วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562
ผนึกกำลังภาครัฐ “กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย” เร่งแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน
ศุกร์ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นายนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ชี้แจงข้อวิจารณ์ของนักวิชาการไทยและต่างชาติเกี่ยวกับปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนของไทย ติดอันดับที่ 9 ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุทางถนนที่ประเทศไทยต้องแบกรับเมื่อคิดจากตัวเลขประมาณการมูลค่าชีวิตคนไทย 15 ล้านบาทต่อคน สูงถึงร้อยละ 5 ของ GPD ว่า กรมการขนส่งทางบกมีมาตรการหลัก 4 ด้านในการดำเนินการ ได้แก่ 1.มาตรการความปลอดภัย ได้แก่ โครงการจัดระบบ รถจัดระเบียบ กำหนดให้รถบรรทุกวัตถุอันตรายทุกคันต้องติดตั้ง GPS ภายในปี 2558 รถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้ง GPS ภายในปี 2560 เป็นต้น 2. มาตรการคนปลอดภัย เข้มงวดตรวจสอบพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะปริมาณแอลกอฮอล์ต้องเป็น 0mg% ไม่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถ ต้องขับรถไม่เกินชั่วโมงการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น 3. มาตรการรถปลอดภัย อาทิ กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะตรวจสภาพ ปีละ 2 ครั้ง 4. มาตรการกฎหมาย ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 15/2560 สั่ง ณ วันที่ 21 มีนาคม 2560 ขบ. ได้ดำเนินการออกประกาศ อาทิ กำหนดการจัดวางที่นั่งสำหรับรถตู้โดยสารสาธารณะต้องไม่เกิน 13 ที่นั่ง มีทางออกฉุกเฉินด้านท้ายและสามารถเปิดออกจากตัวรถได้ เป็นต้น
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2554 — 2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า 10 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี 2563 เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีทิศทางการดำเนินงาน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ หรือ “คณะกรรมการ นปถ.” โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เผยในส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน กลยุทธ์ มาตรการ การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ด้านการจราจรและลดอุบัติเหตุ โดยตั้งคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานการจราจรและลดอุบัติเหตุจราจร โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ด้านการกำหนดนโยบายการบังคับใช้กฎหมาย ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจร บูรณาการการทำงานลดอุบัติเหตุร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาการมีส่วนร่วมของ ท้องถิ่น ชุมชน และเอกชน ด้านการนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมจราจร ผังเมือง เทคโนโลยี และฐานข้อมูล มาใช้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาจราจรและอุบัติเหตุของประเทศ ด้านการพัฒนากฎหมายจราจรและกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต และด้านการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรให้สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างเป็นมืออาชีพ ตามมาตรฐาสากล เป็นที่ยอมรับของสังคม
ด้านนายเชษฐา โมสิกรัตน์รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เผยรัฐบาลได้กำหนดการให้การสร้างความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งได้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นกรอบ การดำเนินงานด้านสร้างความปลอดภัยทางถนนแก่หน่วยงานทุกภาคส่วน โดยมุ่งดำเนินมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านคน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ ซึ่งทุกแผนงานและมาตรการต่าง ๆ ได้กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในแต่ละด้านอย่างชัดเจน อีกทั้งได้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน อาทิ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดกรณีเมาแล้วขับและขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การได้มาซึ่งใบอนุญาตขับขี่ที่ “ออกยาก ยึดง่าย” รวมถึงการกวดขันรถโดยสาธารณะให้มีมาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานทุกภาคส่วนได้ร่วมกันรณรงค์ความปลอดภัยทางถนน มุ่งสร้างการรับรู้และจิตสำนึกด้านการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยแก่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่อย่างปลอดภัย และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนกับภาครัฐ
ข่าวทำเนียบรัฐบาล
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35
ข่าวกระทรวง
วีดิทัศน์รายการ/คลังภาพ
วาระงาน