16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรชี้แจง กรณีที่กรมวิชาการเกษตรเสนอของบฯ 2,000 ล้านบาท เพื่อใช้กำจัด 3 สารเคมีที่ถูกแบน และคงค้างสต๊อกอยู่ไม่ต่ำ 20,000 ตัน โดยเสนอชื่อ บมจ.อัคคีปราการ บริษัทเดียวที่จะกำจัดสารเคมีได้ในระบบปิดนั้น ว่า คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติให้ยกเลิกการใช้วัตถุอันตราย 3 ชนิด โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธ.ค.62 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย และครอบครอง ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้แจ้งในที่ประชุมคณะทำงานของกระทรวงฯ ให้ทราบถึงประสบการณ์จากการทำลายวัตถุอันตราย โดยในปี 2561 ได้ว่าจ้างให้ บมจ.อัคคีปราการ เผาทำลายวัตถุอันตรายในราคา 1 แสนบาท / ตัน กรณีมีการทักท้วงราคาค่างวดในการกำจัด 3 สารเคมีว่าเป็นวงเงินที่สูงเกินไปและไม่ได้มีแค่เจ้าเดียวตามที่กรมฯ เสนอ และนายวิฑุรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการไบโอไทย เชื่อว่ายังมีวิธีอื่นที่จะใช้กำจัด หรือส่งกลับประเทศต้นทาง การทำลายวัตถุอันตรายจะต้องทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีความปลอดภัย และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน กรมฯ ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานที่กำกับดูและการทำลายสารเคมี เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการทำลาย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับหนังสือตอบรับกลับมา ดังนั้นการที่ข่าวนำเสนอว่ากรมฯ ได้เสนอชื่อ บมจ.อัคคีปราการ เป็นบริษัทเดียวที่จะกำจัดสารเคมีได้ในระบบปิด จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ การทำลายวัตถุอันตรายจะต้องทำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูและการทำลายสารเคมี เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์และวิธีการทำลายเพื่อนำประกอบการพิจารณาต่อไป ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 หน่วยงานยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับ