำหน่ายด้วยว่าการวางสายเคเบิลใต้น้ำระบบ 33,000 โวลต์ ความยาว 4 กิโลเมตร จากท่าเทียบเรือบ้านทุ่งละออง (ฝั่งจังหวัดพังงา) ไปยังท่าเทียบเรือบ้านทุ่งดาบ (ฝั่งเกาะพระทอง) จังหวัดพังงา ซึ่งกระทรวงมหาดไทยแจ้งว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นว่า บริเวณดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนโครงการอำเภอคุระบุรีแปลงที่ 1 (เกาะพระทอง) บริเวณท้องที่ หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้วเห็นชอบและอนุญาตให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้พื้นที่ดังกล่าวแล้ว โดยขอให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบมติคณะรัฐมนตรี และข้อเสนอแนะในการอนุญาตใช้พื้นที่และการบริหารจัดการโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ได้ชี้แจงการดำเนินงานตามความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่น การจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นการค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 20 เท่าของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้เป็นประโยชน์ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจัดสรรเงินรายได้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อดำเนินการ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของสำนักงบประมาณ
18. เรื่อง การแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไปตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน (สคจ.) ซึ่งได้เดินทางมาชุมนุมบริเวณถนนลูกหลวง (ข้างกระทรวงศึกษาธิการ) ตั้งแต่วันที่ 6 - 23 ตุลาคม 2562 จำนวนประมาณ 400 คน ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องและพบปะเจรจากับ สคจ. และได้ประชุมหารือร่วมกันหลายครั้งโดยได้ข้อสรุปผลการเจรจาแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นซึ่ง สคจ. พอใจและยุติการชุมนุมเพื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาในวันที่ 23 ตุลาคม 2562 ในการนี้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดทำสรุปกรณีปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบายของ สคจ. รวม 35 เรื่อง แบ่งเป็น 5 กรณี ดังนี้
กรณีปัญหา/หน่วยงาน |
ข้อเสนอเชิงนโยบายของ สคจ. |
1. กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนฝายและอ่างเก็บน้ำ (จำนวน 7 เรื่อง)
หน่วยงาน : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพลังงาน |
รัฐบาลต้องระงับโครงการก่อสร้างเขื่อนทุกเขื่อนในประเทศจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขประกาศใช้กฎหมายให้คนจนมีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแล้วเสร็จ |
2. กรณีปัญหาราคาสินค้าเกษตร (กรณีมะพร้าวราคาตกต่ำของเครือข่ายชาวสวนมะพร้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) (จำนวน 1 เรื่อง)
หน่วยงาน : กษ. กระทรวงพาณิชย์ |
เช่น (1) รัฐบาลต้องยกเลิกหนี้สินที่ไม่เป็นธรรมให้เกษตรที่เป็นสมาชิก สคจ. ซึ่งเกิดจากแนวทางการพัฒนาที่ผิดพลาดของรัฐ (2) รัฐบาลต้องประกันราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา มะพร้าว
(3) รัฐบาลต้องยุติการนำเข้าและห้ามใช้สารเคมีอันตรายในพื้นที่เกษตร เช่น พาราควอต ไกลโฟเซต และ
คลอร์ไพริฟอส |
3. กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐด้านอุตสาหกรรมและคมนาคม (จำนวน 2 เรื่อง)
หน่วยงาน : กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม |
รัฐบาลต้องยุติโครงการพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชนที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนรวมถึงโครงการที่เข้าบุกรุก ยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ ที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่ชุ่มน้ำ และในที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิ์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย |
4. กรณีปัญหาที่อยู่อาศัยและทำกินในที่ดินของรัฐรวมทั้ง การประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน (จำนวน 17 เรื่อง)
หน่วยงาน : กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงการคลัง |
เช่น (1) รัฐบาลต้องยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการบริหารที่ดิน และนโยบายทวงคืนผืนป่า
(2) รัฐบาลต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ. ศ. 2511 และดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของสมาชิก สคจ. ในเขตพิพาท โดยกันออกจากเขตป่า แล้วนำมาจัดให้ประชาชนภายใต้พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ฉบับที่ปรับปรุงแก้ไข |
5. กรณีปัญหาแรงงาน (จำนวน 8 เรื่อง)
หน่วยงาน : กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม |
เช่น (1) รัฐบาลต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 [เช่น (1.1) ให้สำนักงานประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนออกจากระบบราชการ และจัดตั้งองค์กรมหาชนขึ้นมารับผิดชอบแทน คณะผู้บริหารประกันสังคมมาจากการเลือกตั้งจากลูกจ้างและนายจ้างโดยตรง (1.2) ให้จัดตั้งโรงพยาบาลและจัดให้มีแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ประจำโรงพยาบาลเฉพาะสำหรับผู้ประกันตนให้ทั่วถึงและเพียงพอ (2) รัฐบาลต้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
|
19. เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพและภารกิจในการขับเคลื่อนประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าภาพประสานและบูรณการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
2. เห็นชอบแนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน.... และมอบหมาย สศช. พิจารณากำกับการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว เพื่อให้เกิดการถ่ายระดับของแผนทั้งสามระดับอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเห็นชอบให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน เร่งดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ แผนวิสาหกิจ และแผนปฏิบัติการ ตามลำดับ และขอความร่วมมือให้หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยให้ใช้ชื่อตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายทอดเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งนำเข้าแผนในระบบการติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR)
3. เห็นชอบให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงบประมาณ (สงป.) สศช. ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ในการจัดทำโครงการสำคัญ นำไปสู่การก่อให้เกิดการสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุผลตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่วางไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และใช้เป็นคำของบประมาณประจำปี 2564 ต่อไป
4. มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ดังนี้
4.1 นำเข้าข้อมูลผลการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานในความรับผิดชอบในระบบ eMENSCR ให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนธันวาคม 2562
4.2 นำเข้าข้อมูลสถิติ สถานการณ์ หรือข้อมูลอื่นใดในระบบ eMENSCR สำหรับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป รวมทั้งเชื่อมโยงระบบข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบ โดยเฉพาะระบบข้อมูลสารสนเทศด้านงบประมาณของ สงป. และกรมบัญชีกลางเข้ากับระบบ eMENSCR นอกจากนี้ให้หน่วยงานที่อยู่ระหว่างหรือจะดำเนินการพัฒนาระบบการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลใช้ระบบ eMENSCR ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบ
5. เห็นชอบการปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายคณะกรรมการปฏิรูปประเทศดำเนินการตามขั้นตอนและกรอบระยะเวลาของกฎหมาย ทั้งนี้ ในการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ ให้ดำเนินการร่วมกัน เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการ การประหยัดเวลาและงบประมาณต่อไป
20. เรื่อง แผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) (แผนยุทธศาสตร์ฯ) ตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ที่อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และมอบหมายการยางแห่งประเทศไทยนำแผนดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ซึ่งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาแผนดังกล่าวแล้วมีความเห็นให้การยางแห่งประเทศไทยนำไปทบทวนแผนยุทธศาสตร์ฯ ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และการยางแห่งประเทศไทยได้มีการปรับปรุงแก้ไขตามความเห็น/ข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว
แผนยุทธศาสตร์ฯ มีวิสัยทัศน์
“ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง” ซึ่งในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติได้มีการกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการ เป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะ 1 – 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) (2) ระยะ 6 – 10 ปี (พ.ศ. 2565 – 2569) และ (3) ระยะ 11 – 20 ปี (พ.ศ. 2570 – 2579) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.
เป้าหมายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
เป้าหมาย |
จาก (ปี 2559) |
เป็น (ปี 2579) |
1. ลดจำนวนพื้นที่ปลูกยางลง |
23.3 ล้านไร่ |
เหลือ 18.4 ล้านไร่ |
2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ โดยกำหนดเป้าหมายปริมาณผลผลิตยางเพิ่มขึ้น |
เฉลี่ย 224 กิโลกรัม/ไร่ |
เฉลี่ย 360 กิโลกรัม/ไร่ |
3. เพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศ |
ร้อยละ 13.6 |
ร้อยละ 35 |
4. เพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา |
250,000 ล้านบาท/ปี |
800,000 ล้านบาท/ปี |
5. เพิ่มรายได้จากการทำสวนยาง |
11,984 บาท/ไร่ |
19,800 บาท/ไร่ |
2.
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategy) ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ |
แนวทางการพัฒนา |
1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง |
เช่น ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางทำสวนยางผสมผสานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษา ออกแบบ และพัฒนา “กองทุนรักษาเสถียรภาพรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยาง” ขึ้นในประเทศไทย ส่งเสริมและจูงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมกลุ่มกันบริหารจัดการในรูปแบบแปลงใหญ่ |
2. การเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน |
เช่น บังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสวนยางที่บุกรุกพื้นที่ป่า กำหนดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกยาง สนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางปลูกยางพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งให้ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพยางแปรรูปให้ได้มาตรฐาน GMP |
3. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม |
เช่น วิจัยและพัฒนาพันธุ์ยางที่เติบโตเร็วให้ผลผลิตสูง วิจัยและพัฒนารูปแบบการปลูกและระบบการกรีดยางเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด สนับสนุนให้มีการกำหนดโจทย์วิจัยจากปัญหา/ความต้องการของภาคธุรกิจเอกชน และผลักดันและสร้างสิ่งจูงใจให้มีการนำเอาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในเชิงพาณิชย์ |
4. การพัฒนาตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย |
เช่น เชื่อมโยงธุรกรรมการซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราแต่ละแห่งเข้ากับตลาดยางท้องถิ่น เพื่อให้ทั่วโลกนำไปใช้ในการอ้างอิง ออกมาตรการด้านการเงินและการคลังเพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนการนำเข้า และสนับสนุนให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราได้มีโอกาสนำสินค้าไปเปิดตลาดในต่างประเทศ |
5. การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน |
เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยางพาราโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกยางพารา ปรับปรุงและแก้ไขมาตรการส่งเสริมการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมยางพารา เร่งพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พร้อมรองรับการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำแผนความต้องการและแผนพัฒนากำลังคนด้านยางพาราของประเทศไทยและจัดกิจกรรม Road Show ในประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมายเพื่อจูงใจแก่นักลงทุนต่างประเทศ |
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ มีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ทำหน้าที่กำกับดูแลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย และคณะทำงานด้านต่าง ๆ รับผิดชอบการขับเคลื่อนแต่ละยุทธศาสตร์ โดยทำงานภายใต้คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
21. เรื่อง สรุปมติประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2562
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 และให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เสนอ ดังนี้
- การเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้กรอบความตกลงการค้า WTO 3 ปี (ปี 2563 –
2565) ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษีร้อยละ 0 และกรอบความตกลงการค้าอื่น ให้เป็นไปตามข้อผูกพัน และการบริหารการนำเข้าคราวละ 3 ปี (ปี 2563 - 2565)
- การเปิดตลาดสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง มะพร้าว และมะพร้าว
ฝอย เนื้อมะพราวแห้ง และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ภายใต้กรอบความตกลง WTO กรอบความตกลงการค้าอื่น คราวละ 3 ปี (ปี 2563 - 2565) และการบริหารการนำเข้าปีต่อปี
- หลักเกณฑ์การจัดสรรโควตาสินค้ามะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง และน้ำมัน
มะพร้าวและเฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO สำหรับปี 2563 - 2565
- การเพิ่มองค์ประกอบภาคเอกชนในคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช คือ “ผู้แทนสมาคม
ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (ด้านมะพร้าว)” เป็นกรรมการในคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช (เพิ่มเติม)
22. เรื่อง ผลิตภัณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้
1. เห็นชอบการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
สาระสำคัญ
เนื่องจากการสร้างเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สร้างวินัยการออม และมีการวางแผนทางการเงินเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีวิตหลังเกษียณยังคงมีความสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ข้อ 5.1.4 ปฏิรูประบบการออม “โดยจัดให้มีระบบการออม เพื่อการเกษียณอายุอย่างทั่วถึง พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนให้เป็นแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นช่องทางการออมของประชาชน พร้อมทั้งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่จะส่งเสริม ให้คนไทยทุกคนเข้าสู่ระบบการออมและการลงทุนระยะยาวให้สามารถรองรับพฤติกรรม และวัฏจักรชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพและลดต้นทุน พัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนและสหกรณ์ทุกระดับ และพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน ตลอดจนการกำกับดูแลระบบสถาบันการเงิน ให้มีความมั่นคง” ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับปรุงนโยบายด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ตรงกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงน้อยและผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งต้องการความยืดหยุ่นในแง่ระยะเวลาการออมและจำนวนเงินที่จะออมเพื่อจูงใจให้มีการออมระยะยาวมากขึ้น กระทรวงการคลังจึงเห็นควรเสนอ ดังนี้
1. สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF ให้สิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 และวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 อย่างไรก็ดี การออกกฎกระทรวงตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ยังไม่รวมถึงการกำหนดให้เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุน LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกันกับเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอื่น ๆ ดังนั้น จึงเห็นควรแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อให้ผู้ซื้อ LTF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน LTF
2. กำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) (กองทุน SSF) ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการออมระยะยาวรูปแบบใหม่ โดยให้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ (กองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ หรือเงินจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี โดยกองทุนสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ทั้งนี้ ผู้ซื้อกองทุน SSF สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ โดยไม่กำหนดจำนวนซื้อขั้นต่ำ ไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมระยะยาวมากขึ้น ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะเน้นไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงน้อยและผู้ที่เริ่มต้นวัยทำงานให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การกำหนดให้ลดหย่อนภาษีสูงสุดร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินสอดคล้องกับอัตราการให้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับเงินสะสมเข้ากองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มอัตราเงินสะสมของสมาชิกจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 30 ของเงินเดือน และร่างกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ซึ่งกำหนดอัตราเงินสะสมของสมาชิกในร่างกฎหมายไว้ที่ร้อยละ 30 ของค่าจ้าง
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะประเมินความคุ้มค่า และผลลัพธ์ของโครงการในปีที่ 5 (2567) เพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
3. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุน RMF ภายใต้วงเงินเดิมในการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
(1) ปรับสัดส่วนการหักลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF สูงสุด จากเดิมไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เป็นร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน โดยยังคงกำหนดวงเงินหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ เงินจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือกองทุน SSF) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออมได้มากขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการปรับเพิ่มเงินสะสมของกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่น
(2) ยกเลิกการกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อกองทุน RMF (จากเดิมกำหนดให้ซื้อจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมิน หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงน้อยสามารถซื้อกองทุน RMF ได้ โดยยังคงกำหนดให้ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และไม่ระงับการซื้อเกิน 1 ปี ติดต่อกันเช่นเดิม
ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรการข้างต้น กระทรวงการคลังสามารถดำเนินการได้โดยการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ผลกระทบ
การดำเนินมาตรการที่เสนอเข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ) และประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 ซึ่งต้องมีการนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และกรมสรรพากรได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำเสนอตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 32 เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าการดำเนินมาตรการจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังฯ ดังนี้
1) ประมาณการสูญเสียรายได้
จากการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่กองทุน SSF และปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกองทุน RMF จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณปีละ 14,000 ล้านบาท
2) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การออมระยะยาวของประชาชนเพิ่มขึ้น ช่วยนำไปสู่ความมั่นคงทางรายได้เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ โดยหากมีการซื้อกองทุน RMF และกองทุน SSF เต็มเพดานที่กำหนด ผู้ที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท 50,000 บาท และ 100,000 บาท จะมีเงินออมระยะยาวเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ถึงปีละ 108,000 บาท 360,000 บาท และ 500,000 บาท ตามลำดับ
23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคี อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 9 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 9
(เรื่องนี้สามารถดาวน์โหลดไฟล์)
25. เรื่อง ร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างคำมั่นและให้คณะผู้แทนไทยร่วมประกาศคำมั่นดังกล่าวในที่ประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ 1 ในวันที่ 17-18 ธันวาคม 2562 ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ก่อนประกาศคำมั่น ให้กระทรวงต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังตามที่กระทรวงต่างประเทศ เสนอ
สาระสำคัญของร่างคำมั่น
1. การดำเนินการต่อเนื่องเพื่อรับรองวุฒิการศึกษาและเอกสารทางการศึกษาของเด็กผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา
2. การให้โอกาสการทำงานสำหรับผู้ที่เดินทางกลับไปแล้วตามกฎระเบียบของไทยและการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับเมียนมา
3. การพัฒนาความร่วมมือในกระบวนการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา
4. แนวทางการใช้การพัฒนาเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมพื้นที่รองรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาและชุมชนท้องถิ่น
5. การเสริมสร้างความสามารถและทักษะที่จำเป็นให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการนำระบบคัดกรองเพื่อคัดแยกผู้ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศออกจากผู้แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจมาปฏิบัติ
6. การนำมาตรการทางเลือกแทนการคุมขังเด็กที่ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. การจัดให้เด็กที่ต้องการความคุ้มครองระหว่างประเทศในประเทศไทยเข้าถึงการดูแลด้านสุขภาพที่เหมาะสม
8. การส่งเสริมการเข้าถึงกระบวนการทางอาญาโดยไม่เลือกปฏิบัติภายใต้โครงการ “ยุติธรรมใส่ใจ”
โดยเป็นการประชุมครั้งแรกที่ประเทศต่างๆแสดงความมุ่งมั่นทางการเมืองที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยตามหลักการการแบ่งเบาภาระและความรับผิดชอบผ่านการประกาศคำมั่น การร่วมประกาศคำมั่นของไทยจึงจะเป็นโอกาสแสดงบทบาทสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่การเจรจาและการรับรอง GCR ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการนำ GCR ไปปฏิบัติ นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีในประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญเช่น การส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอย่างยั่งยืน การมีระบบคัดกรอบผู้ลี้ภัย การใช้มาตรการแทนการกักตัวเด็กในห้องกัก และส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทยในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมเวทีผู้ลี้ภัยโลก ครั้งที่ 1 ประกอบด้วย เลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงมหาดไทย
26. เรื่อง การขอความเห็นต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมเอเปค ประจำปี 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมเอเปค ประจำปี 2562 ที่เจ้าหน้าที่อาวุโสต้องรับรองในนามรัฐมนตรีเอเปค จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ (1) แผนเอเปคว่าด้วยขยะทะเล (2) แผนเอเปคว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (3) แผนซันติอาโกเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม และ (4) รายงานผลลัพธ์การประชุมเอเปค ประจำปี 2562 และอนุมัติให้อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศหรือผู้แทนรับรองเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารข้างต้นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญของเอกสาร 4 ฉบับ
1. แผนเอเปคว่าด้วยขยะทะเล จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักนำในการแก้ไขปัญหาขยะทะเลของเอเปค โดยมีข้อแนะนำ 4 ด้าน ได้แก่ (ก) การพัฒนานโยบายและการประสานงาน (ข) การเสริมสร้างศักยภาพ (ค) การวิจัยและนวัตกรรม และ (ง) การสนับสนุนด้านเงินทุนและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
2. แผนเอเปคว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม มีจุดประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมศักยภาพทางเทคนิคของเขตเศรษฐกิจเอเปคในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated หรือ IUU) และส่งเสริมศักยภาพองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ในเอเปคด้วยกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ ความช่วยเหลือทางวิชาการ และยกระดับการติดตาม การควบคุม การเฝ้าระวัง และการตรวจสอบย้อนกลับ ตามความเหมาะสม โดยมีแนวปฏิบัติที่สำคัญเพื่อให้บรรลุแผนดังกล่าว ได้แก่ (ก) ดำเนินการตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า (ข) แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับและการติดตาม การควบคุม และการเฝ้าระวังกิจกรรมประมง (ค) ยกระดับความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปค (ง) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรด้านประมงที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคและระดับนานาชาติเพื่อระบุประเด็นที่เอเปคสามารถมีส่วนสนับสนุนได้ (จ) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และ (ฉ) การเสริมสร้างศักยภาพ
3. แผนซันติอาโกเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางด้านนโยบายในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของสตรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีแนวปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ (ก) การส่งเสริมบทบาทของสตรีด้วยการเข้าถึงเงินทุนและตลาด (ข) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในการทำงาน (ค) สนับสนุนให้สตรีสามารถเข้าถึงการศึกษา การฝึกฝน และการพัฒนาทักษะ ตลอดจนงานที่มีความสำคัญ และ (ง) การจัดเก็บข้อมูลจำแนกตามเพศ โดยแผนดังกล่าวตั้งเป้าหมายที่คาดหวังให้บรรลุในปี 2573
4. รายงานผลลัพธ์การประชุมเอเปค ประจำปี 2562 เป็นรายการกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ของเอเปคที่จัดขึ้นในปี 2562
27. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองระดับสูงของการประชุมทบทวนระยะกลางของแผนปฏิบัติการเวียนนาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลสำหรับทศวรรษ ค.ศ. 2014 – 2024
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองระดับสูงของการประชุมทบทวนระยะกลางของแผนปฏิบัติการเวียนนาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลสำหรับทศวรรษ ค.ศ. 2014 – 2024 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมโดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง รวมทั้งเห็นชอบให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองระดับสูงของการประชุมทบทวนระยะกลางของแผนปฏิบัติการเวียนนาสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลสำหรับทศวรรษ ค.ศ. 2014 – 2024 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม มีเนื้อหาแสดงถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานเพื่อบรรลุแผนปฏิบัติการเวียนนาฯ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวทางความร่วมมือในอนาคตระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลกับประเทศทางผ่าน การระดมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเวียนนาฯ การส่งเสริมการเข้าถึงตลาดสำหรับการส่งออกจากประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การเข้าถึงแหล่งเงินลงทุนและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา การส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสร้างความต้านทางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเชิญชวนให้สมัชชาสหประชาชาติพิจารณาจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ครั้งที่ 3 ในปี 2567
28. เรื่อง การเข้าร่วม Nitric Acid Climate Action Group (NACAG) Initiative ของประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วม Nitric Acid Climate Action Group (NACAG) Initiative และเห็นชอบต่อปฏิญญาว่าด้วยการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ในการผลิตกรดไนตริก (Declaration on N2O Mitigation in Nitric Acid production) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนประเทศไทย ลงนามในปฏิญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ปฏิญญาว่าด้วยการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ในการผลิตกรดไนตริก มีสาระสำคัญในการแสดงความตั้งใจของประเทศที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์จากการผลิตกรดไนตริกโดยมุ่งสู่การยุติการปล่อยก๊าซดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2563 ด้วยความตระหนักว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมอีก 8,000 – 10,000 ล้านตัน ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายที่ประชาคมระหว่างประเทศได้ตกลงกัน เนื่องจากก๊าซ ไนตรัสออกไซด์มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ถึง 265 เท่า และการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ที่เกิดจากการผลิตกรดไนตริกนั้น สามารถจัดการได้ง่ายมีค่าใช้จ่ายต่ำ มีเทคโนโลยีที่รองรับการดำเนินการดังกล่าวและสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วภายในสถานประกอบการที่มีอยู่ในปัจจุบัน
29. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง
นางกฤษณา ลิ่มสุวรรณ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายในคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 คน ดังนี้
1. นายสุวัฒน์ มีมุข
2. นายทรงศัก สายเชื้อ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จำนวน 13 คน ประกอบด้วยกรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ดังนี้
1.
กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
1.1 นายกิติศักดิ์ ขจรภัย (จังหวัดสระบุรี)
1.2 นายนฤทธิ์ คำธิศรี (จังหวัดสกลนคร)
1.3 นายแรม เชียงกา (จังหวัดกาญจนบุรี)
1.4 นางพิชชาภา พลสว่าง (จังหวัดพิจิตร)
1.5 นายเสกสรรค์ สะอาดใจ (จังหวัดเพชรบูรณ์)
1.6 นายไพฑูรย์ ฝางคำ (จังหวัดศรีสะเกษ)
1.7 นายอิทธิ แจ่มแจ้ง (จังหวัดระยอง)
1.8 นายสุริยา ศรีโพธิ์ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
1.9 นางมนัสนันท์ ปาสาวัน (จังหวัดพะเยา)
1.10 นางบังอร อภิญญาวงศ์เลิศ (จังหวัดเชียงใหม่)
2.
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
2.1 นายภาคภูมิ เพิ่มมงคล (ด้านการบริหารธุรกิจ)
2.2 นายชัยวัฒน์ ปกป้อง (ด้านการเงิน)
2.3 นายวิวัฒน์ ไม้แก่นสาร (ด้านการค้าและอุตสาหกรรม)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
32. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี (เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2562) รวม 8 คน ดังนี้
1. นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการ
2. นายสังข์เวิน ทวดห้อย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง)
3. นายสุนทร รักษ์ณรงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง)
4. นางสาวอรอนงค์ อารินวงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง)
5. นายสง่า ขันคำ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง)
6. นายประสิทธิ์ สืบชนะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง)
7. นางสาวสุจิตรา เลาหวัฒนภิญโญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการค้า)
8. นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้แทนผู้ประกอบกิจการยางซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอุตสาหกรรมยาง)
ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ บุคคลในลำดับที่ 6 – 8 เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ
33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ จำนวน 8 คน เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 ดังนี้
1. นายประทีป เจริญพร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการที่ดิน
2. รองศาสตราจารย์วิโรจ อิ่มพิทักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรดิน
3. นายธนู มีแสงเงิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการปฏิรูปที่ดิน
4. รองศาสตราจารย์เอกรินทร์ อนุกูลยุทธธน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผังเมือง
5. นายสันติ บุญประคับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. นายมานัส ฉั่วสวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
7. นายชนินทร์ ทินนโชติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
8. รองศาสตราจารย์อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
34. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
พลตรี ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเพิ่มเติม ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอได้เป็นการเฉพาะราย และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น ที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. รับทราบกรณี นายกิตติพันธ์ ใจดี พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในคณะกรรมการสภาการศึกษา
2. เห็นชอบแต่งตั้ง
บาทหลวงเดชา อาภรณ์รัตน์ เป็นกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในคณะกรรมการสภาการศึกษา แทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกีฬาในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเสนอแต่งตั้ง
นางประภาศรี บุญวิเศษ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกีฬาในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป
37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยาองค์การในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแต่งตั้ง
หม่อมหลวงพัชรภากร เทวกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยาองค์การในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ แทนผู้ที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังอยู่ในตำแหน่ง และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในครั้งต่อไปให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1.
นายทวี เกศิสำอาง รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมทางหลวง ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมท่าอากาศยาน
2.
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางราง ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมการขนส่งทางราง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้
1.
นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
2.
นายสุพพัต อ่องแสงคุณ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3.
นายณรงค์ พูลพิพัฒน์ ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 3 ราย ดังนี้
1.
นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม
2.
นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม
3.
นายประสพ เรียงเงิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
**********************