http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2562) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ….
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร (การกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการนำส่งเงินภาษีและข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ) รวม 2 ฉบับ
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียน การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การออกใบแทนหนังสือรับรอง ทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ และการเพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนนิติกรรมหรือการดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 3 ฉบับ
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 จำนวน 7 ฉบับ
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจัดสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ….
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการลงทุน และกู้ยืมเงินในโครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง
12. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัย
ทางถนน
13. เรื่อง โครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้
14. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline)
15. เรื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562
16. เรื่อง ร่างความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ....)
17. เรื่อง การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
18. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 4
19. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 25 (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP 25) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2 (CMA 2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
20. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี : การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง + 25
21. เรื่อง แผนที่นำทางด้านนวัตกรรมของอาเซียน ปี 2562 – 2568
22. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 และการดำเนินงาน เพื่อผลักดันการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
23. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการต่าง ๆ (จำนวน 6 ราย)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
25. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
29. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
30. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
***************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ดังนี้
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 |
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 |
เครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนชาย มี 5 ชนิด คือ
1. เครื่องแบบปกติคอพับ ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลหรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอพับสีกากีแขนยาวหรือแขนสั้น
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติสีกากี
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากี
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
2. เครื่องแบบปกติเสื้อคอแบะปล่อยเอว ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลหรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีกากี
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติสีกากี
(ง) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
- ไม่มี
- ไม่มี
3. เครื่องแบบฝึก ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงอ่อนสีน้ำเงินเข้ม หมวกแก๊ปทรงอ่อนหรือหมวกเหล็กสีกากีแกมเขียว
(ข) เสื้อคอเปิดแบบฝึกสีกากีเขียวหรือสีพราง
(ค) กางเกงขายาวแบบฝึกสีกากีแกมเขียวหรือสีพราง
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากีแกมเขียว
(จ) รองเท้าครึ่งน่องหรือร้องเท้าหุ้มข้อหนังสีดำหรือรองเท้าเดินป่า
เครื่องแบบฝึกนี้ เมื่อใช้เสื้อสีใดให้ใช้กางเกงสีเดียวกัน และให้สวมหมวกเหล็กเมื่อแต่งประกอบเครื่องสนาม
4. เครื่องแบบครึ่งยศ ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลสีขาว
(ข) เสื้อนอกคอปิดสีขาว
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติสีขาว
(ง) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ
5. เครื่องแบบเต็มยศ มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ ตาม 4 เว้นแต่กางเกงให้ใช้กางเกงขายาวแบบปกติสีดำและให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนหญิง มี 5 ชนิด คือ
1. เครื่องแบบปกติเสื้อคอพับ ประกอบด้วย
(ก) หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกหรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอพับสีกากีหรือสีขาว แขนยาวหรือแขนสั้น
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติหรือกระโปรงสีกากี
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากี
(จ) ถุงเท้าสั้นพับข้อสีเดียวกับรองเท้า
(ฉ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
2. เครื่องแบบปกติเสื้อคอแบะปล่อยเอว ประกอบด้วย
(ก) หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกหรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีกากี แขนยาวหรือแขนสั้น
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติหรือกระโปรงสีกากี
- ไม่มี
(ง) ถุงเท้าสั้นพับข้อสีเดียวกับรองเท้า
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
- ไม่มี
3. เครื่องแบบฝึก มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบฝึกของชายตามข้อ 3 (4)
4. เครื่องแบบครึ่งยศ ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลทรงอ่อนสีขาวหรือหมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว
(ข) เสื้อนอกคอแบะสีขาว
(ค) กระโปรงสีขาว
(ง) ถุงเท้ายาวสีขาว
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ
5. เครื่องแบบเต็มยศ มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ ตาม 4 เว้นแต่ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ฯลฯ |
เครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนชาย มี 6 ชนิด คือ
1. เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะสีกากี ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลสีกากี
(ข) เสื้อนอกคอแบะสีกากี
คงเดิม
ไม่มี
(ง) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาลชนิดผูกเชือก
2. เครื่องแบบปกติเสื้อคอพับ ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลสีกากี หมวกทรงอ่อนสีน้ำเงินเข้ม หรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอพับสีกากีหรือสีขาว แขนยาวหรือแขนสั้น
คงเดิม
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากีหรือสีน้ำเงินเข้ม
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาลชนิดผูกเชือก
3. เครื่องแบบปกติเสื้อคอแบะปล่อยเอว ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลสีกากีหรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีกากี
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติสีกากี
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากีหรือสีน้ำเงินเข้ม
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาลชนิดผูกเชือก
4. เครื่องแบบฝึก ประกอบด้วย
(ก) หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีกากีแกมเขียวพรางหรือสีกากีพราง หมวกทรงอ่อนสีน้ำเงินเข้ม หรือหมวกเหล็กสีกากีแกมเขียวพรางหรือสีกากีพราง
(ข) เสื้อคอเปิดแบบฝึกสีกากีแกมเขียวพรางหรือสีกากีพราง
(ค) กางเกงขายาวแบบฝึกสีกากีแกมเขียวพรางหรือสีกากีพราง
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากีแกมเขียวหรือสีน้ำเงินเข้ม
(จ) รองเท้าครึ่งน่องหนังสีดำ รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำชนิดผูกเชือกหรือยืดข้าง หรือรองเท้าเดินป่า
เครื่องแบบฝึกนี้ เมื่อสวมเสื้อสีใดให้ใช้กางเกงและหมวกเหล็กสีเดียวกัน เมื่อแต่งประกอบเครื่องสนาม
5. เครื่องแบบครึ่งยศ ประกอบด้วย
(ก) หมวกทรงหม้อตาลสีขาว
(ข) เสื้อนอกคอปิดสีขาว
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติสีขาว
(ง) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำชนิดผูกเชือก
6. เครื่องแบบเต็มยศ มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศตาม (5) เว้นแต่กางเกงให้ใช้กางเกงขายาวแบบปกติสีดำ และให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องแบบผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนหญิง มี 6 ชนิด คือ
1. เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะสีกากี ประกอบด้วย
(ก) หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี
(ข) เสื้อนอกคอแบะสีกากี
(ค) กระโปรงสีกากี
- ไม่มี
(ง) ถุงเท้ายาวสีน้ำตาลอ่อน
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
2. เครื่องแบบปกติเสื้อคอพับ ประกอบด้วย
(ก) หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี หมวกทรงอ่อนสีน้ำเงินเข้ม หรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอพับสีกากีหรือสีขาว แขนยาวหรือแขนสั้น
คงเดิม
(ง) เข็มขัดด้ายถักสีกากีหรือสีน้ำเงินเข้ม
(จ) คงเดิม
(ฉ) คงเดิม
3. เครื่องแบบปกติเสื้อคอแบะปล่อยเอว ประกอบด้วย
(ก) หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากีหรือหมวกหนีบสีกากี
(ข) เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีกากี แขนยาวหรือแขนสั้น
(ค) กางเกงขายาวแบบปกติสีกากีหรือกระโปรงสีกากี
(ง) ถุงเท้าสั้นพับข้อสีเดียวกับรองเท้า
(จ) รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
4. เครื่องแบบฝึก มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบฝึกของชายตามข้อ 3 (4)
5. เครื่องแบบครึ่งยศ ประกอบด้วย
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
6. เครื่องแบบเต็มยศ มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ ตาม 5 เว้นแต่กระโปรงให้ใช้กระโปรงสีดำ และให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ฯลฯ |
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างฎกระทรวง
1. ชื่อกฎกระทรวง “ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ....”
2. นิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้จำนวนการจ้างงานและรายได้ของกิจการเป็นเกณฑ์ในการกำหนดขนาดกิจการ และแบ่งประเภทกิจการเป็นกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการกิจการค้าส่ง หรือกิจการค้าปลีก ดังนี้
กิจการ |
วิสาหกิจขนาดย่อม |
วิสาหกิจขนาดกลาง |
จำนวนการจ้างงาน
(คน) |
รายได้/ปี
(ล้านบาท) |
จำนวนการจ้างงาน
(คน) |
รายได้/ปี
(ล้านบาท) |
กิจการผลิตสินค้า |
ไม่เกิน 50 |
ไม่เกิน 100 |
เกินกว่า 50 – 200 |
เกินกว่า 100 – 500 |
กิจการให้บริการ
กิจการค้าส่ง
กิจการค้าปลีก |
ไม่เกิน 30 |
ไม่เกิน 50 |
เกินกว่า 30 – 100 |
เกินกว่า 50 – 300 |
3. จำนวนการจ้างงานและรายได้ ให้พิจารณาจากหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) จำนวนการจ้างงาน ให้พิจารณาจากหลักฐานแสดงจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด
(2) จำนวนรายได้ ให้พิจารณาจากรายได้รวมที่ระบุไว้ในงบการเงินที่ได้จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายว่าด้วยการบัญชีกำหนดหรือเอกสารบัญชีแสดงรายได้
4. ในกรณีที่กิจการมีจำนวนการจ้างงานที่เข้าลักษณะของวิสาหกิจประเภทหนึ่ง แต่มีรายได้ที่เข้าลักษณะของวิสาหกิจอีกประเภทหนึ่ง ให้ถือรายได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร (การกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการนำส่งเงินภาษีและข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะ) รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการ 1) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการนำส่งเงินภาษี 2) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จได้ภายในกำหนดระยะเวลา 180 วัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการนำส่งเงินภาษี
1.1 กำหนดให้การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายทอดตลาด และการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักรและผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีตามประมวลรัษฎากรอาจเลือกวิธีการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรผ่านธนาคารหรือนิติบุคคลอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด
1.2 กำหนดให้เมื่อสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนดได้รับเงินภาษีจากผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีแล้ว ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีในการนำส่งภาษีย่อมเป็นอันหลุดพ้น และถือว่าสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนดได้รับเงินภาษีไว้แทนกรมสรรพากรแล้ว
1.3 กำหนดให้หากมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนและเป็นเหตุให้การนำส่งภาษีไม่ครบถ้วน ให้ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีนำส่งภาษีเพิ่มเติมตามวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
2.
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ
2.1 กำหนดให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน มีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ซึ่งอยู่ในความครอบครองในปีที่ล่วงมาต่อกรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
2.2 กำหนดให้รายการข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะที่ต้องรายงาน และวิธีการรายงานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.3 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่รายงานต้องส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียน การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การออกใบแทนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ และการเพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนนิติกรรม หรือการดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียน การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การออกใบแทนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ และการเพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนนิติกรรม หรือการดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนิการต่อไป
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับดังกล่าว ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการดำเนินการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ซึ่งจะทำให้กฎหมายแม่บทมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์และสามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะทำให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอสังหาริมทรัพย์ สร้างแรงจูงใจและความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนหรือนักธุรกิจที่จะนำเงินลงทุนหรือเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศ ให้สามารถใช้สิทธิในอสังหาริมทรัพย์เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการมีกรรมสิทธิ์ หรือการมีสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนการออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การออกใบแทนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ และการเพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับผู้ขอในการยื่นคำขอจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ ออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิจดทะเบียน ออกใบแทนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ เพิกถอนหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ หรือยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิ ทั้งยังเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาดำเนินการตามคำขอของผู้ขอในกรณีดังกล่าว
2.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนนิติกรรม หรือการดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. …. เป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิ การออกหนังสือรับรองทรัพย์อิงสิทธิ การจดทะเบียนนิติกรรม หรือการดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับทรัพย์อิงสิทธิ
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 จำนวน 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงานตามมาตรา 28 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน กรณีประสงค์เปลี่ยนแปลงโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นโรงงานจำพวกที่ 1 หรือโรงงานจำพวกที่ 2 ตามมาตรา 28/1 รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1.1 ยกเลิกความในข้อ 3 และข้อ 9 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 พ.ศ. 2549 ทั้งหมด
1.2 ยกเลิกความในข้อ 7 และข้อ 10 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตฯ เฉพาะถ้อยคำที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตและการให้ต่ออายุใบอนุญาต
1.3 เพิ่มเติมถ้อยคำเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการอนุญาต โดยกำหนดให้ผู้อนุญาตต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และเพิ่มเติมถ้อยคำเกี่ยวกับการอนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 โดยให้สามารถกระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงานตามมาตรา 28
2.1 กำหนดวิธีการและระยะเวลาการแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงานโดยให้แจ้งเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาตล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน ก่อนเลิกกประกอบกิจการโรงงาน
2.2 กำหนดให้กรณีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเป็นนิติบุคคล การเลิกประกอบกิจการโรงงานต้องมีรายงานการประชุมของคณะผู้บริหารของนิติบุคคลที่มีมติเสียงข้างมากให้เลิกประกอบกิจการโรงงานหรือหนังสือแสดงมติของคณะผู้บริหารของนิติบุคคลเสียงข้างมากให้เลิกประกอบกิจการโรงงานแนบมาพร้อมกับหนังสือแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน
2.3 กำหนดสถานที่แจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน โดยโรงงานในกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานในต่างจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
2.4 กำหนดให้สามารถแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดได้
2.5 กำหนดวิธีการและระยะเวลาในการดำเนินการตรวจสอบโรงงานที่เลิกประกอบกิจการโรงงาน รวมทั้งการออกหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบโรงงานหรือคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาการเลิกประกอบกิจการโรงงาน
3.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน กรณีประสงค์เปลี่ยนแปลงโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นโรงงานจำพวกที่ 1 หรือโรงงานจำพวกที่ 2 ตามมาตรา 28/1
3.1 กำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นโรงงานจำพวกที่ 1 หรือโรงงานจำพวกที่ 2 โดยการให้ผู้รับอนุญาตแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน โดยให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อมกับการแสดงความประสงค์จะประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 หรือการแจ้งเพื่อเริ่มประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2
3.2 กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทของโรงงาน โดยกรณีที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 1 ให้แจ้งต่อผู้อนุญาต และกรณีที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3.3 กำหนดสถานที่แจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงานโดยโรงงานในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รวมทั้งกำหนดให้สามารถแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
1. เห็นชอบ 1) ร่างกฎกระทรวงการมอบอำนาจในการพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง พ.ศ. …. 2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองและการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง พ.ศ. …. และ 3) ร่างกฎกระทรวงกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ พ.ศ. …. รวม 3 ฉบับ ที่ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
2. รับทราบรายงานเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการร่างกฎกระทรวง รวม 5 ฉบับ ไม่ทันเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ดังนี้
ชื่อร่างกฎกระทรวงฯ |
สาระสำคัญ |
1. ร่างกฎกระทรวงการมอบอำนาจในการพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง พ.ศ. …. |
1. กำหนดให้กรณีที่ กม. ใดไม่ได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้โดยเฉพาะ การมอบอำนาจในการพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองสำหรับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินให้เป็นไปตามที่กำหนดในร่างกฎกระทรวงนี้
2. การพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงไม่ควรให้มีการมอบอำนาจไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่างโดยไม่จำกัดตำแหน่ง รวมทั้งไม่ได้กำหนดให้การมอบอำนาจจากราชการส่วนกลางไปราชการส่วนภูมิภาคต้องมอบให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้มอบอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามความเหมาะสม สำหรับการมอบอำนาจในราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และสภาวิชาชีพ ให้เป็นไปตาม กม. จัดตั้งหน่วยงานนั้น
3. กำหนดให้การมอบอำนาจในการพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองสำหรับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ให้ดำเนินการดังนี้
3.1 กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองเป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามร่างข้อ 1 ให้นำหลักเกณฑ์การมอบอำนาจในการพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองร่างข้อ 1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
3.2 กรณีเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้ดำรงตำแหน่งตามร่างข้อ 1 เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะต้องพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองนั้นเอง โดยไม่สามารถมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่อื่นได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเห็นว่า การพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองอาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองเกินสมควรและจำเป็นต้องพิจารณาโดยรอบคอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเสนอเรื่องต่อหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อพิจารณามอบหมายให้เจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้พิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองแทนได้ตามที่เห็นสมควร
4. กำหนดให้การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ |
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองและการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง
พ.ศ. …. |
1. กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีอำนาจออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ในกรณีที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น เว้นแต่กรณีที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองเป็นสภาวิชาชีพ คกก. ตาม กม. หรือเอกชน ซึ่งได้รับอนุญาตได้รับแต่งตั้ง หรือได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ให้นายกสภาวิชาชีพหัวหน้าหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นหน่วยธุรการของ คกก. หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอนุญาตแต่งตั้งหรือมอบหมายเอกชนให้ออกคำสั่งทางปกครอง สำหรับกรณีที่รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองเป็นผู้ทำคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินให้รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง
2. กำหนดให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาซึ่งผ่านการอบรมด้านการบังคับคดีจากกรมบังคับคดีหรือด้านการบังคับทางปกครองตามหลักสูตรที่ คกก. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองให้ความเห็นชอบเป็นเจ้าพนักงาน (จพน.) บังคับทางปกครอง และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการบังคับทางปกครองที่อาจต้องดำเนินการโดย จพน. บังคับทางปกครองหลายราย จึงกำหนดให้ในการดำเนินการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองอาจมอบหมายให้ จพน. บังคับทางปกครองหนึ่งคนหรือหลายคนร่วมเป็น จพน. บังคับทางปกครองก็ได้ อย่างไรก็ดี โดยที่การดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินจำเป็นต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน กม. จึงกำหนดให้ จพน. บังคับทางปกครองอย่างน้อยหนึ่งคนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ และกำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือนายกสภาวิชาชีพ แล้วแต่กรณี เป็นผู้ออกบัตรประจำตัว จพน. บังคับทางปกครอง โดยให้นำแบบบัตรและหลักเกณฑ์ในการออกบัตรตาม กม. ว่าด้วยบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐมาบังคับใช้โดยอนุโลม
3. กำหนดให้กรณีที่มีบท กม. ใดกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง หรือหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้ง จพน. บังคับทางปกครองไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ใช้บังคับตาม กม. ว่าด้วยการนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่เห็นว่าการใช้หลักเกณฑ์ตาม กม. ว่าด้วยการนั้นจะเกิดผลน้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ เจ้าหน้าที่จะใช้หลักเกณฑ์ตาม กม. นี้แทนก็ได้
4. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการดำเนินการบังคับทางปกครอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินได้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
4.1 กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับบรรดาคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยวิธีการยึดหรืออายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้อยู่ภายใต้บังคับของคำสั่งทางปกครอง ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามกฎกระทรวงนี้ และให้ดำเนินการยึดหรืออายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองต่อไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
4.2 กำหนดให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครองจะแต่งตั้งผู้ซึ่งไม่ผ่านการอบรมด้านการบังคับคดีจากกรมบังคับคดี หรือด้านการบังคับทางปกครองตามหลักสูตรที่ คกก. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเห็นชอบก็ได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เพื่อรองรับกรณีที่ยังไม่มีผู้ผ่านการอบรมที่จะดำเนินการบังคับคดีได้ และจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำหลักสูตรดังกล่าว |
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ พ.ศ. …. |
1. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองมีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการ และให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐผู้มอบอำนาจหรือผู้กำกับดูแลเอกชนมีอำนาจกำหนดค่าปรับบังคับการกรณีที่เอกชนเป็นผู้ใช้อำนาจผู้ทำคำสั่งทางปกครอง
2. กำหนดอัตราสูงสุดของจำนวนค่าปรับบังคับการที่เจ้าหน้าที่ในแต่ละลำดับมีอำนาจกำหนดได้ โดยให้เป็นจำนวนเต็มหลักหมื่น เพื่อความสะดวกในการใช้บังคับ
3. กำหนดให้ในกรณีที่ไม่มีการชำระค่าปรับบังคับการให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองชำระค่าปรับบังคับการทุก 15 วัน |
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 จำนวน 7 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาดของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นของกรรมการดำเนินการสหกรณ์และผู้จัดการของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
4. ร่างกฎกระทรวงการดำรงเงินกองทุนของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
5. ร่างกฎกระทรวงธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
6. ร่างกฎกระทรวงการจัดทำบัญชี การจัดทำและการเปิดเผยงบการเงิน การสอบบัญชีและการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี พ.ศ. ....
7. ร่างกฎกระทรวงการจัดเก็บและรายงานข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ร่างกฎกระทรวง |
สาระสำคัญ |
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดขนาดของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิต
ยูเนี่ยน พ.ศ. .... |
กำหนดขนาดของสหกรณ์โดยพิจารณาจากข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ ปีบัญชีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแล้ว ดังต่อไปนี้
- สหกรณ์ขนาดใหญ่ หมายถึง สหกรณ์ที่มีขนาดสินทรัพย์ตั้งแต่
5,000 ล้านบาทขึ้นไป และชุมนุมสหกรณ์ทุกแห่ง
- สหกรณ์ขนาดเล็ก หมายถึง สหกรณ์ที่มีขนาดสินทรัพย์
น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท |
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นของกรรมการดำเนินการสหกรณ์และผู้จัดการของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. .... |
1.คณะกรรมการต้องมีผู้มีคุณวุฒิการศึกษา ด้านการเงิน การบัญชี การบริหารจัดการ เศรษฐศาสตร์ หรือผ่านการฝึกอบรมและมีหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม โดยสหกรณ์ขนาดเล็กต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คนและสหกรณ์ขนาดใหญ่ต้องมีกรรมการอย่างน้อย 3 คน
2. กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการเงินการบัญชี การบริหารจัดการ และด้านอื่น ๆ ของกรรมการและผู้จัดการของสหกรณ์หรือชุมนุมสหกรณ์โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎกระทรวงนี้จัดฝึกอบรมและมอบหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมพร้อมทั้งส่งรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรมให้กรมส่งเสริมสหกรณ์
3. กรรมการและผู้จัดการของสหกรณ์ขนาดใหญ่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้รวมถึงลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
3.1 เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของผู้ให้บริการทางการเงินซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
3.2 มีหรือเคยมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินกิจการใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงผู้อื่นหรือฉ้อโกงประชาชน
3.3 เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือที่ปรึกษาของสหกรณ์หรือชุมนุมสหกรณ์แห่งอื่นรวมถึงสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ประเภทอื่น เว้นแต่เป็นกรรมการชุมนุมสหกรณ์ |
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. .... |
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายทิศทางและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมของสหกรณ์ กำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จัดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับจริยธรรมของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ ที่ปรึกษาของสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ จัดให้มีนโยบายและกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของสหกรณ์ กำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินกิจการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด กำกับดูแลฝ่ายจัดการให้มีความสามารถในการจัดการงานของสหกรณ์ และจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบกิจการที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ |
4. ร่างกฎกระทรวงการดำรงเงินกองทุนของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. .... |
4.1 กำหนดให้ชุมนุมสหกรณ์ดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบห้า
4.2 เงินกองทุนของชุมนุมสหกรณ์ ประกอบด้วย (1) ร้อยละแปดสิบของทุนเรือนหุ้นที่ชำระแล้ว (2) ทุนสำรอง |
5. ร่างกฎกระทรวงธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. .... |
5.1 กำหนดให้ในการประชุมใหญ่สหกรณ์ต้องแจ้งให้ทราบในเรื่องผลประโยชน์ค่าตอบแทนสวัสดิการ และผลตอบแทนอื่นที่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสหกรณ์ได้รับจากสหกรณ์ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ข้อมูลการถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ การถูกดำเนินคดี การถูกร้องเรียนถูกลงโทษของสหกรณ์ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา พร้อมทั้งแผนหรือแนวทางการป้องกัน รวมถึงรายการอื่นที่คณะกรรมการหรือที่ประชุมใหญ่มี มติให้เปิดเผยแก่สมาชิก
5.2 กำหนดให้สหกรณ์จัดทำ และเปิดเผยรายการย่อแสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ประกาศกำหนด
5.3 ในการดำเนินงานสหกรณ์ คณะกรรมการสหกรณ์จะต้องถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
5.3.1 การให้สินเชื่อหรือให้กู้กับกรรมการที่เป็นสมาชิก ต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษและต้องไม่มีลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลดังกล่าวมากกว่าการให้สินเชื่อหรือให้เงินกู้กับสมาชิกอื่น
5.3.2 การทำธุรกรรมกับกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการที่ปรึกษาของสหกรณ์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว ต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดพิเศษและต้องไม่มีลักษณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลดังกล่าว
5.3.3 ไม่จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่น หรือผลประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ ที่ปรึกษาของสหกรณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว เป็นค่าตอบแทน ซึ่งมิใช่บำเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ
ฯลฯ |
6. ร่างกฎกระทรวงการจัดทำบัญชี
การจัดทำและการเปิดเผยงบการเงิน การสอบบัญชีและการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี พ.ศ. .... |
6.1 กำหนดให้สหกรณ์จัดทำบัญชี งบการเงินและเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์
6.2 กำหนดให้สหกรณ์เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งระเบียบและข้อบังคับของสหกรณ์
6.3 การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีสหกรณ์และการปฏิบัติงานสอบบัญชีสหกรณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด |
7. ร่างกฎกระทรวงการจัดเก็บและรายงานข้อมูลของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. .... |
กำหนดให้สหกรณ์จัดเก็บและรายงานข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ดังต่อไปนี้
- งบแสดงฐานะทางการเงิน
- งบกําไรขาดทุน
- งบทดลอง
- การลงทุนในหลักทรัพย์
- ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมและการฝากเงิน
- เจ้าหนี้เงินกู้และผู้ฝากเงิน
- การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
- ฐานะสภาพคล่องสุทธิ
- รายงานการก่อหนี้
- การจัดชั้นสินทรัพย์และการกันเงินสำรอง
- รายงานการสอบทานหนี้
- การดำรงเงินกองทุน
- แบบรายงานคุณภาพลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
- รายงานอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
|
8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2556 ดังนี้
การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน |
การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง |
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองนิติการ
3. กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1
4. กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2
5. กองส่งเสริมและบริหารระบบตลาด
6. สำนักจัดระบบราคาและปริมาณสินค้า
7. สำนักชั่งตวงวัด
8. สำนักตรวจสอบและปฏิบัติการ
9. สำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
10. สำนักสารสนเทศและแผนงานการค้าภายในประเทศ |
1. สำนักงานเลขานุการกรม (คงเดิม)
2. กองกฎหมาย (เปลี่ยนชื่อ)
3. กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 (คงเดิม)
4. กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 2 (ปรับหน้าที่และอำนาจ)
5. กองส่งเสริมและบริหารระบบตลาด (ปรับหน้าที่และอำนาจ)
6. กองจัดระบบราคาและปริมาณสินค้า (เปลี่ยนชื่อ)
7. กองชั่งตวงวัด (เปลี่ยนชื่อและปรับหน้าที่และอำนาจ)
8. กองตรวจสอบและปฏิบัติการ (เปลี่ยนชื่อ)
9. ยุบเลิก
10. กองสารสนเทศและแผนงานการค้าภายในประเทศ (เปลี่ยนชื่อ)
|
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2556 ดังนี้
การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน |
การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง |
1. สำนักบริหารกลาง
2. กองสิทธิบัตร
3. กองสิทธิบัตรออกแบบ
4. สำนักกฎหมาย
5. สำนักเครื่องหมายการค้า
6. สำนักป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
7. สำนักลิขสิทธิ์
8. สำนักส่งเสริมการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา |
1. สำนักงานเลขานุการกรม (เปลี่ยนชื่อ)
2. กองสิทธิบัตร (คงเดิม)
3. กองสิทธิบัตรออกแบบ (คงเดิม)
4.
5. กองเครื่องหมายการค้า (เปลี่ยนชื่อ)
6. กองป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (เปลี่ยนชื่อ)7. กองลิขสิทธิ์ (เปลี่ยนชื่อ)
8. กองส่งเสริมการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา (เปลี่ยนชื่อ)
9. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ตั้งใหม่)
10. กองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ตั้งใหม่)
11. กองพัฒนาความร่วมมือทรัพย์สินทางปัญญา (ตั้งใหม่) |
10. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจัดสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการจัดสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ให้ร่างกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. กำหนดบทนิยามคำว่า “สภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดและระดับอำเภอ”
3. ส่งเสริมสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ โดยจัดให้มีการสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อเป็นแกนนำป้องกัน แก้ไข และเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
4. ส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานรัฐและหน่วยงานของเอกชน โดยจัดให้ได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ รวมถึงบริการและสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการทำหน้าที่ประสานงานและเฝ้าระวัง
5. กำหนดให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวจัดให้มีการฝึกอาชีพ หรือจัดหาที่ฝึกอาชีพให้แก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์หรือแม่วัยรุ่นที่ประสงค์จะเข้ารับการฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัด
6. กำหนดให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนจัดหาผู้ที่ประสงค์จะรับเลี้ยงดูบุตรของแม่วัยรุ่นเป็นการชั่วคราวเพื่อทำหน้าที่ครอบครัวทดแทนในกรณีที่แม่วัยรุ่นไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้
7. กำหนดให้มีบริการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่วัยรุ่นและครอบครัว และให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนจัดหาที่พักที่เหมาะสมและปลอดภัย พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในกระทรวงส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้วัยรุ่นที่ต้องการหรือแม่วัยรุ่นได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมและบริการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และได้รับการฝึกอาชีพหรือทำงานอื่นใดตามความสนใจหรือความถนัด
11. เรื่อง ขอความเห็นชอบการลงทุน และกู้ยืมเงินในโครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ยืมเงินจำนวน 51.70 ล้านบาท จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ สำหรับลงทุนในการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง (Thai – Denmark Smart Dairy Farm)
2. อนุมัติงบลงทุนประจำปีงบประมาณ 2563 เพิ่มเติม [เพิ่มเติมจากแผนงบลงทุนปกติประจำปีงบประมาณ 2563 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)] สำหรับการลงทุนจัดตั้งฟาร์ม โคนมประสิทธิภาพสูง (Thai – Denmark Smart Dairy Farm) ของ อ.ส.ค. จำนวนเงิน 51.70 ล้านบาท เป็นงบลงทุน แผนระยะยาว 9 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 - 2571 โดยมีวงเงินดำเนินการและเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2563 จำนวนเงิน 37.91 ล้านบาท
สาระสำคัญของเรื่อง
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ยืมเงินจำนวน 51.70 ล้านบาท จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ สำหรับลงทุนในการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง (Thai – Denmark Smart Dairy Farm) รวมทั้งอนุมัติงบลงทุนประจำปีงบประมาณ 2563 เพิ่มเติม (เพิ่มเติมจากแผนงบลงทุนปกติประจำปีงบประมาณ 2563 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) สำหรับการลงทุนจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงดังกล่าว จำนวนเงิน 51.70 ล้านบาท เป็นงบลงทุนแผนระยะยาว 9 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 – 2571 โดยมีวงเงินดำเนินการและเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2563 จำนวนเงิน 37.91 ล้านบาท
2. โครงการจัดตั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง (Thai – Denmark Smart Dairy Farm) เป็นการจัดตั้งฟาร์มสาธิตเชิงธุรกิจในพื้นที่ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่มีจำนวนแม่โครีดนมไม่น้อยกว่า 100 ตัว มีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการฟาร์ม เช่น การเลี้ยงแบบขังในคอกและใช้อาหารผสมสำเร็จ (Total Mixed Ration - TMR) ที่มีมาตรฐานตรงตามความต้องการของโค การจัดการคอกพักโคและระบบระบายความร้อนที่ทำให้แม่โคอยู่สบายตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Aninal Welfare) การบริหารจัดการและเก็บข้อมูลโครายตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการรีดนมที่มีการบันทึกปริมาณน้ำนมดิบรายตัวรายวันมีระบบทำความสะอาด โดยมีเป้าหมายให้มีการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูงสำหรับนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ปีละไม่น้อยกว่า 680 คน และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมกิจการฟาร์มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จากปัจจุบันที่ 60,000 คนต่อปี โดยงบประมาณโครงการฯ เป็นงบลงทุนแผนระยะยาว รวม 55.90 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) เงินจ่ายขาด 4.20 ล้านบาท และ (2) เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 51.70 ล้านบาท จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ดำเนินการลงทุนระยะเวลา 9 ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 – 2571 และดำเนินโครงการเป็นเวลา 15 ปี (ปี 2563 – 2577)
3. โครงการฯ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 และคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในคราวประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 ต่อมาคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยในคราวประชุมครั้งที่ 11/2562 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 มีมติให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยนำเรื่องนี้
เสนอคณะรัฐมนตรีขอความเห็นชอบการยืมเงิน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 26 ที่บัญญัติให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการลงทุนหรือร่วมทุนเพื่อการใดครั้งหนึ่งเกินยี่สิบล้านบาท หรือกู้ยืมเงินหรือค้ำประกันบุคคลภายนอกครั้งหนึ่งเกินยี่สิบล้านบาทได้
รวมทั้งขอให้อนุมัติงบลงทุนประจำปีงบประมาณ 2563 เพิ่มเติม เนื่องจากงบลงทุนโครงการฯ ยังไม่ได้บรรจุอยู่ในงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2563 (ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562) โดยหากคณะรัฐมนตรีอนุมัติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะได้ปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีต่อไป
12. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องกับข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนนพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้รายงานผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2562 (รวม 7 วัน) ซึ่งพบว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 ในภาพรวมมีจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต ดังนี้
รายการ |
จำนวน |
หมายเหตุ |
อุบัติเหตุ |
3,338 ครั้ง |
- สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด 2 อันดับแรก คือ ดื่มแล้วขับ รองลงมา คือ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด
- ประเภทรถที่เกิดเหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ (ส่วนบุคคล)
- จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 128 ครั้ง |
ผู้บาดเจ็บ |
3,442 ราย |
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 136 ราย |
ผู้เสียชีวิต |
386 ราย |
- สาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ และตัดหน้ากระชั้นชิด
- จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ จังหวัดลพบุรีและจังหวัดอุดรธานี จำนวน 15 ราย และจังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพังงา และจังหวัดอ่างทอง
- ประเภทรถที่ทำให้เสียชีวิตสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ |
ในการนี้ ศปถ. ได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน โดยได้รวบรวมข้อเสนอจากรายงานผลการปฏิบัติงาน และการประชุมถอดบทเรียนผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 รวมถึงการหารือร่วมกันระหว่างผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ในประเด็นเร่งด่วน 3 ด้าน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
มาตรการ |
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก |
1. ด้านการปรับปรุง แก้ไข และบังคับใช้กฎหมาย เช่น
(1) รวบรวมข้อมูล ปัญหา สถิติผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั้งช่วงเทศกาลและช่วงปกติที่มีสาเหตุมาจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และการดื่มแล้วขับซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อประกอบการพิจารณาในการดำเนินคดีกับผู้ขับขี่
(2) กำหนดแนวทางการดำเนินคดีอาญาที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางถนน ใน 3 ข้อหาความผิด ได้แก่ ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ขับรถเกินกว่าอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด และเสพยาเสพติดขณะขับรถ
(3) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถทุกประเภท โดยกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบตั้งแต่ 400 ซีซี ขึ้นไป โดยการกำหนดช่วงอายุของผู้ขอใบอนุญาตที่เหมาะสมให้ชัดเจน ระยะเวลาและรายละเอียดการอบรมภาคทฤษฎี |
- ศปถ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กระทรวงคมนาคม |
2. ด้านการบริหารจัดการ เช่น
(1) ให้ผู้ตรวจการดำเนินการกวดขัน จับกุม ผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์อย่างเคร่งครัด
(2) ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตามโครงการขับขี่ปลอดภัย มั่นใจไร้แอลกอฮอล์
(3) กำหนดแนวทางการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์
(4) กำหนดมาตรการให้พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานจราจร มีหน้าที่ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตทุกราย
(5) สร้างการมีส่วนร่วม ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเรื่องความปลอดภัยทางถนนแก่ประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
(6) จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งขับเคลื่อนประเด็นด้านความปลอดภัยทางถนน |
- กระทรวงคมนาคม
- สำนักงบประมาณ
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- ศปถ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
3. ด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางถนนและยานพาหนะ เช่น เร่งดำเนินการปรับปรุงวิศวกรรมจราจรให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของถนน เร่งปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยยานพาหนะ |
- กระทรวงคมนาคม |
13. เรื่อง โครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้มีการดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ โดยมีกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2566 จำนวน 3,416.54 ล้านบาท ประกอบด้วย งบเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว งบดำเนินงาน งบลงทุน โดยมีแหล่งงบประมาณ ดังนี้
งบประมาณปี 2563 ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน และงบประมาณปี พ.ศ. 2563 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกาศใช้บังคับแล้ว
งบประมาณปี 2564 – 2566 ขอให้ สพฐ. ขอรับการจัดสรรงบประมาณฯ โดยจัดทำรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อประกอบการพิจารณาของสำนักงบประมาณให้เหมาะสม สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
ศธ. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักการดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) โดยปรับให้โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ อำเภอละ 1 แห่ง เป็นโรงเรียนประจำพักนอน จำนวน 65 หลัง โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ยากจน นักเรียนที่ถูกทอดทิ้งไม่มีผู้อุปการะ และนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้ารับบริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงอันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ สพฐ. ได้เริ่มดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 จนถึงปัจจุบันมีโรงเรียนที่อยู่ในโครงการทั้งสิ้น 64 โรงเรียน และมีการเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 – 2562 แล้ว จำนวน 408.83 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องจนนักเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่คาดการณ์ว่าจะสมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้นในอนาคต ศธ. จึงขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2566 ในกรอบวงเงิน 3,416.54 ล้านบาท
14. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการแนวทางการบริหารจัดการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline) โดยให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2541 เรื่อง การแต่งตั้งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำกระทรวง ทบวง กรม และการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง ในส่วนของการแต่งตั้งผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำกระทรวง ทบวง กรม และทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง โครงการอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ในส่วนที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
2. ให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของหน่วยงานต่าง ๆ ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ เช่น ประเด็นความซ้ำซ้อนขององค์ประกอบและหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐกับคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประเด็นการจัดอบรมหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของแต่ละหน่วยงานและไม่ซ้ำซ้อนกับหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทริอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ก่อนแจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับทราบและถือปฏิบัติ
3. ให้สำนักงาน ก.พ. หารือร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติมให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ และผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ ตามแนวทางการบริหารจัดการดังกล่าวให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้นำความเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงบประมาณ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการไปพิจารณาร่วมด้วย
15. เรื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบในหลักการมาตรการ/โครงการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และอนุมัติงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 5,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 และปีต่อ ๆ ไป 30,833.94 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย จำนวน 707.7 ล้านบาท โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 ในส่วนเพิ่มเติม จำนวน 2,667.35 ล้านบาทและโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 27,458.89 ล้านบาท ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป
สาระสําคัญ
เนื่องจากเครื่องชี้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปียังคงมีแนวโน้มชะลอตัว และอาจทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ กระทรวงการคลังเห็นสมควรเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ประจำปีงบประมาณ 2563 ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย และโครงการพักชำระหนี้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ
1.1 โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
1)
กลุ่มเป้าหมาย : กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนหมู่บ้าน) ที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ A B และ C ตามผลการประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ปี 2555 จำนวน 71,742 แห่ง
2)
วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กในชุมชนและใช้แรงงานและผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น
3)
วิธีดำเนินการ : จัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) แห่งละไม่เกิน 200,000 บาท ภายใต้วงเงินรวม 14,348.4 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนหรือดำเนินกิจการอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ การดำเนินการตามโครงการนี้ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดโดยให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน ความโปร่งใสรวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการต่อคณะรัฐมนตรี
4)
กรอบระยะเวลาดำเนินการ : การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหรือดำเนินกิจกรรมจากเงินสนับสนุนของรัฐบาลต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน จึงให้ดำเนินการเบิกจ่ายภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรเงิน
5)
งบประมาณ : 14,491.4 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1) เงินลงทุนให้กองทุนหมู่บ้าน กองทุนละ 200,000 บาท จำนวน 14,348.4 ล้านบาท และ 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 143 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้ สทบ.หารือกับสำนักงบประมาณก่อนดำเนินการ และในกรณีที่ สทบ. มีความต้องการงบประมาณเพิ่มเติมให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
1.2 โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 ให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย (XYZ) โดยเป็นการให้สินเชื่อแก่กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร SMAEs วงเงินโครงการ 45,000 ล้านบาท และอนุมัติงบประมาณชดเชยจำนวน 4,875 ล้านบาท สิ้นสุดระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 สรุปผลการดำเนินโครงการดังกล่าว ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ธ.ก.ส. ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 1,740 ล้านบาท ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือประมาณ 43,260 ล้านบาท
เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ครอบคลุมถึงกลุ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จึงเห็นควรขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ของโครงการ XYZ โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มวงเงินสินเชื่อรวมจากที่เหลืออยู่ 43,260 ล้านบาท เป็น 50,000 ล้านบาท และขยายระยะเวลาดำเนินโครงการออกไปอีก 3 ปี พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนชื่อโครงการเป็นโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1)
กลุ่มเป้าหมาย : สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงินประชาชน สถาบันการเงินชุมชน สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนวิสาหกิจเพื่อสังคม และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
2)
วงเงินสินเชื่อ : 50,000 ล้านบาท
3)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ : ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
4)
งบประมาณ : ธ.ก.ส. ขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 707.7 ล้านบาท ((50,000-43,260)*3.5%*3 ปี)
1.3 โครงการพักชำระหนี้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ
1)
กลุ่มเป้าหมาย : สมาชิกของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สมัครใจเข้าร่วมมาตรการ
2)
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ผ่อนคลายภาระการชำระหนี้ที่มีกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และสามารถนำเงินส่วนดังกล่าวมาประกอบอาชีพสร้างรายได้ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนและหนี้นอกระบบ
3)
วิธีดำเนินการ : กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพักชำระหนี้หรือลดภาระหนี้เงินกู้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้กับสมาชิกที่มีความเดือดร้อนจำเป็นตามความเหมาะสม โดยให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
4)
กรอบระยะเวลาดำเนินการ : กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแต่ละแห่งกำหนดระยะเวลาดำเนินการโครงการของตนตามความเหมาะสม
5)
งบประมาณ : ไม่ขอรับการจัดสรรงบประมาณ
2. มาตรการลดภาระหนี้ผู้ประกอบการ SMEs
เพื่อเป็นการลดภาระและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Amall and Medium Enterprises : SMEs) ที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้สามารถดำเนินธุรกิจและดำรงชีวิตต่อไปได้ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้สถาบันการเงินปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการพักชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ตามความสมัครใจภายในปี 2563 ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการดังกล่าวให้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐ
3. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
3.1 ขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมตามโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63
1)
ความเป็นมา : คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 และ 27 สิงหาคม 2562 รับทราบและเห็นชอบหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการหารือการดำเนินโครงการดังกล่าว วงเงินงบประมาณ 25,427.48 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ภายในกรอบวงเงิน 25,482.06 ล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ทั้งนี้ ภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าว มีวงเงินที่ใช้เงินทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำรองจ่ายให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไปก่อน จำนวน 24,810.49 ล้านบาท ซึ่งคำนวณจากฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) ปี 2561 จำนวน 4.31 ล้านครัวเรือน
2)
สาระสำคัญ : ผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ธ.ก.ส. โอนเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.15 ล้านครัวเรือน เป็นเงินจำนวน 24,662.60 ล้านบาท คงเหลือวงเงินงบประมาณ 147.89 ล้านบาท และ กสก. ได้ประมาณการจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2562 ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 รวมทั้งคาดการณ์จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ตกหล่นเพิ่มขึ้นเป็น 4.57 ล้านครัวเรือน จึงมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพิ่มอีก 0.26 ล้านครัวเรือน ส่งผลให้งบประมาณที่ยังคงเหลือไม่เพียงพอในการจ่ายให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2562 กับ กสก. ประกอบกับระยะเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกรภาคอื่น ๆ กำหนดให้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จึงจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกรสำหรับภาคอื่น ๆ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2563 และกรณีเกษตรกรขึ้นทะเบียนมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดให้สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ และให้ ธ.ก.ส. นำค่าบริหารจัดการที่เกิดขึ้นจริงจากการจ่ายเงินดังกล่าวไปรวมกับการขอจัดสรรงบประมาณประจำปีของโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63
3)
งบประมาณ : ธ.ก.ส. ขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการดำเนินโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวนทั้งสิ้น 2,667.35 ล้านบาท
3.2 โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
1)
ความเป็นมา : ธ.ก.ส. มีบันทึก ที่ ฝนร/26584 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อเสนอโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 โดยมีอัตราให้ความช่วยเหลือที่ 500 บาทต่อไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 27,458.89 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินที่จ่ายให้เกษตรกร 26,793.02 ล้านบาท
2)
วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
3)
กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับ กสก. จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท
4)
ระยะเวลาโครงการ : ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 – 30 กันยายน 2563
5)
วิธีดำเนินโครงการ : กสก. นำข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับ กสก. ให้ส่ง ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
โดย ธ.ก.ส. เป็นผู้พิจารณาว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีการเก็บเกี่ยวจริง และไม่ซ้ำซ้อนกับการจ่ายเงินภายใต้โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาล เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
6)
งบประมาณ : วงเงินงบประมาณรวม 27,458.89 ล้านบาท
ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. ขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีถัด ๆ ไป เพื่อรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
4. มาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย
1)
วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางและอยู่ในระบบฐานภาษีของกรมสรรพากรมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) รวมถึงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ และลดภาระของประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
2)
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยมุ่งเน้นผู้ที่มีรายได้
ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน หรือ
ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี และเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากร จำนวน 100,000 ราย
3)
ประเภทที่อยู่อาศัย : ที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ สำหรับที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมที่อยู่อาศัยมือสองและทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets: NPA) ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ และไม่รวมทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี
4)
วิธีดำเนินโครงการ : ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีของกรมสรรพากร และมีรายได้
ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน หรือ
ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี และผ่านเกณฑ์ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะได้รับสิทธิผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดย ธอส. จะโอนเงิน จำนวน 50,000 บาท เข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ เพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back)
5) งบประมาณ : ธอส. ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธอส. จะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดต่อไป
16. เรื่อง ร่างความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ....)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation Agreement: CMIM) ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ....) โดยอนุมัติการลงนามในความตกลง CMIM ฉบับปรุงปรุง และมอบหมายให้ (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน และผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในความตกลง CMIM ฉบับปรับปรุง (2) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือยืนยันการสมทบเงิน (Schedule 3 – Commitment Letter) ในวงเงิน 9.104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือรับทราบการขอรับความช่วยเหลือ (Schedule 5 – Letter of Acknowledgement) และหนังสือยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลง (Schedule 6 – Letter of Undertaking) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ความตกลง CMIM ฉบับปรับปรุง (4) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือให้ความเห็นทางกฎหมาย (Schedule 7 – Legal Opinion) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ความตกลง CMIM ฉบับปรับปรุง ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation Agreement: CMIM) ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ....) รวมถึงหนังสือแนบท้าย 4 ฉบับ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการดำเนินการของกลไก CMIM ตามนัยบทบัญญัติของความตกลงฉบับปัจจุบันที่กำหนดให้ต้องมีการทบทวนทุก ๆ 5 ปี โดยในครั้งนี้เป็นการปรับปรุงแนวปฏิบัติของ CMIM กรณีที่เป็นความช่วยเหลือทางการเงินร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ IMF เช่น การปรับปรุงระยะเวลาการเบิกจ่ายและการชำระคืนเงินช่วยเหลือ จากเดิมที่เบิกจ่ายเงินและรับเงินคืนเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนดไถ่ถอน (Maturity) เพียงครั้งเดียวภายใน 1 ปี เป็นให้เบิกจ่ายเงินและรับเงินคืนเป็นงวด ๆ และขยายจำนวนครั้งในการต่ออายุความช่วยเหลือ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินและการขาดสภาพคล่องของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระยะสั้นและต้องการรับความช่วยเหลือจากกลไกดังกล่าว จะได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและทันการณ์ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงถ้อยคำที่มีความคลุมเครือในทางปฏิบัติให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 ครั้งที่ 22 มีมติอนุมัติร่างความตกลง CMIM ฉบับปรุรับปรุงดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ร่างความตกลง CMIM ฉบับนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของวงเงิน ความช่วยเหลือของไทย จำนวน 9.104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและตั้งแต่จัดตั้งมา กลไก CMIM ยังไม่มีการให้ ความช่วยเหลือทางการเงิน
17. เรื่อง การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ ดังนี้
1. ให้การสนับสนุนและร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้
1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13
1.2 ร่างแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการเพิ่มขึ้นของพวกนิยมความรุนแรงและแนวคิด หัวรุนแรง พ.ศ. 2562 – 2568
1.3 ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 10 กับประเทศคู่เจรจา จำนวน 3 ประเทศ [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)]
1.4 ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 7 กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
1.5 ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียน – จีน ว่าด้วยความร่วมมือประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ พ.ศ. 2562 – 2566
1.6 ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 5 กับญี่ปุ่น
1.7 ร่างแถลงการณ์จากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 1 กับสาธารณรัฐเกาหลี
2. ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง [13th ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime (AMMTC) and its related meeting] เป็นผู้ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์จากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้องดังกล่าว (ตามข้อ 1)
3. ให้ ตช. สามารถดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของร่างเอกสารผลลัพธ์จากการประชุม (ตามข้อ 1) ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการรับรองได้ (หากมีความจำเป็น) โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
ตช. จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 25 – 29 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมพหุภาคีในภูมิภาคอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติและเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านอาชญากรรมข้ามชาติจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน 9 ประเทศ พร้อมผู้แทนจากประเทศคู่เจรจา จำนวน 3 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) โดยในการประชุมดังกล่าวจะมีการกล่าวถ้อยแถลงโดยประเทศสมาชิกอาเซียน (รวมทั้งไทยด้วย) และจะมีการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว จำนวน 7 ฉบับ (ตามข้อ 1) ซึ่งได้แจ้งเวียนร่างเอกสารผลลัพธ์ฉบับล่าสุด (สถานะวันที่ 26 ตุลาคม 2562) ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยร่างเอกสาร จำนวน 7 ฉบับสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 13 เป็นการส่งเสริมแนวคิดในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งแนวทางความร่วมมือระดับภูมิภาคในการบริหารจัดการชายแดน
2) ร่างแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการเพิ่มขึ้นของพวกนิยมความรุนแรงและแนวคิดหัวรุนแรง พ.ศ. 2562 – 2568 เป็นการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินการของประเทศสมาชิกอาเซียนด้านการต่อต้านการเพิ่มขึ้นของพวกนิยมความรุนแรงและแนวคิดหัวแรง ประกอบด้วย (1) การป้องกันลัทธินิยมความรุนแรงและ กลุ่มคนหัวรุนแรง การต่อต้านลัทธินิยม (2) ความรุนแรงและส่งเสริมการลดแนวคิดหัวรุนแรง (3) การบังคับใช้กฎหมายและการเพิ่มประสิทธิภาพกฎหมายระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านลัทธินิยมความรุนแรงและ กลุ่มคนหัวรุนแรง และ (4) ความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือในภูมิภาค
3) ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 10 กับประเทศคู่เจรจา จำนวน 3 ประเทศ [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)] เป็นการแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
4) ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 7 กับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการแสดงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงกล่าวถึงอาชญากรรมรูปแบบใหม่
5) ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียน – จีน ว่าด้วยความร่วมมือประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ พ.ศ. 2562 – 2566 เป็นการกำหนดกรอบแนวทางในการต่อต้านอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การแลกเปลี่ยนบุคลากรและการฝึกอบรม ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย
6) ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 5 กับญี่ปุ่น เป็นการแสดงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับการก่อการร้ายเพื่อป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และอาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ
7) ร่างแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 1 กับสาธารณรัฐเกาหลี เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ และแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและเกาหลีใต้ในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
18. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 4
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองร่างแผนปฏิบัติการออสโล และร่างแถลงการณ์ออสโล ค.ศ. 2019 เรื่อง โลกที่ปราศจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ และร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ
สาระสำคัญของร่างเอกสาร 2 ฉบับ
1. ร่างแผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญเพื่อย้ำคำมั่นของรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ต่อการอนุวัติพันธกรณีอนุสัญญาฯ อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ โดยได้ระบุถึงแผนปฏิบัติการ 49 ข้อ และตัวชี้วัดของการดำเนินการ ซึ่งครอบคลุม 6 มิติ ได้แก่ (1) ความเป็นสากลของอนุสัญญาฯ (2) การทำลายและการเก็บรักษาทุ่นระเบิดสังหารบุคคลคงคลัง (3) การสำรวจและปลดปล่อยพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (4) การลดความเสี่ยงจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและการให้ความรู้ (4) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (5) ความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และ (6) มาตรการติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณี
2. ร่างแถลงการณ์ฯ มีสาระสำคัญเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของรัฐภาคีที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งพลวัตในการส่งเสริมและผลักดันการมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาฯ และการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในทุกมิติและทุกระดับ เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินงานภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ การประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเป็นการประชุมสำคัญในกรอบอนุสัญญาฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุก 5 ปี เพื่อให้รัฐภาคีได้ร่วมทบทวนการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ และกำหนด ทิศทางการอนุวัติพันธกรณีของอนุสัญญาฯ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยนอร์เวย์จะเป็นประธานการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 25 – 29 พฤศจิกายาน 2562 ณ กรุงออสโล โดยจะมีการรับรองร่างเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างแผนปฏิบัติการออสโล และร่างแถลงการณ์ออสโล ค.ศ. 2019 เรื่อง โลกที่ปราศจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
19. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP 25) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2 (CMA 2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 25 (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2 (CMA2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นชอบต่อกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประจำปี พ.ศ. 2562-2563 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกรอบท่าทีเจรจาของไทยที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ
สาระสำคัญ
- องค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 25 (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP15) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสสมัยที่ 2 (CMA2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย รวมทั้งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กรอบท่าทีเจราจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี พ.ศ. 2562-2563 มีเนื้อหาครอบคลุมหลักการภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ เช่น ความเป็นธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วเร่งยกระดับการดำเนินงานจนถึงสิ้นปี ค.ศ 2020 อย่างจริงจัง ให้การจัดทำและการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions) อยู่ภายใต้หลักการของกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ให้คำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การค้าและสังคมของประเทศกำลังพัฒนาในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมบทบาทของภาคป่าไม้และพิจารณาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม การกำหนดแนวทางและกลไกความร่วมมือเกี่ยวกับกลไกตลาดและไม่ใช้ตลาดต้องมีความยืดหยุ่นและไม่เป็นภาระเพิ่มเติมเกินจำเป็นแก่ประเทศต่างๆให้มีการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การวิจัย การเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และเสริมสร้างขีดความสามารถในภาคเกษตร ให้ประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้นำ และยกระดับการสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ให้มีการยกระดับศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืน ให้การดำเนินงานภายใต้กรอบความโปร่งใส ในการดำเนินงานและการสนับสนุนเป็นไปอย่างยืดหยุ่นและคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทยพร้อมจะเป็นประเทศที่ให้และ / หรือ ประสานความช่วยเหลือหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เป็นต้น ในการนี้ หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากนี้ หากไม่เป็นการขัดกับท่าทีการเจรจาของไทยและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทน ทั้งนี้ กรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี 2562-2563 เป็นไปตามหลักการของกรอบอนุสัญญา ฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา ฯ สมัยที่ 25(COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสาร เกียวโต สมัยที่ 15 (CMP15) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสสมัยที่ 2 (CMA2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน -13 ธันวาคม 2562 ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน จะมีการรับรองข้อตัดสินใจ ต่าง ๆ
20. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี : การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง + 25
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี : การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง +25 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมรับรองร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี : การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง+25 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไข ร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ
สาระสำคัญ
1.ร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี : การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง + 25 เป็นการยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศภาคีสมาชิกในเอเชียและแปซิฟิกที่จะระดมความพยายามในการบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรีและสิทธิมนุษยชนสตรีเพื่ออนาคตที่เท่าเทียมกัน การระลึกถึงบทบาทที่สำคัญของสตรีในการเป็นผู้นำการพัฒนา การรับทราบถึงความก้าวหน้าด้านความเสมอภาคเท่าเทียมระหว่างเพศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลและภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตถึงแนวโน้มหรือทิศทางปัญหาสำคัญๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กผู้หญิง การแสดงความห่วงใยถึงปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 5 และเป้าหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และการเน้นย้ำความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงทรัพยากร โอกาส ข่าวสารและบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน เป็นต้น
2.ร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรี: การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง + 25 เป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานของแต่ละประเทศในเอเชียแปซิฟิก เพื่อให้ตะหนักถึงสิทธิที่เท่าเทียมของสตรี เพื่ออนาคตที่เท่าเทียมกันภายในปี 2573 ( ค.ศ.2030 )ผ่านการดำเนินการซึ่งครอบคลุมประเด็นดังนี้ 1)การพัฒนาที่เท่าเทียมและครอบคลุม แบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองและงานที่มีคุณค่า 2) การขจัดความยากจน การปกป้องคุ้มครองทางสังคมและบริการทางสังคมและสาธารณะ 3) การปราศจากความรุนแรง การตีตรา ทัศนคติของการเหมารวมและบรรทัดฐานทางสังคมเชิงลบ 4) การมีส่วนร่วม การเจรจาทางสังคม หน้าที่รับผิดชอบ และสถาบันที่มีการตอบสนองต่อมิติความเสมอภาคระหว่างเพศ 5) สังคมที่มีสันติภาพและ มีส่วนร่วม 6) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ และการปรับตัวฟื้นคืนสู่สภาวะปกติ 7) ข้อมูลและสถิติ และ 8) พันธมิตรและความร่วมมือระดับภูมิภาค
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม Asia –Pacific Ministerial Conference on the Beijing+25 Review ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยจะมีการรับรองร่างปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเสริมพลังของสตรี: การทบทวนแผนปฏิบัติการปักกิ่ง + 25
21. เรื่อง แผนที่นำทางด้านนวัตกรรมของอาเซียน ปี 2562 – 2568
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อแผนที่นำทางด้านนวัตกรรมของอาเซียน ปี 2562 – 2568 โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การรับรองแผนที่นำทางฯ ร่วมกับรัฐมนตรีอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายรับรองแผนที่นำทางฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในการรับรองเพื่อประกาศใช้ในปี 2563 ต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อประโยชน์ของไทย ให้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ในโอกาสที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2562 อว. ได้เสนอการจัดทำแผนที่นำทางด้านนวัตกรรมของอาเซียน (ASEAN Innovation Roadmap: AIR) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งประเด็นที่ไทยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 โดยแผนที่นำทางจะทำหน้าที่เป็นแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความเป็นปัจจุบันและเป็นสากล เนื่องจากมีการผนวกประเด็นเร่งด่วนที่ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องกันว่ามีความสำคัญเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาระบบนิเวศที่มีนวัตกรรมเป็นองค์ประกอบจากการนำความรู้และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาบูรณาการเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีการมุ่งเน้นและจัดลำดับความสำคัญ และมีแนวทางการดำเนินกรอบความร่วมมือไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งสามารถพิจารณาถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือกับวิทยาการ และนวัตกรรมสมัยใหม่ การพัฒนาความคิดในการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม ทั้งนี้สำนักเลขาธิการอาเซียนได้กำหนดให้นำเสนอแผนที่นำทางด้านวัตกรรมของอาเซียนในปี 2562 – 2568 ต่อคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562
22. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 และการดำเนินงานเพื่อผลักดันการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2562 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
2. มอบหมายให้ ทส. โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการผลักดันการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก
3. มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก และการจัดทำเอกสารวิชาการ (Nomination Dossier) แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก ได้แก่ เมืองโบราณศรีเทพ และกลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด
โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รายงานผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 10 กรกฎาคม 2562 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน โดยมีสาระสำคัญ คือ ที่ประชุมมีมติรับรองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทย คือ เมืองโบราณศรีเทพ และกลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด บรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) และ
มีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Referral) กรณีการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก โดยให้ไทยดำเนินการเกี่ยวกับ
การปรับปรุงแนวขอบเขตการนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติที่อาจกระทบเส้นเขตแดนระหว่างไทยและเมียนมา
และการแก้ไขข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของพื้นที่ดังกล่าว โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ผลการดำเนินการ |
การปรับปรุงแนวขอบเขตการนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติที่อาจกระทบเส้นเขตแดนระหว่างไทยและเมียนมา |
ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงด้านเทคนิคในเรื่องการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่อาจกระทบเส้นเขตแดนระหว่างไทยและเมียนมา ในการประชุมหารือด้านเทคนิคระหว่างไทยและเมียนมา เมื่อวันที่ 25 -26 เมษายน 2562 โดยเห็นพ้องให้มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและได้ร่วมกันลงนามบันทึกการหารือฯ (Agreed Minutes) |
การแก้ไขข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชน |
หน่วยงานของไทยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามข้อเรียกร้องของชุมชนกะเหรี่ยง เช่น การจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ การบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนกะเหรี่ยงในด้านสาธารณสุข สาธารณูปโภค การเกษตร และการศึกษา รวมทั้งได้จัดทำข้อตกลงประชาคมร่วมกับชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเพื่อทำความเข้าใจว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานจะไม่มีการโยกย้ายชุมชนและประชาชนที่อยู่เดิมออกจากพื้นที่ |
23. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการต่าง ๆ (จำนวน 6 ราย)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของส่วนราชการต่าง ๆ เพิ่มเติม (จำนวน 6 ราย) ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ ปคร. ของส่วนราชการดังกล่าวที่ได้รับการแต่งตั้งมีการเกษียณอายุราชการและมีการโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (10 กันยายน 2562 และ 1 ตุลาคม 2562) รับทราบรายชื่อ ปคร. ของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกประสานงานการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี และการเสนอและติดตามร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติระหว่างคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง สลค. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของ ปคร. (เพิ่มเติม) ทั้ง 6 ราย ดังกล่าวแล้วว่าเป็นไปตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ. 2551 ดังนี้
ส่วนราชการ |
รายชื่อ ปคร. |
1. กระทรวงกลาโหม |
พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย
รองปลัดกระทรวงกลาโหม |
2. กระทรวงการคลัง |
นางศิริวัลย์ แก้วมูลเนียม
รองปลัดกระทรวงการคลัง |
3. กระทรวงมหาดไทย |
นายสมคิด จันทมฤก
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย |
4. กระทรวงสาธารณสุข |
นายณรงค์ สายวงศ์
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
5. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ |
นายธนากร บัวรัษฏ์
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ |
6. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
ว่าที่ร้อยตำรวจตรี อาพัทธ์ สุขะนันท์
ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (นิติกรระดับทรงคุณวุฒิ) |
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นายสมเกียรติ ขำนุรักษ์ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นต้นไป
25. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 342/2562 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 นั้น
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้ยกเลิกข้อ 1.3.4 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 167/2562 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง
นางสาวพิมพ์เพ็ญ ลัดพลี รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง
นางสาวลดา พันธ์สุขุมธนา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยและพัฒนา (นักวิทยาศาสตร์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอแต่งตั้ง
นายชนินทร์ ขาวจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
29. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แทนผู้ที่ลาออก และแต่งตั้งเพิ่มเติม รวม 3 คน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทนหรือผู้ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ดังนี้
1. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการ
2. นางฐะปาณีย์ อาจารวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นายพิชัย สนแจ้ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
30. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้ง
นายวรรณชัย บุญบำรุง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แทนผู้ที่ลาออก โดยให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง
พลตำรวจเอก
ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
...............